การบ่มเพาะจากที่บ้าน
บ้านอยู่
พระโขนง พ่อกับแม่มีธุรกิจเล็กๆ (มีบ้านและห้องพักให้เช่า??)
ตอนแรกๆมินอยู่กับยายที่ต่างจังหวัดจนอายุ 15 ปี นานๆทีพ่อแม่จะไปหา
ตอนที่ยายป่วยก็ได้ไปเยี่ยมที่โรงพยาบาลก็ไปเดินดูแผนกเด็กด้วยตั้งแต่ก่อน
มาทำกิจกรรมจิตอาสา
แรง
บันดาลใจในการทำกิจกรรมจิตอาสา
ส่วนหนึ่งมาจากชีวิตและจากที่เห็นในชีวิตประจำวัน เช่น
ครอบครัวหนึ่งมียายแก่ๆนั่งรถเข็นเก่าๆมากที่เห็นเกือบทุก
หรือมีครอบครัวที่แม่กับลูกคุ้ยหาขยะขาย
แม่ของมินก็จะให้อาหารช่วยเหลือแบ่งปันกัน
และบอกเสมอว่าเวลาทำทานเราก็ทำตามฐานะที่มี
แม่
เป็นผู้นำครอบครัว และเป็นผู้นำในการให้ความช่วยเหลือคนอื่น
เมื่อเจอขอทานขาขาด แม่ก็จะถามว่าเป็นอย่างนี้มาก่อนหรือเปล่า
มีลูกมีเมียอย่างนี้ไหม ทำให้ทราบว่าเขาเป็นทหารมาก่อนและโดนระเบิดขาขาด
แต่ก็สามารถส่งลูกให้เรียนถึงปริญญาตรีได้
เวลาหนาวก็อยากบริจาคเสื้อกันหนาวที่ดอย ถ้าแม่มีเงินก็จะซื้ออย่างหนาๆ
ไปให้ ไม่ใช่แบบบางๆที่หน่วยงานต่างๆทำเพื่อภาพพจน์ของตัวเอง
เวลาลูกจะไปทำสิ่งดีๆให้ผู้อื่นแม่ก็จึงให้ไป
ที่
บ้านสอนเสมอว่าถ้าเราอยู่ในฐานะที่ดีกว่า ก็ต้องคำนึงคนที่ด้อยกว่า
บ้านเรามีพออยู่พอกินเราต้องสงสารคนที่เขาไม่ได้มีเหมือนเรา
ที่บ้านเป็นแรงบันดาลใจในการทำกิจกรรมจิตอาสาและสนับสนุนให้ช่วยเหลือคน
อื่น แม่เป็นคนรับอุปการะหลานๆ เพราะลุงไม่มีเวลามาให้ลูก
นอกจากนี้ก็ยังช่วยเหลือ บริจาค ให้ทานเป็นประจำ
(แม่ชวนไปบริจาคสิ่งของที่โรงเรียนและวัดที่ต่างจังหวัดบ่อย)
แม้
เวลากินข้าวก็จะสอนว่าต้องพยายามกินหมดไม่ให้เหลือ นึกถึงคนที่เขาไม่มีกิน
ส่วนกิจกรรมของครอบครัว เช่น วันเกิดของคุณแม่
ก็ได้ชวนกันไปเลี้ยงข้าวเด็กกำพร้า (แทนที่จะเลี้ยงสังสรรค์กันเอง)
ประสบการณ์และความประทับใจ
มิน บอกว่าจิตอาสาทำให้เราคิดได้ว่าถึงแม้ตัวเองไม่มีน้อง ก็สามารถดูแลเอาใจใส่ห่วงใยน้องคนอื่นๆได้ สิ่งที่เราทำเล็กๆน้อยๆ จะส่งผลเป็นยารักษาอย่างหนึ่งให้น้องคลายเครียดไม่อยากให้น้องจมปลักกับความเจ็บป่วย พ่อแม่อาจไม่ค่อยมีเวลาเอาใจใส่ เราได้ช่วยแบ่งเบาภาระของพ่อแม่เขา เหมือนเราเป็นตัวช่วย แม้จะเล็กๆ แต่ก็สำคัญ ตอนแรกพ่อแม่ก็เป็นห่วงลูกเขา เพราะลูกที่ป่วยไม่แข็งแรงเท่าไร แต่เมื่อเห็นเราเข้ากับลูกเขาได้ก็สบายใจ มินบอกว่า เด็กจะเข้ากันๆได้ง่ายกว่าผิดกับผู้ใหญ่ที่คิดเป็นวิชาการ พูดคุยเหมือนเป็นคำสั่ง จึงเข้ากับเด็กได้ยากกว่า
อะไรที่ได้เรียนรู้มากขึ้น
มิน ก็เช่นกัน ช่วยเสริมว่า การเข้ากับเด็กได้ดีมีผลต่อการเข้าสังคมภายนอกที่ไม่ใช่ญาติของเรา เขา
เป็นเพื่อนมนุษย์เช่นเดียวกันต้องรู้จักสร้างความสัมพันธ์กัน
การที่เราไปเราก็เป็นกำลังใจให้เขาอยู่ต่อไป
ให้เขารู้ว่าเราเป็นอีกคนที่เป็นกำลังใจอยู่ห่างๆ ให้เขาก้าวไปข้างหน้า
ไม่ท้อแท้
ตัวเองเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร
มิน
สะท้อนการเรียนรู้ชีวิตจากการได้เล่านิทานที่โรงพยาบาลให้น้องๆฟังว่า
ส่วนมากจะเอานิทานการผจญภัยตามธรรมชาติมาเล่าให้น้องฟัง
แต่ด้วยความที่ตัวเองเป็นคนพูดมากชอบสาธยาย
บางครั้งก็จะเล่าประสบการณ์ชีวิตและครอบครัวตัวเองให้น้องฟังด้วยว่า
ชีวิตเป็นมาอย่างไร เวลาน้อง ๆ ถามว่าพี่ชื่ออะไร มาจากไหน
ครอบครัวเป็นอย่างไร เป็นลูกคนที่เท่าไหร่ พอบอกว่าเป็นลูกคนเดียว
น้องก็บอกว่าดีจังไม่ต้องคอยแย่งกับพี่น้อง
ก็คุยกับน้องว่าเป็นลูกคนเดียวบางทีก็เหงาไม่มีเพื่อน
น้องบอกว่าดีจังพ่อแม่คงซื้ออะไรให้ทุกอย่าง
ตัวเองอยากได้อะไรต้องแลกกับการเรียน
ต้องมีข้อแลกเปลี่ยนจึงจะได้สิ่งนั้นมา อยากเป็นลูกคนเดียวแบบนั้นบ้าง
การ
ได้พบกับสังคมและโลกภายนอกเช่นนี้ มินจึงคิดเปรียบเทียบกับตัวเองว่า
ถ้ามีพี่น้องอาจได้ความรักไม่เท่ากัน
ตัวเองไม่มีน้องจึงรู้สึกว่าเขาเป็นน้องของเราคนหนึ่ง
เวลาคุยกับเขาก็สบายใจ เปรียบเทียบกับตัวเองว่ามียายอยู่
ตอนแรกก็เกลียดพ่อแม่ว่าไม่ยอมมาหา ตอนหลังก็ขอโทษที่ไม่เข้าใจ
การที่เข้ากับน้องโรงพยาบาลได้ดี
เพราะตัวเองไม่ได้รับความอบอุ่นโดยตรงจากพ่อแม่ในตอนแรก (ที่อยู่กับยาย)
เช่นเดียวกัน
ครั้งหนึ่งเคยร้องไห้เพราะเด็กคนหนึ่งเตรียมวาดภาพให้พ่อในวันพ่อแต่พ่อก็
ไม่มา
มินทิ้งท้ายว่าการทำกิจกรรมทำให้ตนเองรู้โลกกว้างมากขึ้นและรู้จักปรับตัว
จากเดิมที่เป็นคนปรับตัวยาก เข้ากับคนอื่นยาก เป็นตัวของตัวเองไม่ตามใคร
จิตอาสากับวัยรุ่น
มิน
เห็นว่าวัยรุ่นเป็นวัยหัวเลี้ยวหัวต่อ ชอบผจญภัยอยากลองโน่นลองนี่
ก็อยากให้มาลองทำสิ่งดีๆเหล่านี้ดู ถ้าวัยรุ่นคิดได้แทนที่จะไปแข่งรถ
แต่งรถ แล้วเอาไปซิ่ง มาเป็นอาสากู้ชีพหรือช่วยเก็บศพ ก็คงดีเรื่องจิตอาสาก็น่าสนใจสำหรับวัยรุ่นส่วนใหญ่ที่เป็นคนพอมีพอกิน เพราะพ่อแม่จะสอนว่าให้ช่วยเหลือคนอื่นอย่าง
เช่นที่เรียนโรงเรียนเก่า
มินเคยไปทำกิจกรรมตามหมู่บ้านที่ต่างจังหวัดในวันคริสมาส
ทำให้เรียนรู้ว่าทุกศาสนาต่างสอนคนเป็นคนดีช่วยเหลือกัน
ส่วนที่ไปแข่งรถคิดว่าเป็นคนรวยอาจจะไม่ค่อยสนใจเรื่องเหล่านี้