โครงงาน M board แผ่นอัดจากธรรมชาติ
นาง สาวสุหัฏฐา รัตนเดชา นักเรียนชั้น ม.4 (เมื่อปีการศึกษา 2555) ตัวแทนกลุ่ม M Board ซึ่งทำโครงงานแผ่นอัดจากธรรมชาติ มีครูปริศนา ตันติเจริญ เป็นที่ปรึกษาโครงงาน กล่าวถึงที่มาของโครงงานว่า มีพื้นฐานความรู้เดิมจากสมัยเรียนอยู่ชั้น ม.3 เคยทำโครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องแผ่นรองกันกระแทกจากผักตบชวา ต่อมาได้ศึกษาเส้นใยของผักตบชวา ปรากฎว่าเส้นใยของผักตบชวามีความยืดหยุ่นมาก จึงคิดนำความรู้ดังกล่าวมาต่อยอดในการทำโครงงานชิ้นนี้เมื่อเรียนชั้น ม.4 ในส่วนที่นำมาต่อยอดคือการตั้งสมมติฐานว่าหยวกกล้วยซึ่งมีอยู่มากมายในท้อง ถิ่นและเพื่อนนักเรียนด้วยกันเห็นว่า ถูกนำมาทิ้งจำนวนมาก โดยเฉพาะในช่วงหลังเทศกาลลอยกระทง จึงนำมาทดลองด้วยการเปรียบเทียบความยึดหยุ่นและความแข็งแรงระหว่างผักตบชวา กับเส้นใยจากหยวกกล้วย ผลปรากฏว่าผักตบชวามีความยืดหยุ่นกว่าหยวกกล้วย ขณะเดียวกันหยวกกล้วยมีความแข็งแรงทนทานกว่า สมาชิกกลุ่มจึงนำทั้งหยวกกล้วยและผักตบชวามาเป็นส่วนประกอบของแผ่นอัดจาก ธรรมชาติ ซึ่งมีคุณสมบัติแข็งแรงและมีความยึดหยุ่นสูง สามารถใช้แทนแผ่นกระดานนำเสนอผลงานหรือกระดาษเตือนความจำ
โดย
หลักคิดของโครงงานคือ
ต้องการสร้างสมดุลให้กับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
เนื่องจากวัสดุที่ใช้เป็นวัสดุที่ได้จากธรรมชาติ
อีกทั้งเป็นการนำวัชพืชหรือพืชที่ไม่ใช้แล้วนำกลับมาใช้
ลดการเกิดขยะไม่ทำลายธรรมชาติ หรือทรัพยากรสิ่งแวดล้อม
โดยเฉพาะอย่างยิ่งผักตบชวา
หากอยู่ตามธรรมชาติคือแหล่งน้ำจะเป็นปัญหาทำให้เกิดน้ำเน่าเสียและกีดขวาง
การจราจรทางน้ำอย่างมาก ดังนั้น
การนำวัชพืชเหล่านี้มาใช้ประโยชน์จึงเป็นการสร้างประโยชน์ได้ถึงสองทาง”
นาง สาวสุหัฏฐาวิเคราะห์ว่า การดำเนินโครงงานของตนเองสอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงว่า ก่อนลงมือทำโครงงานต้องมีความรู้ก่อนด้วยการศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง จากนั้นมีประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างเพื่อนสมาชิกในกลุ่มก่อนตัดสินใจ เลือกหัวข้อโครงงาน เลือกวัสดุที่จะใช้ซึ่งเราต้องพิสูจน์ข้อเท็จจริงก่อน ปรากฏว่าหยวกกล้วยมีความแข็งแรงใช้ทำบอร์ดได้ ส่วนผักตบมีความยึดหยุ่น สามารถใช้ทำแผ่นรองเตือนความจำใช้เองได้โดยไม่ต้องเสียเงิน ต้นทุนมีเพียงโซดาไฟที่นำมาใช้เสริมความแข็งของหยวกกล้วยกับกาวที่นำมา ประสานยึดติด ซึ่งใช้ในปริมาณเพียงเล็กน้อยเท่านั้น แผ่นรองเตือนความจำจึงมีต้นทุนประมาณ 30 บาท สามารถทำบอร์ดและจานรองแก้วไว้ใช้เองได้นี่คือ หลักเหตุผล และเริ่มลงมือทำโดยยึดหลัก ความพอประมาณ เช่น มอบหมายงานให้เพื่อนตามความสามารถ ใช้วัตถุดิบในการทำโครงงาน เช่น วัชพืชเก็บมาใช้อย่างพอดีไม่มากไม่น้อย ไม่เก็บมาเยอะเกินไปเพราะจะเน่าเสียไปโดยเปล่าประโยชน์ ทั้งนี้ตนใช้ความรู้เดิมจากการทำโครงงาน
เมื่อ ตอนอยู่ชั้น ม.3มาเป็นข้อมูลการเก็บผักตบชวามาใช้ในปริมาณที่พอเหมาะ ด้านภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี คือ กลุ่มเรามีการวางแผนการทำงานชัดเจนเพื่อป้องกันความผิดพลาด นอกจากนี้ความคิดในการค้นคว้าหาเส้นใยชนิดอื่นที่มีความคล้ายคลึงกับเส้นใย ของผักตบนั่นคือ หยวกกล้วย แล้วนำมาทดลองเปรียบเทียบเพื่อใช้ทดแทนกัน ในส่วนของคุณธรรม จากการทำงานกลุ่มพบว่าในการทำโครงงานครั้งนี้ เพื่อนทุกคนต้องมีความมุ่งมั่น อดทน มีความรับผิดชอบสูงมากงานจึงสำเร็จ และที่สำคัญคิดว่า ในการทดลองต้องมีความซื่อสัตย์เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ตรงไปตรงมาตามความจริง
อย่าง ไรก็ตาม จากการทำโครงงานครั้งนี้ พบว่ายังมีจุดบกพร่องในเรื่องของวัสดุที่ค่อนข้างเก็บความชื้น มีความทนทานน้อย จึงยังไม่เหมาะที่จะทำขาย แต่เรื่องการย่อยสลายง่ายกว่าไม้ ต้นทุนน้อย ไม่ต้องเผา เมื่อนำไปฝังดินก็สามารถย่อยสลายได้แล้ว ที่สำคัญยังเป็นปุ๋ยให้ต้นไม้เจริญเติบโตได้อีกด้วย