นักเรียนได้พัฒนาอุปนิสัยของตนเองจากตัวชี้วัดของสาระเศรษฐศาสตร์ มาตรฐาน ส 3.1 และ ส.3.2 จนเกิดอุปนิสัยพอเพียงในมโนทัศน์ การตั้งสติก่อน/หลังการจ่าย การผลิต การบริโภค ควรคำนึงถึง ทรัพยากรที่มีอยู่ ทุกคนมีหน้าที่เสียภาษี การลดต้นทุนการผลิตเพื่อการแข่งขันทางการค้า การอยู่ร่วมกันของคนในชุมชนที่แตกต่างกันทางศักยภาพส่งผลให้เกิดการผลิตที่ หลากหลาย เงินเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน การบริการและการออม การร่วมแรงร่วมใจกันในกลุ่มสมาชิก รู้จักวิถีชีวิตใช้หลักสหกรณ์ถูกต้อง ต่อไปเป็นพลเมืองที่มีคุณภาพของชุมชน และประเทศชาติ
ด้านครูผู้สอน ได้จัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบบูรณาการ มีการใช้สื่อนวัตกรรมในการจัดการเรียนรู้อย่างครูมืออาชีพ และในการบ่มเพาะอุปนิสัยตามตัวชี้วัดของ สาระเศรษฐศาสตร์ มาตรฐาน ส 3.1 และ ส 3.2 นั้นครูต้องเป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่เด็กด้วย จึงเกิดการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างผู้เรียนและผู้สอน และผู้บริหารเป็นบุคคลแบบอย่าง ผู้นำมีวิสัยทัศน์กว้างไกล ทุ่มเทงานด้านการพัฒนาการศึกษาร่วมกับคณะครู พร้อมครูคุณภาพ และสร้างเด็กมีคุณธรรมอย่างต่อเนื่อง
ด้านโรงเรียน เป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับชุมชน สถานศึกษาและหน่วยงานอื่นได้ เกิดความภาคภูมิใจในความสำเร็จที่เป็นผลผลิตและผลลัพธ์ของโรงเรียน เกิดผลปฏิบัติงานที่เป็นเลิศ (Best Practice) ที่ทำให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของโรงเรียนร่วมภาคภูมิใจ ดังนี้
1. โรงเรียนได้รับพระราชทานป้ายเกียรติบัตรขั้นที่ 1 ในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช งานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี
2. โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับเพชร กระทรวงสาธารณะสุข
3. โรงเรียนศูนย์การเรียนรู้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ และสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ บริษัทสยามกัมมาจล
4. โรงเรียนมีกิจกรรมพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนดีเด่นของ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
5. โรงเรียนมีการบริหารจัดการโดยชุมชนมีส่วนร่วม รางวัลเหรียญทองยอดเยี่ยมในงานศิลปหัตถกรรมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
6. รางวัลชนะเลิศกิจกรรมทันตสุขภาพของสาธารณสุข จังหวัดนครราชสีมา
7. โรงเรียนต้นแบบหนึ่งอำเภอหนึ่งโรงเรียนในฝันที่ยั่งยืน
8. โรงเรียนต้นแบบการจัดการเรียนรู้วิชาสหกรณ์ของกรมส่งเสริมสหกรณ์ กระทรวงเกษตร