สายสุนีย์ แก้วสอน
ผู้ช่วยนักวิชาการ อบต.สลักได (นักถักทอชุมชน รุ่น 2) ย้ายมาจากทต.กันตวจระมวล
ตำแหน่งที่ได้รับในโครงการต่างๆ
นักถักทอวิจัย ใน อบต.สลักได
พี่เลี้ยงแกนนำเยาวชน ใน ทต.กันตวจระมวล
ประวัติและผลงาน

ประวัติการทำงาน

  • อบรมพัฒนาศักยภาพแกนนำเด็กเยาวชน
  • นักถักทอชุมชน
  • การอบรมการจัดการขยะในชุมชน
  • พยาบาลวิชาชีพ ร.พ.ปราสาท 
  • พยาบาลวิชาชีพ รพ.สต.กันตวจระมวล

­

“เมื่อก่อนมองว่างานวิจัยเป็นเรื่องยาก ยิ่งต้องไปทำงานกับชุมชนยิ่งยาก แต่พอมาทำแล้ว ทำให้ได้ความรู้และได้ทักษะในการทำงานกับชุมชน”

ปุ้ย-สายสุนีย์ ยอมรับว่า เมื่อก่อนตัวเองไม่รู้จักงานวิจัย มองว่าเป็นเรื่องยาก ยิ่งต้องไปทำกับชุมชน ยิ่งยาก แต่พอมาทำแล้ว ทำให้ได้ความรู้ และได้ทักษะต่างๆ ในการทำงานกับชุมชน
เมื่อก่อนจะเป็นคนทำงานแบบทำให้เสร็จเป็นงาน ๆ ไป ไม่เคยคิดว่าจะต้องต่อยอดงานให้ดีขึ้น แต่พอมาทำวิจัยทำให้มีความคิดต่อยอดมากขึ้น ยิ่งได้รับการสนับสนุนจากผู้บริหารในเทศบาลยิ่งทำให้มีความคิดสร้างสรรค์ ได้ฝึกฝนการทำงานเป็นทีม และบางครั้งการลงพื้นที่ทำงานวิจัย ยังพลอยได้งานในหน้าที่หลักคืองานสาธารณสุขไปด้วย

สายสุนีย์ แก้วสอน
ผู้ช่วยนักวิชาการสาธารณสุข และหัวหน้าทีมวิจัย หมู่ที่ 5 บ้านตาแจ๊ต


โครงการพัฒนาเยาวชนในชุมชนท้องถิ่น (4 ภาค) ระยะที่ 3 : การขับเคลื่อนกลไกพัฒนาเยาวชนด้วยการจัดการความรู้และกระบวนวิจัยเพื่อท้องถิ่น

สายสุนีย์ แก้วสอน

นักวิจัย / ผู้ช่วยนักวิชาการส่งเสริมสุขภาพ

ทต.กันตวจระมวล จ.สุรินทร์


  • ·ข้อมูลทั่วไป

(1) สังกัดและบทบาทหน้าที่ในหมู่บ้าน/ตำบล

สังกัดกลุ่ม/ชมรมในหมู่บ้าน/ตำบล บทบาทหน้าที่
นักถักทอชุมชน ประสานงาน และอำนวยความสะดวกในการทำกิจกรรม

(2) ประสบการณ์ทำงานด้านเด็กและเยาวชน

ประสบการณ์ทำงานด้านเด็กและเยาวชน ความสำเร็จ/ความภาคภูมิใจ
  • -ดำเนินโครงการจิตอาสาพายิ้ม
  • -โครงการพัฒนาศักยภาพแกนนำเด็กและเยาวชน
-
  • ·แรงบันดาลใจ ศักยภาพการทำงานด้านเด็กและเยาวชน

(1) ความใฝ่ฝัน เป้าหมายและแรงบันดาลใจในชีวิตตนเอง ในอนาคตอยากเป็นอย่างไร

อยากเห็นเยาวชนรวมกลุ่มกัน มีกิจกรรมของกลุ่มที่ต่อเนื่องและสร้างสรรค์ เป็นกลุ่มที่เข้มแข็ง มีการบริหารจัดการกลุ่มที่มีประสิทธิภาพ

(2) อยากจะเห็นสิ่งดีๆ ของเด็กและเยาวชนของหมู่บ้าน/ตำบลเป็นอย่างไร ควรจะทำอะไรบ้าง

อยากให้เด็กและเยาวชน ผู้ใหญ่ ทำงานด้วยกัน และเด็กมีพื้นที่ในการแสดงออกเป็นพื้นที่สร้างสรรค์

(3) ตารางระบุศักยภาพของตนเอง

คุณลักษณะ ศักยภาพที่มี
1.มีความรู้ ความสนใจพิเศษ

-

มีความสนใจเรื่องการเกษตร การประกอบอาชีพ การทำอาหาร
2.ทักษะที่ถนัด ความสามารถพิเศษ

-

มีความสามารถในด้านการพูด ด้านการเขียน ด้านการคิดวิเคราะห์ และด้านการทำงาน
3.ทัศนคติ มุมมองต่อกิจกรรมเด็กและเยาวชนในโรงเรียน หมู่บ้าน/ตำบล

-

เด็กยังมีกิจกรรมที่ทำด้วยกันน้อยมาก และเด็กติดโทรศัพท์ ติดโซเชียลมาก ทำให้ความสัมพันธ์กับบุคคลอื่นน้อยลง

(4) ตารางระบุประสบการณ์เรียนรู้และความต้องการพัฒนาศักยภาพ

ประสบการณ์ในการอบรม/สัมมนา/ศึกษาดูงาน

(ระบุช่วงเวลาและปี พ.ศ.)

ความต้องการเรียนรู้หรือพัฒนาตนเองเพิ่มเติม
  • -พ.ศ.2558 อบรมนักถักทอชุมชน รุ่นที่ 2
  • -พ.ศ.2559 อบรมค่ายยุวโพธิชน 15 วัน
  • -พ.ศ.2561 พี่เลี้ยงค่ายยุวโพธิชน 10 วัน
  • -พ.ศ.2561 ศึกษาดูงานชุมชนจัดการตนเอง ชุมชนแม่ทา
ต้องการพัฒนาตนเองในด้านการเป็นกระบวนกร และทักษะการพูด

(5) อยากให้เด็กและเยาวชนในชุมชนได้รับการพัฒนาหรือเสริมความรู้ ความสามารถในเรื่องอะไรบ้าง

อยากให้เด็กและเยาวชนมีพัฒนาการด้านต่างๆ ดังนี้

1.การกล้าแสดงออก ทั้งการพูด การฟัง การเขียน การคิด

2.การใช้เทคโนโลยีที่สร้างสรรค์

3.การสร้างทักษะการทำอาหาร

4.การพัฒนาด้านเศรษฐกิจพอเพียง

(6) ข้อเสนอแนะต่อการดำเนินงานด้านเด็กและเยาวชนของชุมชน

การทำงานกับเยาวชนต้องเข้าใจและยอมรับธรรมชาติของเยาวชน เข้าใจช่วงวัยของเยาวชน

­

­

“สายสุนีย์” กับการทำหน้าที่ "พี่เลี้ยงที่ดี"

“เอื้ออาทร ใจเย็น สร้างสรรค์ รับฟัง ใจกว้าง”


สายสุนีย์ แก้วสอน (ปุ้ย) ผู้ช่วยนักวิชาการสาธารณสุข เทศบาลตำบลกันตวจระมวล จังหวัดสุรินทร์ ได้เข้าร่วมเรียนรู้ในค่ายฯ ร่วมสะท้อนความคิดเห็นประโยชน์ของการพาเด็กเยาวชนเข้าค่ายครั้งนี้ และการเปลี่ยนแปลงของตนเองที่ชัดเจนจากขี้โมโหกลายเป็นคนใจเย็นกว่าเดิม และร่วมฟังแนวคิดการพัฒนาเด็กและเยาวชนที่เปิดพื้นที่ให้เด็กได้มีกิจกรรมฝึกฝนทักษะด้านต่างๆ เชิญชวนอ่านเรื่องราวที่น่าสนใจกัน

อ่านเรื่องราวฉบับสมบูรณ์ได้ที่นี่ เอกสารถอดบทเรียน.pdf

รู้เรื่องราวของคุณสายสุนีย์ เพิ่มเติมได้ที่นี่ https://bit.ly/2MzOI2z

ติดตามกิจกรรมจากค่ายได้ที่นี่ https://bit.ly/2KJnKUF

.................................................................

ถอดบทเรียนจากค่ายพัฒนาศักยภาพแกนนำเยาวชนสู่การเป็นคนรุ่นใหม่ที่สามารถดึงศักยภาพของตนเองออกมารับใช้ชุมชนสังคมอย่างสร้างสรรค์ ภายใต้โครงการพัฒนาเยาวชนในชุมชนท้องถิ่น (4 ภาค) ระยะที่ 3 การขับเคลื่อนกลไกพัฒนาเยาวชนด้วยการจัดการความรู้และกระบวนวิจัยเพื่อท้องถิ่น ครั้งที่ 2 วันที่ 30 เมษายน-11 พฤษภาคม 2561ณ ศูนย์ปราชญ์พ่อคำเดื่อง ภาษี บ้านโนนเขา หมู่ 8 ตำบลหัวฝาย อำเภอแคนดง จังหวัดบุรีรัมย์ สนับสนุนโดย มูลนิธิสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย สถาบันยุวโพธิชน มูลนิธิสัมมาชีพ สํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ฝ่ายวิจัยเพื่อท้องถิ่น สถาบันเสริมสร้างการเรียนรู้เพื่อชุมชนเป็นสุข (สรส.) ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด(มหาชน) มูลนิธิสยามกัมมาจล

­

­

­

  • ·ประสบการณ์ทำงานด้านเด็กและเยาวชน
ประสบการณ์ทำงานด้านเด็กและเยาวชน ความสำเร็จ/ความภาคภูมิใจ
- นักถักทอชุมชน

- นักวิจัยเพื่อพัฒนาเยาวชนในการสร้างทักษะอาชีพ

- สามารถดึงแกนนำเด็กและเยาวชนมารวมกลุ่มทำกิจกรรมสร้างสรรค์ในชุมชนได้

- สามารถดึงเด็กและเยาวชนเข้าร่วมโครงการวิจัยได้

  • ·แรงบันดาลใจ ศักยภาพและประสบการณ์ด้านเด็กและเยาวชน

(1) ความใฝ่ฝัน เป้าหมายและแรงบันดาลใจชีวิตของตนเอง ที่อยากจะเป็นในอนาคตคืออะไร เพราะอะไร

…มีความฝันที่จะอยู่บ้านเกิดเพื่อดูแลคนในครอบครัว ทำงานเกษตรกร โดยน้อมนำเอาปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการดำเนินชีวิต และใช้ชีวิตด้วยความเอื้ออาทร

(2) อยากจะเห็นสิ่งดีๆ ของเด็กและเยาวชนของหมู่บ้าน/ตำบลเป็นอย่างไร ควรจะทำอะไรบ้าง

…อยากเห็นเยาวชนมีส่วนร่วมในการจัดการปัญหาของชุมชมตามกำลังความสามารถของตัวเยาวชนเอง โดยเปิดโอกาสให้ทำงานในชุมชน และอยากเห็นเยาวชนมีภาวะเป็นผู้นำ มีทักษะชีวิต มีความสามารถในการทำงานเป็นทีม รู้จักตนเอง และมีการเข้าค่ายยุวโพธิชน

(3) ตารางระบุศักยภาพของตนเอง

คุณลักษณะ ศักยภาพที่มีอยู่
1)มีความรู้ ความสนใจพิเศษ - มีความสนใจในการเขีรยนบทความ ทักษะกระบวนการ และกิจกรรมสันทนาการ แต่ยังไม่มีทักษะในด้านนี้ ยังขาดความรู้และหลักการ ยังมีประสบการณ์น้อยมาก
2)ทักษะที่ถนัด ความสามารถพิเศษ - มีทักษะด้านกีฬาวอลเล่ย์บอลและด้านการรักษาพยาบาล โดยมีทักษะอยู่ในระดับดีและมีศักยภาพสูงพอสมควร
3)ทัศนคติ มุมมองต่อกิจกรรมเด็กและเยาวชนในโรงเรียน, หมู่บ้าน/ตำบล - มองว่ายังขาดความต่อเนื่องในการทำกิจกรรมและไม่มีแกนนำหลักในการดำเนินกิจกรรม

- เด็กมีความคิดและมีจินตนาการที่ดี แต่ยังขาดพื้นที่และโอกาส

(4) ตารางระบุประสบการณ์เรียนรู้และความต้องการพัฒนาศักยภาพ

ประสบการณ์ในการอบรม/ สัมมนา/ศึกษาดูงาน

(ระบุช่วงเวลาและปี พ.ศ.)

ความต้องการเรียนรู้หรือพัฒนาตนเองเพิ่มเติม
- อบรมนักถักทอชุมชน รุ่นที่2 พ.ศ.2558

- อบรมค่ายยุวโพธิชน รุ่นที่ 9 พ.ศ.2559

- อบรมการจัดการขยะที่ต้นทาง พ.ศ.2557

- อบรมค่ายยุวโพธิชน รุ่นที่ 11.2 พ.ศ.2561

- ศึกษาดูงานชุมชนจัดการตนเอง อำเภอแม่ทา จังหวัดเชียงใหม่ พ.ศ.2561

- ศึกษาดูงานเทศบาลธรรมาภิบาล จังหวัดตราด พ.ศ.2560

- ศึกษาดูงานกลุ่มสตรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ พ.ศ.2560

- อบรมเทศบาลน่าอยู่อย่างยั่งยืน พ.ศ.2559-2560

- ต้องการพัฒนาทักษะกระบวนกร

- ต้องการพัฒนาทักษะการเขียนบทความ

(5) อยากให้เด็กและเยาวชนในชุมชนได้รับการพัฒนาหรือเสริมความรู้ความสามารถในเรื่องอะไรบ้าง

อยากให้เด็กและเยาวชนได้พัฒนาภาวะการเป็นผู้นำ การดูแลตนเองด้วยทักษะชีวิต เรื่องเพศศึกษา และการทำงานเป็นทีม

(6) ข้อเสนอแนะต่อการดำเนินงานด้านเด็กและเยาวชนของชุมชน

…เสนอให้ผู้ใหญ่ควรให้โอกาสแก่เด็กและไม่ควรตัดสินใจเด็ก และควรเปิดพื้นที่ให้เยาวชนได้แสดงความสามารถ แสดงศักยภาพอย่างเต็มที่ รวมถึงต้องให้กำลังใจและคอยสนับสนุน

­

_____________________________________________________________

­