วิทวัส ดารากัย
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ คณะวิทยาการสื่อสาร สาขานวัตกรรมการออกแบบและสร้างสรรค์สื่อ (UNC ปี 5)
ตำแหน่งที่ได้รับในโครงการต่างๆ
ประวัติและผลงาน


ประเด็น : ปัญหาเรื่องของอาหารวันนี้

ชื่อผลงาน : หิวมานิห์

หัวข้อ : ศิลปะรับใช้ชุมชน

แนวคิดการสื่อสาร : จากวัฒนธรรม ประเพณีของผู้คนในสามจังหวัดชายแดนใต้ ในอดีตที่นิยมทำขนมพื้นบ้านของตัวเอง

ซึ่งสะท้อนความเป็นอยู่ วิถีชีวิต ของคนในชุมชนได้ดี

รูปแบบการผลิตสื่อ : Facebook / โปสเตอร์ / VDO / Infographic


(สัมภาษณ์)

วิทวัส ดารากัย

สาขานวัตกรรมการออกแบบและสร้างสรรค์สื่อ

คณะวิทยาการสื่อสาร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์


แนวทางสร้างสรรค์สื่อ

ประเด็นที่ทำเป็นโครงการเกี่ยวกับการนำเสนอขนมพื้นบ้าน ของสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ สาเหตุที่ทำเนื่องด้วยกลุ่มคนสมัยใหม่ หรือคนรุ่นใหม่ค่อนข้างที่จะไม่รู้จักขนมพื้นบ้าน ทำให้เราสนใจในการทำและอยากนำเสนอขนมพื้นบ้านให้กับคนรุ่นใหม่ได้รู้จักมากยิ่งขึ้น

โดยวิธีการทำโครงการนั้นเราได้ทำการหาข้อมูลในชุมชน สอบถามกลุ่มเป้าหมายวัยรุ่น และคนที่ทำขนม ว่ามีปัญหาอะไรบ้าง อยากให้เราแก้ไขอย่างไร เมื่อได้ทำการค้นหาแล้ว เราได้เรียนรู้ว่าสาเหตุที่ทำให้ขนมพื้นบ้านไม่เป็นที่รู้จักก็คือขาดการประชาสัมพันธ์ที่ดี เนื่องด้วยคนที่ทำขนมในปัจจุบันมีอายุมากขึ้น ในแง่ของการสื่อสารหรือประชาสัมพันธ์ให้ทั่วถึงค่อนข้างที่จะยากสำหรับกลุ่มคนอายุนี้ และในเรื่องของวัตถุดิบที่ค่อนข้างหายาก ทำให้การทำขนมค่อนข้างทำยากมากขึ้นเช่นกัน และค่านิยม วัฒนธรรมที่เปลี่ยนแปลงไปตามสมัย ซึ่งคนสมัยใหม่นิยมที่จะรับประทานขนมของชาวต่างชาติ จึงทำให้คนวัยรุ่นละเลยขนมพื้นบ้านของตัวเองและไม่รู้จักขนมพื้นบ้าน ปัจจัยต่างๆเหล่านี้ทำให้เราได้ข้อสรุปและทำให้รู้ถึงปัญหา ว่าคนรุ่นหลังไม่ค่อยรู้จักขนมพื้นบ้าน

­

กลุ่มเป้าหมายการสื่อสาร

กำหนดกลุ่มเป้าหมายไว้คือกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่มีอายุช่วง 19 -25 ปี ที่เลือกกลุ่มเป้าหมายเหล่านี้เพราะเป็นกลุ่มเป้าหมายที่ค่อนข้างจะไม่รู้จักขนมพื้นบ้าน เป็นกลุ่มเป้าหมายที่คิดว่าถ้าสมมุติเขาได้ตระหนักถึงคุณค่าของขนมพื้นบ้าน เขาจะเกิดการประชาสัมพันธ์ต่อและสร้างกระแสที่ดีให้กับสังคม ส่วนกลุ่มเป้าหมายอีกกลุ่มคือนักท่องเที่ยว

­

วัตถุประสงค์ของโครงการ

1. ต้องการที่จะทำให้คนรุ่นหลังและกลุ่มคนรุ่นใหม่หันมารู้จักขนมพื้นบ้านมากยิ่งขึ้น

2. สร้างค่านิยมให้กับคนรุ่นหลังได้เห็นความสำคัญของขนมพื้นบ้าน เพราะขนมบางชนิดมีคุณค่าทางด้านจิตใจ บางอย่างมีความสำคัญต่อการใช้ชีวิตและความเป็นอยู่ของสามจังหวัดชายแดนภาคใต้

3. ต้องการที่จะทำให้เกิดการสร้างแรงจูงใจในสังคมระหว่างกลุ่มคนรุ่นใหม่ให้รู้จักขนมและเกิดการสนใจ ลองซื้อ ลองชิมมากยิ่งขึ้น

4. ทำให้คนขายขนมมีรายได้เพียงพอที่จะสืบทอดต่อไป

5. ส่งเสริมการท่องเที่ยวผ่านการบอกเล่าเรื่องราวขนมที่มีเอกลักษณ์ของสามจังหวัดชายแดนภาคใต้

­

ผลลัพธ์ของโครงการ

ผลที่ได้รับจากการทำโครงการคือกลุ่มวัยรุ่นค่อนข้างที่จะหันมาให้ความสนใจกับขนมพื้นบ้านอย่างมาก สังเกตได้จากการที่กลุ่มคนรุ่นใหม่เข้ามาติดตามเฟส Facebookpage ซึ่งตอนนี้มียอดไลค์ประมาณ 5,000 คน ยอดแชร์และยอดคอมเม้นต์เยอะมาก บางกิจกรรมที่เราโพสต์ก็มีการแชร์บอกเล่าถึงสูตรขนมต่อ

­

บทบาทที่ได้รับในโครงการ

บทบาทของผมที่ได้รับในการทำโครงการคือได้เป็นตัวแทนหลักในการทำโครงการและฝึกฝนงาน ทำให้ได้ฝึกฝนภาวะการเป็นผู้นำ การกล้าที่จะเสนอความคิดเห็น ทำให้เราได้พัฒนาตัวเองเป็นอย่างมาก

­

สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการเข้าร่วมโครงการ

พวกเราได้เรียนรู้กระบวนการทำงานอย่างเป็นระบบและนำความรู้นอกห้องเรียนมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดและคิดว่าสิ่งเหล่านี้จะทำให้พวกเรามีประสบการณ์และไปต่อยอดในการทำโครงการต่อไป สิ่งที่ได้รับจากการทำโครงการและวิชาที่เราเรียนในห้องเรียน ไม่ว่าจะเป็นการทำวิดีโอ การทำกราฟฟิค หรือการวาดภาพประกอบ ถ้าเราไม่ได้เอามาใช้ในชีวิตจริง ก็จะเป็นความรู้ที่เปล่าประโยชน์ แต่ในโครงการนี้เข้ามาทำให้ที่เราเรียนอยู่ได้ถูกนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมต่อไป เพราะเป็นการทำงานที่ตอบแทนสังคมที่เราอยู่


คุณค่าของโครงการต่อชุมชน

ประโยชน์ที่ได้รับหลักๆ ก็คือคนที่เขาทำขนมก็มีรายได้และสืบสานขนมต่อไป ความรู้สึกที่มีคือดีใจมาก ซึ่งขนมพื้นบ้านเป็นสิ่งเล็กๆ ที่สังคมอาจมองข้าม แต่เมื่อเราได้ไปสัมผัสและพบปะพี่น้อง ได้ไปเรียนรู้ปัญหา ขนมบางชนิดค่อนข้างที่จะหายไป ถ้าเราไม่เข้าไปช่วยในการประชาสัมพันธ์ ขนมพื้นบ้านอาจหายไปเลย และโครงการของเรายังช่วยสร้างจิตสำนึกหรือสร้างการตระหนักถึงคุณค่าในสิ่งของที่เรามีอยู่ ขนมพื้นบ้านเป็นรสนิยมของแต่ละยุค แต่ในเมื่อขนมพื้นบ้านของเรามีดีอยู่ ก็ควรอนุรักษ์ต่อไป เพื่อประโยชน์สูงสุดของทุกคน

ผลงานสร้างสรรค์สื่อสะท้อนปัญหาสังคม ภายใต้โครงการเสริมสร้างพลังเยาวชนสร้างสรรค์สื่อเพื่อสังคมไทยที่น่าอยู่ ปี 5 (ปี 2561) ดำเนินงานโดยเครือข่ายมหาวิทยาลัยสร้างสรรค์สังคม (University Network For Change : UNC) ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สำนักงานกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ สภาคณบดีทางศิลปะแห่งประเทศไทย องค์กรภาคี ภาคประชาสังคม มูลนิธิสยามกัมมาจล ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)

ดาวน์โหลดต้นฉบับได้ที่นี่.pdf

ชมบรรยากาศงานมหกรรมได้ที่นี่

­

ถอดบทเรียนที่เกี่ยวข้อง
บุคคลที่คุณอาจสนใจ