นายอุเทน ยาทอง
นักเรียน โรงเรียนโยธินบูรณะ
ตำแหน่งที่ได้รับในโครงการต่างๆ
นักเรียนแกนนำ ใน โรงเรียนโยธินบูรณะ
ประวัติและผลงาน

นายอุเทน ยาทอง เข้ามาทำกิจกรรมในชุมนุมโมโยเป็นรุ่นที่สอง มีบทบาทเป็นประธานชุมนุม อุเทนเล่าว่า ได้เตรียมนิทานเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียงไปเล่าให้น้องๆ ที่โรงเรียนโพธิ์ตรุฟัง โดยนิทานนี้อุเทนไปค้นคว้าหามาจากอินเทอร์เน็ตและคิดว่าเหมาะสมซึ่งน้องน่า จะสนใจเพราะเด็กๆ ชอบฟังนิทาน พร้อมกับชวนน้องๆ ช่วยกันวิเคราะห์ว่าเป็นหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงอย่างไร โดยนำนิทานเรื่อง “ลุงลังเหล็ก” มายกเป็นตัวอย่าง ดังนี้
 




ลุง ลังเหล็กเป็นคนที่เคยร่ำรวยมากแต่มีนิสัยใช้จ่ายฟุ่มเฟือย มีลูก 3 คน ต่อมาเมื่อแก่ตัวลงและไม่มีเงินแล้ว เมื่อไปขออยู่กับลูก แต่ละคนก็ตั้งท่ารังเกียจและว่าให้เจ็บช้ำใจว่าไปเป็นภาระให้กับครอบครัวของ ลูกๆ สร้างความเสียใจให้กับลุงมาก จนวันหนึ่งลุงหายออกจากบ้านไปพร้อมกับทิ้งจดหมายไว้ว่า “อีก 2 ปีจะกลับมา” เมื่อครบ 2 ปี ลุงก็กลับมาพร้อมกับลังเหล็กใบหนึ่ง ลุงบอกกับลูก ๆ ว่าในลังนั้นมีทรัพย์สมบัติอยู่มากมาย หากลูกคนไหนดูแลลุงดีเมื่อลุงตายไปก็จะได้สมบัติจากลังเหล็กนั้น ปรากฏว่าลูก ๆ ทั้งสามคนต่างแย่งกันดูแลลุงอย่างดีต่างจากที่เคยเป็นในอดีต จนกระทั่งเมื่อลุงเสียชีวิต ก่อนตายลุงได้เขียนจดหมายว่าเมื่อพ่อตายให้ลูกๆ เปิดลังเหล็กดู เมื่อลูกเปิดลังเหล็กออกดู ปรากฎว่าในนั้นแทนที่จะเต็มไปด้วยสมบัติ กลับกลายเป็นก้อนหินและจดหมายหนึ่งฉบับ ซึ่งมีใจความว่า
 



 “ถึง ลูกที่รักทั้งสามคน ที่ผ่านมาพ่อได้รู้ว่าการที่เราใช้เงินอย่างไม่ประหยัดและไม่รู้จักประมาณตน จะไม่มีความมั่นคงในชีวิต จากสูงจะไปอยู่ต่ำ หากลูกๆ ทุกคนรู้จักเก็บออมตั้งแต่ต้นก็จะสบายในอนาคต และสร้างความมั่นคงในชีวิต”
 

นิทาน เรื่องนี้สอนให้รู้ว่าถ้าเรารู้จักเก็บออมตั้งแต่วันนี้ เมื่อถึงวันข้างหน้าเราก็จะมีเงินใช้อย่างสบาย ซึ่งน้องๆ ทุกคนเข้าใจกันเป็นอย่างดี น้องๆ ทุกคนเก็บเงินวันละบาท สองบาท ก็เป็นการสอนเรื่องการเก็บออม การรู้จักวางแผนการใช้จ่ายที่ต้องมีความพอดีและนึกถึงอนาคตด้วย อุเทนบอกด้วยว่าในเรื่องการเรียนก็ได้นำหลักความพอประมาณมาใช้ในการจัดเวลา อ่านหนังสือให้รู้เรื่องมากที่สุด ทุกคนมีเวลาเท่ากัน 24 ชั่วโมง ควรจะจัดสรรอย่างไรให้พอดีกับชีวิต