ณัฐพล พุทธิชน
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ สาขานฤมิตศิลป์ (UNC ปี 5)
ตำแหน่งที่ได้รับในโครงการต่างๆ
ประวัติและผลงาน


ประเด็น : ปัญหาการใช้สื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์

ชื่อผลงาน :Check and Share

หัวข้อ : การโพสต์รูปเด็กในสื่อออนไลน์

แนวคิดการสื่อสาร : การใช้สื่ออย่างปลอดภัยและสร้างสรรค์

รูปแบบการผลิตสื่อ :Facebook page/ Poster / Clip Vdo


นายณัฐพล พุทธิชน

สาขานฤมิตศิลป์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ผังเมืองและนฤมิตศิลป์

มหาวิทยาลัยมหาสารคาม


แนวทางการผลิตสื่อสร้างสรรค์

วันนี้มาในหัวข้อของการใช้สื่ออย่างปลอดภัยและสร้างสรรค์ ชื่อโครงการ Check and Share จะเป็นหัวข้อเกี่ยวกับการโพสต์รูปลงโซเชียล ที่สนใจเพราะว่าปัจจุบันโซเชียลมีเดียเข้ามามีบทบาทต่อชีวิตของคนมาก จนบางทีตื่นมาตอนเช้าก็ต้องหยิบโทรศัพท์ขึ้นมาเช็ค เช็คทั้งตื่นและก่อนนอน เลยสนใจที่จะทำเรื่องนี้ เพราะว่าเรื่องนี้คนยังไม่ค่อยหยิบมาทำด้วย ในเรื่องของการโพสต์รูปลูก ที่ทำให้เกิดผลในภายภาคหน้า  Key Message ก็คือการโพสต์ในวันนี้จะเกิดผลในวันหน้า แต่อาจจะไม่ได้เกิดผลในระยะที่ไวมาก แต่อาจจะเกิดในวันที่เด็กโตแล้ว อาจจะส่งผลให้เด็กรู้สึกอายในวันข้างหน้า ก็เลยอยากให้พ่อแม่ตระหนักถึงปัญหาตรงนี้ ว่าการโพสต์รูปลูกจะส่งผลอะไรต่อลูกบ้างในอนาคต อาจจะไม่ได้ส่งผลแค่ตัวลูกเอง อาจจะส่งผลมาถึงตัวเราด้วย ถ้าลูกถูกทำร้ายทางจิตใจ เราเองก็อาจจะรู้สึก คนจะมองว่าเป็นปัญหาที่เล็กๆ เลยมองผ่านไปไม่ได้สนใจ


รูปแบบสื่อ

ผลงานนี้ทำมาเป็นแบบโปสตอร์ Print ad และเป็นวิดีโอ จะเป็นประมาณว่าให้คนได้ตระหนักถึงว่าปัญหาที่ตามมาเมื่อพ่อแม่ได้โพสต์รูปลูกลง แล้วจะเกิดผลอย่างไรตามมา ส่วนตัววิดีโอก็จะเป็นการสัมภาษณ์มุมมองของเด็กแต่ละคนว่าความคิดที่เขามีต่อพ่อแม่ที่ลงรูปของตัวเองในตอนที่ตัวเองยังไม่รู้เรื่องเป็นอย่างไร ตอนนี้ได้เปิด Facebook ใช้เป็นช่องทางในการส่งต่อและแชร์สื่อพวกนี้ลงในโซเชียลมีเดียสำหรับพ่อแม่ที่เล่นโซเชียลมีเดียให้ได้รับรู้ เพื่อให้ตระหนักถึงผลที่จะเกิดขึ้นกับลูกของเราในอนาคตข้างหน้า

สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการเข้าโครงการ

กระบวนการที่เราได้จากโครงการ UNC ตั้งแต่แรกจนจบงาน ตั้งแต่แรกเราก็เริ่มมาคิดหัวข้อกันก่อน ซึ่งเป็นจุดสำคัญ ถ้าเราขาดตรงนี้ไปก็คงไม่ได้ เป็นจุดที่ต้องฟังความเห็นจากคนอื่นและมาช่วยกันคิดว่าหัวข้อว่าแต่ละอย่างจะดีหรือเปล่า แล้วพอได้หัวข้อมาแล้ว ก็เริ่มมาประชุมกัน วางแผนว่าจะไปเก็บข้อมูลกันอย่างไรจากการลงพื้นที่ พอได้ข้อมูลมาแล้วก็เอาข้อมูลทั้งหมดมารวมกัน จากแต่ละคน และเอามาวิเคราะห์ขัดเกลาและดึง Key Message ออกมาว่าต้องการจะสื่ออะไรและดึงปัญหาที่เราได้มาเอามาเจาะให้ลึกลงไป จากการทำงานในที่นี้เราไม่ได้ทำงานแบบแค่ให้เสร็จ แต่จะทำอะไรต้องมีแผนก่อนและสามารถนำไปใช้ได้กับทุกอย่าง ทางการเรียนถ้าการเรียนเราไม่มีแผนอาจจะทำออกมาไม่ดี

เราควรจะต้องตระหนักถึงการทำงานอย่างเป็นขั้นตอน และรับฟังความคิดเห็นของคนอื่นด้วย เพื่อให้เห็นมุมมองความคิดใหม่ๆของเพื่อน ที่ต่างจากเรา และอาจจะทำให้เกิดงานใหม่ๆได้

ผลงานสร้างสรรค์สื่อสะท้อนปัญหาสังคม ภายใต้โครงการเสริมสร้างพลังเยาวชนสร้างสรรค์สื่อเพื่อสังคมไทยที่น่าอยู่ ปี 5 ดำเนินงานโดยเครือข่ายมหาวิทยาลัยสร้างสรรค์สังคม (University Network For Change : UNC) ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สำนักงานกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ สภาคณบดีทางศิลปะแห่งประเทศไทย องค์กรภาคีภาคประชาสังคม มูลนิธิสยามกัมมาจล ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)

ดาวน์โหลดเนื้อหาได้ที่นี่

ชมบรรยากาศงานมหกรรมได้ที่นี่

ถอดบทเรียนที่เกี่ยวข้อง