ธนินธร พิมพขันธ์
หัวหน้าสำนักงานปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลหนองขาม อำเภอหนองหญ้าไซ จังหวัดสุพรรณบุรี (นักถักทอชุมชน รุ่น 1)
ตำแหน่งที่ได้รับในโครงการต่างๆ
นักถักทอชุมชน ใน อบต.หนองขาม
พี่เลี้ยงแกนนำเยาวชน ใน อบต.หนองขาม
ประวัติและผลงาน

เราต้องเรียนรู้ไปพร้อมกับชุมชน

ธนินทร พิมพ์ขันธ์ หัวหน้าสำนักงานปลัด องค์การบริหารส่วนตำบลหนองขาม อ.หนองหญ้าไซ จ.สุพรรณบุรี บอกเล่าจุดเริ่มต้นแนวคิดในการแก้ไขปัญหาเด็กและเยาวชนในชุมชนหนองขาม


­


ถอดบทเรียนฉบับสมบูรณ์


เวทีถอดบทเรียน นักวิจัย อบต.หนองขาม จังหวัดสุพรรณบุรี

วันที่ 10 กรกฏาคม 2561


บันทึกจากเวที

1.ความมุ่งหวังต่อเด็กและเยาวชนของชุมชน

2.อยากให้เด็กและเยาวชนในชุมชนได้รับการพัฒนาหรือเสริมความรู้ด้านใด

"สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ รู้จักผิดชอบ ยับยั้งชั่งใจ เสียสละช่วยเหลือผู้อื่น"


ถอดบทเรียน

1.มีการเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง 3 ด้าน ใจ/ความ/รู้ทักษะ

"ใจ - เมื่อแรกเริ่มที่่ทราบว่าจะต้องทำงานวิจัยชุมชน วิจัยเด็ก เพียงเท่านั้นใจก็เริ่มออกห่างทันที ทุกครั้งที่มีการประชุมเพื่อกำหนดวัตถุประสงค์ของโครงการเพื่อนำเสนอ เราจะต้องหาข้ออ้างในการไม่เข้าร่วม พยายามหางานอื่นมาทำ เพราะคำว่า 'วิจัย' ทำให้นึกถึง 5 บท เช่น ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง, สมมติฐาน เป็นต้น แต่ด้วยหน้าที่ที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ จึงได้เข้าร่วมเรียนรู้การวิจัยชุมชนเพื่อเด็กกับทีม สกว. อย่างจริงจัง ทำให้ความคิด ความกลัว ความน่าเบื่อหายไป จนเปิดใจและรักงานวิจัยในรูปแบบใหม่นี้ขึ้นมามากมาย"

"ความรู้ - สิ่งที่ทำให้รักงานวิจัยนี้ขึ้นมา เพราะทำให้ได้เรียนรู้วิธีวิจัยใในรูปแบบที่ไม่เป็นวิชาการ การสรุป การถอดบทเรียนในรูปแบบที่แตกต่างออกไป ได้เรียนรู้ชุมชนโดยชุมชนอย่างแท้จริง"

"ทักษะ - ได้เรียนรู้ทักษะการละลายพฤติกรรมกับผู้ร่วมเวที โดยี่ไม่ต้องร้องรำทำเพลง และผู้ร่วมเวทีให้ความร่วมมือและมีส่วนร่วมมากขึ้นด้วย"

2.สิ่งดีๆที่เกิดขึ้นจากการทำวิจัย (เกี่ยวกับใครอย่างไร)

"ได้เห็นพลังของทีมวิจัย เพราะทุกคนต่างมีหน้าที่รับผิดชอบ และบทบาทในงานประจำที่ทำอยู่ ได้เห็นความเสียสละของทีม ได้เห็นเด็กๆ ที่เข้าร่วมเวที ได้เข้าถึงชุมชน ได้เรียนรู้ชุมชนโดยกระบวนการที่เด็กๆ ลงมือทำเอง ทีมวิจัยทุกคนได้เรียนรู้กระบวนการ วิธีการแก้ปัญหาต่างๆ ด้วยตัวเอง"

3.ข้อเสนอแนะในการแก้ปัญหา (สิ่งดีๆที่ต้องปรับปรุง)

"ปัญหาภายใน (ใจ) - เกิดจากความไม่เปิดใจในงานวิจัยชุมชนและยังติดกับการทำวิจัยแบบเดิมๆ จนกระทั่งได้ลงมือทำและเรียนรู้เวทีที่แม่กลอง จึงเข้าใจและเปิดใจในที่สุด"

"ปัญหาภายนอก - เกิดความท้อเมื่อถูกบุคคลภายนอกวิพากษ์วิจารณ์ถึงการทำงาน ที่ยังไม่เห็นกิจกรรมที่เป็นรูปธรรม ทำให้ทีมเกิดความท้อ"

"ข้อเสนอแนะ - ควรจะทำความเข้าใจถึงกระบวนการทำงานวิจัยชุมชนเพื่อเด็กๆ และประชาสัมพันธ์ให้ทั้งทีมงาน ผู้มีอำนาจ และคนในชุมชนได้เข้าใจ หรือเปิดรับ ทีมวิจัยเองต้องถ่ายทอดวิชาหรือทักษะที่ได้เรียนรู้ให้กับคนในชุมชน ผู้ปกครอง เพื่อที่จะสามารถทำแทนหรือควบคู่ไปกับทีมวิจัยได้"