ติดตามชมกิจกรรมในเวทีได้ที่นี่
“กระบวนการสร้างเครือข่ายและพัฒนาทักษะพี่เลี้ยงภาคใต้”
สถานการณ์โลกในปัจจุบันที่มีความจำเป็นเร่งด่วน ที่ต้อง “บ่มเพาะคนรุ่นใหม่” ให้เติบโตเป็นพลเมืองที่มีคุณภาพ เพื่อเป็นกำลังสำคัญในการช่วยกันดูแลและพัฒนาโลกของเราให้น่าอยู่ต่อๆ ไป ต่อเนื่องจากรุ่นสู่รุ่น เด็กและเยาวชนจะเติบโตเป็นเช่นนี้ได้ ต้องมีผู้ที่ทำหน้าที่บ่มเพาะความดีงามให้งอกงามขึ้นในตัวเด็กๆ ซึ่งอาจจะเป็นพ่อแม่ ผู้ปกครอง คนในชุมชน ครู อาจารย์ที่โรงเรียน ที่มีบทบาทสำคัญในการทำหน้าที่นี้ ซึ่งบุคคลเหล่านี้จำเป็นต้องมีทักษะในบ่มเพาะสิ่งเหล่านี้ให้เกิดในตัวเด็กๆ
ย่อจากประชากรโลกมาที่จังหวัดนครศรีธรรมราช ผู้ใหญ่ที่เรียกขานตนเองว่าเป็น “พี่เลี้ยงเยาวชน” ที่มีความแน่วแน่อยากจะพัฒนาลูกหลานของตนเองให้เป็นคนรุ่นใหม่ที่มีศักยภาพ ได้เล็งเห็นความสำคัญของกระบวนการเรียนรู้ที่จะพาลูกหลาน หรือเยาวชนของตนให้ไปสู่จุดหมายปลายทางเป็น “คนดี คนเก่ง มีสำนึกความเป็นพลเมือง” ดั่งที่วางไว้จึงได้มารวมตัวกันที่เวทีอบรมเชิงปฏิบัติการ “สร้างเครือข่ายและพัฒนาทักษะพี่เลี้ยงภาคใต้ : ภาวะผู้นำและการจัดกระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาเด็กและเยาวชน” ภายใต้โครงการพัฒนาเยาวชนในชุมชนท้องถิ่น (4 ภาค) ระยะที่ 2 : หลักสูตรนักถักทอชุมชน เพื่อพัฒนาเด็กเยาวชนและครอบครัว สนับสนุนโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย สถาบันเสริมสร้างการเรียนรู้เพื่อชุมชนเป็นสุข (สรส) มูลนิธิชุมชนท้องถิ่นพัฒนา มูลนิธิสยามกัมมาจล ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด(มหาชน)
การอบรมครั้งนี้ คณะผู้จัดงานได้ตั้งวัตถุประสงค์ เพื่อให้พี่เลี้ยงได้รู้จักตนเองและเกิดกระบวนการทำงานแบบมีส่วนร่วมที่เกิดจากพลังขับเคลื่อนภายใน เพื่อพัฒนาพี่เลี้ยงเด็กและเยาวชนในพื้นที่ให้มีทัศนคติ ความรู้ และทักษะในการจัดกระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม และการให้คำปรึกษากับเด็กเยาวชนในชุมชนท้องถิ่นของตนเองได้ และเพื่อสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ของพี่เลี้ยงเด็กและเยาวชนในพื้นที่ให้มีพลังในการขับเคลื่อนงานเพื่อพัฒนาศักยภาพเด็กและเยาวชนในท้องถิ่นตนเอง
โดยมีอปท.ในพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราชสนใจเข้าร่วม ได้แก่ องค์การบริหารส่วนตำบลกลาย,เทศบาลเมืองปากพูน, องค์การบริหารส่วนตำบลเขาพังไกร, เทศบาลตำบลท่าแพ, องค์การบริหารส่วนตำบลควนชะลิก, องค์การบริหารส่วนตำบลท่าเรือ, องค์การบริหารส่วนตำบลนาทราย ส่งบุคคลเหล่านี้ได้แก่ นักถักทอชุมชน(เจ้าหน้าที่อปท.ผู้เข้าร่วมในโครงการฯ) ผู้ใหญ่ใจดี พี่เลี้ยงชุมชน เยาวชน ที่มีบทบาทหน้าที่รับผิดชอบดูแลงานด้านพัฒนาเยาวชน / สภาเด็ก และเยาวชนระดับตำบล ร่วมเรียนรู้กับนักกระบวนกรอิสระ จรายุทธ สุวรรณชนะ ระหว่างวันที่ 27 – 29 มีนาคม 2561 ณ โรงแรม แกรนด์ปาร์ค จังหวัดนครศรีธรรมราช
สำหรับผลลัพธ์ที่ต้องการให้เกิดสำหรับผู้เข้าร่วมเวทีในระยะยาวนั้น สุทิน ศิรินคร ผู้จัดการโครงการฯ กล่าวว่า “ต้องการให้เกิดเครือข่ายพี่เลี้ยงเยาวชนภาคใต้ ซึ่งอย่างน้อยๆ น่าจะมีสัก 40 คน พร้อมแผนงานพัฒนาเด็กและเยาวชนของแต่ละตำบล นอกจากนี้พี่เลี้ยงเยาวชน ก็ควรจะมีทักษะภาวะผู้นำและทักษะการโคช รวมทั้งสามารถออกแบบจัดกระบวนการเรียนรู้ และท้ายสุดก็สามารถสร้างเครือข่ายและพัฒนาศักยภาพเด็กและเยาวชนให้เกิดการเรียนรู้จากการลงมือปฏบัติจริงในพื้นที่”
จรายุทธ สุวรรณชนะ เผยเบื้องหลังการจัดกระบวนการเรียนรู้ในครั้งนี้ว่า.. “ เวทีนี้เป็นการจัดกระบวนการเรียนรู้ให้กับพี่เลี้ยงเยาวชนพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยเป็นหลักสูตรพัฒนาภาวะการนำและการจัดกระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมให้กับพี่เลี้ยงในพื้นที่ ในส่วนตัวคิดว่าคนทำงานด้านนี้ ตั้งใจสร้างสรรค์สิ่งดีๆ อยู่แล้ว จึงอยากชวนให้เขาได้กลับมาทำความเข้าใจตัวเองก่อน เพื่อความเข้าใจว่ามีศักยภาพและข้อจำกัดอะไรในตัวเอง ถ้าเขาต้องการทำงานอย่างมีความสุขและยั่งยืนต้องกำจัดข้อจำกัดบางอย่างออกไป ตัวอย่างข้อจำกัด เช่น อารมณ์ร้อน... เป็นต้น”
จรายุทธเสริมว่าการให้พี่เลี้ยงรู้จักตนเองมีความสำคัญมาก “การรู้จักตัวเองทำให้เขาเห็นคุณค่าในตัวเอง เกิดความภาคภูมิใจ และเกิดความสุขที่ทำให้เขาอยากทำงานต่อไป เกิดเป็นพลังในการขับเคลื่อนงาน และการได้รู้ข้อจำกัดจะช่วยให้เขาระวังตัวเองมากขึ้น เพราะถ้าไม่ระวังอาจจะไปทำร้ายคนอื่นหรือกลุ่มเป้าหมาย เช่น ในบางครั้งเขาเป็นคนตั้งใจดี แต่ไม่ฟังเด็ก ทำให้เด็กเกิดความกดดันแล้วไม่อยากเข้ามาทำงานร่วมกัน
และการที่คนเรามีข้อจำกัดในตนเอง เป็นสิ่งที่ทำให้ไม่สามารถขยายงานให้เพิ่มมากขึ้นได้ แล้วบางทีทำให้ต้องทำงานเหนื่อยมากขึ้น เช่น มุ่งให้งานออกมาเร็ว อยากให้งานเสร็จ เลยเผลอไปกดดันคนอื่น เผลอไปกดดันเด็กด้วย ทำให้ตัวเองเครียด ต้องทำงานหนักขึ้น”
นอกจากนี้ นอกจากเรื่องการรู้จักตนเองแล้ว กระบวนการยังเน้นให้รู้จักกับการจัดการความเครียดอีกด้วย “ในสามวันนี้เราจะมีกระบวนการ ทำให้เขาเห็นว่าความทุกข์ในชีวิตเขามีอะไรบ้าง มีแนวทางในการจัดการอย่างไร เพราะเวลาทำงานต้องมีความกดดันและความเครียดเกิดขึ้นในชีวิต จึงทำให้เขาเห็นว่าความทุกข์และความเครียดของคนส่งผลต่อสุขภาพและจิตใจอย่างไร ทำให้เขามีพลังและมีความหวังในการทำงาน
และที่สำคัญ “บทบาทของการเป็นผู้นำ” เป็นสิ่งที่ต้องย้ำเน้น ในฐานะคนที่จะไปทำหน้าเป็นโคชจำเป็นต้องเข้าใจเรื่องนี้ให้ถ่องแท้ “คือทำให้เห็นว่าผู้นำไม่ใช่การคิดเองพูดเองทุกเรื่อง ไม่ต้องรับผิดชอบทุกเรื่อง เพราะถ้าทำแบบนั้นจะไม่ทำให้เกิดทักษะความเป็นผู้นำในตัวเยาวชนขึ้นเลย ต้องพูดเรื่องบทบาทของการนำหรือการเป็นผู้นำ คือการสร้างการมีส่วนร่วม การสร้างการเรียนรู้ ซึ่งเป็นบทบาทที่สำคัญมาก แต่เขาจะทำบทบาทนี้ได้ต้องย้อนมาดูว่าเขาต้องพัฒนาคุณลักษณะอะไรในตัวเขาอีก โดยคุณลักษณะนี้หมายถึงเรื่องจิตใจและทักษะด้วย เช่น ทักษะการฟัง ทักษะการสร้างการมีส่วนร่วม ซึ่งเราช่วยปรับทัศนคติในแง่การเป็นผู้นำ เพราะผู้นำไม่ใช่การเข้าไปจัดการทุกเรื่อง และจากสองวันนี้จะเห็นว่าเขามีลักษณะของการเชื่อผู้นำ ชาติพ้นภัย เป็นการฝากความหวังไว้ที่ผู้นำอย่างเดียว จึงต้องมีการแก้ทัศนคติตรงนี้ด้วย เพื่อให้เห็นว่าบทบาทแท้จริงของผู้นำเป็นอย่างไร”
เพราะเหตุผลข้างต้นที่เป็นเบื้องหลังสำคัญซึ่งเป็นที่มาของการเป็น “พี่เลี้ยงเยาวชนหรือโคชที่ดี” จรายุทธจึงได้ออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ ในลักษณะ “กิจกรรมผ่านประสบการณ์” เป็นส่วนใหญ่ สำหรับกระบวนการที่จะทำให้พี่เลี้ยงรู้จักตัวเองเพื่อให้เกิดพลังขับเคลื่อนภายใน และสร้างความสัมพันธ์ภายในกลุ่ม มีกิจกรรมดังนี้ กิจกรรม check in / กิจกรรมสันทนาการ ประกอบด้วย 1.กิจกรรมนับเลข , 2.กิจกรรมเสร็จฉันและเธอ,3.กิจกรรมเรียงลำดับ , 4.กิจกรรมปลาทู เข่ง / กิจกรรม 360 องศา / กิจกรรม socio (ความสุข 4 ระดับ)/ กิจกรรมจักรวาลจัดสรร / กิจกรรมท้องฟ้าใสไร้ก้อนเมฆ : รู้จักตนเอง จัดการอารณ์ตนเอง
ซึ่งจรายุทธได้เล่าถึงเป้าหมายของแต่ละกิจกรรมให้ฟังว่า... เริ่มที่กิจกรรม check inมีเป้าหมายเพื่อให้ผู้เข้าร่วมได้สำรวจตัวเองก่อนว่า ตอนนี้เป็นอย่างไรบ้าง และยังเป็นการฝึกการพูด ฝึกทักษะการสื่อสารแบบง่ายๆ ตัวอย่าง เช่น การแนะนำตัวโดยถามคนข้างๆ ไปเรื่อยว่า “เช้านี้เป็นอย่างไรบ้าง”ซึ่งทำให้คนกล้าที่พูดออกมาเพราะเป็นเรื่องของตัวเอง”
เจ้าตัวบอกต่อว่ากิจกรรมสันทนาการ เหมือนเป็นกิจรรมที่นำเข้าสู่เนื้อหาหลัก ในหัวข้อเรื่องการรู้จักตนเอง ช่วยทำให้ ผู้เข้าร่วมรู้สึกเพลินไป ให้รู้สึกว่าเป็นเรื่องธรรมดา ไม่ได้เป็นเรื่องวิชาการเคร่งเครียดอะไร “แต่ที่จริงเขาได้เรียนรู้ในสิ่งที่เขาได้คุยกันจากกิจกรรม บางทีที่มีแซวกันว่าได้รู้เรื่องชาวบ้านมากขึ้น แต่ที่จริงเป็นการได้รู้จักคนอื่นมากขั้น ได้เข้าใจคนอื่นมากขึ้น ได้เพื่อนใหม่ ที่คนปักษ์ใต้เรียกว่าได้เกลอคือได้เพื่อนสนิท นั่นคือความสนิทใจ”
ซึ่งกิจกรรมสันทนาการจะมีหลากหลายในเวทีนี้นำกิจกรรมเหล่านี้มาใช้เริ่มที่1.กิจกรรมนับเลข มีเป้าหมายเพื่อเพื่อชี้ให้เห็นว่าถ้าเราทำงานด้วยกันต้องรู้จักสังเกต รู้จักการฟัง รู้จักการรอ ถึงจะทำให้งานสำเร็จได้
2.กิจกรรมเสร็จฉันและเธอ มีเป้าหมายเพื่อให้เกิดความสัมพันธ์ในกลุ่มมีการนวดให้กัน คือทำให้เขาได้รู้จักกัน แต่ไม่ได้ผ่านการพูดคุย เป็นการทำความรู้จัดผ่านการสัมผัส ผ่านการนวด
3.กิจกรรมเรียงลำดับ เป็นกิจกรรมสันทนาการและเป็นกิจกรรมที่พาให้เขากลับมาทำความรู้จัก
ตัวเองแบบง่ายๆ และในตอนท้ายมีการให้คุยกันแบบง่ายๆ ถึงคุณลักษณะของตัวเองว่ามีบุคลิกลักษณะอย่างไร และคำถามสุดท้ายคือทำให้เห็นว่าเรามักจะโกรธกับเรื่องอะไร สิ่งที่ทำให้เราโกรธแล้วเป็นจุดอ่อนของเราคืออะไร จะได้ระวังมากขึ้นในการทำงาน และในอีกด้านหนึ่งจะได้เข้าใจและรู้จักคนอื่นมากขึ้นด้วยว่าเขาต่างกับเราอย่างไร มีจุดแข็งและจุดอ่อนอย่างไร เวลาทำงานด้วยกันจะต้องระวังอะไร "เราจะทำงานกับคนที่มีความแตกต่างหลากหลายได้อย่างไร" กระบวนกรกล่าวกับผู้เข้าร่วม
4.กิจกรรมปลาทู เข่ง เป็นเครื่องมือในการฝึกสติและสมาธิให้กับเด็กๆ ได้ง่ายโดยไม่ต้องนั่งสมาธิ
กิจกรรม 360 องศา กิจกรรมการรู้จักตัวเองที่ให้เดินก้าวออกมาข้างนอก โดยใช้เป็นวง 360
องศา เป็นการให้รู้จักตัวเองแบบง่ายๆ ด้วยการให้แสดงตัว โดยมีโจทย์ในชีวิต เช่น
ในครอบครัวที่มีพี่น้องกี่คน
แล้วเราเป็นลูกคนที่เท่าไหร่ จากนั้นให้เขาแสดงตัว เป็นการฝึกให้เปิดเผยตัวเอง เพราะบางทีคนยังไม่กล้าเปิดเผยตัวเองผ่านการพูด เลยให้ก้าวออกมาข้างนอกแค่แสดงตัวก่อน ซึ่งจะมีการเลือกสัมภาษณ์แค่บางคน เช่น
ถามว่าการเป็นพี่คนโต คนกลาง คนเล็กเป็นอย่างไร เมื่อเขาพูดเรื่องส่วนตัวแล้วมีคนอื่นฟัง เขาจะรู้สึกดีเพราะเขามีพื้นที่ของตัวเขาเอง ซึ่งจะเป็นการจุดประกายให้กิจกรรม 3 รอบที่นั่งวงกลมที่มีการให้โจทย์คุย
จะทำให้เขาคุยได้ลึกขึ้น
กิจกรรม socio (ความสุข 4 ระดับ) เป็นการสำรวจตัวเอง 4 ระดับ เพื่อสำรวจตัวเองง่ายๆ ว่าความสุขและความทุกข์ของเขาในปีที่ผ่านมาอยู่ในระดับไหน เป็นการชวนให้มา ทบทวนตัวเองให้เห็นว่าความสุขและความทุกข์ในชีวิตของเขามีอะไรบ้าง
กิจกรรมจักรวาลจัดสรร จักรวาลจะจัดสรรให้ผู้เข้าร่วมได้ไปเรียนรู้กับคนอื่นๆ ที่ไม่ใช่คนที่เรารู้จักกันมาก่อนโดยการเวียนจับคู่ไปเรื่อยๆ “การให้โจทย์ คือให้เขาได้ทบทวนและเล่าเกี่ยวกับเรื่องของตัวเอง ซึ่งโจทย์นั้นเรียกว่าการกลับมา inner work กับตัวเอง โดยเป็นโจทย์ที่เป็น empower ในเชิงบวกก่อน เช่น เรื่องความสำเร็จ ความประทับใจ ความภาคภูมิใจในการทำงาน แล้วมีเวลาให้เขาด้วยเล่า เพราะฉะนั้นในช่วงนี้เขาจะได้ทบทวนตัวเองว่าสิ่งที่เขาทำมามีความภาคภูมิใจ หรืออะไรที่ประทับใจหรือเป็นความสำเร็จ และโดยทั่วไปคนส่วนใหญ่อยากให้คนอื่นได้รับรู้ความสำเร็จของตัวเอง...
ธรรมชาติของมนุษย์ต้องการคนรับรู้และเข้าใจในความเป็นตัวเขา และทำให้เขามีพื้นที่ มีตัวตนในสังคมในชุมชน ในครอบครัว และในความสัมพันธ์นั้น นี่คือโจทย์แรก ที่ให้เขาได้ทบทวนผ่านการตั้งคำถามเชิงบวก และเมื่อเขาเห็นความภาคภูมิใจ เขาจะเริ่มเห็นคุณค่าในสิ่งที่ทำ สำหรับโจทย์ข้อที่ 2 คือคำถามว่าอะไรที่เป็นสิ่งหล่อเลี้ยงของเขา หรือการถามว่าสิ่งที่เป็นปัญหาอุปสรรคที่เจอมานั้นสามารถผ่านมาได้อย่างไร เป็นการถามให้ลึกลงไปว่าอะไรเป็นสิ่งที่หล่อเลี้ยง ที่ทำให้เขายังเดินบนเส้นทางนี้ เพื่อให้เขาค่อยๆ ทบทวนตัวเอง ถึงสิ่งเล็กๆ ที่อยู่ข้างใน ซึ่งการทำให้เขาทำงานแบบนี้แบบไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย และทั้งที่จริงแล้วงานที่เขาทำอยู่เป็นงานจิตอาสาที่ไม่ได้เงิน เพราะฉะนั้นสิ่งที่หล่อเลี้ยงให้เขาเดินและทำงานแบบนี้ไม่ใช่เรื่องข้างนอก แต่เป็นเรื่องจิตใจ เรื่องคุณภาพภายใน หรือภาวะความเป็นผู้นำที่มีอยู่ในตัวเขา โดยที่เขาไม่จำเป็นต้องมีตำแหน่ง”
กิจกรรมท้องฟ้าใสไร้ก้อนเมฆ : รู้จักตนเอง จัดการอารณ์ตนเอง กระบวนกรได้หยิบก้อนเมฆมาเปรียบเทียบเป็นเช่นความคิด และท้องฟ้าเปรียบเสมือนจิตใจ ซึ่งทั้งสองสิ่งนั้นทำงานด้วยกันภายใต้การสั่งการของมุนษย์ “เป็นกิจกรรมที่อยากให้เขาเรียนรู้การทำงานของจิตใจของมนุษย์ ว่าความทุกข์ที่เกิดขึ้นในใจของมนุษย์เกิดขึ้นได้อย่างไร แล้วเราจะดูแลจัดการอย่างไร ซึ่งที่จริงมาจากจิตวิทยาแนวพุทธ ที่ทำให้เกิดการเปรียบเทียบและเห็นได้ง่ายว่าจิตใจของเราทำงานอย่างไร และได้เห็นความทุกข์ของเรา ซึ่งความทุกข์ของเราเกิดจากเรื่องอะไรได้บ้าง นั่นคือเรื่องของความคิดที่ทำให้เกิดความทุกข์ และความทุกข์ความเครียดส่งผลต่อสุขภาพของตัวเขาเองอย่างไร แล้วเขาต้องดูแลตัวเองอย่างไร ซึ่งวิธีการดูแลตัวเอง คือ การดูแลตัวเองที่ไม่ใช่การเบียดเบียนตัวเอง ตัวอย่างเช่น การเครียดแล้วไปกินเหล้านี่คือการเบียดเบียนตัวเอง และพยายามแทรกบทบาทของการเป็นพี่เลี้ยงเยาวชนด้วยว่าถ้าเขาสามารถทำให้เด็กๆ มีวุฒิภาวะทางอารมณ์ เช่น จัดการกับก้อนเมฆต่างๆ ได้ เด็กจะสามารถดูแลตัวเองได้ในอนาคตที่เขาโตขึ้น
“เวลาเราทำกิจกรรมกับเด็กในชุมชน เพื่อสร้างภาวะอารมณ์เป็นท้องฟ้าใสขึ้นมาให้เด็ก ไม่ใช่ทำเพื่อให้กิจกรรมเสร็จเท่านั้น และหน้าที่การเป็นพี่เลี้ยงเยาวชนเป็นบทบาทหน้าที่สำคัญ เพราะเรากำลังสร้างคนให้เป็นคนดีให้เกิดขึ้นในตัวเด็ก ให้มีจิตอาสา พร้อมช่วยเหลือคนอื่น เด็กต้องมีคุณภาพจิตใจแบบท้องฟ้าที่สดใสมีวุฒิภาวะทางอารมณ์ที่ดีและมีคุณภาพ” จากนั้นได้มีการสรุปถึงบทบาทของพี่เลี้ยง ซึ่งเป็นกิจกรรมที่โยงเข้าสู่เนื้อหาได้อย่างแนบเนียนอีกด้วย
จากกิจกรรมที่ทำให้ผู้เข้าร่วมได้เรียนรู้และรู้จักตนเองแล้ว กระบวนกรจึงได้ค่อยๆ ให้ผู้เข้าร่วมเกิดทัศนคติ ความรู้ และมีทักษะในการจัดกระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม จึงเลือกกิจกรรมสนุกๆ มาดังนี้ กิจกรรมโจรขึ้นบ้าน / กิจกรรมการฟังด้วยหัวใจ / กิจกรรมสันทนาการ (1.กิจกรรมHome 2.กิจกรรมปิดตาดึงเชือก) / กิจกรรม Check out / กิจกรรมสี่เหลี่ยมแตก / กิจกรรม World Café / กิจกรรมประเมินแบบเสริมพลังมาขยายความแต่ละกิจกรรมว่ามีเป้าหมายเพื่อให้ผู้เข้าร่วมเกิดการเรียนรู้ได้อย่างไรกัน
กิจกรรมโจรขึ้นบ้าน ชื่อเรียกความสนใจทันที กระบวนกรบอกว่าที่ตั้งชื่อแบบนี้เพื่อให้เกิดความสมจริงเวลาให้โจทย์หรือให้สถานการณ์ ซึ่งใกล้เคียงกับชีวิตจริง “ทำให้เขาเชื่อมโยงสิ่งที่ได้เรียนรู้ผ่านประสบการณ์หรือ active learning โยงกลับไปสู่ชีวิตจริงได้ เพราะประสบการณ์ในห้องเรียนต้องเชื่อมโยงไปสู่ประสบการณ์ในชีวิตจริงให้ได้ ไม่ใช่ความรู้แบบแยกส่วน และเป็นการนำเข้าสู่เนื้อหา องค์ประกอบอะไรบ้างที่ทำงานให้ประสบความสำเร็จ มีความสุข และมีความยั่งยืน โดยเรานำคำที่ผู้เข้าร่วมคุยจากเมื่อเช้ามาใช้ เพื่อทำให้เขารู้สึกว่าเป็นเจ้าของภาษาและเพราะองค์ความรู้แบบนี้ ไม่ใช่เป็นการใส่เนื้อหาให้เขา แต่ให้เขาเป็นผู้บอกเนื้อหานั้นเอง”
กระบวนกรเสริมว่า “กิจกรรมโจรขึ้นบ้านนี้ ผมตั้งใจให้เขาเห็นว่า 3 เรื่องนี้ 1.มีวิธีการ/กระบวนการทำงานที่ดี 2.มีความสัมพันธ์ที่ดีรองรับ (ครอบครัว ชุมชน) และ 3.มีบุคลากรมีภาวะความเป็นผู้นำ มีความสำคัญกับเราเป็นที่มาความสุข ความทุกข์ในชีวิตเรา อยากให้เขาเห็นว่าตัวเขามุ่งไปที่เรื่องใดเรื่องหนึ่งมากไปหรือเปล่า เช่น บางกลุ่มอาจมุ่งเน้นไปที่การทำอีเวนท์หรือกิจกรรมอย่างเดียว โดยไม่ได้สนใจว่าเด็กจะมีภาวะความเป็นผู้นำหรือเปล่า (หมายถึงกล้าคิด กล้าแสดงออก) ไม่ได้สนใจความสัมพันธ์ที่จะเกิดขึ้นว่าเป็นอย่างไร ถ้าเรามีความสัมพันธ์ที่ดีกับคนอื่น ครอบครัวเราก็มีความสุขดังนั้นจะเห็นว่าบางกลุ่มยังไม่มีเครือข่ายองค์กรเลยเขาจะได้รู้ว่าเครือข่ายก็เป็นส่วนสำคัญของการทำงานให้ประสบความสำเร็จเช่นกัน
ผู้ที่มีภาวะการเป็นผู้นำ และสามารถการสร้างการมีส่วนร่วมและนำร่วมได้ก็จะสามารถประสบความสำเร็จได้ และถ้าองค์กรมีองค์ประกอบ 3 ส่วนในระดับใกล้เคียงกัน จะทำให้เกิดความสำเร็จ ยั่งยืนและมีความสุข อยากจะชี้ให้เห็นโดยเฉพาะในส่วนของการทำกิจกรรมกับเยาวชน อยากให้ผู้เข้าร่วมเห็นว่าการทำงานส่วนนี้ไม่ใช่เพื่อทำให้กิจกรรมสำเร็จ แต่ต้องสร้างความสัมพันธ์เพื่อให้เกิดความยั่งยืน และเมื่อเยาวชนลุกขึ้นมาเป็นผู้นำ ก็สามารถลุกขึ้นมาคิดมาจัดการกับสถานการณ์ ปัญหาของพวกเขาเอง”
กิจกรรมการฟังด้วยหัวใจ ด้วยการเปิดคลิปชื่อ “เป้ อารักษ์ กับการฟังที่จะเปลี่ยนชีวิตที่เหลือของเขา” (ลิงค์ https://www.youtube.com/watch?v=oD0LwD39_XM) และถอดบทเรียนสิ่งที่ได้
จากการดูคลิปนี้ เป็นกิจกรรมที่เป็นการฝึกทักษะการเป็นผู้นำด้วยการฟังด้วยหัวใจ การนำคลิปมาให้ดูเป็นตัวอย่างผู้เข้าร่วมจะเข้าใจได้เร็ว เป้าหมายของการนำกิจกรรมนี้มา เพราะการฟังเป็นหัวใจของการเป็นพี่เลี้ยงเยาวชน ซึ่งถ้าพี่เลี้ยงไม่ฟัง จะไม่มีพื้นที่ให้เด็กๆ แสดงความเห็น ทำให้เด็กๆ ไม่ได้พูดถึงความต้องการของเขา เพราะฉะนั้นต้องมีทักษะของการฟังด้วย ซึ่งเป็นทักษะเดียวกันกับทักษะความเป็นผู้นำ คือถ้าจะทำให้งานสำเร็จ ผู้นำต้องมีทักษะในการสร้างความมีส่วนร่วม ถ้าเขาสร้างการมีส่วนร่วมได้จะเกิดความสัมพันธ์ที่ดีขึ้นด้วย เป็นองค์ประกอบซึ่งกันและกัน”
สำหรับกิจกรรมสันทนาการที่นำมาแทรกเป็นช่วงๆ ก็มีสาระสำคัญเช่นกัน เช่น กิจกรรม Homeเป็นสันทนาการเล็กๆ ที่กระบวนกรบอกว่าเป็นการลองถามเขาดูว่าเขาได้เรียนรู้อะไร “ซึ่งนำไปเทียบกับการใช้ชีวิตจริงของเขา ทุกครั้งที่เราออกจากบ้านเรามีต้นทุนชีวิตที่ต้องจ่าย ทั้งเงิน สุขภาพ ช่องว่างความสัมพันธ์ และเวลา ให้พวกเขาเห็นว่าบ้านคือที่พักที่มีความสำคัญกับทุกคน และได้มีการโยงกลับมาว่าถ้าเขาเป็นพี่เลี้ยงเยาวชน แล้วเราเป็นที่พักให้กับเด็กได้ เวลาเด็กออกไปข้างนอกก็จะกลับมา ถ้าเราทำให้เขารู้สึกผ่อนคลาย วางใจ ทำให้เขารู้สึกปลอดภัย เมื่อเด็กมีปัญหาอะไรเขาจะกลับมาที่บ้าน เพราะฉะนั้นที่พักที่อยากให้ผู้เข้าร่วมได้เห็นคือนอกจากบทบาทที่ทำหน้าที่พี่เลี้ยงแล้ว ในบทบาทชีวิตของตัวเองที่เป็นพ่อแม่ ปู่ ย่า ตา ยาย จะทำอย่างไรให้พวกเขาสามารถทำตัวเป็นที่พักให้กับลูกหลานได้ นี่คือสิ่งที่ซ่อนอยู่ข้างในกิจกรรมนี้”
กิจกรรมปิดตาดึงเชือก มีเป้าหมายเพื่อให้ผู้เข้าร่วมเห็นบทบาทของผู้นำ “ซึ่งเราอยากจะปรับทัศนคติการนำของพวกเขาด้วย เพราะเราได้เห็นแล้วว่าผู้นำของแต่ละกลุ่มมีลักษณะของการจัดการค่อนข้างสูง เพิ่มเติมให้เขาว่าบทบาทสำคัญของผู้นำมีเรื่องอะไรบ้าง แล้วโยงกลับมาที่ตัวเขาเองว่าอยากเป็นผู้นำแบบไหน และมีคุณลักษณะของผู้นำอย่างไร เป็นการทำเรื่องข้างใน (จิตใจ) ของเขาด้วย คือทำให้เขากลับมาสำรวจตัวเองว่าจะเป็นผู้นำแบบไหน ถ้าเขาเข้าใจเรื่องนี้ทำให้เขาสามารถสร้างการมีส่วนร่วมได้ ดูแลคนอื่นได้”
กิจกรรมสี่เหลี่ยมแตก มีเป้าหมายที่อยากให้ผู้เข้าร่วมเห็นว่า “วิธีการทำงานที่ประสบความสำเร็จเป็นอย่างไร” “คือเขาจะมองแค่หน้างานของตัวเองไม่ได้ เช่น รพ.สต. ทำงานประสบความสำเร็จ แต่ความสำเร็จขององค์กรไม่ได้หมายถึงความสำเร็จของชุมชน จึงเป็นปัญหาร่วมกันที่ต้องช่วยกันดูแล โดยที่เราพูดกันตลอดว่าการทำงานกับเด็กต้องมีเครือข่ายร่วมด้วยนั่นเอง ซึ่งกิจกรรมนี้จะทำให้เขาเห็นการทำงานแบบมีส่วนร่วมในช่วงถอดบทเรียน”
กิจกรรม World Café เป็นรูปแบบหนึ่งของการประชุมแบบมีส่วนร่วมเป็นการสร้างการมีส่วนร่วมในการแสดงความเห็นและการระดมความคิดเห็น เป็นการใช้เครื่องมือเพื่อให้ทบทวนสิ่งที่ผ่านมา “เรานำมาใช้เพื่อผู้เข้าร่วมได้ระดมความคิดเห็นด้านการทำงานกับเด็กและเยาวชน ทำให้รู้ว่าเขาได้ทำเรื่องงานเยาวชนในด้านใดบ้าง และมีบทบาทอย่างไร และก็รวมถึง “พี่เลี้ยงควรมีคุณลักษณะอะไร” ซึ่งกิจกรรมนี้เป็นกิจกรรมที่ออกแบบ เพื่อให้เขาช่วยกันต่อยอดว่าน่าจะเป็นอย่างไรบ้างจากโจทย์ที่เราให้ไว้ จากนั้นถอดบทเรียนจากประสบการณ์ของเขา ซึ่งกิจกรรมนี้นำมาเป็นกรอบให้เขาได้ทำกิจกรรมประเมินตัวเองด้วย (กิจกรรมประเมินแบบเสริมพลัง)
สำหรับกิจกรรมนี้จะใช้สำหรับการถอดบทเรียนจากประสบการณ์ของเขา และทำให้เกิดการมีส่วนร่วมในทุกเรื่องทุกประเด็น ทำให้การพูดคุยสนุก การที่เราให้เขาทำกลุ่มเดียวใน 8 ประเด็นจะเป็นเรื่องน่าเบื่อและทำให้เขาคิดไม่ออก แต่พอมีการเคลื่อนแบบนี้ (ทั้งกลุ่มย้ายไประมความคิดเห็นทีละประเด็นจนครบ)ทำให้สนุก และได้เห็นการเติมมุมมองของตัวเองจากมุมมองของคนอื่น เป็นการต่อยอดความคิดซึ่งกันและกัน ทำให้เขาสนุกที่จะคิดด้วย เป็นวงวิชาการที่ไม่เครียดเหมือนกับเล่นสนุกแต่ได้เรียนรู้อะไรเยอะ”
กิจกรรมประเมินแบบเสริมพลัง ต่อเนื่องมาจากกิจกรรม World Café การทำงานทั้ง 8 ด้านที่ผู้เข้าร่วมได้ระดมความคิดเห็นกันออกมา กลายมาเป็นเครื่องมือการประเมินตัวของผู้เข้าร่วมเอง เพราะผู้เข้าร่วมเป็นผู้กำหนดเองว่าลักษณะของพี่เลี้ยงที่ดีต้องเป็นแบบใด “เราจึงนำการระดมความคิดของผู้เข้าร่วมทั้ง 8 ด้าน มาให้พวกเขาได้ประเมินตัวเอง ว่าที่ผ่านมาพวกเขาทำได้ขนาดไหน เป็นการประเมินแบบเสริมพลังหรือการประเมินแบบมีส่วนร่วม โดยตัวชี้วัดจริงๆ เขาเป็นตัวกำหนดไม่ใช่เรา สำหรับกิจกรรมประเมินนี้สามารถใช้ได้กับทุกเรื่อง จะประเมินเรื่องสุขภาวะก็ได้ ทั้งสุขภาวะทางกาย สุขภาวะทางสังคม สุขภาวะทางจิตใจ สุขภาวะทางปัญญา ทำได้หมด แต่คนทำต้องมีเนื้อหาเป็นแบคกราวด์ คือมีฐานคิด มีทฤษฎีที่รองรับ”
กิจกรรม Check out เป็นกิจกรรมปิดวง เป็นกระบวนการ empower มีโจทย์ เช่น ให้เดินไปหาเพื่อนๆ และพูดขอบคุณและให้กำลังใจกัน และชื่นชมกันและกัน หรือการให้ออกมาพูดทีละคนว่าฉันจะเป็นผู้นำแบบไหน “กิจกรรมปิดวงนี้ ถือว่าเป็นความสำคัญของกระบวนการเรียนรู้ที่เรียกว่า empower หรือการเสริมพลัง เพื่อให้เขารู้สึกว่ามีพลังที่จะขับเคลื่อนงาน เป็นการเพิ่มมูลค่าของสิ่งที่เราทำมาตลอดสองสามวันนี้ จากเดิมเขามีความรู้สึกดีกับเพื่อนอยู่ในระดับ 7-8 อยู่แล้ว เมื่อเราเปิดช่องให้เขาจะทำให้เขาก็จะยิ่งสนิทกันมากขึ้น เป็นการเติมให้เขามีกำลังใจและภูมิใจในสิ่งที่เขาทำ เพราะเมื่อคนอื่นมีคำชื่นชมกับการที่เขามีความอดทนและลงทุนลงแรงกับการพัฒนาเยาวชนหรือในเรื่องต่างๆ จะทำให้เขารู้สึกว่าสิ่งที่เขามีคุณค่า แม้ว่าจะสำเร็จหรือไม่ก็ตามเป็นการให้กำลังใจซึ่งกันและกัน และจะทำให้พวกเขารู้สึกว่าเป็นเพื่อนที่ดีต่อกันได้ต่อไป หรือจะนำมาใช้เพื่อเป็นการปลุกพลังใจให้รู้สึกมีพลังเช่นออกมาพูดทีละคนฉันจะเป็นผู้นำแบบไหน เหมือนเป็นการช่วยตอกย้ำอุดมการณ์ของพวกเขานั่นเอง”
อภิเดช หัสรังษี
มาลองฟังเสียงสะท้อนจากผู้เข้าร่วมเวที เยาวชนแกนนำ อภิเดช หัสรังษี จากอบต.ควนชะลิก สะท้อนการเข้าร่วมครั้งนี้ว่า “การเข้าร่วมเวทีในครั้งนี้ ผมได้ทักษะความรู้ ด้านการเป็นผู้นำและการเป็นผู้พูดครับ และผมจะนำสิ่งที่ได้ในเวทีไปใช้ให้เกิดประ