โครงการสนับสนุนกระบวนการประเมินเชิงพัฒนาคุณภาพโรงเรียนทั้งระบบการประยุกต์ใช้ DE ปี 2565
ใน DE ปี 3

เป็นโครงการความร่วมมือระหว่าง มูลนิธิสยามกัมมาจล และ กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) ในการใช้การประเมินเชิงพัฒนา Developmental Evaluation (DE) มาเสริมพลังภาคีผู้รับทุน กสศ. รุ่น 1-2 จำนวน 11 หน่วยงานและโรงเรียนในโครงการสนับสนุนโรงเรียนพัฒนาตนเอง(TSQP) เพื่อเป็นการติดตามความก้าวหน้าและอุปสรรคของโครงการ ให้สามารถทบทวนปรับเปลี่ยนยุทธศาสตร์และจัดการโครงการได้ทันสถานการณ์โดยมีเป้าหมายหลัก คือ

1.) เพื่อจัด Workshop ให้ “ผู้รับทุน” กสศ.ทั้ง 2 รุ่นเข้ากระบวนการ DE ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ เพื่อสนับสนุนให้ “ผู้รับทุน” เกิดความเข้าใจในกระบวนการติดตามและประเมินผลเชิงพัฒนา (DE)ไปใช้ในการบริหารจัดการโครงการ โดยมีเป้าหมายให้ผู้เข้าร่วม ได้ฝึกการเป็น Facilitator ในการทำกระบวนการ

2.) เพื่อให้คำปรึกษาแก่ภาคีเครือข่ายในการออกแบบและนำกระบวนการติดตามและประเมินผลเชิงพัฒนา (DE)ไปใช้ในการทำงานกับโรงเรียนกลุ่มเป้าหมาย

3.) เพื่อติดตามความก้าวหน้าการใช้กระบวนการประเมินผลเชิงพัฒนา (DE)ในโรงเรียนกลุ่มเป้าหมายของภาคีเครือข่ายร่วมดำเนินโครงการ

­

เป้าประสงค์ของโครงการ

  1. โรงเรียนแกนนำพัฒนาตนเองมีความเข้าใจหลักการของการประเมิงเชิงพัฒนา (Developmental Evaluation) ที่สามารถนำไปสู่การออกแบบกระบวนการการจัดการเรียนรู้จัดทำแผนพัฒนาโรงเรียนประจำปี และมีครูแกนนำที่สามารถเป็น Facilitatorจัดกระบวนการ DE ให้กับโรงเรียนตนเองได้
  2. เกิดการสนับสนุน ส่งเสริม ให้คำปรึกษา และติดตามการดำเนินงานของโรงเรียนแกนนำกลุ่มเป้าหมายของแต่ละภาคีเครือข่ายร่วมพัฒนาโรงเรียนในโครงการโรงเรียนพัฒนาตนเอง ด้วยกระบวนการประเมินผลเชิงพัฒนา (DE) ที่เน้นให้เกิดการมีส่วนร่วม การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน และการเสริมพลังให้เกิดการใช้ข้อมูลจากการเข้าร่วมกระบวนการในระหว่างการดำเนินงานโครงการ ที่มุ่งเน้นเน้นการออกแบบการวัดผลความสำเร็จของโรงเรียน เพื่อการบรรลุเป้าหมายของโครงการ และนำบทเรียนที่ประสบความสำเร็จจากการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในระดับต่าง ๆ ไปใช้ประโยชน์ในการขยายผลต่อไปยังหน่วยงานและโรงเรียนอื่น ๆ

วัตถุประสงค์ของโครงการ

พัฒนาโรงเรียนแกนนำของ 11 ภาคีเครือข่ายผู้รับทุน กสศ. ให้สามารถมีความเข้าใจวิธีการประเมินแบบเสริมพลัง Developmental Evaluation (DE)และใช้ในการทำแผนพัฒนาโรงเรียนประจำปี เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมทั้งภายในและนอกโรงเรียนที่เป็น Stakeholder เข้ามาร่วมตั้งเป้าหมาย วางแผนงาน จัดกิจกรรมและติดตามประเมินผลการดำเนินงาน โดยมีเป้าหมายสำคัญร่วมกัน คือ การยกระดับคุณภาพเพื่อพัฒนานักเรียน