Download ได้ที่ : https://goo.gl/WuiMz8
หนังสือ ปรับปรุงการสอนเล็กน้อย ได้ผลยิ่งใหญ่ เขียนโดย ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช รองประธานกรรมการมูลนิธิสยามกัมมาจล นำมาจัดพิมพ์โดยปรับปรุงต้นฉบับขึ้นมาจากบันทึกชุด ปรับปรุงการสอนเล็กน้อย ได้ผลยิ่งใหญ่ ในบล็อก Gotoknow ซึ่งตีความมาจากหนังสือ Small Teaching : Everyday Lessons from the Science of Learning (2016) เขียนโดย James M. Lang
หนังสือ ปรับปรุงการสอนเล็กน้อย ได้ผลยิ่งใหญ่ ฉบับภาษาไทยเล่มนี้ ทำหน้าที่นำเสนอสาระสำคัญของหลักการ “ปรับปรุงการสอนเล็กน้อย” ประกอบเข้ากับเรื่องราวของคุณครูที่ตกผลึกวิธีการสอนของตนเองผ่านการปฏิบัติจริงในห้องเรียนในบริบทของไทย เป็นประสบการณ์ตรงที่สามารถนำมาเผยแพร่ให้เพื่อนครูได้ทดลองนำไปปรับใช้ในห้องเรียนจริงได้อย่างชัดเจน เพราะเรื่องเล่าแต่ละเรื่องมีความสอดคล้องกับสาระสำคัญของวิธีการ “ปรับปรุงการสอนเล็กน้อย” (small teaching) ในแต่ละบท ดังที่ได้สรุปไว้ในบทที่ 1 ของหนังสือว่าหมายถึง การปรับปรุงวิธีสอนแบบที่ไม่ยาก ใช้การลงแรงน้อย ในลักษณะที่แตกต่างกันออกไป
James M. Lang ใช้เกณฑ์ 3 ประการ ในการคัดเลือกวิธีการปรับปรุงการสอนเล็กน้อยมานำเสนอ คือ (1) เป็นวิธีการที่มีหลักฐานยืนยันตาม “ศาสตร์ว่าด้วยการเรียนรู้” (learning sciences) (2) เป็นวิธีการที่ให้ผลในสภาพแวดล้อมตามปกติของการศึกษา และ (3) ผู้เขียนมีประสบการณ์ตรงต่อผลของวิธีการดังกล่าว
ต้นฉบับหนังสือภาคภาษาอังกฤษ เขียนจากการทบทวนทฤษฎี “the Science of
Learning” และจากประสบการณ์การสอน และจากการสังเกตการณ์เรียนรู้ของลูกๆ 5
คน ของผู้เขียน
ส่วนหนังสือในภาคภาษาไทยที่ท่านถืออยู่นี้เขียนจากการตีความของ
ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช และในส่วนของ “เรื่องเล่าจากห้องเรียน”
ตอนท้ายของแต่ละบท ได้จากการตีความข้อเขียนของศ.นพ.วิจารณ์ พานิช
โดยครูใหม่ (วิมลศรี ศุษิลวรณ์) และคณะครูที่โรงเรียนเพลินพัฒนา
นำไปตีความอีกชั้นหนึ่ง เพื่อทดลองใช้ในชั้นเรียนของนักเรียนชั้นประถมปลาย
แล้วนำผลที่ได้มาเล่าไว้ โดยมีชิ้นงานของนักเรียนประกอบ (บทที่ 2 – 5 บทที่ 7 บทที่ 10 และ 11) ในชั้นเรียนของนักศึกษามหาวิทยาลัย (บทที่ 6 และ
บทที่ 9) และในห้องเรียนครูจาก สพฐ. ที่ไปรับการอบรมที่โรงเรียนเพลินพัฒนา
(บทที่ 8)
หนังสือเล่มนี้จึงมีทั้งภาคที่เน้นทฤษฎี
และภาครายงานผลการปฏิบัติในบริบทไทย โดยที่ในภาคทฤษฎีนั้น
เขียนเน้นไปที่การศึกษาระดับมหาวิทยาลัย แต่ภาค “เรื่องเล่าจากห้องเรียน”
มีบริบทที่หลากหลาย โดยเทคนิค “ปรับปรุงการสอนเล็กน้อย ได้ผลยิ่งใหญ่” นี้
สามารถใช้ได้ในการเรียนรู้ทุกระดับ
รวมทั้งใช้ในการเรียนรู้ด้วยตนเองของผู้ใหญ่ได้ด้วย
หนังสือ
ปรับปรุงการสอนเล็กน้อย ได้ผลยิ่งใหญ่ เล่มนี้
มาจากการตีความเพื่อการสร้างสรรค์หลายชั้น
สะท้อนภาพของการศึกษาหรือการเรียนรู้ที่มีความซับซ้อน
ตีความหรือทำความเข้าใจได้หลายแง่หลายมุม
คนในวงการศึกษาสามารถใช้ความสร้างสรรค์ของตนเพื่อยกระดับผลลัพธ์การเรียนรู้ของนักเรียนและนักศึกษาได้อย่างไร้ขีดจำกัด
ดังจะเห็นความสร้างสรรค์ที่น่ายกย่องยิ่งนักของครูระดับประถม ใน
“เรื่องเล่าจากห้องเรียน” ของแต่ละบท
ที่สะท้อนการเรียนรู้พัฒนาตนเองของครู เพื่อยกระดับทักษะชั้นเรียนของตน
โดยเฉพาะอย่างยิ่งทักษะการจัดการเรียนรู้อย่างเป็นองค์รวม (holistic
learning) ให้แก่ศิษย์
สาระที่หนังสือเล่มนี้ต้องการสื่อ คือ
ครูอาจารย์และผู้นำทางการศึกษา
สามารถดำเนินการปรับปรุงวิธีการจัดการเรียนรู้ที่ตนรับผิดชอบ
ที่ตนลงแรงเพียงเล็กน้อย แต่ก่อผลยิ่งใหญ่ต่อตัวนักเรียนได้
โดยที่ตัวอย่างในหนังสือเล่มนี้ เน้น “ผลยิ่งใหญ่” เชิงวิชาความรู้
ที่จริงยังมีผลยิ่งใหญ่ในเชิงการสร้างคุณลักษณะหรือบุคลิก
และการสร้างทักษะให้แก่นักเรียนนักศึกษา ที่อาจยิ่งใหญ่กว่าผลการเรียนวิชา
ที่ครูอาจารย์และผู้นำการศึกษาสามารถใช้ความริเริ่มสร้างสรรค์ของตน เอื้อ
“ผลยิ่งใหญ่” ให้แก่ศิษย์ได้
สำหรับผู้ที่สนใจหนังสือ ศาสตร์และศิลป์ของการสอน
มูลนิธิฯ เผยแพร่หนังสือผ่านช่องทางต่างๆ ดังนี้
1.หนังสือเป็นเล่ม มูลนิธิฯเผยแพร่ผ่าน
ศูนย์หนังสือจุฬาฯ ทุกสาขาหรือ
มูลนิธิสยามกัมมาจล โทร.02-9379901-7 ( 9.00-17.00 น. เว้นวันหยุดธนาคาร)
2. กรณีต้องการนำไปเผยแพร่จำนวน ตั้งแต่ 50 เล่มขึ้นไป
ติดต่อโดยตรงที่มูลนิธิฯ
3. ดาวน์โหลดไฟล์ PDF ได้ที่ด้านล่างนี้