เจ้า หน้าที่ของเทศบาล ก็เหมือนกับนักเรียน ที่จะต้องเรียนรู้การทำงานเป็นนักถักทอ ต้องผ่านการลองผิดลองถูก เพื่อให้การทำงานต่อไปมีศักยภาพมากขึ้น"
แนวคิด/ที่มาของการส่งเจ้าหน้าที่เข้าร่วมโครงการนักถักทอฯ
เกิด จากความสนใจในหลักสูตร ในลักษณะที่เป็นการเรียนที่ไม่ได้จบไปในครั้งเดียว ซึ่งแตกต่างกับจากกิจกรรมการอบรมที่เคยผ่านมา ที่จะเป็นในลักษณะที่ต้องเข้าไปนั่งฟัง แล้วกลับมาก็ไม่ได้ทำอะไรต่อ แต่หลักสูตรนักถักทอฯนี้ ทำให้เจ้าหน้าที่ได้พูดคุย ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่าง อาจารย์ กับผู้เข้ารับการอบรมด้วยกัน ปรึกษา ปัญหาในการทำงานร่วมกัน ซึ่งการตัดสินใจเข้าร่วมโครงการก็จะเป็นจากหลายฝ่าย ทั้งปลัด หรือ นายก เพราะจะเป็นเรื่องของการใช้งบประมาณด้วย ซึ่งวิธีการที่เลือกใช้ คือการประชุมร่วมกันระหว่างในองค์กร
ความคาดหวังต่อโครงการนี้
คาด ว่าเมื่อหลักสูตรนักถักทอสิ้นสุดลง ผู้เข้ารับการอบรม ก็น่าที่จะมีความรู้และมีศักยภาพในตัวเองเพิ่มขึ้น และสามารถนำความรู้ได้จากหลักสูตร มาใช้กับการทำงานที่เทศบาลได้
ความเปลี่ยนแปลง/สิ่งที่ได้เห็น จากเจ้าหน้าที่ ภายหลังการอบรม
สำหรับเจ้าหน้าหน้าที่นั้นเห็นพัฒนาการที่ดีขึ้น แต่ก็ต้องยอมรับว่า ผู้เข้าอบรมก็เหมือนกับนักเรียน หรือเวลาเรียนมหาวิทยาลัย ที่เวลาไปนั่งฟัง ก็อาจจะมีปัญหาบ้าง ไม่เข้าใจบ้าง แต่ก็จะกลับมาแลกเปลี่ยนพูดคุยกันในกลุ่ม ระหว่างเจ้าหน้าที่ด้วยกัน รวมถึงกับปลัดและนายกฯ ด้วย ถึงสิ่งที่ได้จากอาจารย์ในการอบรมมา เวลานำกลับมาใช้แล้ว สามารถใช้ได้อย่างถูกต้องหรือไม่ เป็นต้น ก็จะช่วยๆ กันแก้ปัญหาซึ่ง ณ ปัจจุบัน ก็ยังรอดูอยู่ว่ากิจกรรมต่อ ๆ ไปจะเป็นอย่างไร และแนวทางการดำเนินงานในปัจจุบันถูกต้องมากน้อย อย่างไรแล้ว คืออยู่ในช่วงของการลองผิด ลองถูกมาตลอด แต่ตอนนี้ถือว่าโชคดีแล้ว ที่มีอาจารย์ ทรงพล ลงมานิเทศงาน และช่วยแนะแนวทางความรู้ ให้นักถักทอด้วย
ผลตอบรับจากผู้เข้าอบรม
ก็มีทั้ง 2 ด้านคือ เรื่องของการพัฒนาตัวเองก็อยู่ในลักษณะที่ดี แต่จะมีปัญหาในเรื่องของเวลา เพราะว่าในแต่ละเดือน เราจะต้องร่วมกิจกรรมประมาณ 3 ครั้ง ซึ่งหากในเดือนนั้นมีงานอย่างอื่นเข้ามา ก็จะต้องจัดสรรเวลาให้ ต้องคอยร่วมกันหาทางออก