“...คุณภาพ
การเรียนการสอนจะประสบความสำเร็จมากน้อยเพียงใด ขึ้นกับปัจจัยหลายประการ
ประการแรกคือ ความเข้าใจของครูผู้สอน
ครูจะสอนได้ดีก็ต่อเมื่อมีความเข้าใจใน concept
ของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงอย่างแท้จริง ถ้าครูเข้าใจจริงๆ
ครูจะสามารถถ่ายโยงการเรียนรู้ไปสู่การสอนได้ดี
ครูจะเห็นความเชื่อมโยงของเรื่องนี้กับกิจกรรมและกิจวัตรต่างๆ
ในชีวิตประจำวัน และจะสามารถสอนตามสถานการณ์ได้อย่างเป็นธรรมชาติ
เพราะฉะนั้นจึงต้องมีการพัฒนาครูให้เกิดความเข้าใจจริงๆ คือเกิด concept
ที่ชัดเจนและถูกต้อง
ซึ่งสามารถทำได้โดยอาศัยตัวอย่างรูปธรรมที่แตกต่างกันหลากหลายจำนวนมาก
ครอบคลุม concept ทุกแง่มุม โดยทั่วไปแล้ว
ในการพัฒนาและอบรมครูมักมีการพูดอธิบาย concept ที่เป็นนามธรรม
โดยมีตัวอย่างรูปธรรมประกอบน้อยไป
ไม่เพียงพอที่จะช่วยให้ครูมองเห็นและเข้าใจถึงความกว้างขวางและความลึกซึ้ง
ของ concept ดังนั้น
การแสวงหาตัวอย่างหลากหลายที่สะท้อนให้เห็นถึงความกว้างและความลึกของ
concept ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
จากผู้ปฎิบัติที่ประสบความสำเร็จในด้านต่างๆ
จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการพัฒนาครูและการเรียนรู้ของครู”
ความคิดเห็นในที่ประชุมคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
“โครงการเสริมศักยภาพการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา”
เมื่อวันที่ 7 กันยายน 2552 ที่ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)