รับชมเสวนา "คนใหญ่ฮัก ละอ่อนฮับ ร่วมมืออนุรักษ์ ชุมชนยั่งยืน และวิถีการพึ่งตัวเองบนฐานทรัพยากร"
รับชมเสวนา "งอกเงย งดงาม เพื่อน่านบ้านเกิดฯ"
ความเชี่ยวชาญ/เทคนิคเด่นในการสร้างการเรียนรู้ผ่าน PBL :
- มีทักษะในการจับประเด็น การเขียน mind map สามารถใช้เครื่องมือการจับประเด็นในการเติมทักษะการเก็บข้อมูลให้เยาวชนได้
- มีทักษะการตั้งคำถาม ชวนคิดวิเคราะห์ กระตุ้นคิด สร้างแรงบันดาลใจ และพาเยาวชนและมีเลี้ยงวางแผนในการดำเนินโครงการได้
- รู้จักเด็กสามารถติดตามและวิเคราะห์พัฒนาการของเยาวชนได้
- มีทักษะในการพูดนำเสนอ และสื่อสารได้ นำกระบวนกิจกรรมได้
- สามารถออกแบบการเรียนรู้และกิจกรรมให้กับเยาวชนและพี่เลี้ยงได้
บทบาทและความรับผิดชอบในโครงการ :
"โคชต้น" เป็นเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเรียนรู้ โดยรับผิดชอบในการออกแบบกระบวนการเรียนรู้โครงการเยาวชนฯ จ.น่าน ทั้งการพัฒนาข้อเสนอโครงการ การติดตามหนุนเสริม การจัดเวที workshop ทั้งนี้เพื่อให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน ระหว่างพี่เลี้ยงโครงการ พี่เลี้ยงพื้นที่และกลุ่มเยาวชน จนนำไปสู่การรู้จักรากเหง้าของตนเอง การสำนึกรักถิ่นฐานบ้านเกิด และสำนึกความเป็นพลเมือง
ประวัติการศึกษา :
ระดับการศึกษา | วุฒิที่ได้รับ | สถาบันการศึกษา | ปี | ความรู้/ทักษะที่เป็นระโยชน์ต่อการทำโครงการ |
ปริญญาตรี | ศิลปศาสตร์บัณฑิต | มหาวิทยาลัยพายัพ จังหวัดเชียงใหม่ | พ.ศ. 2543 | งานพัฒนาชุมชน กระบวนการงานยวิจัยเพื่อท้องถิ่น วิทยากรกระบวนการออกแบบการเรียนรู้ ทักษะการตั้งคำถาม การชวนคุย |
ปริญญาโท | วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต | มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเฃียงใหม่ | พ.ศ. 2560 | งานพัฒนาชุมชน กระบวนการงานยวิจัยเพื่อท้องถิ่น วิทยากรกระบวนการออกแบบการเรียนรู้ ทักษะการตั้งคำถาม การชวนคุย |
ประสบการณ์การทำงาน :
หน่วยงาน | ชื่อโครงการ/กิจกรรม | ช่วงปีพ.ศ. | บทบาทหน้าที่ | ลักษณะงานที่ทำ |
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ฝ่ายวิจัยเพื่อท้องถิ่น | ศูนย์ประสานงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น จ.น่าน | 2551 – ปัจจุบัน (2561) |
| ใช้กระบวนการงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น ไปสร้างการเรียนรู้ให้กับคนในชุมชน /เยาวชน ในการที่จะแก้ไขปัญหาภายในชุมชนของตนเอง โดยโจทย์โครงการ/วิจัย จะต้องมาจากชุมชน เน้นกระบวนการมีส่วนร่วมและมีการทดลองปฏิบัติการ รวมถึงการเปิดพื้นที่ให้ชุมชนได้เรียนรู้ร่วมกันอย่างมีพลัง |