การหนุนเสริมจากที่บ้านและโรงเรียน
ซึมซับจากพ่อ
โบว์
เป็นลูกสาวคนเดียว พ่อเคยเป็นครูมาก่อนตอนนี้ทำทัวร์เป็นหัวหน้าไกด์
โบว์มีโอกาสไปอยู่ที่ทำงานกับพ่อตอนเย็นๆบ่อยๆเข้า
ได้เรียนรู้และซึมซับเรื่องการแสดงออก
การดูแลผู้บริการและให้ความสุขแก่ผู้อื่น ทำให้ตัวเองกล้าแสดงออกมาก
ซึมซับกิจกรรมสันทนาการจากพ่อ ทำให้ได้เอาไปใช้เวลามีค่ายลูกเสือ
ก็ปรึกษาพ่อเรื่องกิจกรรม เช่น จะแสดงละครเรื่องอะไร ควรจะเล่นอย่างไร
ทำให้มีแนวคิดกว้างขึ้น ไม่ใช่เล่นแค่จันทโครพ (เล่นรอบกองไฟพื้นฐานๆ)
อย่างเดียว
มี
ญาติคนหนึ่งเป็นจิตอาสาของมูลนิธิร่วมกตัญญู
ช่วยเป็นแรงบันดาลใจและชักชวนโบว์ไปลองทำดู แต่ด้วยความที่ตัวเองจิตเราอ่อน
พ่อจึงเป็นห่วง ไม่อยากให้ไปทำ
เพราะต้องพบเจอกับสถานการณ์น่าหวาดเสียวและทำงานกับศพ ไม่ได้ทำกับคน
ส่วนจิตอาสาต่างๆที่โบว์เข้าร่วมทุกวันนี้ แม้ว่าที่บ้านสนับสนุน
แต่ก็อดเป็นห่วงไม่ได้ ถ้าไปทำอะไรกลับดึกๆ ก็ขอให้บอกด้วยแล้วกัน
ครูช่วยสร้างโอกาส
สิ่ง
ที่โบว์ทำอยู่ในโรงเรียน แม้จะไม่รู้ตัวมาก่อนว่าเป็นจิตอาสาหรือไม่ เช่น
เป็นกรรมการนักเรียน เป็นทีมจัดงานทำบุญงานปีใหม่
และช่วยงานต่างๆของโรงเรียน ฯลฯ ตั้งแต่อยู่ชั้น ม. 1 นี้
ทำให้ต้องอยู่ช่วยงานดึกดื่น เพราะโบว์เป็นคนเอาจริงเอาจังนี้
นอกเหนือจากว่ามันมาจากใจของตัวเองแล้ว อาจารย์ก็มีส่วนสนับสนุนที่สำคัญ
อาจารย์
สุวรัตน์ เชาวนปรีชา เป็นคนแรกที่ผลักดันให้โบว์ได้คิด ได้ทำ
แม้โบว์จะมีความคิดอยู่แต่ถ้าขาดโอกาสก็คงไม่ได้ลงมือทำ
อาจารย์สุวรัตน์ทำให้โบว์มีโอกาสเรียนรู้และเติบโตจนถึงจุดนี้
เพราะการสอนของครูเน้นให้นักเรียนคิดได้ เช่นคำสอนที่โบว์ไม่เคยลืม “ไม่ต้องเปลี่ยนที่เขา เปลี่ยนที่เราเอง” เมื่ออาจารย์ทำให้นักเรียนคิดได้ ก็จะทำให้นักเรียนก้าวหน้าไปทำสิ่งดีๆอื่นๆต่อไปไม่หยุดอยู่กับที่
โบว์
เป็นคนหนึ่งที่อาจารย์ให้โอกาสในการทำกิจกรรมและเรียนรู้พัฒนาตนเอง
เนื่องจากอาจารย์จะหากมองเห็นว่ากิจกรรมอะไรเหมาะสมกับนักเรียนคนไหน
อาจารย์อยากให้เด็กก้าวออกไปเรียนรู้ข้างนอก ไปสัมผัสความลำบากข้างนอก
ไม่ใช่ชีวิตมีแต่นอนห้องแอร์ เรียนพิเศษ เล่นคอมพิวเตอร์
หรือชีวิตมีแต่อยู่ในโรงเรียนและสยามดิสคัฟเวอรี่
โบว์มองว่าการที่ตัวเองมีโอกาสไปค่ายและทำกิจกรรมต่างๆ
ชีวิตห่างจากคอมพิวเตอร์สัก 7 วัน ทำให้เราเติบโตเป็นผู้ใหญ่ไปอีก 1 ก้าว
แม้
ว่านักเรียนมีความต้องการทำกิจกรรมเรียนรู้นอกห้องเรียน
และจะได้รับการสนับสนุนจากอาจารย์เป็นอย่างดี
แต่โบว์ก็ยังเห็นว่านโยบายของผู้บริหารโรงเรียนก็สำคัญเช่นเดียวกัน
จะเห็นความแตกต่างระหว่างผู้บริหารที่เห็นความสำคัญของการเรียนรู้นอกห้อง
เรียนและการเรียนรู้จากสถานการณ์จริง
และผู้บริหารที่ให้ความสำคัญกับการเรียนในห้องเรียนและผลสัมฤทธิ์ทางการ
เรียนของนักเรียน ว่าซึ่งมีผลต่อการบ่มเพาะจิตอาสาให้เกิดแก่นักเรียนมาก
ทำให้จิตอาสาอยู่ในวิถีชีวิต
ตัวอย่าง
ที่แสดงให้เห็นว่าการบ่มเพาะจากที่บ้านและโรงเรียนทำให้จิตอาสาอยู่ในวิถี
ชีวิตของโบว์ คือการสอนติวการบ้านฟรีให้น้องตั้งแต่ชั้นป.1-6 ที่บ้าน
แม้ว่าโบว์ไม่เอาเงิน เพราะตัวเองได้เรียนรู้ ได้ต้องปรับและลับคมสมองมาก
เนื่องจากหลักสูตรที่สอนเด็กแต่ละช่วงอายุไม่เหมือนกัน
ทำให้ได้ทบทวนความรู้เดิม และที่สำคัญได้ช่วยดึงเด็กไม่ให้ไปร้านเกมส์
ทุกคนรอบตัวก็ชื่นชมเรา เราก็ภูมิใจว่าเราทำได้ สอนหนังสือเด็กได้
แต่พ่อแม่เด็กก็ให้ตอบแทนบ้างเล็กน้อยเป็นสินน้ำใจ
ทำให้โบว์รู้ว่าคุณค่าของเงินกว่าจะได้มายากแค่ไหน
อีกด้วยความ สนใจในชีวิตและจิตอาสาก็เป็นเรื่องเดียวกันได้ โบว์เป็นโรคหอบ แต่ชอบการเต้นรำ จึงไปหัดเต้น cover dance (เป็นการเต้นเลียบแบบแต่พลิกแพลงจากต้นฉบับเดิมเล็กน้อย) นอกจากทำให้ร่างกายแข็งแรงแล้ว ยังได้เพื่อน ได้สังคม โบว์เริ่มเต้นตั้งแต่ม.3 (ปีที่แล้ว) และได้เอาความสามารถนี้ไปใช้ในการจัดงานวันเด็ก ใช้ในชมรมหมอน้อย โดยการท่าเต้นล้างมือ เพราะเพลงทำให้เด็กสนใจ เพลงเรียกคนได้ หรืออย่างเวลาไปแข่งขัน ประกวดเต้นก็ได้เงินด้วย หรือเวลาไปแสดง/ไปออกงานต่างๆก็ได้เงินค่ารถค่าขนมด้วยอีกต่างหาก
ความ
ชอบอีกอย่างหนึ่งคือคอมพิวเตอร์ ตั้งแต่สมัยอนุบาลจะช่างศึกษา ช่างสังเกต
และหัดแกะ แคะ รื้อ คอมพิวเตอร์ ทำให้สามารถซ่อมประกอบเครื่องได้
และขวนขวายหาความรู้จากหนังสือ หัดลองทำและศึกษาด้วยตัวเอง
ทำให้โบว์เก่งคอมพิวเตอร์กราฟฟิก สร้างเว็ปไซต์ได้เก่งที่สุดในชมรมหมอน้อย
ตอนนี้ก็ได้ใช้ความสามารถด้านคอมพิวเตอร์ในงานจิตอาสา
คือกำลังรวบรวมข้อมูลของนักเรียนในชมรม รวบรวมกิจกรรมจิตอาสาว่าอะไรบ้าง
เพื่อเผยแพร่ในเว็ปไซต์ของโรงเรียน
และยังมีความคิดสร้างหน้าเว็ปเพจเกี่ยวกับวิชาศิลป์ญี่ปุ่นที่ตัวเองเรียน
อยู่เชื่อมกับเว็ปไซต์ของโรงเรียน ทำให้เว็ปไซต์ของโรงเรียนน่าสนใจมากขึ้น
จาก
ความสนใจ กระตือรือร้น เอาจริงเอาจัง และทำจนประสบผลสำเร็จนี้
เพื่อนๆน้องๆเห็นแล้วรู้สึกว่า ทำแล้วน่าสนุก ก็อยากจะเข้าร่วม
เรียกได้ว่าโบว์เป็นตัวดึงดูด เป็นจุดสนใจให้กับเพื่อนๆและน้องๆได้ด้วย
ประสบการณ์และความประทับใจ
ย้อนรอยเส้นทางจิตอาสา
โบว์
เล่าให้ฟังถึงประสบการณ์จิตอาสาในโรงเรียนว่า เริ่มมาตั้งแต่ตอนอยู่ม.1
ได้รับเลือกเป็นหัวหน้าห้อง ครูให้ไปอบรมค่ายผู้นำต้นกล้า
(ภาวะความเป็นผู้นำ สอนให้เราเสียสละ กล้าคิด กล้าทำ กล้านำ
และได้ทักษะการนำสันทนาการด้วย
พอ
ขึ้นชั้นม.2 ก็เป็นคณะกรรมการโรงเรียน ได้ช่วยโรงเรียนหลายอย่างมาก เช่น
ทำกิจกรรม goodbye senior (อำลารุ่นพี่),
ค่ายโรงพยาบาลรามาธิบดีเกี่ยวกับเพศศึกษา, อบรมเรื่องเพศศึกษาของสสส.,
อบรมเรื่องการเสียสละและเรียนรู้ขั้นตอนต่างๆของสภากาชาดไทย
(แต่ตอนนั้นโบว์อายุยังน้อย เลยยังไม่ได้ช่วยสภากาชาด
เพราะมีข้อกำหนดเรื่องอายุต้องครบ 17 ปีก่อน)
ชั้น
ม. 3 โบว์ไม่ค่อยได้ทำกิจกรรมมากนัก เพราะเน้นเรื่องเรียนมากขึ้น
แต่ก็ได้ทำกิจกรรมปัจฉิมนิเทศ (อำลาตัวเองขึ้นชั้นม.4)
ต้องคิดสร้างสรรค์งานทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นพิธีเปิด หรือกิจกรรมระหว่างงาน
ฯลฯ, ได้ไปช่วยงานในชมรมหมอน้อยอยู่เป็นระยะ
ในช่วงนี้เองเริ่มเข้าเป็นทีมงานกับเพื่อนคนอื่นๆ เช่น ฟิวส์ (นายประดิษฐ์
จันทร์มาก)
พอ
ขึ้นชั้นม. 4 โบว์ก็เข้าชมรมหมอน้อยเต็มตัว เนื่องจากตอนม.ต้น
ไปอบรมและเรียนรู้ข้างนอกบ่อยครั้ง แต่ยังไม่ได้ลงมือทำจริง
เป็นการสั่งสมประสบการณ์ไว้ทำงานจริงตอนม.ปลาย
เมื่อมูลนิธิกระจกเงาเข้ามาชักชวนและให้ความรู้เรื่องจิตอาสาในโรงพยาบาล
มีการอบรมให้ด้วย รับสมัครประมาณ 20 คน แค่ขอรายชื่อโบว์ก็สนใจแล้ว
ยิ่งเห็นรูปและตัวอย่างกิจกรรมที่พี่ๆนำเสนอแล้วก็ยิ่งรู้สึกว่าน่าสนุก
สนใจมากยิ่งขึ้นไปอีก ไม่ได้คิดว่าเป็นจิตอาสา รู้แค่ว่าเราอยากจะทำมาก
นักสร้างความสุขในโรงพยาบาล
จิต
อาสาในโรงพยาบาลครั้งแรกของโบว์เริ่มต้นที่โรงพยาบาลรามาธิบดี
กับที่ป่วยรุนแรง เช่นมะเร็ง เป็นต้น
ซึ่งทำให้โบว์รู้สึกหดหู่ว่าทำไมน้องๆป่วยหนักขนาดนี้ตั้งแต่เด็ก
หลังจากได้ไปทำกิจกรรมที่โรงพยาบาลรามาธิบดีได้ 3 ครั้ง แบบไปเช้ากลับเย็น
โบว์สะท้อนว่าทำให้เราได้ออกไปข้างนอก ได้เห็นโลกภายนอกที่ไม่เคยเจอ
และได้เติมช่องว่างเล็กๆแต่มีคุณค่าให้กับชีวิตของผู้ป่วยและญาติที่คอยดูแล
เช่น แม่ต้องจูงลูกที่ป่วยกระจองอแงไปลงทะเบียน รอพบหมอ จ่ายเงิน ไปรับยา
ฯลฯ แต่เมื่อมีนักเรียนอย่างโบว์เข้าไปช่วยพูดคุย ดูแล ชวนน้องเล่น
ทำให้แม่ไว้วางใจฝากลูกไว้กับเรา แล้วได้ไปทำธุระในโรงพยาบาล ได้สะดวกขึ้น
หลัง
จากเสร็จกิจกรรมแต่ละครั้งที่โรงพยาบาลรามาธิบดี
โบว์และเพื่อนๆได้ไปถอดบทเรียนและวางแผนว่าจะทำอะไรต่อที่มูลนิธิกระจกเงา
และได้ถือโอกาสนี้ในการเตรียมกิจกรรมจิตอาสาในครั้งต่อๆไปด้วย เช่น
ผ่านครั้งแรกไปแล้ว ครั้งที่ 2 ตกลงกันว่าจะทำกิจกรรมวาดรูประบายสี
ทำตุ๊กตา ก็มาช่วยกันตัดกระดาษเตรียมไว้
โรง
พยาบาลที่ 2 ที่โบว์ได้ไปร่วมสร้างความสุขคือโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า
ซึ่งเช่นเดียวกับโรงพยาบาลรามาธิบดี
ที่โบว์ได้ร่วมกันคิดกับพี่ๆมูลนิธิกระจกเงาว่าจะทำกิจกรรมอย่างไรดีกับผู้
ป่วยที่เป็นผู้ใหญ่ เพราะที่ผ่านมาเราทำแต่กับเด็ก
สุดท้ายสรุปได้ว่าจะเล่นเกมส์ทายภาพ
โดยโบว์เป็นคนออกท่าออกทางบอกใบ้ให้พี่ๆทหารเป็นคนทาย
ปรากฏว่าพี่ๆทหารหัวเราะเฮฮาและขำโบว์มาก
เพราะโบว์เป็นนักสร้างความบันเทิงได้ดี มีท่าทางแปลกๆมาบอกใบ้
และการพูดคุยก็ตลกสนุกสนาน นอกจากได้คลายเครียดให้กับพวกพี่ๆทหารแล้ว
โบว์ยังชวนให้ช่วยทำลูกโป่งเพื่อเอาไปให้เด็กป่วยที่โรงพยาบาลพระมงกุฎด้วย
เป็นการให้ผู้ป่วยใหญ่ทำให้ผู้ป่วยเด็กด้วย
โบว์
ประทับใจลุงทหารคนหนึ่งนอนรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลมานานมากแล้ว
ทำอะไรไม่ได้ อยู่บนเตียงอย่างเดียว พอโบว์ไปทำกิจกรรมทำให้เขาได้ยิ้ม
โบว์สัมผัสได้ว่าคนไม่สบาย เมื่อได้คนนอกมาคุยก็รู้สึกเบิกบาน
จากที่ตอนแรกๆมักจะรำพึงรำพันว่าเมื่อไรจะหายก็ไม่รู้
แต่พอได้รับกำลังใจจากโบว์ว่า หายไม่หายก็ไม่เป็นไร
แค่ได้มีชีวิตอยู่เพื่อใครบางคนสำคัญกว่า
ทำให้ลุงทหารคลายความเศร้าและความเครียดลง
ลุงทหารรู้สึกดีโบว์รู้สึกดีมากเช่นกัน
นอก
จากสร้างความสุขให้กับผู้ใหญ่แล้ว
โบว์ก็ได้สัมผัสกับชีวิตเด็กป่วยที่โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้าด้วย
ทำให้เห็นว่าเด็กๆมาจากต่างฐานะ บางคนยากจน ไม่รู้เอาเงินที่ไหนมาโรงพยาบาล
ต่างสังคม เด็กบางคนพูดจาหยาบคายมาก
ทำให้เข้าใจลึกซึ้งถึงคำว่าสังคมเป็นเป้าหลอมเด็ก
และโบว์ได้ช่วยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมน้องเท่าที่ทำได้ เช่น
บอกว่าถ้าน้องพูดหยาบ พี่จะไม่มาเล่น ไม่มาคุยด้วย
ทำให้เจอหน้ากันทีไรก็ได้ยินแต่คำพูดสุภาพจากน้องๆ
จิตอาสากับกลุ่มเด็กๆที่โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้านี้
ก็เช่นเดียวกับที่โรงพยาบาลรามาธิบดี คือได้ช่วยแบ่งเบาผู้ปกครอง
ให้มีเวลาไปธุระอย่างอื่นได้สะดวกขึ้น
โดยที่ลูกๆก็ได้วิ่งเล่นในโรงพยาบาลเหมือนอยู่ที่บ้านอย่างที่ไม่เคยเป็นมา
ก่อน
ส่วน
โรงพยาบาลเด็ก (สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี) โบว์เคยไปครั้งเดียว
และครั้งที่ไปนั้นปรากฏว่ามีพี่ๆอาสาสมัครมาเยอะกว่าเด็กป่วย (โควตาเต็ม)
แต่โบว์ก็ได้ช่วยพับกระดาษหนังสือพิมพ์ให้เป็นซองเพื่อใส่สำลีที่ใช้แล้ว
โดยไม่ได้หวังลายเซ็นรับรองจากโรงพยาบาลว่าได้มาทำกิจกรรม
(เพื่อเก็บสะสมชั่วโมง) และเมื่อมีโอกาสก็ชวนน้องเล่น
มีน้องคนหนึ่งเจ็บท้องอยู่ตลอดเวลา เดินไม่ได้ แม่ก็พยายามให้เดิน
พอโบว์ไปชวนเล่น (ชวนให้น้องทำกิจกรรมเพื่อให้เขาได้เคลื่อนไหว)
ทำให้เขาลืมความเจ็บปวดได้ แต่พอเลิกเล่นแล้วปวดก็ปวดอีก
การชวนเล่นของโบว์ทำให้น้องๆคลายความเจ็บปวดได้อย่างเห็นได้ชัด
จิต
อาสาและการเรียนรู้มีอยู่ทุกที่ในโรงพยาบาล แค่การได้ช่วยจัดรองเท้า จัดของ
ฯลฯ ก็ทำให้เราได้เรียนรู้และเปลี่ยนแปลง
อย่างน้อยๆก็ได้ทำให้เราได้ความเป็นระเบียบ ความอิสระ ความมีน้ำใจ
และช่วยสานต่อสู่จิตอาสาในยิ่งใหญ่ขึ้น เช่น โบว์ได้ไปช่วยงานมหกรรมพลัง
เยาวชน พลังสังคม
ที่ทำให้ได้ข้อคิดกับตัวเองว่าการทำงานเหล่านี้ต้องทำด้วยใจจริง
เพราะไม่ได้อะไรตอบแทนจริงๆ เหนื่อยก็เหนื่อย
เพราะต้องวิ่งไปวิ่งมาตลอดเวลา
เพราะโบว์ไม่ใช่วัยรุ่นประเภทที่นั่งทำหน้าสวยอยู่กับที่
แต่ไม่มีความกระตือรือร้นช่วยเหลือคนอื่น
การเรียนรู้และเปลี่ยนแปลง
ตัวเองเปลี่ยนแปลง
โบว์
บอกว่าจิตอาสามันเกิดขึ้นกับใจ อธิบายไม่ได้ บอกได้แค่ว่ามีความสุข
ทำแล้วทุกอย่างมันโล่ง เหมือนการทำบุญที่เวลาเราได้บริจาค ได้ให้
ได้เสียสละ ทำให้เราโล่ง ปลดความเครียดออกได้
สังเกตตัวเองว่าเวลาเครียดๆอยู่
พอออกไปทำกิจกรรมที่โรงพยาบาลกลับมาทำให้ปลดความทุกข์ออกหมดเลย
ไป
เจอคนป่วยในโรงพยาบาล ทำให้เราได้คิดเยอะมาก ทำให้เกิดข้อเปรียบเทียบ เช่น
เขาอยู่แต่ห้องสี่เหลี่ยม แต่เรามีโอกาสไปไหนต่อไหนมากกว่า
เขาเจอเรื่องร้ายแรงแต่ไม่หมดกำลังใจเหมือนเราเจอปัญหาเล็กน้อยก็คิดว่าเป็น
เรื่องใหญ่ เมื่อโบว์ได้ฟังพี่ทหารพูดว่า “หายไม่หายช่างมัน
แค่ได้ทำประโยชน์ให้กับใครบางคนก็ดีสำหรับชีวิตแล้ว”
ทำให้อึ้งและหันว่ามองตัวเองว่า เราสอบตกแค่วิชาเดียว
ไม่เห็นต้องเป็นทุกข์ขนาดนั้นเลย ไปทำให้ดีในวิชาอื่นก็ได้
เรียกว่าการไปโรงพยาบาลเป็นลักษณะยิ่งให้ยิ่งได้รับ เราให้เขา เขาให้เรา
โดยไม่รู้ตัว เช่น โบว์ไปพาน้องๆเล่น จากที่เป็นคนไม่ชอบเด็กเลย
เมื่อได้พยายามฝืนตัวเองลองทำดู ก็ทำได้
และสร้างความภูมิใจให้กับตัวเองที่ก้าวพ้นอคติต่อเด็กๆได้
สิ่ง
ที่โบว์รู้สึกว่าตัวเองเปลี่ยนแปลงมากที่สุดคือ ความคิด การมองคนหลายแง่
เพราะการได้เห็นภาพรวมของสังคมปัจจุบัน
เป็นจุดหนึ่งทำให้เราได้ก้าวต่อไปโดยที่ไม่หยุดกับที่
เอาจุดลบของคนอื่นมาปรับปรุงเราได้ด้วย เมื่อก่อนมองคนในแง่ลบมาก
แต่จิตอาสาทำให้โบว์เปลี่ยนไป ไม่โกรธคนง่าย
ไม่ทะเลาะกับและขัดแย้งกับคนง่ายๆ ผ่อนสั้นผ่อนยาวมากขึ้น
นอกจากนี้ยังทำให้รู้จักการหลบหลีก การเข้าหา การถอยออก
(รู้จังหวะก้าวเดินของชีวิต)
เพราะสังคมอาจจะแย่แต่เราสามารถสร้างสรรค์และเปลี่ยนแปลงได้
ดังเช่นที่โบว์ดึงเพื่อนออกมาจากความเสี่ยงของชีวิตได้สำเร็จ
ทำให้คนอื่นเปลี่ยนแปลง
จิต
อาสาของโบว์ทำให้ได้ช่วยเหลือเพื่อนผู้หญิงที่หลงไปกับเพื่อนไม่ดี
ไม่สนใจการเรียน ทำให้แม่นั่งร้องไห้ประจำ
โบว์ได้มาช่วยนั่งปลอบแม่ว่าจะช่วยดึงเพื่อนกลับมา ใช้ทั้งวิธีด่าและดึง
กล่าวคือพูดจาแรงๆให้รู้สึก เช่น
เป็นลูกที่ทำบาปเพราะทำให้แม่นั่งร้องไห้ทุกวัน (การด่า)
และพยายามประกบไม่ให้ไปไหน ไม่ให้ไปกับเพื่อนอีกคนหนึ่งซึ่งจะชวนไปเสีย
(การดึง) สุดท้ายทำให้แม่ได้ลูกกลับคืนมา
จิต
อาสานอกจากเปลี่ยนแปลงตัวเองและคนใกล้ชิดแล้ว ยังเปลี่ยนแปลงคนรอบข้างด้วย
โบว์ได้ช่วยขยายผลจิตอาสาแนะนำให้กับคนแก่แถวบ้านที่ไม่มีอะไรทำให้ไปเลี้ยง
เด็ก นอกจากทำให้เขารู้สึกว่าตัวเองมีคุณค่าแล้ว ยังได้ทั้งเงิน
ได้ทั้งความสุข นอกจากนี้โบว์สังเกตว่าการทำจิตอาสาของเรา
ทำให้คนที่เห็นให้ความสนใจในการช่วยเหลือคนมากขึ้นด้วย
วัยรุ่นกับจิตอาสา
โบว์
มีความคิดเห็นว่าจิตอาสาสำคัญสำหรับวัยรุ่น เพราะถ้าวัยรุ่นเรียนอย่างเดียว
ไม่สนใจกิจกรรม จะไม่ได้เพื่อน การไม่สนใจเพื่อน
จะทำให้เราเข้าสังคมและอยู่ในสังคมได้ยาก เพราะทุกอย่างต้องพึ่งพากันและกัน
วัยรุ่นบางคนอาจโดนกดดันจากที่บ้าน ต้องเรียนให้ดี
เขาก็ตั้งใจเรียนอย่างเดียว ไม่สนใจอะไรเลย ดังนั้น
พ่อแม่จึงไม่ควรบังคับเรื่องเรียนมาก
ควรเปิดโอกาสให้ลูกได้ลองเรียนรู้หลายๆรูปแบบ โรงเรียนเองก็เช่นกัน
อยากให้เปิดโอกาสและดึงนักเรียนคนอื่นๆที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงมาสัมผัสจิตอาสา
ไม่ใช่แค่หัวหน้าห้อง หรือเด็กแกนนำ
เพราะโอกาสเหล่านี้หากเพื่อนคนอื่นที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงมีโอกาสได้สัมผัสจะ
เปลี่ยนแปลงเขาได้
การ
เป็นห่วงของครอบครัว เช่น ไม่สนับสนุนให้ลูกทำจิตอาสาเพราะกลัวเสียเวลา
และไม่ไว้วางใจ บางทีก็เป็นการ “ห่วงผิดแนว”
เพราะความไม่เข้าใจว่าจิตอาสาทำแล้วไม่ได้เสียการเรียน
เพราะพวกเราไปทำกันหลังเลิกเรียน ไหนๆวัยรุ่นก็ไม่ชอบอยู่บ้านอยู่แล้ว
ไปทำกิจกรรมดีๆแบบนี้นอกจากไม่ต้องเสียเงินแล้วยังไม่เป็นอันตรายอีกด้วย
เพราะวัยรุ่นถ้าไปเที่ยว ก็จะพัฒนาการเที่ยวมากขึ้น
แต่ทำจิตอาสาๆก็ช่วยชักจูงไปในทางที่ดี และช่วยดึงเด็กไม่ดีกลับมาได้ด้วย
สุด
ท้ายโบว์คิดว่าการทำความดี ไม่จำเป็นต้องเรียกว่าจิตอาสาก็ได้
แค่คนทำของตกแล้วเราเก็บให้ก็ดีแล้ว แต่ที่สำคัญแค่คิดอย่างเดียวไม่ได้
ต้องลงมือทำด้วย จิตอาสาทำแล้วได้เรียนรู้และเปลี่ยนแปลงโดยเราไม่รู้ตัว
การเรียนก็สำคัญ แต่การเรียนรู้สังคมก็เป็นส่วนประกอบที่สำคัญ
ทำให้เราได้เรียนรู้อะไรก่อนคนอื่นหรือมากกว่าคนอื่น
ทำให้เรามีอะไรเด่นกว่าคนอื่น ทำให้เรามีโอกาสมากกว่าคนอื่น
(เรียนรู้หลายอย่างล่วงหน้าไปกว่าคนอื่น) คิดต่างจากคนอื่น
ซึ่งสิ่งเหล่านี้คือกำไรที่เราได้เรียนรู้นั่นเอง