คุณรัตนา กิติกร ซึ่งมีหน้าที่ดูแลงานด้านการสื่อสารของโครงการ อธิบายว่า ประเด็นการเคลื่อนงานครั้งนี้อาจจะต่างจากการขึ้นโจทย์งานวิจัยเพื่อท้อง ถิ่นเดิม เนื่องจากคาดหวังผลในเชิงการต่อยอดและพัฒนาชุมชนเดิม ดังนั้น ความความสำเร็จคือ “การบริหารจัดการตัวเองของชุมชน” ที่เปลี่ยนมาจากคำว่า “ชุมชนเข้มแข็ง” นั้น หมายถึงอะไร? และ OUTPUT ของงานครั้งนี้จะต้องให้น้ำหนักและความสำคัญของงานอย่างไร? โดยในที่ประชุมได้ให้ความสำคัญกับการใช้เวลาในการแลกเปลี่ยนความหมายภายใต้ คำสำคัญดังกล่าวพอสมควร ซึ่งสามารถสรุปความหมายในประเด็นต่างๆ ที่แลกเปลี่ยนกันได้ดังนี้..
คนถูกพัฒนา หมาย ถึง การที่คนสามารถเห็นคุณค่าการใช้ “ความรู้” ในการทำงาน (นำข้อมูลมาวิเคราะห์เป็น “ความรู้”), สามารถใช้ “ข้อมูล” และ “ฐานข้อมูล” ในกระบวนการตัดสินใจ และการใช้ประโยชน์, รู้จักเท่าทันต่อสถานการณ์ภายนอก และสามารถวิเคราะห์เชื่อมโยงสิ่งต่างๆ ภายในและภายนอกมาปรับใช้ให้ตอบโจทย์ของชุมชนได้, มีความสามารถในการเห็นภาพรวมของชุมชน, วิเคราะห์ “ทุนเดิม” และ “ปัญหา/ความต้องการ” ที่แท้จริงของชุมชน, สามารถออกแบบวิธีการทำงานใหม่ๆ และวิเคราะห์ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการทำงานได้, มีทักษะเพิ่มขึ้นในด้านพูด ฟัง เขียน จับประเด็น เชื่อมโยง, เป็น “นักจัดกระบวนการเรียนรู้”, สามารถพัฒนาให้เกิด “แกนนำรุ่นใหม่” (เป็นโค้ชได้), สามารถสื่อสารการทำงานกับภายนอกได้อย่างชัดเจนเป็นระบบ และเป็นคนขวนขวาย ใฝ่เรียนรู้ เป็นต้น
เกิดกลไกการจัดการในชุมชน (ต้อง ดูกลไกเดิมที่มีอยู่แล้วในชุมชนด้วย) หมายถึง การรวมกลุ่มของคนในชุมชน(ไม่ใช่คนทั้งชุมชน) ที่มีเป้าหมาย ความสนใจ และโจทย์ร่วมกัน รวมทั้งมีกระบวนการสร้างการเรียนรู้ร่วมกัน, มีระบบการจัดการ และหน้าที่ในการทำงาน (ที่ไม่เป็นทางการ) รวมทั้งมีระบบการจัดการความรู้ (รู้จักเก็บและใช้ความรู้ได้), เป็นกลไกที่สามารถดึงพลังของท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการได้ และเหมาะสมกับบริบทของตัวเอง, มีความสามารถในการรับมือกับกระแสภายนอกที่เข้ามาในชุมชน, มีความสามารถเชื่อมต่อกับคนกลุ่มอื่นๆ ทั้งภายในและภายนอกชุมชนได้ และ เป็นแกนในการดึงคนรุ่นใหม่เข้ามามีส่วนร่วมในการทำงานได้ เป็นต้น
ปัญหาได้รับการคลี่คลายหมาย ถึง กระบวนการที่ใช้แก้ปัญหานั้นสามารถเป็น“นวัตกรรม” การแก้ปัญหาในพื้นที่ได้, เห็นสิ่งที่เป็น OUTCOME ได้ชัดเจน และมีโอกาสในการยกระดับสู่การแก้ปัญหาเชิงโครงสร้างได้ เป็นต้น