พวงทอง เม้งเกร็ด
โคชพัฒนาเยาวชน active citizen ภาคตะวันตก
ประวัติและผลงาน

ความเชี่ยวชาญ/เทคนิคเด่นในการสร้างการเรียนรู้ผ่าน PBL :

  1. มีทักษะในการบริหารจัดการ สามารถชวนเยาวชนวางแผนในการบริหารจัดการโครงการได้ 
  2. รู้จักเด็กและสามารถติดตามพัฒนาการเยาวชนได้ 
  3. มีทักษะในการวางแผนชวนคิดวิเคราะห์ พาเยาวชนวางแผนในการดำเนินโครงการได้


บทบาทและความรับผิดชอบในโครงการ :

  1. ผู้ควบคุม วางแผนการดำเนินงานโครงการฯ ออกแบบกระบวนการและเนื้อหาหลักสูตรร่วมกับทีมงาน เพื่อพัฒนาศักยภาพทีม coaching เครือข่ายเด็กและเยาวชน และเครือข่ายพี่เลี้ยงที่เข้าร่วมโครงการ รวมทั้งกลไกการขับเคลื่อนงาน
  2. รับผิดชอบการบริหารโครงการเพื่อให้ดำเนินงานให้เป็นไปตามแผนงานโครงการ
  3. การจัดทำรายงานและระบบการเงินภาพรวมของโครงการ  
  4. ติดตามสนับสนุนการขับเคลื่อนเชิงนโยบาย


ประวัติการศึกษา :

ระดับการศึกษาวุฒิที่ได้รับสถาบันการศึกษาปีความรู้/ทักษะที่เป็นประโยชน์ต่อการทำโครงการ
ปริญญาโท

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีชีวภาพ

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี2541การติดต่อประสานงานและการลงพื้นที่ทำงานร่วมกับชุมชน เพื่อผสมผสานความรู้เชิงวิชาการกับความรู้ท้องถิ่น


ประสบการณ์การทำงาน :

ลำดับ

หน่วยงาน

ชื่อโครงการ/กิจกรรม

ช่วงปี พ.ศ.

บทบาทหน้าที่

ลักษณะงานที่ทำ


1.

ศูนย์ประสานงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นจังหวัดสมุทรสงคราม

โครงการศูนย์ประสานงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นจังหวัดสมุทรสงคราม

2546 – ปัจจุบัน

เจ้าหน้าที่ดูแลระบบข้อมูล

การบริหารจัดการโครงการ การจัดทำรายงานโครงการ การสรุปข้อมูล การวิเคราะห์ และการสังเคราะห์ความรู้เพื่อยกระดับสู่การขับเคลื่อนงานในระดับนโยบายท้องถิ่น จังหวัด และระดับชาติ ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องลักษณะ Co-funding และ Co-working ภายใต้ยุทธศาสตร์การศึกษา การจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม และยุทธศาสตร์สวัสดิการชุมชนและสุขภาวะ


2.

ศูนย์ประสานงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นจังหวัดสมุทรสงคราม

โครงการการวางแผนจัดการแบบมีส่วนร่วมเพื่อความมั่นคงด้านน้ำจังหวัดสมุทรสงคราม ปีที่ 2 - 3

2555 - 2558

นักวิจัย

สร้างกระบวนการมีส่วนร่วมในการทำงานทั้งในระดับแนวนอนและแนวราบกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งให้เด็กเข้าร่วมในการเก็บรวบรวมข้อมูลและนำข้อมูลไปสู่การจัดทำแผนความมั่นคงด้านน้ำร่วมกันอย่างเป็นระบบ การผสมผสานความรู้ท้องถิ่นร่วมกับความรู้ทางวิชาการในการวางแผนการจัดการน้ำ


3.

ศูนย์ประสานงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นจังหวัดสมุทรสงคราม

โครงการสร้างกระบวนการขับเคลื่อนระดับชุมชนและจังหวัดในการจัดทำแผนพัฒนาและการจัดสรรงบประมาณระดับท้องถิ่นและจังหวัดที่บูรณาการเรื่องความอยู่ดีมีสุขและสิ่งแวดล้อมภายใต้โครงการสนับสนุนทางเลือกการพัฒนาเพื่อบรรลุเป้าหมายสังคมอยู่เย็นเป็นสุขจังหวัดสมุทรสงคราม สำนักงานสิ่งแวดล้อม ภาค 8 ราชบุรี

2554 - 2555

นักวิจัย

สร้างกระบวนการมีส่วนร่วมในการทำงานทั้งในระดับแนวนอนและแนวราบกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งให้เด็กเข้าร่วมในการเก็บรวบรวมข้อมูลและนำข้อมูลไปสู่การจัดทำภาพอนาคต 20 ปี จังหวัดสมุทรสงคราม การผสมผสานความรู้ท้องถิ่นร่วมกับความรู้ทางวิชาการในการกำหนดทางเลือกในการพัฒนาสู่สังคมอยู่เย็นเป็นสุข


4.

หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน รวมทั้งสถาบันการศึกษา

การฝึกอบรม 

2548 – ปัจจุบัน

ทีมวิทยากร

ฝึกอบรมเกี่ยวกับงานวิจัยเชิงคุณภาพ การคิดเชิงระบบ การทำงานเป็นทีม พลังกลุ่ม วิทยากรกระบวนการ การเก็บรวบรวมข้อมูล การจับประเด็น การทำแผนที่ทางสังคม ในส่วนของการสรุปและเขียนรายงาน การลงเป็นวิทยากรกลุ่มย่อย ให้กับหน่วยงานทั้งภาครัฐ เอกชน มูลนิธิต่างๆ และสถาบันการศึกษา


5.

หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน รวมทั้งสถาบันการศึกษา

การสรุปบทเรียน / ถอดชุดประสบการณ์จากพื้นที่

2546 – ปัจจุบัน

ทีมวิทยากร

การสรุปบทเรียน / ถอดชุดประสบการณ์จากพื้นที่เขียนเป็นเล่มเล็กและเผยแพร่ในวารสาร / หนังสือพิมพ์และคู่มือ ให้กับโครงการของหน่วยงานต่างๆ เช่น สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ฝ่ายวิจัยเพื่อท้องถิ่น มูลนิธิเพื่อการรณรงค์ไม่สูบบุหรี่ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) มูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อท้องถิ่น เป็นต้น

­

ถอดบทเรียนที่เกี่ยวข้อง