หลักคิด การนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาบริหารจัดการทำไมบริหารอย่างไรบริหารแล้วได้อะไร
เป้าหมาย ผู้บริหารคณะครู นักเรียนมีพฤติกรรมในการดำเนินชีวิตด้าน สุขภาพ ด้านวิชาการ ด้านคุณธรรม ด้านความพอประมาณ มีเหตุผล ด้านภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีโดยนำความรู้การรอบรู้ ความรอบครอบ ระมัดระวัง ด้วยกายวาจาใจที่ซื้อสัตย์ สุจริต อดทน ความเพียรมีสติปัญญาในการทำงานตามบริบทของตนองหน้าที่รับผิดชอบ
วิธีการ
1. สำรวจจุดเด่นจุดด้อย ความพอดีตนเอง อาศัยปัจจัยที่มี พอประมาณ จัดสภาพแวดล้อม บริบทที่ดีต่อการเรียนการสอนของครู นักเรียนและชุมชนด้วยเหตุผลที่ว่าสร้างโรงเรียนให้น่าดู น่าอยู่ น่าเรียนและมีความปลอดภัยต่อผู้ใช้บริบทดูผลกระทบรอบด้าน
2. สร้างความเข้าใจในตนเองสู่ผู้อื่นโดยศึกษาพัฒนาส่งเสริมการศึกษาเปรียบเทียบแลกเปลี่ยนเรียนรู้ให้บุคลากรที่เกี่ยวข้องประกอบด้วย ผู้บริหาร ครู ผู้ปกครอง นักเรียนคณะกรรมการ มีความรู้เข้าใจในจุดมุ่งหมายของการจัดการศึกษาของโรงเรียนตรงกัน มีความภาคภูมิใจในการสร้างนักเรียนให้ใฝ่รู้ ใฝ่ดี มีจิตอาสา เป็นวัฒนธรรมของโรงเรียน คือมีส่วนร่วมในงานทำงานแบบคิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาเป็นแบบมีเป้าหมายและทำงานเป็นทีม เป็นทีมงานที่มีคุณภาพด้วย 3 ห่วง 2 เงื่อน ทุกกระบวนการและทุกขั้นตอน
3. จัดทำแผนจัดหา การใช้ทรัพยากรทั้งคน เงิน วิธีการอุปกรณ์เวลาที่มีอยู่อย่างคุ้มค่าและพอเพียงให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อโรงเรียน ในรูปแบบโครงการ โครงงาน กิจกรรม บุคลากรโดยผู้บริหาร ครู นักเรียนมีแผนการจัดการชีวิตในการเรียนการสอน
4. สร้างกิจกรรมปลูกฝึกทักษะชีวิต วิถีชีวิตที่พอเพียงแก่บุคลากรทุกคนทั้งผู้บริหาร ครู นักเรียน ชุมชน สม่ำเสมอตามบุคลิกภาพของความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ บนพื้นฐานบริบทของตนเอง ครอบครัว ชุมชนและวิชาเรียนด้วยกระบวนการเรียนรู้
5. สร้างกระบวนการ กิจชุมชนด้วยการบวชโรงเรียนเป็นฐาน การบวชโรงเรียน เน้นการจัดการบริหารการเรียนรู้การตรวจสอบติดตามกำกับดูแลนิเทศประเมินผลให้ขวัญกำลังใจประกอบด้วย
บ้านโดยผู้ปกครอง
วัดโดยผู้นำศาสนาในเขตบริการของโรงเรียน
ชุมชนโดยผู้นำชุมชนในเขตเทศบาลสูงเนิน