
ด.ญ.ปภัสรา เลิศอุดม (แพรว)
จิตอาสาของกลุ่มเป็นอย่างไร
น้อง
แพรวบ้านอยู่ฝั่งธน พ่อแม่มีอาชีพรับจ้าง แพรวเป็นผู้นำเพื่อน
เป็นหัวหน้าห้อง ม.3/3
รู้จักโครงการโรงพยาบาลมีสุขก็เพราะชวนเพื่อนไปค้นหาในอินเตอร์เน็ต
แพรวทำหน้าที่เป็นผู้ประสานงานระหว่างพี่ๆจากมูลนิธิกระจกเงาและเพื่อนๆใน
โรงเรียน
กิจกรรม
จิตอาสาของแพรว ไม่ใช่เฉพาะในโรงพยาบาล แต่มีมาก่อนหน้านี้แล้ว
โดยแพรวมีบทบาทในการชวนเพื่อนไปรับของบริจาคในเทศกาลปีใหม่
โดยประชาสัมพันธ์กับกลุ่มเพื่อนในโรงเรียน
เพื่อรวบรวมเป็นของขวัญเล็กๆน้อยๆไปเอาไปให้น้อง
แพรวบอกว่าชวนเพื่อนไปทำจิตอาสาในโรงพยาบาลไม่ยาก
เพราะไปด้วยความสมัครใจไม่บังคับ แม้จำนวนที่ไปจะแค่ 10 กว่าคน
แต่ก็อยู่ในระดับที่พอใจ
พูด
ถึงจุดเด่นของโครงการโรงพยาบาลมีสุขนี้ มีกิจกรรมให้ทำเรื่อยๆ
ได้ลงพื้นที่จริง ไม่น่าเบื่อ ได้ไปกับเพื่อน ได้อยู่กับน้อง
ได้รับประสบการณ์ตรง ส่วนกลุ่มจิตอาสาของโรงเรียนสตรีศรีสุริโยไท
แพรวบอกว่า มีจุดเด่นเพราะว่าไม่มีใครเหมือนเรา
เพื่อนกลุ่มอื่นๆในโรงเรียนก็จะไม่ได้ทำโครงการที่เป็นรูปธรรมสามารถเห็นผล
ได้ชัดเหมือนของเรา อีกอย่างจุดเด่นอยู่ที่ใจ เราไม่ได้ทำเพื่อเอาหน้า
ทำด้วยใจของเรา (คำว่าอาสาคือทำด้วยใจไม่ทำเอาหน้า) แพรวย้ำว่า พวกเรา
“หน้าตาไม่ดีแต่จิตใจดี” นี่คือนิยามของกลุ่มจิตอาสาสตรีศรีสุริโยไท
ประสบการณ์และความประทับใจ
แพรว
ไม่ค่อยมีเวลาว่างเพราะเป็นลูกคนโต ต้องดูน้องสองคน
วันหยุดเสาร์-อาทิตย์ต้องรีดผ้า
กลับจากทำจิตอาสาที่โรงพยาบาลถึงบ้านก็เหนื่อยมาก
แต่พอนึกถึงรอยยิ้มของน้องๆที่โรงพยาบาลแล้วรู้สึกดี (หายเหนื่อย)
ไป
โรงพยาบาลอยู่ทั้งหมดประมาณ 3-4 ครั้ง
ได้เล่นกับน้องๆแล้วก็รู้สึกว่าน้องที่เจอเหมือนเด็กปกติทั่วไป
อย่างเช่นครั้งแรกเจอน้องตัวเล็กๆคนหนึ่ง ป่วยเป็นโรคมะเร็ง
แต่เขายังเล่นอารมณ์ดี ยิ้มแย้ม แพรวก็ได้ชวนน้องวาดรูประบายสี ครั้งที่ 2
เมื่อได้เล่นกับเขา ตอนถึงเวลากลับก็บอกน้องว่าจะกลับแล้ว
ไว้วันหลังค่อยมาเจอกันอีก น้องโบกมืออำลาและก็ยิ้ม แต่พอครั้งที่ 3
น้องกลับบ้านไปแล้ว
แพรว
มองว่าคุณค่าของงานที่พวกเราไปทำได้ช่วยแบ่งเบาภาระพยาบาล
เพราะพยาบาลมีงานเยอะอยู่แล้ว ไม่มีเวลามาเล่นน้อง
ทำได้แค่เพียงหน้าที่มาตรวจดูว่าวันนี้เป็นอย่างไร
การที่เราไปทำจิตอาสาก็แบ่งเบา ทำให้พยาบาลมีเวลาปฏิบัติหน้าที่ได้มากขึ้น
นอกจากนี้ยังช่วยแบ่งเบาภาระของคนดูแล เพราะน้องบางคนญาติอยู่ไกลไม่ได้มาหา
ต้องอยู่คนเดียวอาจรู้สึกเหงา เราก็ได้ช่วยให้น้องมีความสุขมากขึ้น
การเรียนรู้และเปลี่ยนแปลง
นอก
จากเราสามารถเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงของน้องๆในโรงพยาบาลในแต่ละครั้งที่เรา
มาทำกิจกรรมด้วย อย่างเช่นน้องคนที่เคยเจอ พอไปอีกครั้งไม่ได้เจอแล้ว
เพราะอาการดีขึ้น หมอจึงให้กลับบ้าน ทำให้เราดีใจด้วย
แม้เราจะทำโดยไม่ได้หวังอะไร แต่เราก็จะได้ความสุขตอบแทน
เห็นเขายิ้มเราก็ยิ้มได้แล้ว
แพรวยังสะท้อนการเรียนรู้และการเปลี่ยนแปลงของตัวเองทั้งในเรื่องส่วนตัว
ที่บ้าน และที่โรงเรียนให้ฟังอีกด้วย
ในเรื่องส่วนตัว
อย่างแรกที่เปลี่ยนคือจากเดิม ปกติเป็นคนไม่ค่อยเรียบร้อย เช่น
พูดคำหยาบในระหว่างเพื่อนๆด้วยกัน แต่เราไม่สามารถไปพูดกับน้องได้
ทำให้การพูดสุภาพขึ้น เรื่องอารมณ์และการแสดงออกก็เช่นกัน
เราต้องเก็บความรู้สึกให้ได้ เพราะบางทีน้องยังควบคุมอารมณ์ไม่ได้
ทำให้เราโกรธก็ต้องเก็บไว้ในใจ จากเดิมที่ตัวเองเป็นอารมณ์แปรปรวน
ก็ได้ฝึกความอดทน
สิ่ง
ที่ตัวเองเปลี่ยนแปลงมากที่สุดคือเรื่องอารมณ์ แต่ก่อนอารมณ์ฉุนง่าย
ไปเล่นกับน้องก็ต้องฝึกความอดทนเมื่อน้องแสดงอารมณ์รุนแรงกลับมา
เพราะสิ่งที่จะทำให้เราเปลี่ยนแปลงได้ เราต้องลงไปเจอด้วยตัวเอง
ทำนองสิบปากว่าไม่เท่าตาเห็นนั่นเอง
อยู่ที่บ้าน
แพวไม่ค่อยเล่นกับน้อง ชอบอยู่โลกส่วนตัวมากกว่า
เมื่อผ่านจิตอาสาแล้วกลับไปบ้าน ทำให้เราเปิดกว้างมากขึ้น
เล่นกับน้องมากขึ้น (ปกติเมื่อน้องดื้อก็ถูกดุ) ไม่ใช้คำพูดที่รุนแรง
(เพราะน้องว่ายังเล็กอยู่ ยังไม่มีวุฒิภาวะ)
ทำให้เราเข้าใจเด็กและรักเด็กมากขึ้น
ที่โรงเรียน
แต่ก่อนที่จะมาสอบเข้าโรงเรียนสตรีศรีสุริโยไทนี้ แพรวจะสอบได้ที่ 1-2
ตลอด แต่พอย้ายโรงเรียนมาก็รู้ว่ามีคนที่เก่งกว่าเรา
ทำให้รู้จักตัวเองและยอมรับตัวเองมากขึ้น
และการไปทำจิตอาสาก็ให้ผลดีไม่ส่งผลกระทบต่อการเรียนเพราะไปทำวันหยุด
หากอยู่แต่ที่บ้านก็น่าเบื่อ
การ
เรียนอยู่แต่ในห้องเรียนเพื่อสอบเพื่อเอาวุฒิอย่างเดียวไม่สามารถเอาไปใช้ใน
ชีวิตประจำวันได้ และความรู้จำนวนมากก็ไม่ได้ใช้จริงในชีวิตประจำวัน เช่น
วิชาคณิตศาสตร์ที่ใช้จริงก็แค่บวกลบคูณหาร เรื่องรูทก็ไม่ได้เอาไปใช้
การออกไปทำกิจกรรมจิตอาสากับเพื่อน
ทำให้ได้ประสบการณ์และเรียนรู้กับคนภายนอก
ได้เรียนรู้การเข้ากับสังคมจากการแลกเปลี่ยนพูดคุยกับคนอื่นๆ
ซึ่งเอาไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
แพรว
บอกว่าเห็นเพื่อนเปลี่ยนแปลงในเรื่องอารมณ์ดีขึ้น
รู้สึกว่ามีความคิดมากขึ้น เติบโตมากขึ้น คำหยาบก็ลดน้อยลง
(ในบางสถานการณ์) เพราะจิตอาสาทำแล้วเปลี่ยนแปลงนิสัยเรา
การทำให้คนอื่นมีความสุขเป็นการแบ่งเบาภาระสังคม ในทางตรงกันข้าม
ความคิดเราเติบโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ คิดได้กว้างไม่ได้อยู่ในมุมเล็กๆ
จิตอาสากับวัยรุ่น
แพรว
พูดถึงจิตอาสากับวัยรุ่นว่า คนเราชีวิตมันสั้น
ไม่รู้ว่าวันไหนเราจะไม่ได้อยู่บนโลกนี้แล้วสิ่งไหนดีสิ่งไหนที่ถูกต้อง
ทำแล้วมีความสุขคนอื่นไม่เดือนร้อนก็ควรทำ เพราะจะทำให้ชีวิตเรามีความสุข
ไม่ต้องคิดว่าจะตายวันไหนแล้วค่อยทำ แต่ทำวันนี้ให้ดีที่สุด
อยากให้วัยรุ่นไทยหลายคนที่ไม่ได้มีโอกาส มาทำกิจกรรมดีๆแบบนี้ดู
ดีกว่าไปทำอะไรไร้สาระ ใช้เวลาว่างไม่เป็นประโยชน์
ส่วน
อนาคตของจิตอาสาในโรงเรียนศรีสุริโยไทนี้ แพรวในฐานแกนนำกลุ่ม
บอกว่าจะตั้งชมรมที่โรงเรียนเร็วๆนี้ อาจจะเป็นตอนขึ้น ม.4
(ถ้าได้เรียนอยู่ที่โรงเรียนเดิม) ตอนนี้ตั้งโครงการไว้แล้ว
จะลองประกาศรับสมาชิกในโรงเรียนดูก่อนว่าประสบความสำเร็จหรือไม่
ส่วน
การขยายผลเรื่องจิตอาสาในโรงพยาบาลนี้
แพรวคิดว่าเหตุปัจจัยที่จะทำให้เยาวชนเกิดจิตอาสา
สิ่งสำคัญอันดับแรกคือต้องมีการอธิบายให้ฟังว่าจิตอาสาหมายความว่าอะไร
ทำแล้วได้อะไร
หลังจากนั้นก็ต้องมีการเรียนรู้เชิงปฏิบัติการจริงก่อนลงพื้นที่ (workshop)
แล้วก็มาประชุมกัน แบ่งเวร แบ่งคนกันไปทำกิจกรรม
ส่วน
การประชาสัมพันธ์ขยายผลเรื่องจิตอาสา
จำเป็นจะต้องมีหน่วยงานภายนอกที่มีความรู้อย่างมูลนิธิกระจกเงามาช่วยด้วย
และสุดท้ายถ้าจะให้จิตอาสาดำเนินงานไปเรื่อย ๆ ต้องสร้างแรงจูงใจ
จูงใจด้วยการอบรมอาจใช้ไม่ได้ อาจเข้าไม่ถึงทุกกลุ่ม
(อาจต้องหาวิธีการอื่นๆประกอบด้วย)
เพราะการสร้างแรงจูงใจเรื่องจิตสาธารณะทำยากมาก
(ต้องค่อยๆบ่มเพาะจากประสบการณ์จริงไปเรื่อยๆ)