บันทึกรายงานความก้าวหน้าโครงการ
ณ ศูนย์พัฒนาการเกษตรอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ อำเภอภูสิงห์ จังหวัดศรีสะเกษ ระหว่างวันที่ 29-30 พฤศจิกายน 2557

บันทึกรายงานความก้าวหน้าโครงการเยาวชนศรีสะเกษ Active Citizen (Download PDF)

กิจกรรมทักทาย เตรียมความพร้อม

หลังจากเริ่มตัวโครงการ (คุยในพื้นที่) เดือนกรกฎาคมต่อมามีการนัดคุยกิจกรรมกันหลายครั้งในพื้นที่โนนคูน 2 ครั้ง โพธิ์กระสังข์ 1ครั้ง ปรางค์กู่ ไม่ได้ลงพื้นที่ และที่โคนขยอง คุยกัน 2 ครั้ง

หลังจากนั้นมีเวทีรวมทุกกลุ่มเพื่อมาพูดคุยนำเสนอโครงการหลังการลงพื้นที่ พร้อมมีคณะกรรมการพิจารณามาจากหลายพื้นที่มาร่วมด้วย

นัดหมายออกแบบเครื่องมือ วางแผนเก็บข้อมูลก่อนทำกิจกรรม

เวทีนี้จะเป็นเวที ที่จะมาทบทวนเครื่องมือการทำโครงการว่ามีความพร้อมอย่างไรในช่วงครึ่งทางหลังจากการทำโครงการว่ามีการดำเนินการไปในทิศทางไหนอย่างไรบ้างแล้วเพราะที่ผ่านมาแต่ละพื้นที่ก็ทำกิจกรรมกันมากมายหลายพื้นที่แล้ววันนี้ก็จะมาเล่าสู่กันฟัง

1.ให้แต่ละกลุ่มไปช่วยกันทบทวนโครงการของตัวเองในครึ่งทางแรกว่าทำกิจกรรมอะไรมาบ้างแล้วตามแผนงานโครงการ

2.ดูว่าวัตถุประสงค์ของแต่ละกิจกรรมที่ทำนั้นทำเพื่ออะไร

3.การทำกิจกรรมมีเป้าหมายทำกับใครบ้าง และทำที่ไหน เมื่อไหร่

4.วิธีการดำเนินงาน การแบ่งบทบาทหน้าที่แต่ละกิจกรรม

5.ทำแล้วเกิดผลดีอย่างไร เกิดผลไม่ดีอย่างไร เพราะอะไร

6.ทำแล้วมีปัญหาอะไรบ้าง มีอุปสรรคอะไรแก้ปัญหาได้หรือไม่ได้อย่างไร

 

.....................................

 

การนำเสนอโครงการช่วง 3 เดือนแรกของการทำโครงการ

  • 1.โครงการสวนผักปลอดภัยเพื่อนลมหายใจของชุมชน
  • กลุ่มซอย และโนนคูณจูเนียร์

 

บริบทของชุมชนชน สมาชิกอาศัยอยู่ในพื้นที่ 2 หมู่บ้าน โนนคูณและบ้านโนนคำ ประวัติความเป็นมาบ้านโนนคูณแยกตัวออกจากบ้านโนนค้ออยู่ทางทิศตะวันออกของบ้านโนนคูณ บ้านโนนคูณก่อตั้งเป็นหมู่บ้านในเดือน 4 ปีมะโรงพ.ศ. 2437 ประชากรจำนวนทั้งสิ้น 606 คน แบ่งเป็น 323 คน หญิง 349 คน

บ้านโนนคำก่อตั้งเมื่อวันที่ 8 พ.ค. 2542 แยกจากบ้านโนนคูณ หมู่ 2โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อแยกเขตการปกครองออกจากหมู่บ้านเดิมที่มีจำนวนประชากรหนาแน่นมีประชากรจำนวนทั้งสิ้น 556 คน แบ่งเป็นชาย 289 คน หญิง 267 คน

กลุ่มองค์กรในชุมชนโนนคูณ โนนคำ

1.ชมรม SOIและโนนคูณจูเนียร์ ก่อตั้งเมื่อปี 2549 โดยมีครูชาวต่างชาติและที่ปรึกษาครูฐิชยา วงษ์ใหญ่ และโรงพยาบาลโนนคูณ ในปี 2556ชมรมของเราได้ไปนำเสนอที่ มหาสารครามและได้แลกเปลี่ยนเวทีประชุมวิทยากรพยาบาลชุมชนระดับชาติ ต่อมาอำเภอศรีภูมิจังหวัดร้อยเอ็ดได้มาดูงานที่หมู่บ้าน และในปี 2557เราได้จัดงานปีใหม่อย่างสร้างสรรค์ มีการเลี้ยงไก่ออกไข่ เศรษฐกิจพอเพียงได้รับโอกาสจากโครงการเพื่อชีวิตที่ดียิ่งกว่าของโอสถสภา สำหรับสโลแกนของกลุ่ม SOI และโนนคูณจูเนียร์คือรู้โลก รู้ชีวิต รู้วิธีคิด รู้เสียสละ ปัจจุบันชมรมของเรามีสมาชิกจำนวนทั้งสิ้น70 คน

2.ชมรมผู้สูงอายุ ก่อตั้งเมื่อปี 2549โดยได้จัดตั้งจากความคิดของผู้สูงอายุและกรรมการหมู่บ้าน มีสมาชิกทั้งสิ้น 35 คนมีประธานชมรมคือ นางนาง สุขหล้า กิจกรรมของชมรมผู้สูงอายุกิจกรรมหลักคือการออกกำลังกายด้วยการรำไม้พอง เข้าวัดปฏิบัติธรรมช่วงวันพระวันเข้าพรรษา

3.กลุ่มสตรีแม่บ้าน กิจกรรมคือเข้าร่วมกิจกรรมของชุมชนเข้าร่วมสนับสนุนอุปกรณ์ เครื่องมือเครื่องใช้ กรณีมีการจัดงานในชุมชนเช่น งานศพงานแต่งงาน งานประเพณีต่าง ๆ เป็นคณะกรรมการงานศพปลอดเหล้า มีสมาชิกทั้งสิ้น 28 คนมีคณะดำเนินงานจำนวน 9 คน ประธานชมรมคือนางสมหมาย ขันชัย

4. กองทุนเงินล้าน กิจกรรมให้สมาชิกกลุ่มกู้ยืมเงินและมีการออมทรัพย์ มีคณะกรรมการดำเนินงาน 9 คน มีประธานกลุ่มคือ นายรัตนา ขันชัย

ผู้นำชุมชน ผู้นำที่เป็นทางการคือ ผู้นำทางศาสนา พระครูวิจิตร จันทศาลผู้ใหญ่บ้านนายรัตนา ขันชัย อายุ 53 ปี ผู้รู้ปราชญ์ชาวบ้าน ผู้รู้ในชุมชนสำหรับกิจกรรมของเราจะมีครูยายสุดสาคร ให้ความรู้ในเรื่องของเกษตรอินทรีย์การทำปุ๋ยหมักวิถีพอเพียง ผู้รู้ปราชญ์ชาวบ้านบ้านโนนคูณ แม่บุญธรรม ชัยโคตรเป็นผู้รู้ด้านการปลูกผัก เลี้ยงสัตว์

สำหรับกิจกรรมของเรา 1.กิจกรรมประชุมแกนนำ วัตถุประสงค์คือเพื่อวางแผนการทำโครงการ หรือหารือร่วมกันกับผู้ปกครอง ผู้นำผลที่ได้รับจากการประชุมแกนนำ มีปฏิทินการทำงานที่ชัดเจน กำหนดระยะเวลาเป้าหมายและผลสำเร็จ 2.กิจกรรมประชุมผู้ปกครองและสมาชิกผู้นำของสมาชิกชมรมวัตถุประสงค์นำเสนอโครงการเพื่อขอรับข้อเสนอแนะ ในการทำโครงการต่อไป ผลที่ได้รับ1. ได้รับข้อเสนอแนะในการปลูกผัก 2.ได้รับข้อเสนอแนะในการทำโครงการ 3.กิจกรรมต้นทุนชีวิตเด็กและเยาวชนกิจกรรมนี้เราจัดทุกปีเราได้จัดกิจกรรมนี้มาแล้ว 3 ปี วัตถุประสงค์เพื่อเสริมความรู้และเสริมทักษะในการดำรงชีวิตให้แก่เด็กและเยาวชนผู้เข้าร่วมกิจกรรมเป็นสมาชิกในชมรม ผู้นำชุมชนพ่อแม่พี่น้องชาวบ้านโนนคูณโนนคำและน้องๆ เยาวชนในหมู่บ้านผลที่ได้รับน้องมีความภูมิใจและประทับใจที่ได้ร่วมกิจกรรม 2.น้องๆได้รับความรู้พร้อมทักษะในการดำรงชีวิต 3.สมาชิกชมรมภาคภูมิใจในตัวเองที่มีคุณค่าต่อสังคมรักสามัคคี ทำงานเป็นทีมด้วยตนเอง

ฐานของเรามีเพาะกล้าพันธุ์ดี ฐานเยาวชนพลเมืองดีศรีสะเกษฐานภาษาพาสนุก ฐานภาษาเพื่ออาเซียนและฐานนันทนาการ 4.กิจกรรมเตรียมแปลงปลูกผักวัตถุประสงค์เพื่อเตรียมปลุกผักตามโครงการสวนผักปลอดภัยเพื่อลมหายใจของชุมชนผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีทั้งเด็กและเยาวชน แกนนำสมาชิกชมรมผลทีได้รับคือได้แปลงพร้อมปลุก มีการล้อมตาข่ายพร้อมเตรียมเลี้ยงกบล้อมบ่อทั้งหมดเพื่อเตรียมเลี้ยงปลา 5.กิจกรรมปลุกมะนาวท่อสานต่อกิจกรรมปลูกผักวัตถุประสงค์เพื่อเปิดโอกาสให้เยาวชนเรียนรู้เรื่องเศรษฐกิจพอเพียงผลทีได้รับคือได้ปลูกผัก ได้เรียนรู้การปลูกมะนาว

****************

กรรมการ: ทำกับใคร ทำที่ไหนปัญหาและอุปสรรคของการทำงาน รวมถึงสิ่งที่ได้จากการทำกิจกรรมนี้?

พวกเราทำกับผู้นำชุมชน อสม.อบต.และเยาวชนบ้านโนนคูณ โนนคำ ปัญหาและอุปสรรคในการทำกิจกรรมเยาวชนยังไม่ให้ความร่วมมืออย่างเต็มที่ผู้ปกครองบางส่วนยังไม่ทราบรายละเอียดที่ชัดเจน เมื่อผู้ปกครองคนอื่นไม่สนใจเราก็เริ่มจากที่ตัวผู้ปกครองเราเองก่อน

สิ่งที่ได้จากการทำกิจกรรมนี้ ได้เรียนรู้การทำงานร่วมกันอย่างเป็นหมู่คณะฝึกความอดทนของเยาวชนจากการทำกิจกรรมนี้ทำให้พวกเรามีความรับผิดชอบมากขึ้น

กรรมการ:กิจกรรมไหนที่ทำแล้วภูมิใจมากที่สุด เพราะอะไร?

ค่ายกิจกรรมเสริมหนุนต้นทุนชีวิตเพราะว่าเราได้มอบความรู้ให้กับน้อง ๆในชุมชนของเรา ได้เห็นรอยยิ้มของเด็กๆได้ฝึกประสบการณ์ด้านการเป็นผู้นำและการนำเอาความรู้ที่เราได้มาไปมอบต่อให้กับน้องๆ

 ---------------------------------------------------------------

2.กลุ่มรู้รักรู้ออมโกนขยอมสุขใจ

กิจกรรมที่ 1 ประชุมกลุ่มเยาวชนชี้แจงโครงการ

วัตถุประสงค์ให้เยาวชนเข้าใจโครงการสาระสำคัญของโครงการกลุ่มเป้าหมาย สมาชิกแกนนำ7 คน ผลการดำเนินกิจกรรมในกลุ่มเยาวชนเพื่อชี้แจงโครงการเยาวชนเกิดความเข้าใจในโครงการและสามารถแบ่งหน้าที่ในการดำเนินกิจกรรมต่อไป เกิดความสามัคคีภายในกลุ่ม

กิจกรรมที่2 ประชุมเยาวชนกลุ่มสนใจศึกษาข้อมูลการใช้จ่ายรายวันตามแบบบันทึกบัญชีรายรับ-รายจ่าย วัตถุประสงค์ชี้แจงให้เยาวชนมีความรู้ความเข้าใจในการบันทึกรายรับ-รายจ่ายได้อย่างถูกต้องต่อเนื่องกลุ่มเป้าหมาย สมาชิกแกนนำ 7 คน พี่เลี้ยง 2 คน เยาวชน 30 คน รวม39 คน งบประมาณอุปกรณ์ 500บาทใช้จ่ายค่าอุปกรณ์ ใช้จ่ายค่าอาหารเครื่องดื่ม 1500 บาทผลการดำเนินกิจกรรมเยาวชนมีความรู้ความเข้าใจสามารถบันทึกรายรับรายจ่ายได้อย่างถูกต้อง ปัญหาอุปสรรคเยาวชนมาประชุมไม่ครบตามจำนวน เนื่องจากมีการติดธุระสำคัญ

กิจกรรมที่3 ประชุมผู้ฝึกอบรม เพื่อการออมทรัพย์ วัตถุประสงค์ให้สมาชิกมีความรู้ความเข้าใจในการดำเนินกิจกรรมเพื่อการออมทรัพย์ของกลุ่มผลการดำเนินกิจกรรมประชุมผู้ฝึกอบรมการออมจากการให้ความรู้ของหัวหน้ากลุ่มออมทรัพย์ เยาวชนเกิดความรู้ความเข้าใจในการออมมากยิ่งขึ้น

กิจกรรมที่4 ประชุมจัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์เยาวชนโกนขยอมวัตถุประสงค์ให้เยาวชนได้จัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์อย่างถูกต้องกำหนดบทบาทหน้าที่ดำเนินการออมของกลุ่ม กลุ่มเป้าหมายสมาชิกแกนนำ 7 คนเยาวชนโกนขยอม 30 คน ผลการดำเนินกิจกรรมมีการประชุมจัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์และการแบ่งหน้าที่ในการออมนำไปสู่การวางแผนปลูกผักเลี้ยงปลา ปัญหาและอุปสรรคเยาวชนยังขาดความรู้ ความเข้าใจในโครงการ วิธีแก้ปัญหากลุ่มเยาวชนร่วมมือกันวางแผนให้ความรู้เพิ่มเติมในส่วนของโครงการเพื่อให้เกิดความเข้าใจมากยิ่งขึ้น

การสรุปผลดำเนินกิจกรรมกิจกรรมที่ 1-4 ในการดำเนินกิจกรรมตั้งแต่เริ่มกิจกรรมที่ 1-4 พบว่ากลุ่มเยาวชนให้ความร่วมมือและช่วยกันวางแผนงานทั้งในส่วนการออมศึกษาข้อมูลจากผู้นำกลุ่มออมทรัพย์นำเอาข้อมูลมาศึกษาและปฏิบัติตามแผนการที่วางไว้ นำมาสู่กิจกรรมการวางแผนขั้นต่อไปกิจกรรมที่ 4-7 การปลูกผักเลี้ยงปลา

                 **แผนที่กิจกรรมการปลูกผักเลี้ยงปลา

เป้าเหมายที่ได้จากการทำกิจกรรม 1.เยาวชนมีความสามัคคีกัน2.เป็นการส่งเสริมเยาวชนให้มีรายได้ 3.เยาวชนรู้จักอดออม ประหยัดมากขึ้น 4. เยาวชนเห็นคุณค่าของเงินมากขึ้น

****************

กรรมการ: น้อง ๆแต่ละคนมีบทบาทอะไรในงานนี้บ้าง?

ทำหน้าที่ให้อาหารปลาบันทึกภาพเก็บข้อมูลเกี่ยวกับการเลี้ยงปลาที่ถูกต้อง และการปลูกผักจากผู้รู้หาความรู้เกี่ยวกับเรื่องเยาวชน การปลูกผัก การเลี้ยงปลา

ลองเล่าให้ฟังเรื่องการออมว่าต้องออมอย่างไรบ้าง?

เป็นการทำสมุดบันทึกให้เยาวชนบันทึกออมวันละบาท นางสาวอัมพร บุญขาว เป็นคนบันทึกข้อมูล

อยากรู้เรื่องการหาพันธุ์ปลาไปหามาได้อย่างไร?

จากตลาด

** (ทีมนี้ยังไม่ได้ออมอยู่ในช่วงกำลังรวบรวมข้อมูล ออกแบบสมุดบันทึกปลูกผักก็ยังไม่ได้ปลูกอยู่ในช่วงกำลังศึกษาข้อมูลอยู่)

 _________________

3.โครงการต้นกล้าเยาวชนคนหมาน้อย

ทางกลุ่มจัดทำเป็นวิดีโอมานำเสนอ หลังจากที่เราได้มาอบรมแล้วพวกเราลงพื้นที่สอบถามผู้รู้ถึงลักษณะของต้นหมาน้อยเป็นอย่างไรหลังจากนั้นดำเนินการประชุมเพื่อวางแผนดำเนินการต่อหลังจากนั้นพวกเราก็สร้างทีมและได้รับความร่วมมือจากผู้นำชุมชน และผู้รู้ลำดับต่อไปพวกเราจะทำการเพาะพันธุ์ต้นกล้าหมาน้อย ตอนนี้เราอยู่ที่บ้านผู้รู้คุณยายสุรัตน์ ใจมน คุณยายอายุ60ปี เป็นผู้รู้เกี่ยวกับต้นหมาน้อย ลักษณะของใบหมาน้อยมีลักษณะคล้ายรูปหัวใจใบเป็นสีเขียวแก่ มีขนเล็กๆ อยู่บริเวณขอบใบ สรรพคุณต้นหมาน้อยช่วยแก้ร้อนใน

ทางกลุ่มได้ดำเนินกิจกรรมดังต่อไปนี้
1.ประชุมทีม ส่งสำรวจข้อมูลเรื่องต้นหมาน้อยศึกษาเกี่ยวกับต้นหมาน้อยทั้งผู้รู้และแกนนำหมู่บ้าน 2.วัตถุประสงค์เพื่อทราบข้อมูลของต้นหมาน้อย 3.ทำกับใครบ้าง ที่ไหน เมื่อไหร่ (1)ผู้นำชุมชนผู้รู้ สมาชิกในกลุ่ม โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโคกแพก บ้านผู้รู้ยายสุรัตน์ใจมน ยายจันทรา เถาปัด ดำเนินการช่วงวันเสาร์-อาทิตย์หรือเวลาว่าง 4.วิธีการขั้นตอนการดำเนินกิจกรรม ประสานงาน ประชุมแบ่งบทบาทหน้าที่ลงพื้นที่สำรวจและศึกษาเกี่ยวกับหมาน้อย5. ทำแล้วเกิดผลดีและไม่ดีอย่างไร เพราะเหตุใด? ผู้นำชุมชนให้ความร่วมมือได้รับสมาชิกเพิ่ม ได้รู้จักสมุนไพรเพิ่มขึ้น

*********************

กรรมการ:อยากรู้ว่าตอนที่ไปเก็บข้อมูลหมาน้อยหมาน้อยดีอย่างไรช่วยให้ข้อมูลหน่อยว่าดีอย่างไรบ้างมีความสำคัญอย่างไรที่เราต้องรักษาไว้?

เป็นพืชสมุนไพรที่กำลังสูญพันธุ์ไปเรื่อยๆ ทางกลุ่มเลยนำมาขยายพันธุ์และนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์สรรพคุณของต้นหมาน้อยเป็นยาเย็น ช่วยแก้ร้อนใน ขับถ่ายสะดวก เวลาทานนำมาคั้นแช่ไว้ในตู้เย็น และตัดเป็นชิ้น เป็นคำ ทำน้ำจิ้มทาน คล้ายๆ จิ้มกินกับน้ำพริก

เล่าวันที่เราลงไปสำรวจหน่อยว่าเราทำอะไรบ้างไปสำรวจที่ไหน เก็บข้อมูลอย่างไร?

เราจะแบ่งเป็นทีมลงไปสอบถามผู้รู้มีคนเก็บภาพ และทำหน้าที่จดบันทึก

ในชุมชนมีคนปลูกหมาน้อยเท่าไหร่กี่หลังคา?

ประมาณ 25 หลังคาเรือน

พวกเราได้ลองกินต้นหมาน้อยกันมาบ้างหรือยังแล้วถ้าให้เราลองเชิญชวนให้เพื่อนๆ มาลองชิมต้นหมาน้อยเราจะบอกเพื่อนอบ่างไรบ้างรสชาติ สรรพคุณของหมาน้อย?

รสชาติของหมาน้อยจะออกจืด ๆ เย็นๆถ้าจิ้มกับน้ำจิ้มจะอร่อยขึ้น

              ___________________________

4.โครงการสานสัมพันธ์กอนกรวยท่รวยอิก

กิจกรรมขั้นตอนในการดำเนินงานประชุมทีมและวางแผนในการดำเนินงานเป็นการประชุมทีมเพื่อเตรียมความพร้อมก่อนดำเนินการโดยการกำหนดบทบาทหน้าที่รับผิดชอบของแต่ละคนในกลุ่มร่วมกันวางแผนการทำโครงการและทำความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้งบประมาณในการทำกิจกรรมต่างๆ การประชุมทีมเป็นการประชุมทีมหลัก ในวันที่ 1 ตุลาคม 2557 ณ บ้านเลขที่ 147 ม. 7มีผู้เข้าร่วมการประชุม สมาชิกในกลุ่มทั้งหมดและพี่เลี้ยง

กิจกรรมสัมภาษณ์ผู้รู้ด้านประวัติความเป็นมาของชุมชน คือคุณตาพรม โพธิ์กะสังข์ อายุ 73ปี

กิจกรรมสัมภาษณ์ผู้รู้ด้านประเพณี 12 เดือนและการละเล่นพื้นบ้าน ผู้รู้คือ ตาพรม โพธิ์กะสังข์คุณยาย ราตรี เปรม และคุณยายแก้ว เลิศศรี กิจกรรมสำรวจข้อมูลประชากรของชุมชนบ้านซำเราได้ไปขอความร่วมมือและขอข้อมูลที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโพธิ์กะสังข์ ผู้รู้ในชุมชนพวกเราศึกษาและรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของบ้านซำ จำนวนประชากรวัฒนธรรมประเพณี 12 เดือนและการละเล่นพื้นบ้านแหล่งข้อมูลที่ได้ศึกษาคือผู้รู้ในชุมชนหลังจากนั้นได้นัดประชุมทีมเพื่อนำข้อมูลที่ไปศึกษามาสรุปและแลกเปลี่ยนกันเพื่อให้ทุกคนในทีมได้รู้เข้าใจข้อมูลที่ได้ไปศึกษาและรวบรวมมา

หลังจากนั้นพวกเราได้ประชุมทำความเข้าใจร่วมกับชุมชนเป็นการประชุมทีมเพื่อชี้แจงความเข้าใจร่วมกับโครงการและวัตถุประสงค์ของโครงการต่อชุมชนให้รับทราบซึ่งพวกเราได้ชี้ประเด็นแก่ชุมชน คือ ชื่อโครงการ วัตถุประสงค์หลักการและเหตุผล วิธีการและขั้นตอนในการทำโครงการ และบอกเนื้อหาที่จัดเก็บข้อมูลผลดีและผลเสียของการทำโครงงาน และขอความร่วมมือกับชุมชน ก่อนการลงเก็บข้อมูล

กิจกรรมต่อไปกิจกรรมวิเคราะห์และสรุปข้อมูลจากที่ได้ไปศึกษามาเป็นการสรุปข้อมูลเบื้องต้นโดยทีมได้เตรียมข้อมูลบริบทชุมชนวัฒนธรรมประเพณีการละเล่นของชุมชนบ้านซำ ซึ่งได้มาจากการรวบรวมด้วยวิธีการสำรวจสัมภาษณ์ชาวบ้านในชุมชน เก็บข้อมูลโดยการจดบันทึก ถ่ายวิดีโอและบันทึกเสียงและร่วมกันสรุปวิเคราะห์ข้อมูล จัดหมวดหมู่ข้อมูล ด้านกลุ่มเนื้อหาในการศึกษาและจัดพิมพ์ข้อมูล

ผู้ในด้านการละเล่นท่รวยอิก

1.แม่ลา ปรีเปรม

2.แม่แก้ว เลิศศรี

3.แม่ประคอง มังคละ

4.แม่มน อุทา

5.แม่เขียน พรสวรรค์

6.แม่ไสว โนนสวรรค์

ก่อนที่พวกเราจะจัดการประชุมเราได้ไปติดต่อกับผู้ใหญ่บ้านให้ประชาสัมพันธ์เสียงตามสายให้มีผู้มาประชุมที่ศาลาสำกรับข้อมูลที่ได้ศึกษามานั้น พวกเราศึกษาประวัติความเป็นมา ที่ตั้ง และอาณาเขตของหมู่บ้านว่าติดกับหมู่บ้านอะไรบ้าง จำนวนประชากร ประเพณีวัฒนธรรม 12 เดือนและเรื่องหลักที่ไปศึกษาจะมีวัฒนธรรมด้านการละเล่น จากที่ไปศึกษามาพบว่ามีการแบ่งช่วงอายุในการเล่น3 ช่วง

ช่วงแรกคือช่วง 80 ปีขึ้นไป จุดเริ่มต้นของการเล่นเริ่มเล่นโดยที่คณะครูที่อยู่ในชุมชนสอนให้ผู้สูงอายุที่ตอนนั้นยังอยู่ในวัยเรียนในเวลาว่าง ในขณะนั้น จะเล่นโดยการแบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละเท่าๆกัน โดยการเป่ายิงชุป แบ่งฝ่ายจากนั้นให้ภายในทีมเลือกหัวหน้าทีม ทีมละ 1 คนเมื่อได้แล้วให้ผู้เล่นแต่ละทีมไปซ่อนตัวตามใต้ถุนบ้านส่วนใหญ่เล่นกันช่วงพักกลางวันและช่วงเย็นกลับมาบ้านหรือเวลาว่างหลังจากทำงานบ้านเสร็จแล้ว ในการเล่นของคนช่วงอายุ 80 ปีมีเพลงประจำการละเล่นนี้ ชื่อเพลงว่า ไก่แก้วเมื่อไปซ่อนใต้ถุนบ้านแล้วผู้นำทีมจะนำลูกทีมมา 1 คนโดยการเอาผ้าคลุมตัวไว้ถ้าคนที่เป็นไก่ตัวใหญ่จะให้คลานออกมาเอง แต่ถ้าตัวเล็กเขาจะอุ้มออกมาหรือให้คลานออกมาแล้วมาอยู่ในจุดที่กำหนดไว้ และให้หัวหน้าทีมเป่ายิงชุปกันอีกทีเพื่อเลือกว่าใครจะเล่นก่อน เมื่อได้ผู้ชนะให้ผู้ชนะร้องเพลงไก่โดยร้องว่า“ลองทายดูสิ ว่าไก่ตัวนี้เลขที่เท่าไหร่ จงขานให้ฉันฟังก่อน ถึงจะตอบสุนทรได้ไก่เอยไก่แก้ว จงขันเสียงแจ้วออกมาไวๆ” จากนั้นให้คนที่อยุ่ใต้ผ้าร้องออกมาว่า“อิก” แล้วให้หัวหน้าทีมของฝ่ายตรงข้ามทาย โดยการทายในช่วงนี้จะทายเป็นเบอร์ว่าไก่เบอร์ 1 หรือ 2 ถ้าทายถูกคนที่อยู่ใต้ผ้าจะไปเป็นลูกทีมของหัวหน้าที่ทายถ้าทายผิดก็จะอยู่ทีมเดิม จากนั้นจะเล่นไปเรื่อยๆจนกว่าจะได้ผู้ชนะคือมีจำนวนผู้เล่นมากที่สุด

ช่วงที่ 2 อายุ 52 ปี มีการเล่นเหมือนกับช่วงอายุ 80 ปีแต่จะเปลี่ยนการทายจากหมายเลขเป็นไก่ตัวผู้หรือไก่ตัวเมีย และเพลงจากที่เคยได้ร้องก็ไม่มีอีกเลย

ช่วงที่ 3 อายุ 31 ปีมีการละเล่นเหมือนกันแต่เปลี่ยนจากการทายไก่ตัวผู้ไก่ตัวเมียเป็นชื่อของผู้เล่นแทน เพลงนั้นก็ได้หายไป

ผู้เข้าร่วมกิจกรรมที่ 1 ประกอบด้วย กลุ่มกอนกรวยท่รวยอิก และกลุ่มพี่เลี้ยง

กิจกรรมที่ 2 คือกิจกรรมประชุมทีมเกี่ยวกับข้อมูลบริบทชุมชนมีผู้เข้าร่วมคือกลุ่มกอนกรวยท่รวยอิกและพี่เลี้ยง และผู้รู้เข้าร่วมกิจกรรมด้วย

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมเก็บข้อมูลการละเล่นและความเป็นมามีผู้เข้าร่วมคือกลุ่มกอนกรวยท่รวยอิก พี่เลี่ยงและผู้รู้เข้าร่วม

กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมประชุมทีมชี้แจงโครงการต่อชุมชนมีผู้เข้าร่วมกลุ่ม มีผู้เข้าร่วมคือกลุ่มกอนกรวยท่รวยอิกพี่เลี่ยงและคนในชุมชนจำนวน 46 คน

**********************

คำถาม: ปัญหาในการดำเนินโครงการมีอะไรบ้างและมีแนวทางในการแก้ไขอย่างไร?

สมาชิกในกลุ่มมาไม่ตรงเวลาเกือบจะทุกกิจกรรมทำให้ระยะเวลาในการดำเนินกิจกรรมยืดยาวไปอีกและตอนไปประชุมชี้แจงรายละเอียดหมู่บ้านของเรามีการจัดทำศาลากลางบ้านใหม่ความสะดวกสบายในการประชุมไฟฟ้าไม่มีเพราะเราต้องไปประชุมตอนเย็น มียุงเยอะ แต่ก็ต้องทน ซื้อยากันยุงมาให้ผู้เข้าร่วมทาไฟก็ไปขอติดต่อให้ท่านผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านมาติดให้

ปัญหาอีกอย่างช่วงที่เราประชุมเป็นช่วงเก็บเกี่ยวผลผลิตทางการเกษตรคนในชุมชนไม่ค่อยมีเวลาว่างมาประชุมก็ต้องเลื่อนประชุมออกไปทำให้ได้กิจกรรมออกมาค่อนข้างจำกัด

คำถาม: อยากรู้ว่าการละเล่นนี้เล่นแล้วได้อะไรมันดีอย่างไรกับชุมชนและคนเล่น?

ได้ฟื้นฟูเพราะว่าการละเล่นนี้ได้หายไปแล้วเราจะฟื้นฟูขึ้นมาสร้างความสัมพันธ์ระหว่างพี่กับน้องในชุมชนได้ความสัมพันธ์กับท่านผู้รู้เพราะเราต้องไปถามข้อมูลกับท่าน ฝึกการทำงานเป็นทีมความเป็นผู้นำ ฝึกความรับผิดชอบ การแบ่งเวลาการทำงาน

คำถาม: ทีมนี้มีการเก็บข้อมูลได้ละเอียดมากเราเคยทำงานด้านนี้มาก่อนหรือเปล่า?

ในตัวหนูที่โรงเรียนเคยเข้าร่วมกิจกรรมเพาะพันธุ์ปัญญากับการทำโครงงานเลยพอรู้บ้างศึกษาจากแหล่งเรียนรู้ทั่ว ๆ ไป แต่ว่าข้อมูลนี้เพิ่งเคยเก็บเป็นครั้งแรก

          _______________________________

5.โครงการดักแด้แตกใหม่ ทอรัก ทอไหม สานสายใยโซดละเว

  • ·วัตถุประสงค์

1.เพื่อศึกษาข้อมูลของชุมชน และเส้นทางโซดละเวตลอดจนวิธีการทอโซดละเวว่ามีอะไรบ้าง

(นำเสนอผ้าทอโซดละเว)

  • ·กิจกรรม

1.ประชุมทีม ว่าต้องทำอะไรกันบ้าง เริ่มเตรียมออกสัมภาษณ์ในช่วงนี้

2.กิจกรรมตามรอยโซดละเว พวกเราไปศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับโซดละเวโบราณซึ่งที่เราเห็น โชว์เป็นโซดละเวอายุประมาณ 50 ปีซึ่งใช้การย้อมด้วยสีธรรมชาติทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นต้นเข คลั่งและสีเขียวจากการผสมระหว่างเหลืองเขียว และต้นครามผสมกันจะเป็นสีเขียวแก่

ประวัติความเป็นมา

พวกเราได้สัมภาษณ์คุณตาซุย โพธิสานเดิมที่ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของบ้านในปัจจุบัน เป็นป่าต้นแต้มีประมาณ 5-6 ครัวเรือนโดยคุณทวดซุย โพธิสาน ทวดทอน โพธิสาน ทวดคง วรรณอุบล เป็นผู้ก่อตั้งขึ้นเนื่องจากบริเวณนั้นมีโจรชุกชุม ชอบขโมยวัว ควายของชาวบ้าน จึงย้ายถิ่นฐานมาตั้งอยู่ณ ที่ปัจจุบัน คือในบ้านพะยอม บางบ้านก็ตั้งอยู่บ้านโพธิ์กระสังข์บ้างโดยเป็นที่ดินของคุณตาสี่ คุณยายวงศ์ วรรณอุบลทั้งหมู่บ้านเป็นที่ราบสูงจึงไม่มีน้ำท่วม ซึ่งในสมัยนั้นเป็นหมู่ 6 ต.ขุนหารอ.ขุขันธ์ อีกไม่นานนักเปลี่ยนมาเป็นหมู่ 2 ต.ขุนหาร อ.ขุนหาร และมีนายสินสมุทรสิงสันติแสง เป็นกำนันในช่วงนั้น และเมื่อปี 2557 ได้มีผู้ใหญ่บ้านคนแรกและเปลี่ยนเป็นชื่อบ้านแต้พัฒนา หมู่ 11 ต.โพธิ์กระสังข์ อ.ขุนหาร จ.ศรีษะเกษมีนายบุญสม โพธิสานเป็นผู้ใหญ่บ้านและมีนายสินสมุทร สิงสันติแสงเป็นกำนันในช่วงนั้น ปัจจุบัน นายนภดล โพธิ์กระสังข์เป็นผู้ใหญ่บ้านดำรงตำแหน่งเมื่อปี พ.ศ. 2555 จนถึงปัจจุบัน

 

ประชากรชายมีทั้งหมด 117 คน ประชากรหญิงมี 110 คน รวมทั้งหมด 227 คนอาณาเขตติดต่อ ทิศเหนือติดต่อกับบ้านโคกพะยอมทิศใต้ติดต่อกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ และเทศบาลโพธิ์กระสังข์ทิศตะวันออกติดต่อกับบ้านคอกปอ ต.ขุนหาน ทิศตะวันตกติดต่อกับบ้านโพธิ์กระสังข์หมู่12

  • ·การสัมภาษณ์

1.คุณยายพันธ์ โพธิสาน อายุ 85 ปีปราชญ์ด้านการทอผ้าไหม ประสบการณ์ 50 ปี

1.1ประวัติความเป็นมา “โซดละเว”

การทอโซดละเว มาช้านานนับร้อยปี โดยมีคุณยายทวดจิน โพธิสานเป็นคนริเริ่มปลูกหม่อนเลี้ยงไหม ถักทอผ้าโซดละเว ในชุมชนบ้านแต้พัฒนาโดยทำเวลาว่างหลังจากทำการเกษตรในช่วง 2 เดือน ถึง 6 เดือนของทุกปีการมัดย้อมในอดีตใช้สีธรรมชาติในการย้อม ไม่ว่าจะเป็นต้นเข เป็นขนุน คลั่ง คลาม ต้นขี้เหล็กใบไม้ต่างๆ

การทำโซดละเว คือการนำไหม 2แผ่นมาตีเกลียวให้เป็นสีเดียวโดยการใช้หัดในกรอไหมซึ่งสีในชุมชนได้ถือปฏิบัติกันมาตั้งแต่ในอดีตก็มีสีแดงคลั่ง สีกระเซา สีเขียวแก่สีเหลืองเขียว สีม่วง มีการนำ 2 สีคือ สีแดงคลั่งแก่ และสีเหลืองแกมีตีเกลียวใส่กันสีเหลือและสีเหลืองเขียวแก่ สีม่วงและสีเหลืองแก่ซึ่งถ้าตีเกลียวแล้วจะออกมาในลักษณะคล้ายๆ ลายหางกระรอก มีความเงางามสะดุดตายิ่ง

การทอโซดละเว มีการทอหลายประเภท เช่น จิระเว ซิ่นไหมควบจิโชรง ผ้าโสร่งไหม จิสนอบ ผ้าหางกระรอกยาว โจงกระเบน ผ้ามัดหมี่ ซึ่งผ้าแต่ละประเภทก็ใช้ในพิธีกรรมที่แตกต่างกัน

2.สัมภาษณ์ผู้รู้คุณยายแวง โพธิ์กระสัง อายุ 72 ปี บ้านแต้พัฒนาด้านการนำโซดละเวไปใช้ในพิธีกรรมต่างๆ

2.1 พิธีกรรมงานบวชซึ่งจากการศึกษาและสำรวจพบว่าในงานบวชจะนุ่งจีสนอบ ลักษณะของจีสนอบคือจะเป็นผ้าผืนยาวมีความยาวประมาณ 4 เมตร โดยการทอด้วยโซดละเวทั้งผืน

2.2พิธีกรรมแต่งงานเจ้าสาวจะนุ่งจิระเวจะมีส่วนประกอบคือ ส่วนตัวจิระเวเอง 1 ผืน ตามด้วยบูบูนเป็นเชิงไหมมัดหมี่ตามด้วยสเลิก เป็นการยกมุก ซึ่งปัจจุบันกลุ่มพวกเราก็กำลังศึกษาเรื่องการยกมุกอยู่และพอมีความรู้อยู่บ้าง และด้านบทสุดเป็นการยกหีบ โดยใช้สีแดงเป็นหลักตามลายโบราณคือลายโคม 5

2.3 พิธีเล่นนางออหรือนางแม่มด ของชุมชนชาวกรวย จากการสัมภาษณ์พบว่าเป็นเครื่องสมนาหรือเครื่องไหว้แถน คือเทวดาประจำตัว หรือประจำตระกูลเวลาร่างทรงลงมาไม่ว่าจะเป็นโซดละเว ผ้าซิ่นไหมและจีโสร่งซึ่งเป็นผ้าหลักในการรำแม่มด

2.4 พิธีกรรมงานอวมงคล / งานศพส่วนมากที่ได้ศึกษาและสอบถามมา จะใช้จีสนอบ อีกแบบหนึ่งในการคลุมศพคือจะมีเชิงทั้ง 2 ด้าน ทั้ง 2 ข้าง ในการคลุมศพมีความเชื่อกันว่าเพื่อให้ผู้ที่ล่วงลับไปแล้วไปสู่ศรวงสวรค์ จะได้มีผ้าผ่อนที่ดีใช้ในภพหน้า

2.5 พิธีกรรมบุญ เทศน์มหาชาติหรือบุญพเวตบ้านเราชุมชนชาวกรวยบ้านแต้พัฒนานิยมใช้ผ้าดซดละเวในการห่อคัมภีร์โบราณ

2.6 การเซ่นไหว้ สารทเดือน 10จะใช้ในการเส้นไหว้บรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว เพื่อให้ได้ใส่ผ้าผ่อนที่ใหม่ๆ ซึ่งพิธีกรรมเดือนสารทก็จะจัดปีละครั้ง

2.7 พิธีกรรมเรียกขวัญภาษาส่วยบ้านเราเรียกว่ากระเยอราวาย ได้มาจากเมื่อเจ็บป่วย หรือเกิดอุบัติเหตุจะใช้ผ้าโซดละเว ไม่ว่าจะเป็นจีสนอบ จิปัก จิโช จีสไบในการเส้นเทวดาให้มาประจำผู้ป่วย เพื่อให้มาอยู่เหมือนเดิม

2.8 พิธีกรรมสู่ขวัญข้าว กระเยอราวายทอหรือซดทอ ก็จะใช้ผ้าลักษณะเป็นผืนเดียวกัน

3.การสัมภาษณ์คุณยายสวัสดิ์ โพธิ์กระสัง ปราชญ์ชาวบ้าน อายุ67 ปี ประสบการณ์ทอผ้าไหม 40 ปี

 

  • ·ด้านการทอผ้าไหม กรรมวิธีการทอโซดละเว

3.1ขั้นตอนการฟอกไหมคือการลอกกาวไหมจากเส้นไหมเพื่อให้ง่ายต่อการย้อมและการทอ

3.2 การกวักไหม ที่ผ่านการฟอกแล้วคือการกวักไหมเข้าอัก

3.3 การแกว่งไหมเป็นการตีเกลียวเส้นไหม ไม่ให้เส้นไหมแตกออกจากกัน

3.4 การทำไหมเป็นจัยเพื่อทำไหมให้สะดวกต่อการย้อม

3.5 ย้อม เป็นการนำไหมไปย้อมในสีเคมี

3.6การกวักไหม เป็นการกวักไหมเข้าอักเพื่อให้เส้นไหมไม่แตก

3.7การทำโซดละเว คือการนำไหม 2เส้นมาตีเกลียว

3.8 การปั่นหลอด คือการปั่นโซดละเวที่ผ่านการทำโซดละเวปั่นเข้าหลอดเพื่อที่จะนำไปทอ

3.9การทำไหมเครือ หรือไหมยืนก็จะเริ่มจากการกวักไหมเข้าอักก่อนประมาณ ครั้งละ 4 อักโดยการทำก็จะสะดวกง่ายกว่าเก่า

3.10 การแปะโซน หรือการพ่นไหมคือการนำไหมที่กวักแล้วมาพ่นใส่กัน จนครบจำนวนเส้นไหมในเพิง เช่นในเพิง 35 โหลต้องใช้เส้นไหม2,800 เส้น

3.11 การต่อไหมคือการต่อเส้นไหมหลังจากที่เราตัดออก

3.12 การเอาปมไหมออกจากเพิงเป้นการเอาปมไหมออกจากเพิงเพื่อทำการทอ

3.13 การขัดเชิง คือการนำไม้มาขัดแล้วทอไว้เพื่อไม่ให้เส้นไหมหลุด

3.14 การหวีไหมคือการนำน้ำข้าวมาหวีเพื่อไม่ให้เส้นไหมแตก

3.15 การทอโซดละเวคือการทอผ้าไหมลายประเภทต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นจิระเวง จิโทรง จิสนอบ และจิปัด

ความแตกต่างของการย้อมสีธรรมชาติและสีเคมี

 

การใช้สีธรรมชาติในอดีต ได้จากส่วนต่างๆ ของต้นไม้ ไม่ว่าจะเป็นลำต้นใบ กิ่ง ซึ่งแต่ละส่วนก็ได้สีแตกต่างกันอ่อนเข้มตามส่วนประกอบของลำต้นที่ใช้ย้อมได้แก่ ต้นเข (ให้สีเหลืองเขียว) ต้นขนุน(ให้สีเหลืองเข้มแก่นขนุน)ต้นคราม(ให้สีคราม สีฟ้า) ต้นคลั่ง (ให้สีแดง หรือสีชมพู)ลูก-ใบมะเกลือ (ให้สีดำ) ต้น-ใบขี้เหล็ก (ให้สีเขียวขี้ม้า หรือเขียวอมเหลือ) เปลือกแค (ให้สีชมพู)ซึ่งมักจะต้มและเทสีลงไว้ให้ได้มากที่สุดการย้อมสีธรรมชาติเสร็จแล้วมักจะนำผ้าไปลงโคลนเพื่อให้ผ้ามีความหนาและคงทนในการใช้งาน

การย้อมสีในปัจจุบัน มักย้อมด้วยสีเคมีซึ่งจะย้อมง่ายไม่เสียเวลามากเหมือนกับการย้อมสีธรรมชาติเพียงแต่ต้มน้ำให้เดือนแล้วเทสีลงไป ในหม้อ คนให้สีละลายแล้วนำไหมลงย้อมประมาณ 1ชั่วโมง หมั่นกลับไหมบ่อยๆ เพื่อให้สีสม่ำเสมอ

  • ·นำเสนอรูปภาพกิจกรรม

1.กิจกรรมแรกเกี่ยวกับการฟอกไหม

2.กิจกรรมแรกเกี่ยวกับการกวักไหม

3.กิจกรรมแรกเกี่ยวกับการแกว่งไหว

4.กิจกรรมแรกเกี่ยวกับการย้อมไหม

5.กิจกรรมแรกเกี่ยวกับการตักไหมที่ผ่านการย้อมเข้าอัก

6.กิจกรรมการทอ

  • ·สรุปผลโครงการในช่วง3 เดือนแรก

ยังได้ข้อมูลไม่ครบถ้วนเท่าไหร่ ก็จะไปศึกษาต่อสำหรับปัญหาและอุปสรรคที่พบก็คือการจัดการด้านงบประมาณเพราะตอนแรกคิดว่าวัตถุดิบมีราคาถูก แต่กลับม