
กฏหมายคนต่างด้าวตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียน
กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับแรงงานต่างด้าว
1 สรุปสาระสำคัญพระราชบัญญัติการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2521
พระราชบัญญัติการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2521 (เริ่มใช้บังคับวันที่ 22 กรกฎาคม 2521) ได้กำหนดไว้ว่า คนต่างด้าวจะทำงานได้เมื่อได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมการจัดหางานหรือเจ้าพนักงานซึ่งอธิบดีมอบหมายเท่านั้น
คนต่างด้าว หมายถึง บุคคลธรรมดาซึ่งไม่มีสัญชาติไทย
ทำงาน หมายถึง การทำงานโดยใช้กำลังกายหรือความรู้ด้วยประสงค์ค่าจ้างหรือประโยชน์
อันใดหรือไม่ก็ตามพระราชบัญญัตินี้ไม่ใช้บังคับแก่คนต่างด้าวที่เข้ามาทำงานในราชอาณาจักร ดังต่อไปนี้
(1) บุคคลในคณะผู้แทนทางทูต
(2) บุคคลในคณะผู้แทนทางกงสุล
(3) ผู้แทนของประเทศสมาชิก และพนักงานองค์กรสหประชาชาติ และทบวงการชำนาญพิเศษ
(4) คนรับใช้ส่วนตัวซึ่งเดินทางจากต่างประเทศเพื่อมาทำงานประจำอยู่กับบุคคลในข้อ 1,2,3
(5) บุคคลซึ่งปฏิบัติหน้าที่หรือภารกิจตามความตกลงที่รัฐบาลไทยทำไว้กับรัฐบาลตางประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศ
(6) บุคคลซึ่งปฏิบัติหน้าที่หรือภารกิจเพื่อประโยชน์ในทางการศึกษาวัฒนธรรม
ศิลปะทางการกีฬา หรือกิจการอื่นๆ (พระราชกฤษฎีกากำหนด ให้คนต่างด้าวซึ่งปฏิบัติหน้าที่หรือ
ภารกิจบางประการในราชอาณาจักร ไม่ต้องอยู่ภายใต้บังคับแห่งพระราชบัญญัติการทำงานของ
คนต่างด้าว พ.ศ.2521 พ.ศ.2522)
(7) บุคคลซึ่งรัฐบาลอนุญาตให้เข้ามาปฏิบัติหน้าที่หรือภารกิจอย่างหนึ่งอย่างใด
คนตางด้าวที่มีสีทธิขออนุญาตทำงานได้ในปัจจุบัน แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้
1) คนต่างด้าวทั่ว ๆ ไป (ตามมาตรา 7) หมายถึง
1.1) คนต่างด้าวซึ่งมีถิ่นอยู่ในราชอาณาจักร
1.2) คนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้เข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว (NONIMMIGRANT VISA) เช่น เข้ามาทำธุรกิจหรือเข้ามาศึกษา
2) คนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้เข้ามาทำงานในราชอาณาจักรตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริม
การลงทุนหรือตามกฎหมายอื่นที่มีบทบัญญัติเกี่ยวกับคนต่างด้าวในลักษณะเดียวกัน เช่น พระราชบัญญัติ
ปิโตรเลียม พระราชบัญญัติการนิคมอุตสาหกรรม (ตามมาตรา 10)
3) คนต่างด้าวตามมาตรา 12 หมายถึงคนตางด้าว 4 ประเภท คือ
3.1) คนต่างด้าวที่ถูกเนรเทศตามกฎหมายว่าด้วยการเนรเทศ ซึ่งได้รับการผ่อนผันให้
ไปประกอบอาชีพ ณ ที่แห่งใด แทนการเนรเทศหรืออยู่ในระหว่างการรอเนรเทศ
3.2) คนต่างด้าวที่เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรโดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่า
ด้วยคนเข้าเมืองและอยู่ในระหว่างการส่งกลับออกนอกราชอาณาจักร เช่น พวกญวนอพยพ, ลาว
อพยพ, เนปาลอพยพ, พม่าพลัดถิ่น หรือคนต่างด้าวตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2544 เป็นต้น
3.3) คนต่างด้าวที่เกิดในราชอาณาจักรแต่ไม่ได้รับสัญชาติไทย ตามประกาศ
คณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 ลงวันที่ 13 ธันวาคม 2515 หรือตามกำหนดอื่น เช่น บุคคลที่เกิดภายหลังวันที่ 13 ธันวาคม 2515 ซึ่งเป็นวันที่ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าวมีผลบังคับใช้