
การ
ที่พ่อแม่ไม่มีเวลาเพียงพอในการอบรมเลี้ยงดูบุตรหลาน
กลายเป็นต้นเหตุของปัญหาที่เกิดกับเยาวชนในหลายๆ เรื่อง
จึงคิดว่าน่าจะมีจุดศูนย์รวมเด็กเยาวชน โดยต้องผสมผสานกับความสนุกสนาน
จึงเปิดวัดให้เป็น “ที่สบายใจ” ของเด็ก ใช้วัฒนธรรมเป็นตัวดึง เช่น
การตีกลองสะบัดชัย ฟ้อนเล็บ ฟ้อนสาวไหม
มีรุ่นพี่มาช่วยฝึกซ้อมให้กับรุ่นน้อง โดยทางวัดทำหน้าที่ให้คำปรึกษา
และสนับสนุนการรวมกลุ่มของเยาวชน รวมถึงเรื่องอาหารและค่าเดินทาง
แรงบันดาลใจและความฝัน
ต้อง
การปลูกฝังให้เยาวชนแต่ละคนตระหนักในความรับผิดชอบ
และการแสดงกิจกรรมที่ไม่หวังผลตอบแทนหรือของรางวัล
แต่เพื่อสืบสานวัฒนธรรมที่ดีงามให้คงอยู่
(สิ่งที่อยากฝากไว้)
“ข้อคิดเห็นในการทำงานกับเด็กเยาวชน 7 ประการ คือ 1.ให้ใจ เปิดใจตนเอง รับฟัง เพื่อนำไปสู่การเปิดใจเขา 2.ให้เวลา ทุ่มเทเวลาให้เด็ก หาจังหวะที่เหมาะสม 3.ให้
กำลังใจ เช่น คำชื่นชม ประกาศเกียรติคุณ 4. ให้โอกาส
ให้บทบาทเยาวชนมีส่วนร่วมในกิจกรรมของหมู่บ้าน
เช่นเชิญเยาวชนร่วมให้ความคิดเห็นในการประชุมหมู่บ้าน 5. ให้พื้นที่
เปิดพื้นที่แก่เด็กเยาวชน
6. ให้การหนุนเสริมเยาวชนได้ทำกิจกรรมเล็กๆ ในชุมชนอย่างต่อเนื่อง
โดยไม่ทิ้งระยะห่างนานเกินไป และ 7. เป็นที่ปรึกษาแก่เด็กในทุกๆ เรื่อง”