หนังสือชุด ไตรภาค "การเรียนรู้ ขั้นสูง่' จาก ประสบการณ์" เล่มที่ 1 (ภาคทฤษฎี) เรียนรู้สู่หัวใจที่ดีงาม

หนังสือชุด ไตรภาค

"การเรียนรู้ ขั้นสูง่' จาก ประสบการณ์"

เล่มที่ 1 (ภาคทฤษฎี)

เรียนรู้สู่หัวใจที่ดีงาม

Kolb's Experiential Learning Cycle

วงจรยกระดับการเรียนรู้ (Spiral Effect)

คู่มือการนำไปใช้ สำหรับผู้บริหาร โค้ช ครู สู่นักเรียน

"การเรียนรู้ ขั้นสูง่' จาก ประสบการณ์"  เล่มที่ 1 (ภาคทฤษฎี) เรียนรู้สู่หัวใจที่ดีงาม

การเรียนรู้จากประสบการณ์ หมายถึงการเรียนรู้แบบที่ผู้เรียนสัมผัสความเป็นจริงของ สิ่งที่ต้องการเรียนรู้โดยตรง ไม่ใช่ฟังหรืออ่านตามที่มีการบอกต่อๆ กันมา และประสบการณ์มีทั้งที่เป็นประสบการณ์ภายนอก และประสบการณ์ภายในตนเองในหลากหลายมิติ

ขอย้ำว่าสาระในหนังสือเล่มนี้ไม่ได้แปลอย่างตรงตัวจากหนังสือต้นเรื่อง แต่เป็นการตีความลากเข้าหาบริบทไทย เพื่อชี้ประเด็นเชื่อมโยงเข้าสู่ระบบการเรียนรู้และ ระบบการศึกษาไทย ในบางตอนเขียนตีความสู่สาระที่ผมคิดขึ้นเองล้วนๆ เพื่อให้กระชับและเข้าใจง่ายสำหรับคนในวงการศึกษาไทย

สาระเหล่านี้ ทำให้ผมมีความเห็นว่า การศึกษาไทย ทั้งที่เป็นการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย หรือการศึกษา เรีนรู้ ตลอดชีวิต ต้องใช้อุดมการณ์ ปรัชญา หลักการ และวิธีการเรียนรู้จากประสบการณ์ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของกิจกรรมเพื่อการ์เรียนรู้ทั้งหมด เพราะในการเรียนรู้จากประสบการณ์ผู้เรียนเป็นผู้ร่วมสร้างความรู้ขึ้นเองเพื่อการเรียนรู้ของตน ตรงตามหลักการเรียนรู้เชิงรุก Active Leaming ที่พัฒนาขึ้นจากศาสตร์ด้านการเรียนรู้และประสาทวิทยาศาสตร์ ที่จะช่วยให้เกิดผลลัพธ์การเรียนรู้ในระดับ Mastery Learning

เมื่อวงการศึกษาไทยนำ "การเรียนรู้จากประสบการณ์" ไปประยุกต์ใช้ จะช่วยยกระดับคุณภาพการศึกษาไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการเรียนรู้และพัฒนาผู้เรียนครบด้ำนของการเรียนรู้องค์รวม HolisticLeamning. ในหลากหลายมิติ เช่นครบ VASK, Future Skills หรือ Transferable Skills, ครบ 3H Heart,Head, Hand ที่มีการขยายเป็น 5H คือเพิ่ม Home/ Habitat และ Human และที่สำคัญมีการพัฒนาความเป็นผู้กระทำการ หรือผู้ผู้ก่อการ Agency หรือ Change Agent อันจะนำสู่การพัฒนาพลเมืองผู้ไม่นิ่งดูดาย(Active Citizen) หรือพลเมืองผู้มุ่งทำเพื่อประโยชน์ของสังคม

โดยที่การเรียนรู้จากประสบการณ์จะเพิ่มมิติของการเรียนรู้เพิ่มขึ้นจากมิติที่กล่าวในย่อหน้าบนอย่างมากมาย เช่น มิติประสบกาณ์ 7 ด้าน คือ 1) รับสิ่งเร้า Sensing 2) ทำ Doing 3) รู้ Knowing 4) รู้สึก Feeling 5) การเป็นส่วนหนึ่งของสิ่งที่กว้างใหญ่กว่าตนเอง Belonging 6) การพัฒนาหรือเปลี่ยนแปลงตน Becoming 7) ความรู้สึกมีตัวตน Being

อาจมองประสบการณ์แนวกุญแจกล 7ส่วนของกลก ได้แก่ กลไกประสบการณ์ภายนอกตัว 3 กลไกคือ 1)การเป็นส่วนหนึ่งของโลกที่กว้างกว่าโลกมนุษย์ 2) การเป็นส่วนหนึ่งของ

สังคมมนุษย์ 3) การกระทำหรือปฏิบัติในโลก กลไกภายนอกตัว 3 กลไกนี้ เชื่อมสู่กลไกภายในตัวด้วย 4) กลไก๋รับสิ่งเร้าทั้งจากภายในตนและภายนอกตน กลไกภายในตัว 3 กลไก ประกอบด้วย 5) รู้สึก 6) รู้ 7) มีตัวตน

จะเห็นว่า ทฤษฎีหรือหลักการของการเรียนรู้จากประสบการณ์ มีมิติที่กว้างขวางและลึกซึ้งกว่าการเรียนรู้แบบที่เราเข้าใจอย่างเทียบกันไม่ได้เลย ผมเชื่อว่าการทำความเข้าใจการเรียนรู้ในมิติที่กว้างขวางจากมุมมองใหม่เช่นนี้ จะช่วยให้ครูและนักการศึกษาไทยทำหน้าที่หนุนการเรียนรู้เพื่อพัฒนาเด็กและเยาวชน์ไทยได้อย่างมีผลลัธ์และผลกระทบที่ทรงคุณค่ายิ่งขึ้น ส่งผลต่อการสร้างพลเมืองไทยรุ่นใหม่ที่มีการพัฒนาเต็มศักยภาพยิ่งขึ้น รวมทั้งผู้ที่เป็นผู้ใหญ่ในทุกช่วงอายุ สามารถใช้หลักการในหนังสือเล่มนี้ เพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิตของตนเอง ดังที่ตั๋วผมเองได้ใช้ประโยชน์อยู่ในสองสามปีที่ผ่านมา