พ่อสอนวิธีการเล่นระนาดให้ผม
เพราะภาคเรียนต่อไปในเทอมที่สองนี้ผมจะต้องเรียนระนาดผมจึงคิดว่าจะเตรียม
ตัวไว้ก่อน เพื่อที่จะทำคะแนนได้ดีๆและจะได้เล่นระนาดได้เก่งๆ
ผมและพ่อได้ช่วยกันยกระนาด ออกมาจากห้องที่เก็บเครื่องดนตรี
มาวางไว้หน้าบ้าน
ระนาดนี้คือระนาดเอกที่มักจะใช้ในการกำกับจังหวะในวงดนตรีไทย
พ่อได้สอนผมโดยเริ่มจากพื้นฐาน คือ การสอนให้ผม
ได้รู้จักตำแหน่งของตัวโน้ตบนผืนของระนาดเอก ซึ่งมีอยู่ยี่สิบเอ็ดลูก
โดยการเขียนแผ่นกาวและติดบนผืนระนาดเพื่อให้ผมจดจำได้ง่ายขึ้น
แล้วท่านก็สอนให้ผมเล่นเพลงที่ง่ายๆ ก่อน คือ เพลงล่องแม่ปิง
ซึ่งก่อนผมจะเล่นนั้นต้องจดและโน้ตเพลงซึ่งเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดในการ
เล่นระนาด
เพราะถ้าผมไม่รู้เนื้อเพลงผมก็ไม่สามารถที่จะเล่นระนาดได้เมื่อจำโน้ตเพลง
ได้แล้วในการตีระนาดเอก
เราจะต้องมีสมาธิในการจดจ่ออยู่กับลูกระนาดบนผืนระนาดเพื่อที่จะตีโน้ตแต่ละ
ตัวได้อย่างไพเราะและแม่นยำ
พ่อของผมได้สอนวิธีในการเล่นระนาดเอกให้เก่งๆคือ เราต้องฝึกฝนทุกๆ วัน
ผมคดว่าการที่เราฝึกฝนทุกๆวันนั้น
ก็เหมือนกับการที่เรานั้นได้ขัดมีดเพื่อให้มีดนั้นคม เพราะ
ยิ่งเราขัดมีดมากเท่าไรเราก็จะได้มีที่แหลมคมมากเท่านั้น
ผมจึงฝึกฝนจนเวลาของการปิดเทอมร่วงโรยไป
เมื่อเวลาเปิดภาคเรียนที่สองได้ดำเนินมาถึง ในช่วงชั่วโมงดนตรี ครูที่สอนผม ครูชานชัย ได้แบ่งกลุ่มในการเล่นดนตรีโดยให้นักเรียนมีอิสระในการเลือกกลุ่มกันเอง เมื่อเลือกเสร็จครูชานชัยได้เลือกกลุ่มของผมให้ไปเล่นฆ้องวงใหญ่แทนที่จะได้ เล่นระนาดเอก ผมผิดหวังเล็กน้อยที่ครูไม่ได้ให้ผมเล่นระนาดเอก เมื่อผมได้เล่นฆ้องผมมีความรู้สึกที่ไม่แต่ต่างกับระนาดเอกคือ ผมสนุกมาก และความสนุกนี้ทำให้ผมมีความสุขในการเล่นฆ้อง แต่ผมก็ต้องรู้จักการแบ่งเวลาไม่ให้การเล่นสนุกนี้ส่งผมผลกระทบต่อการเรียน ของผม ไม่ให้ส่งผลต่อสถานภาพของผมคือนักเรียน