การศึกษา
- แพทยศาสตร์บัณฑิต มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ (พ.ศ. 2505-2509)
- วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (มนุษยพันธุศาสตร์) มหาวิทยาลัยมิชิแกน สหรัฐอเมริกา (พ.ศ. 2510-2511)
- วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
ตำแหน่งหน้าที่ในปัจจุบัน
- นายกสภาสถาบันอาศรมศิลป์
- กรรมการสภามหาวิทยาลัยเชียงใหม่, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
- กรรมการมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ในพระบรมราชูปถัมภ์
- ประธานคณะกรรมการรางวัลนานาชาติ มูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลฯ
- ประธานกรรมการมูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์
- ประธานกรรมการมูลนิธิเพื่อการพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ
- ประธานกรรมการมูลนิธิเพื่อการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ
- รองประธานคณะกรรมการมูลนิธิสยามกัมมาจล
- รองประธานกรรมการมูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ
- กรรมการมูลนิธิโรงเรียนรุ่งอรุณ
- ที่ปรึกษากรรมการมูลนิธิพูนพลัง
- ประธานกรรมการตัดสินรางวัลครูเจ้าฟ้ากรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ โครงการพระเมตตาสมเด็จย่า
ตำแหน่งที่สำคัญในอดีต
- นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล
- ประธานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
- ผู้อำนวยการ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)
- ผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม (สคส.)
- อาจารย์มหาวิทยาลัยมหิดล
- อาจารย์คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
- รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
- คณบดีคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
- หัวหน้าภาควิชาพยาธิวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
- รักษาการอธิการบดีมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
- กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์, มหาวิทยาลัยขอนแก่น, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, มหาวิทยาลัยมหิดล, มหาวิทยาลัยศิลปากร, มหาวิทยาลัยทักษิณ, มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, สถาบันราชภัฏ และมหาวิทยาลัยมหาสารคาม
- กรรมการสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข
- Member, WHO Expert Advisory Panel on Human Genetics, 2002-2006
- คณะกรรมการที่ปรึกษาด้านการวิจัยสุขภาพ (Advisory Committee on Health Research) ขององค์การอนามัยโลก
- กรรมการธนาคารไทยพาณิชย์
- ประธานคณะกรรมการกิจการเพื่อสังคม ธนาคารไทยพาณิชย์
เป็นผู้อำนวยการคนแรกของ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) และได้ดำรงตำแหน่ง 2 สมัย ได้บุกเบิกระบบการจัดการงานวิจัยให้แก่ประเทศ ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเป็น ประธานสถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม (สคส.) อีกทั้งดำรงตำแหน่งกรรมการของหน่วยงาน และมูลนิธิหลายแห่ง ท่านได้นำประสบการณ์การทำงานทางด้านการศึกษา และสังคมซึ่งเป็นประโยชน์ต่องานกิจกรรมเพื่อสังคมของธนาคารอย่างมาก
“เรื่อง เศรษฐกิจพอเพียงต้องใช้การลงมือปฏิบัตินำ โดยในการปฏิบัติทุกเรื่องให้ร่วมกันตั้งใจว่าจะปฏิบัติตามหลักปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียง หลังจากจบกิจกรรมจึงทำ AAR ด้วยการตีความด้วย 3 ห่วง 2 เงื่อนไข ว่าในการปฏิบัติกิจกรรมนั้นๆ สอดคล้องหรือขัดกับหลักเศรษฐกิจพอเพียงอย่างไรบ้าง และในโอกาสหน้าจะปรับปรุงกิจกรรมให้สอดคล้องยิ่งขึ้นอย่างไร ทำซ้ำๆ จะนำไปสู่การเรียนรู้แบบที่มีการเปลี่ยนแปลงด้านในที่เรียกว่าเกิด transformative learning โดยต้องไม่ลืมว่า ในการใช้เครื่องมือ KM ทุกชิ้นต้องแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันอย่างอิสระและเปิดใจต่อกัน”
14 พ.ย. 2558 | - | เวทีพูนพลังครูครั้งที่ 1 : ครูสอนลักษณะนิสัยที่ดี ใน โครงการภาคีพูนพลังครู |
1 พ.ค. 2556 | - | ประชุมเชิงปฏิบัติการขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ใน โครงการพัฒนาเยาวชนโดยการเรียนรู้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง |