"เมื่อ ปี พ.ศ. 2552 ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร ได้จัดการประชุมในหัวข้อ "มิติทางวัฒนธรรมในยุคเศรษฐกิจพอเพียง" ขึ้น ในครั้งนั้น ศ.ดร.นิธิ เอียวศรีวงศ์ ได้กล่างถึงความหมายและความสำคัญของมิติทางวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับ เศรษฐกิจพอเพียงเอาไว้ว่า การที่กระบวนทัศน์เรื่องเศรษฐกิจพอเพียงจะลงไปสู่ชีวิตได้จริง จะต้องมีตั้งแต่ระดับของอุดมการณ์ ระดับของโลกทัศน์ ระดับของความสัมพันธ์ และระดับของค่านิยม ถ้าหากว่ามีองค์ประกอบครบสี่เรื่องได้ เศรษฐกิจพอเพียงจะยั่งยืนเหมือนกับวัฒนธรรมอื่นๆ ที่เกิดขึ้นและเติบโตได้
ในแวดวงของการจัดการศึกษา ดร.อาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา
ใช้โรงเรียนสัตยาไสของท่านแสดงให้เราเห็นอย่างชัดเจนว่าการสร้างคนดี
สำคัญกว่าการสร้างคนเก่ง และเมื่อดีแล้วคนๆ นั้นจะเก่งเอง
โดยที่ไม่ต้องไปเร่ง
เมื่อมองกลับมาที่แนวทางการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษาแล้ว
ดิฉันเสนอว่าถ้าเรามีสามห่วงสองเงื่อนไขเป็นหลักคิดสำคัญอยู่แล้ว
ครูควรตั้งคำถามให้เด็กได้ทบทวบชวนคิดอยู่ตลอดกับสิ่งที่ตัวเองทำลงไป
และให้เขาซึมซับหลักคิดหลักปฏิบัตินี้จนกลายเป็นวิถีชีวิต
ส่วนกระบวนการที่เป็นโครงงาน ถ้าหากมาถอดบทเรียนให้ดี
จะเห็นว่ามีหลักค่านิยมคือการช่วยเหลือ การแบ่งปัน
มีเรื่องของโลกทัศน์ว่าตัวเองทำอะไรโดยลำพังไม่ได้ ต้องมีผู้อื่น
และมีเรื่องของอุดมการณ์ คือการพึ่งพาตนเอง
พึ่งพาความอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติ"
ความคิดเห็นในที่ประชุมคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
"โครงการเสริมศักยภาพการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา"
เมื่อวันที่ 17 เมษายน 2552 ที่ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)