ศิษย์ดี เพราะมีครูเป็นแบบอย่าง
อ.ประไพ จริตเอก โรงเรียนสายน้ำผึ้ง ในพระอุปถัมภ์ฯ
เรา
ได้มีโอกาสไปพูดคุยกับน้องๆโรงเรียนสายน้ำผึ้งในพระอุปถัมภ์ฯ 2 กลุ่มคือ
น้องม.4 และรุ่นพี่ม.5 ซึ่งเข้าร่วมกิจกรรมจิตอาสาในโรงพยาบาลเหมือนกัน
การพูดคุยครั้งนี้ ครูพี่เลี้ยง (ครูที่ปรึกษา)
ได้มาส่งนักเรียนและพูดคุยกับเราด้วยว่า “จิตอาสา ทำให้นักเรียนเปลี่ยนไปอย่างไร”
อาจารย์
ประไพบอกว่าจิตอาสาในตัวนักเรียนสายน้ำผึ้ง อาจเกิดขึ้นได้โดยไม่รู้ตัว
ผลอันหนึ่งมาจากตัวพี่ๆ ที่ทำมาก่อนได้กระตุ้นให้น้องๆมาทำกิจกรรมต่อ
จิตอาสาในโรงพยาบาลแตกต่างจากจิตอาสาแบบเดิมที่มักจะทำกิจกรรมพัฒนาชนบท
เช่น ทาสีโรงเรียน ซึ่งบางครั้งก็ไม่ทำให้เกิดความตระหนักและเห็นความสำคัญ
ดีไม่ดีเด็กอาจจะเกิดทัศนคติต่อชนบทว่าด้อยพัฒนา (ดูถูกชนบท) อีกด้วย
แต่สำหรับอาจารย์ประไพความหมายของจิตอาสาคือผู้ให้ การให้ก็มีหลายระดับ
ให้อะไรก็ได้ที่เป็นประโยชน์และทำให้เกิดความภูมิใจ
สิ่ง
ที่ภูมิใจเมื่อได้เห็นความเปลี่ยนแปลงในตัวน้องๆ
คือพวกเขารู้จักการให้มากขึ้น
จากการปลูกฝังและพาไปทำกิจกรรมนอกโรงเรียนบ่อยๆ
แม้ตัวนักเรียนอาจจะไม่ซาบซึ้งมากนัก แต่ก็ได้สร้างนิสัยที่ดี
จบไปแล้วไม่ได้เหลวไหลไปเที่ยวห้าง (หรือสนุกสนานทำเพื่อตัวเองอย่างเดียว)
ทั้งนี้เพราะกิจกรรมจิตอาสา เป็นการเปิดโอกาสได้นักเรียนทำอะไรเพื่อสังคม
ไม่ใช่เรียน แล้วก็ไม่ได้โยงเข้ามาในชีวิตประจำวันของตัวเอง
จิตอาสายังทำให้นักเรียนย้อนกลับมาคิดถึงครอบครัวว่าตัวเองได้ทำอะไรให้ที่
บ้านบ้าง (หลังจากได้ลองทำเพื่อคนอื่นแล้ว)
เป็นการปลูกฝังความดีที่ไม่ต้องชี้แจง ไม่ต้องสั่งสอน
เพราะนักเรียนจะสัมผัสสิ่งที่ครูพูดได้ว่ามันออกมาจากใจ
ความ
เปลี่ยนแปลงในตัวนักเรียนอีกอย่างที่ครูสังเกตได้ในแต่ละคนคือ
เห็นสายตาที่มีประกายว่าอยากจะช่วยเหลือ
มีความกระตือรือร้นที่จะทำเพื่อคนอื่น
ส่วนในภาพรวมพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปของนักเรียนในชมรมคือ
ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมมากขึ้นกว่าเดิมมาก
พูด
ถึงจิตอาสาของชาวสายน้ำผึ้ง อาจารย์มีความเห็นว่า
ตอนนี้มีเป้าหมายเพียงแค่ชุมนุมเดียวก่อน เพราะถ้าใหญ่เกินไปจะเกินตัว
กิจกรรมที่ดำเนินการผ่านมาแล้วจะเป็นที่โรงพยาบาล
แต่ต่อไปอยากให้เด็กๆได้ลงไปสัมผัสชุมชน เช่น คลองเตย
เพราะปัจจุบันนักเรียน เหล่านี้ขาดทักษะในการเข้าหาคนอื่น
(ที่ผ่านมาได้ฝึกทักษะการเข้าหาเด็กเล็กด้วยการเล่น เช่น การบีบลูกโป่ง
ซึ่งเป็นเครื่องมือในการเชื่อมโยงให้เด็กเข้าหา)
เมื่อ
พูดถึงบทบาทการเป็นที่ปรึกษา
อาจารย์ประไพมองว่าตัวครูเองก็มีจุดอ่อนที่ยังไม่ยอมปล่อยเด็ก
เพราะห่วงกังวลเรื่องอุบัติเหตุ
ทั้งที่นักเรียนมีความคิดที่จะทำกิจกรรมโน่นนี่มากมาย เช่น
เข้าไปแก้ไขปัญหาการทะเลาะวิวาท โดยเฉพาะกลุ่มนักเรียนชั้นม.5
ที่ใจกว้างขึ้น มองโลกกว้างขึ้น มีความสามารถทำกิจกรรมได้มาก
มีความเป็นผู้ให้มากขึ้น แต่ก็มีปัญหาคือไม่มีเวลาทำกิจกรรม
ส่วนกลุ่มน้องม.4 นั้น ก็ยังบินเดี่ยวไม่ได้
ใน
การกระตุ้นเรื่องจิตอาสา นักเรียนอาจเห็นเพื่อนบางคนก็เรียนสบายๆ
ไม่ต้องทำกิจกรรมอะไรมาก จึงอยากให้มีการประชาสัมพันธ์
สร้างกระแสจิตอาสาของเยาวชน
นำเรื่องราวดีๆของเด็กเหล่านี้ลงหนังสือพิมพ์สักครั้ง
เพราะคิดว่าสื่อมีความสำคัญทำให้เกิดการยอมรับ
แต่ผลงานจิตอาสาของนักเรียนยังไม่เป็นที่พอใจ
อาจารย์ประไพอยากให้มีผลงานมากกว่านี้อีกหน่อย
สิ่ง
ที่คาดหวังในอนาคตคือ นักเรียนกลุ่มนี้จะเป็นกลุ่มแกนนำหลัก
เป็นแนวทางให้แก่นักเรียนรุ่นอื่น และมีนักเรียนหลายคนเป็นเด็กในชุมชน
หากพวกเขามีทักษะการเล่น การนำเกมส์ การเล่านิทาน ฯลฯ
ก็จะเป็นประโยชน์ในการทำกิจกรรมเพื่อชุมชน กิจกรรมต่อไป
อยากให้นักเรียนได้สัมผัสกับกลุ่มเด็กด้อยโอกาสที่ศูนย์เมอร์ซี่
ส่วน
คำแนะนำสำหรับโครงการจิตอาสาในโรงพยาบาลนั้น อาจารย์ประไพบอกว่า
แม้ตัวเองรู้สึกดีใจที่เด็กได้ไปโรงพยาบาลสักครั้งแล้วสามารถไปด้วยตัวเองใน
ครั้งต่อไปได้ แต่ก็ต้องการให้ดูแลเรื่องการเดินทาง
(เพราะเห็นห่วงนักเรียน)