ครู ประภัสสร สอนชั้น ม.2 และ ม.4 ใช้วิธีการสอนที่สอดแทรกหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่ไม่ได้เน้นการสอน ด้วยทฤษฎีแต่สอนผ่านการปฏิบัติ เช่น กระดาษที่นำมาใช้ทำงานศิลปะก็ให้เลือกใช้กระดาษที่เหมาะสมกับงานศิลปะแต่ละ ประเภท หรือใช้กระดาษทั้ง 2 หน้า เพื่อประหยัดทรัพยากร
นอก
จากนี้ยังสอนให้นักเรียนได้เรียนรู้คุณค่าของเงิน ซึ่งหายาก ต้องประหยัด
และรู้คุณค่าการวางแผนการใช้เงิน และเพื่อให้เด็กมีสมาธิกับการเรียน
ก่อนเรียนจะให้นักเรียนนั่งสมาธิ โดยฝึกลมหายใจเข้า-ออก แต่ไม่ได้ท่องคำว่า
“พุทโธ” แต่ให้ท่องคำว่า “เด็กดี” เมื่อหายใจเข้า และท่องคำว่า
“ตั้งใจเรียน” เมื่อหายใจออก
ใน
ห้องเรียนครูประภัสสรจะเน้นย้ำเรื่องการประหยัดกับนักเรียนอยู่เสมอ
เพื่อให้ผู้เรียนซึมซับจนเกิดผลในทางปฏิบัติ
ซึ่งพบว่าผู้เรียนมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอย่างเห็นได้ชัด
กิจกรรมการประกวดจัดพานไหว้ครู
การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
- กำหนด ให้ใช้วัสดุคือ ดอกเข็ม หญ้าแพรก ดอกมะเขือ ในการจัดพาน เกณฑ์สุนทรียภาพของชีวิตคือ ความงาม การจัดวาง เกณฑ์คุณลักษณะอันพึงประสงค์คือ ความร่วมมือ และความรับผิดชอบ
- กำหนดให้มีการออกแบบวางแผนการทำงาน ให้มีการใช้ทรัพยากร และเวลาที่พอประมาณ
“ปกติ ครูที่สอนก็จะทำอยู่แล้ว สอนที่จะประหยัด ที่จะปลูกฝัง แต่ว่าเราไม่ได้ทำทีเดียวทั้งหมด แต่เราจะสอนไปเรื่อยๆ สรุปแล้วก็ครบทั้งหมด ไม่ได้ทำอะไรตามวิชาการ มีวิธีการ ระยะเวลาจึงจะเกิดผล เกิดการเปลี่ยนพฤติกรรม การประกวดจัดพาน กติกาจะบอกไว้เลยว่าหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง คือ ใช้วัสดุอะไร วัฒนธรรมคือ ดอกมะเขือ ดอกเข็ม หญ้าแพรก สุนทรียภาพของชีวิตคือความงาม การจัดวาง คุณลักษณอันพึงประสงค์คือ การช่วยกันจัด ความรับผิดชอบ ในขณะเดียวกัน เราก็มีข้อเสนอแนะว่าต้องมีการออกแบบก่อน ส่วนไหนต้องใช้ดอกไม้อะไร อะไรบ้างที่ต้องซื้อหา ไม่ใช่ว่าไม่ได้ออกแบบแล้วซื้อมาเยอะแยะแล้วก็ทิ้งไป ต้องมีการวางแผนล่วงหน้าก่อนลงมือทำ”
ก่อน
จัดพาน
ครูประภัสสรจะแนะนำว่าให้นักเรียนออกแบบพานมาก่อนว่าส่วนไหนต้องใช้ดอกไม้
อะไร และมีดอกไม้ชนิดไหนที่ต้องซื้อ และไม่ซื้อบ้าง
เพราะการออกแบบจะช่วยให้นักเรียนสามารถประเมินราคาค่าใช้จ่ายในการซื้อหา
อุปกรณ์ว่ามีอะไรบ้าง ไม่ใช่ซื้อดอกไม้มามากมายและต้องเหลือทิ้งไป