รุ่งวิชิต คำงาม
โคชพัฒนาเยาวชน active citizen ในชุมชน จังหวัดศรีสะเกษ
ตำแหน่งที่ได้รับในโครงการต่างๆ
เจ้าหน้าที่โครงการ ใน Active Citizen ศรีสะเกษ ปี 2
เจ้าหน้าที่โครงการ ใน Active Citizen ศรีสะเกษ ปี 3
เจ้าหน้าที่โครงการ ใน Active Citizen ศรีสะเกษ ปี 1
ประวัติและผลงาน

รับชมวิดีทัศน์ แนวคิดการพัฒนาเด็กและเยาวชนจังหวัดศรีสะเกษผ่านการทำโครงการเพื่อชุมชน ปี 1 :


รับชมวิดีทัศน์ แนวคิดการพัฒนาเด็กและเยาวชนจังหวัดศรีสะเกษผ่านการทำโครงการเพื่อชุมชน ปี 2 :


ความเชี่ยวชาญ/เทคนิคเด่นในการสร้างการเรียนรู้ผ่าน PBL :

  1. มีทักษะในการทำงานกับชุมชนสามารถเชื่อมโยง ผู้เชี่ยวชาญประเด็นสำคัญมาให้ความรู้เพิ่มเติมแก่เยาวชนและพี่เลี้ยงได้
  2. มีทักษะการตั้งคำถามชวนคิดวิเคราะห์ และสามารถใช้พลังแห่งถ้อยคำพูดสร้างแรงบันดาลใจให้กับเยาวชนได้ 
  3. มีความรู้และความเข้าใจสังคมวัฒนธรรมในพื้นที่ สามารถให้ความรู้เพิ่มเติมให้กับเยาวชนได้ 
  4. มีทักษะในการสื่อสาร สามารถวางแผนกลยุทธ์ในการสื่อสารได้ 
  5. มีเทคนิคในการโคช และออกแบบการเรียนรู้ รวมถึงความรู้ใหม่ ๆ ที่เหมาะสมให้กับพี่เลี้ยงชุมชน/ครูชุมชน และเยาวชนได้


บทบาทและความรับผิดชอบในโครงการ :

     "โคชรุ่ง" มีบทบาทในการพัฒนาเยาวชนพลเมืองเยาวชนรุ่นใหม่ ปลูกจิตสำนึกความพลเมืองเด็กเยาวชนผ่านการทำโครงการเพื่อชุมชนโดยให้เยาวชนคิดเองทำเอง และมีผู้ใหญ่ช่วยหนุน ประสานเชื่อมพลังภาคีเครือข่ายผู้ใหญ่ในจังหวัดร่วมพัฒนาเยาวชน และพัฒนาเป็นกลไกการพัฒนาเยาวชนในจังหวัด เพื่อนำไปสู่การสร้างพลังพลเมืองศรีสะเกษให้เป็นพลังพลเมืองแห่งการตื่นรู้ในการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นบนฐานความรู้ภูมิปัญญาที่สร้างสรรค์

     นอกจากนี้ ยังมีบทบาทในการบริหารจัดการองค์กร และโครงการให้บรรลุตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้โดยคอยกำกับ ดูแล กำหนดทิศทาง สร้างการเรียนรู้ทีมทำงานให้เป็นไปในแนวทางเดียวกัน ทั้งระบบการทำงานเป็นทีม ระบบการวางแผน ระบบฐานข้อมูล ระบบการติดตามงาน ระบบการบริหารงบประมาณ ระบบรายงาน และการสื่อสารสร้างการเรียนรู้ภายในและภายนอกองค์กร­


ประวัติการศึกษา :

ระดับการศึกษาวุฒิที่ได้รับสถาบันการศึกษาปีความรู้/ทักษะที่เป็นประโยชน์ต่อการทำโครงการ
ป.ตรี ศิลปะศาสตร์บัณฑิต(พัฒนาชุมชน)วิทยาลัยครูเลย2536หลักการการพัฒนาชุมชนแบบมีส่วนร่วม
ป.โทศิลปะศาสตร์มหาบัณฑิต (พัฒนาสังคม)มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์(บางเขน)2555แนวคิดทฤษฎีการพัฒนาสังคม

­

ประสบการณ์การทำงานพัฒนาเยาวชน :

หน่วยงาน ชื่อโครงการ/กิจกรรม ช่วงปีพ.ศ. บทบาทหน้าที่ ลักษณะงานที่ทำ
มูลนิธิประสานความร่วมมือพัฒนาทุ่งกุลาร้องให้ - ส่งเสริมสนับสนุนองค์กรชาวบ้านในการจัดการป่าชุมชนในเขตพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้

- พัฒนาเครือข่ายองค์กรชาวบ้านในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ เครือข่ายเกษตรผสมผสาน เครือข่ายปศุสัตว์ เครือข่ายองค์กรการเงินชุมชน และเครือข่ายกลุ่มเกษตรกรทำนา เพื่อสร้างพลังการพัฒนาทุ่งกุลาร้องไห้

2536–2541 เจ้าหน้าที่ส่งเสริมและพัฒนาองค์กรชาวบ้าน - ประสานงานติดตามสร้างการเรียนรู้ผู้นำชุมชน ในการศึกษาปัญหา การวางแผน การปฏิบัติการ การสรุปผล และการขยายผลรูปธรรมสู่เครือข่ายองค์กรชุมชนในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องให้
โครงการวิจัยการจัดการน้ำระบบย่อยโดยองค์กรชุมชน กรณีศึกษากุดขาคีม ตำบลกุดขาคีม และตำบลทับใหญ่ อำเภอรัตนบุรี จังหวัดสุรินทร์ สนับสนุนโดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.สำนักงานภาค) 2544-2545 หัวหน้าโครงการ - สร้างกระบวนการเรียนรู้การทำวิจัยร่วมกับชาวบ้าน องค์กรชุมชนในพื้นที่ เพื่อหาทางเลือกในการแก้ไขปัญหาในรูปแบบการจัดการทรัพยากรน้ำโดยชุมชนลุ่มน้ำมูลตอนกลาง
โครงการอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่ทามกุดขาคีมโดยองค์กรชุมชน สนับสนุนโดย UNDP 2545-2549 หัวหน้าโครงการ - ส่งเสริมสนับสนุนพัฒนาองค์กรชุมชนในการจัดการทรัพยากร ดิน น้ำ ป่า พัฒนาอาชีพ และพัฒนากลไกความร่วมมือในการจัดการอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่ทามกุดขาคีม

- การสร้างสำนึกร่วมเด็กเยาวชนผ่านกิจกรรม

”ค่ายเด็กรักพื้นที่ทามกุดขาคีมลุ่มน้ำมูลตอนกลาง การจัดกระบวนการเรียนรู้เด็กนักเรียนโรงเรียนเตรียมนายฮ้อยทุ่งกุลาร้องให้ และการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นในระบบโรงเรียน

สำนักงานกองทุนเพื่อการลงทุนทางสังคม (SIF) อีสานตอนกลาง โครงการลงทุนทางสังคมเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ 2542- 2544 เจ้าหน้าที่ติดตามสนับสนุนงานท้องถิ่น - ประสานงานติดตามสร้างการเรียนรู้ผู้นำชุมชนกลุ่มองค์กรชาวบ้านในการบริหารจัดการโครงการ
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย(สกว.) ฝ่ายวิจัยเพื่อท้องถิ่น โครงการค้นหาและพัฒนาศักยภาพพี่เลี้ยงในการสนับสนุนงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นในเขตพื้นที่ 4 จังหวัดอีสานใต้นครราชสีมา, บุรีรัมย์, สุรินทร์, ศรีสะเกษ 2550-2551 หัวหน้าโครงการ ค้นหาคนและพัฒนาศักยภาพคนทำงานเพื่อชุมชนในพื้นที่เพื่อเป็นพี่เลี้ยงงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น
ศูนย์ประสานงานการวิจัยเพื่อท้องถิ่นจังหวัดศรีสะเกษ โครงการประสานงานการวิจัยเพื่อท้องถิ่นเพื่อการพัฒนาชุมชนชายแดนไทย-กัมพูชา จังหวัดศรีสะเกษ สนับสนุนโดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ฝ่ายวิจัยเพื่อท้องถิ่น 2552-2553 ผู้ประสานงาน - สร้างและพัฒนานักวิจัยชาวบ้านที่เป็นผู้นำชุมชน เยาวชนคนรุ่นใหม่ จัดการความรู้งานวิจัยท้องถิ่น สนับสนุนการนำใช้ความรู้จากงานวิจัยเพื่อพัฒนาท้องถิ่นไทย-กัมพูชา

- พัฒนาเยาวชนพลเมืองเยาวชนรุ่นใหม่(Active Citizen)

- ประสานเชื่อมพลังภาคีเครือข่ายผู้ใหญ่ในจังหวัดร่วมพัฒนาเยาวชน

- พัฒนาเป็นกลไกการพัฒนาเยาวชนในจังหวัด

- บริหารจัดการองค์กร และโครงการ

- จัดการเรียนรู้สื่อสารสังคม หรือสาธารณะสร้างพลังทางสังคมในชุมชนท้องถิ่นศรีสะเกษ

โครงการวิจัยชุดวัฒนธรรมกับการพัฒนากลุ่มชาติพันธุ์ เขมร กูย ลาว เยอ จังหวัดศรีสะเกษ สนับสนุนโดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ฝ่ายวิจัยเพื่อท้องถิ่น 2553-2555 ผู้ประสานงาน
โครงการโครงการวิจัยชุดวัฒนธรรมกับการพัฒนาความมั่นคงชุมชนท้องถิ่นชายแดนไทย-กัมพูชา จังหวัดศรีสะเกษ สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ฝ่ายวิจัยเพื่อท้องถิ่น 2555-2556 ผู้ประสานงาน
โครงการวิจัยชุด ความสัมพันธ์ข้ามชาติบนฐานชุมชนท้องถิ่นชายแดนไทย-กัมพูชา จังหวัดศรีสะเกษสนับสนุนโดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ฝ่ายวิจัยเพื่อท้องถิ่น 2556-2559 ผู้ประสานงาน
- โครงการพัฒนาเยาวชนพลเมืองดีศรีสะเกษสนับสนุนโดยมูลนิธิสยามกัมมาจล และ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) 2557-2559 ผู้ประสานงาน

หัวหน้าโครงการ

ประวัติการเข้าร่วมกิจกรรมกับมูลนิธิ