โครงการกระบวนการเรียนรู้วัฒนธรรมไทยทรงดำของเด็กเยาวชนและคนในชุมชน ตำบลดอนคา อำเภอบางแพ จังหวัดราชบุรี (พาน้องเยือนถิ่นลาวโซ่งบ้านโคกคา)
ผู้ให้สัมภาษณ์
- นางสาวนริศรา พลับวังกล่ำ (ส้ม)
- นางสาวศศิธร เกิดเพิ่ม (แนน)
สัมภาษณ์วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2563
ถาม ช่วยแนะนำตัวและแนะนำโครงการ?
ตอบ นางสาวนริสรา พลับวังกล่ำ ชื่อเล่นส้มค่ะ เรียนอยู่ชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
ตอบ นางสาวศศิธร เกิดเพิ่ม ชื่อเล่นแนนค่ะ เรียนอยู่ ชั้น ม.5 โรงเรียนราชินีบูรณะ จังหวัดนครปฐม
ตอบ พวกเราทำโครงการพาน้องยืนถิ่นลาวโซ่งบ้านโคกคา
ถาม สมาชิกในทีมมีจำนวนกี่คน?
ตอบ ที่จริงตอนแรกในทีมมี 10 คน แต่ตอนนี้คนที่ทำงานจะเหลือ 3 คน มีคนหนึ่งน้องสนใจเรียนรู้เรื่องลาวโซ่ง น้องเขาเป็นคนไทยทรงดำค่ะ วันนี้น้องไม่ว่างมาค่ะ อีก 2 คน คือพวกหนูค่ะ หนู 2 คนไม่ใช่คนลาวโซ่งแต่หนูสนใจที่จะทำโครงการ พี่นุ้ยได้ชวนพวกหนูมาค่ะ ในทีมมีน้องอีก 2 คนค่ะ วันนี้พวกเขามาไม่ได้ ส่วนเพื่อนอีกคนวันนี้ติดงานที่โรงเรียนค่ะ
ถาม บ้านโคกถามเป็นชุมชนลาวโซ่งใช่ไหม?
ตอบ ใช่ค่ะ เมื่อก่อนที่นี่จะเป็นเนินเลยเรียกกันว่าโคก และจะมีหญ้าคาอยู่ค่ะ
ถาม น้องแนนมาเข้าร่วมโครงการได้อย่างไร?
ตอบ หนูสนิทกับพี่ส้ม พี่เขาชวนหนูมา เขาชวนหนูมาทำโครงการ หนูสนใจอยากรู้ว่าลาวโซ่งเขามีพิธีอะไรบ้าง เขากินอาหารแบบไหนที่หนูอยากรู้เพราะหนูไม่ใช่คนลาวโซ่ง
ตอบ น้องผู้ชายอีกเป็นคนลาวโซ่ง น้องเขาจะรู้เรื่องลาวโซ่งไม่เยอะเท่าไร แต่เขาจะฟังภาษาลาวโซ่งออก
ถาม ภาษาลาวโซ่งมีเอกลักษณ์แตกต่างจากภาษาที่เราใช้อย่างไร?
ตอบ มันต่างกันมากค่ะ การออกเสียงของลาวโซ่งมันไม่เหมือนกันเลย ออกเสียงผิดความหมายจะเพี้ยนไปเลย
ถาม คำศัพท์ที่ใช้เหมือนกันไหม?
ตอบ เรื่องภาษาตอนนี้พวกหนูยังไม่รู้เท่าไร
ถาม สมาชิกในทีมมารวมตัวกันได้อย่างไร?
ตอบ พวกหนูเป็นประธานของสภาเด็กตำบลดอนคาอยู่แล้ว หนูชักชวนเพื่อนๆ น้องๆ ที่ อยู่ในสภาเด็กมาทำ
ถาม ตอนนี้มีสมาชิกในทีมจำนวนกี่คนที่อยู่โครงการ?
ตอบ มีน้องเข้ามาใหม่อีก 2 คน ตอนนี้มีทั้งหมด 5 คนค่ะ
ถาม หัวข้อโครงการนี้ได้มาอย่างไร?
ตอบ ตอนแรกหนูจะเลือกทำผักตบชวา เพราะเห็นว่าหมู่ที่ 1 บ้านลำพญาผักตบชวาเยอะ ปัญหาคือว่าถ้าเราทำเรื่องผักตบชวา แต่เราไม่ซื้อของแบบนี้ใช้อยู่แล้ว ถ้าเราเอามาทำคนที่ซื้อเขาจะซื้อของเราไหม หนูได้คำแนะนำมาจากอาธเนศว่าที่หมู่บ้านเราเป็นไทยทรงดำเราเลยอยากรู้เรื่องนี้มากกว่าเราเลยทำหัวข้อนี้
ถาม ขั้นตอนการดำเนินงานของโครงการเดินทางมาถึงขั้นตอนไหน?
ตอบ ตอนนี้ยังไม่ถึง 100% สำหรับหนูประมาณ 70% เพราะว่ายังรวบรวมงานที่จะส่งยังไม่เสร็จพวกเราต้องหาเวลาที่ตรงกันมากที่สุด ถ้าคนหนึ่งไม่ว่างอีกคนหนึ่งต้องมาช่วยกันทำ
ถาม แบ่งบทบาทหน้าที่การทำงานอย่างไร? กระบวนการทำงานเป็นอย่างไร?
ตอบ พวกหนูจะประชุมทีมก่อนวางแผนว่าจะลงไปที่หมู่ไหนก่อน แต่ละหมู่ควรจะทำเรื่องอะไรต้องดูความถนัดของแต่ละหมู่
ตอบ ประชุมทีม แบ่งหน้าที่ ช่วยกันประสานงานกับเจ้าหน้าที่ฝ่ายงานชุมชนเพื่อที่จะหาคนในหมู่บ้านมาเพื่อให้งานประชุมของเราผ่านลุล่วงไปได้ดี
ตอบ กว่าที่เราจะมาทำงานนี้เรามีปัญหาเยอะมาก บางคนในทีมไม่ให้ความร่วมมือแต่เราเข้าใจเพราะว่าเขาไม่ว่าง เราพยายามหาเวลาว่างให้ตรงกันมากที่สุด
ตอบ รอบที่ผ่านมากว่าหนูจะหาเวลาจัดกิจกรรมรอบสองได้ใช้เวลานานมาก ติดทั้งงานดอนคารัน งานวันเด็กเพราะว่าหนูอยู่ในสภาเด็กต้องมาช่วย หลังจากงานวันเด็กหนูถึงได้ลงพื้นที่ไปที่หมู่ 6 เพื่อจะทำเรื่องอาหารและเครื่องแต่งกาย
ถาม ในโครงการทำเรื่องอะไรที่เกี่ยวข้องกับลาวโซ่งบ้าง
ตอบ ตอนนี้หนูลงลึกไปที่เรื่องพิธีกรรม เรื่องการแต่งกาย เรื่องอาหาร ตอนนี้เหลือเรื่องภาษาที่หนูกำลังจะลงลึก ตอนนี้หนูอยากได้เรื่องภาษาที่สุด เพราะว่าวัยรุ่นที่เป็นคนไทยทรงดำเขาไม่พูดภาษานี้กันแล้ว พี่ที่หนูรู้จักเขาเป็นคนไทยทรงดำแต่เขาก็ไม่พูด ไม่มีใครสืบสานไม่มีใครนำไปใช้ปฏิบัติต่อ ภาษาเลยหายไป
ถาม ทำไมเราถึงต้องรักษาภาษาลาวโซ่งให้คงอยู่ต่อไป?
ตอบ เพราะว่าเวลาที่เราได้ฟังภาษาลาวโซ่งจะเป็นภาษาที่สวยงาม ยิ่งเวลาถ้าเขาพูดเร็วๆ หนูชอบมันจะไม่เหมือนของเราสำเนียงเขาจะไพเราะ มันจะออกเสียงไม่เหมือนกัน ในหนังสือมีภาษาลาวโซ่งจะไม่ตรงกับเวลาที่เขาพูดเพราะมันถูกดัดแปลงเปลี่ยนไป ตอนนี้ที่ขาดข้อมูลคือเรื่องของภาษาและพิธีกรรม
ถาม หลังจากที่ทำโครงการได้ศึกษาความรู้เกี่ยวกับลาวโซ่งมีความรู้สึกหรือความคิดอย่างไร?
ตอบ ความรู้สึกของหนูคือหนูตอบตรงๆ คือเหนื่อย หนูต้องเรียนหนูต้องทำโครงการและมีงานที่สภาเด็กด้วย ถึงจะเหนื่อยแต่ก็ไม่ทำให้เราต้องหยุดที่จะทำโครงการนี้ยังอยากที่จะทำต่อไป
ถาม ในขณะที่เหนื่อยกับภาระหน้าที่ อะไรในตัวเรายังบอกให้ทำโครงการนี้ต่อไป?
ตอบ มันผ่านมาได้ขนาดนี้แล้ว หนูไม่อยากปล่อยให้หลุดมือไปมันเป็นโอกาสที่เข้ามา มีพี่คนหนึ่งที่เขาคอยให้กำลังใจหนูให้คำปรึกษาหนูมาตลอด และที่สำคัญโครงการนี้ได้เปิดโอกาสที่ให้หนูได้เรียนรู้อะไรใหม่ๆ มันทำให้หนูอยากจะสู้ต่อ หนูเคยปรึกษาพี่เขาว่าคนในทีมไม่มาทำแล้วนะ พี่เขาบอกว่าไปเอากลับมาทำให้ได้เพราะว่าน้องเขาทำได้ หนูกลับไปชวนน้องมาทำอีกครั้งน้องเขาก็กลับมา พี่ที่คอยแนะนำหนูเขาชื่อพี่ปิง
ตอบ ทำให้เรารู้จักคุยหลายด้าน อย่างน้องที่อยู่สภาเด็กในเวลางานเขาก็ไม่มา เราอยู่กันสองคนเราก็ทำได้แต่ถ้ามีเขามาด้วยเพราะว่าเขารู้เรื่องราวต่างๆ เขาจะได้มาช่วยสมทบให้เรารู้เรื่องนี้ลึกเข้าไปอีก หนูเหนื่อยเหมือนกันค่ะ
ถาม ช่วยเล่าวิธีการทำงานของทีม?
ตอบ หลังจากที่เราแบ่งหน้าที่และประชุมหลังจากนั้นเราลงเก็บข้อมูล หนูทำเป็นกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องการทำสำหรับอาหารของชาวลาวโซ่ง ออกแบบโดยแบ่งหมวดเป็นอาหารที่กินในชีวิตประจำวัน อาหารในพิธีงานแต่ง พิธีงานศพกิน พิธีงานเสนเรือน พิธีงานมงคล หนูจะเป็นคนพูดและเป็นคนถามส่วนน้องจะทำหน้าที่จดเวลาที่ผู้ใหญ่พูด บางทีพวกป้าๆ ที่เป็นลาวโซ่งเขาจะไม่ค่อยจดเอง สายตาเขาอาจจะไม่ดีหนูจะให้น้องเข้าไปช่วยจด
ถาม ใครเป็นคนให้ข้อมูลเรื่องลาวโซ่งกับพวกเราบ้าง?
ตอบ คนในชุมชน คนในหมู่บ้านที่เขาว่าง หนูก็จะถามเขาโดยที่หนูเตรียมคำถามไป พวกเขาก็ให้คำตอบกลับมาค่ะ หนูจะถามว่าอาหารอันนี้กินในพิธีได้ไหม เช่นอาหารในงานศพสามารถกินในชีวิตประจำวันได้ไหม ให้คำแนะนำมาเขาจะแบ่งว่าอันไหนกินได้บ้าง พิธีเสนเรือนเขาจะมีเวลาของเขา เขาให้ข้าวประจำวันเขาจะมีห้องผีเป็นห้องเฉพาะต้องเข้าในพิธีสำคัญเท่านั้น
ตอบ หนูไปหาชาวบ้านในชุมชนและจัดกิจกรรมเพื่อให้ทุกคนมีส่วนร่วม หนูจะเชิญปราชญ์ผู้รู้มา
ตอบ หนูจะแบ่งเป็นหมู่บ้านว่าหมู่บ้านไหน เราจะเรียนรู้เรื่องอะไร ดูว่าเขารู้อะไรเราจะไปตามเรื่องที่เขารู้ หลังจากที่ได้ข้อมูลมาหนูจะมาสรุปบทเรียนแยกเรื่องความเป็นมา แบ่งหมวดหมู่ต่างๆนำข้อมูลที่ได้มานั่งคุยกับเพื่อนในทีม
ถาม หลังจากที่ลงเก็บข้อมูล ตัวเราเห็นอะไรหรือค้นพบอะไรบ้าง?
ตอบ หนูได้ข้อมูลได้รอยยิ้มจากชาวบ้าน แต่ก่อนจากที่หนูเป็นคนไม่กล้าพูดแม้แต่นิดเดียว แต่ตอนนี้ให้หนูจับไมค์เป็นชั่วโมงหนูก็พูดได้ หนูได้ฝึกความกล้าแสดงออกจากคนที่ไม่เคยพูดพอได้พูดและเห็นรอยยิ้มของพวกเขามันรู้สึกดีเหมือนว่าเราทำสำเร็จแล้ว รู้สึกมีความสุขที่ได้เห็นงานออกมา
ถาม ผลตอบรับจากคนในชุมชนเป็นอย่างไร?
ตอบ คนที่หมู่ 2 บอกว่าพวกหนูทำงานดีช่วยเหลือกันดี แต่เขาอาจจะไม่เข้าใจที่หนูถามสักเท่าไหร่ บางคำถามหนูอาจจะอธิบายเขาได้ไม่ชัดเจนแต่พอเขาชมหนูก็รู้สึกดี
ถาม เรื่องอะไรบ้างที่รู้สึกติดขัดไม่ชัดเจน?
ตอบ เรื่องที่ติดขัดคือหนูยังยิงคำถามไม่ถูกจุด บางทีหนูยิงคำถามไปเขาเงียบหรือต้องมีคนมาคอยกระตุ้นให้เขาตอบ เขาจะขยายความคำตอบไม่ได้และบางทีหนูยังไม่เข้าใจคำตอบของเขา พี่นุ้ยจะคอยช่วยพวกหนู
ถาม พี่นุ้ยพูดลาวโซ่งได้ไหม?
ตอบ พี่นุ้ยพูดได้ค่ะ พี่นุ้ยเป็นคนลาวโซ่ง บางทีเขาตอบมาเป็นภาษาลาวโซ่ง พี่นุ้ยจะเป็นคนแปลความหมายให้พวกหนู
ถาม ปัญหาอุปสรรคของการทำงานคือเรื่องอะไร?
ตอบ เรื่องเวลาไม่ตรงกันหรือบางทีไปที่หมู่บ้านนัดไว้ 10-20คน แต่มาจริงๆ น้อยเพราะเขาทำงานกัน เราก็เข้าใจว่าเขาจะไม่มีเวลามา
ตอบ การร่วมมือของคนในชุมชน บางหมู่ดี บางหมู่ไม่ค่อยให้ความร่วมมือเท่าไหร่
ถาม ช่วยเล่าถึงวิธีการแก้ไขปัญหา?
ตอบ หนูจะเลือกเวลาที่เขาว่างและหนูว่างตรงกัน เช่น หมู่ 6 เขาจะว่างช่วงเย็นหนูจะลงพื้นที่ไปในตอนเย็น 6 โมงเย็น อุปสรรคอีกอย่างของหนูคือเพื่อนร่วมทีมไม่มีความรับผิดชอบ นัดเวลาไว้ว่า 6 โมงต้องมาแต่เขาไม่มา หนูไม่เข้าใจว่าเพราะอะไร หนูนัดแต่เขามาไม่ตรงเวลา ถามว่าเขาให้ความร่วมมือในเรื่องลาวโซ่งได้ดีไหมเขาทำได้ดีแต่เขาไม่ฝึกวินัยเรื่องเวลา
ถาม แก้ปัญหาเรื่องคนในทีมไม่ตรงต่อเวลาอย่างไร?
ตอบ สำหรับหนูถ้าหนูพูดแล้วเขาไม่มา หนูจะบอกเขาว่า “เราทำงานกันเป็นทีมนะ เราต้องช่วยกันเราต้องมาตรงต่อเวลา เพื่อนต้องลองปรับตัวเองให้ได้” ถ้าไม่มาอีกหนูก็ปล่อยเขา
ตอบ ส่วนปัญหาของหนูคือเพื่อนในทีมมาไม่ตรงเวลาเหมือนกันค่ะ นัดแล้วไม่อยากมาเขาอาจจะไปที่อื่นและหาเหตุผลมาบอกพวกหนู หนูพูดหลายครั้งและเตือนหลายครั้งแล้ว หนูบอกเขาว่า “เราทำมาขนาดนี้ อีกไม่เท่าไหร่ก็จะจบแล้วควรจะมีความรับผิดชอบ”
ถาม เวลาที่ลงชุมชนใครเป็นคนประสานงาน?
ตอบ หนูจะเป็นคนบอกพี่นุ้ยให้พี่นุ้ยประสานงาน ถ้าเป็นหมู่ 2 หนูจะประสานงานกับกำนัน กำนันจะประกาศเสียงตามสายให้ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นกำนันผู้ใหญ่บ้าน
ถาม มีเพื่อนในทีมอยู่ในชุมชนที่เราไปเก็บข้อมูลไหม?
ตอบ มีค่ะ
ถาม เวลาลงพื้นที่หมู่บ้านของพวกเขา เขามาช่วยงานบ้างไหม?
ตอบ ถ้าเป็นหมู่บ้านของตัวเองเขามาค่ะ หมู่บ้านอื่นเขาก็มาค่ะ หนูจะเป็นคนบอกให้ทุกคนมาค่ะ เวลาลงพื้นที่ทำงานเขามาค่ะ แต่เวลาประชุมเขาจะไม่ค่อยมา
ถาม เรื่องที่ยากที่สุดในการทำโครงการคือเรื่องอะไร?
ตอบ เรื่องที่ยากที่สุดของหนูคือเรื่องลาวโซ่งหนูไม่คิดว่ามันจะยากมากๆ ยากตรงที่เราจะลงลึกถึงเรื่องต่างๆทั้งที่เราไม่ใช่คนลาวโซ่ง ยากจนคิดว่าเราจะไม่สามารถทำเรื่องนี้ได้ เช่นเรื่องภาษาพูดเราจะพูดไม่ได้เราจะสื่อสารกับเขาไม่รู้เรื่อง อาหารการกินเราก็กินกับเขาไม่ได้ อาหารของเขาในอดีตกับปัจจุบันไม่เหมือนกัน แต่ถ้าอาหารเราส่งในปัจจุบันก็จะเหมือนกันกับเรา แต่ถ้าเป็นอาหารในพิธีจะไม่เหมือนเลย เรื่องพิธีกรรมของเขาหนูก็จะไม่รู้เรื่อง เช่นเรื่องงานแต่งงาน งานศพ อย่างพิธีงานศพของชาวลาวโซ่งถ้าเกิดมีคนในบ้านแต่งงานจะต้องเว้นระยะไปประมาณ 30-60 วัน ความยากของหนูคือเราต้องเริ่มต้นจากที่เราไม่รู้อะไรเลย
ถาม อะไรในตัวเราที่ทำให้เรายังคงทำโครงการนี้ต่อ?
ตอบ เพราะความอยากรู้ของเราเกี่ยวกับเรื่องลาวโซ่งว่าเขาทำอะไรอย่างไร ชีวิตความเป็นอยู่ของเขาเป็นแบบไหนเหมือนกับเราหรือเปล่า
ตอบ ส่วนความยากของหนูคือการพูดคุยกับผู้ใหญ่ เพราะว่าหนูจะฟังเขาไม่ค่อยรู้เรื่องเขาจะตอบมาเป็นภาษาลาวโซ่งหนูต้องให้พี่นุ้ยช่วยแปล การถามหรือการฟังเขาตอบหนูแทบไม่รู้เรื่องเลย เวลาที่ไม่ตรงกันก็เป็นอุปสรรคอีกอย่างหนึ่ง
ถาม จุดเด่นที่ทีมเรามีคือเรื่องอะไร?
ตอบ ความเป็นเอกลักษณ์ของไทยทรงดำ หนูไม่เคยแต่งชุดไทยทรงดำมาก่อน หนูรู้สึกว่าหนูชอบชุดของเขา เสื้อผ้าแต่ว่าชุดในแต่ละพิธีกรรมจะไม่เหมือนกันเลย
ตอบ จุดเด่นของทีมเราคือเราเริ่มจากการไม่รู้ แต่เราอยากรู้เราจำเป็นต้องหาความรู้ เราจึงมารวมความคิดกันว่าเราจะเริ่มจากตรงไหนจะทำอย่างไรเพื่อให้เราได้รู้เรื่องนี้
ตอบ ความสามัคคี ถึงแม้อาจจะไม่ลงรอยกันบ้าง แต่เรายังอยากที่จะทำเรื่องนี้ อยากที่จะหาความอยากรู้เรื่องนี้ เรายังไปตามหาข้อมูลลาวโซ่ง ความสามัคคีที่พาให้เรามาถึง 70% ใกล้จะเต็ม 100%จะจบโครงการแล้ว
ตอบ เมื่อก่อนทีมหนู เป็นทีมที่เวิร์คมาก เวลาที่เขาเรียกประชุมที่สมุทรสงครามเราจะไปกันพร้อมหน้าครบทุกคน เราจะลงมือปฏิบัติด้วยกัน บางครั้งทีมเราก็มีความสามัคคีแม้บางคนจะไม่ค่อยมา น้องยังมีความรับผิดชอบในเรื่องบางเรื่อง บางสถานการณ์ที่เราจำเป็นต้องการน้องเขาก็ยังมาช่วย บางงานถ้าน้องไม่ว่างหนูก็ต้องไปหรือบางทีถ้าหนูไม่ว่างน้องก็จะต้องไปแทนหนู
ถาม การเปลี่ยนแปลงของตัวเราหลังจากที่เข้าร่วมโครงการคือเรื่องอะไร?
ตอบ ก่อนพวกหนูจะไม่สนใจเรื่องชุมชนเรื่องวัฒนธรรมหรือเอกลักษณ์อะไรพวกนี้เลย อยู่บ้านจะนอนเล่นแต่โทรศัพท์ แต่เดี๋ยวนี้มันทำให้หนูรู้สึกว่าเราควรจะมีความรับผิดชอบ เราต้องรับผิดชอบงานนี้ เราควรรู้ว่าเราควรจะทำอะไรไม่ใช่เร่ร่อนเหมือนเมื่อก่อน เราควรจะไปหาข้อมูลแล้วมาสรุปมาชี้แจงกับพี่นุ้ย
ตอบ สิ่งที่เปลี่ยนแปลงในตัวหนูคือ หนูเป็นคนกล้าพูดกล้าแสดงออกมากยิ่งขึ้น โครงการนี้เพิ่มศักยภาพในตัวหนูทำให้หนูมองเห็นศักยภาพในตัวเองมากขึ้น ยิ่งหนูเรียน รปส. หนูอยากลงลึกกับชุมชนมากขึ้น เมื่อก่อนหนูเป็นคนที่ไม่ได้อยากเรียนรู้เลย เก็บตัวอยู่ในบ้านอยู่แต่ในห้อง บางทีกินข้าวออกไปนอกบ้างแล้วก็รีบกลับเข้าห้อง หนูซื้อข้าวมากินที่ห้องจะอยู่แต่ในห้องไม่ไปไหนไม่ค่อยสนใจอะไรที่เกี่ยวกับชุมชนสักเท่าไหร่
ถาม คิดว่าเราเรียนรู้หรือค้นพบเรื่องอะไรจากการทำโครงการ?
ตอบ หนูอยากเรียนรู้เรื่องภาษาและพิธีกรรมของลาวโซ่ง ภาษาต้องอยู่กับคนลาวโซ่งมันจะหายไปไม่ได้มันเป็นเอกลักษณ์ อย่างมีงานประจำปีไทยจะมีประเพณีของไทยทรงดำเขาออกมารำ มีคนจากจากจังหวัดเพชรบุรีมาด้วยหนูอยากรู้ว่าเขาทำอะไรบ้าง การเรียนรู้ของหนูคือการเรียนรู้ทุกอย่างของความเป็นลาวโซ่ง
ตอบ อยากรู้ว่าคนในชุมชนรู้สึกอย่างไรที่หนูไปสอบถามข้อมูลจากพวกเขา หนูอยากรู้ว่าเขารู้สึกดีใจไหมที่มีเด็กอย่างพวกหนูอยากรู้เรื่องราวของเขา เขาจะสงสัยไหมว่าพวกหนูไม่ใช่คนลาวโซ่งทำไมถึงอยากรู้
ตอบ หนูอยากเรียนรู้เพิ่มเกี่ยวกับเรื่องการละเล่นหรือการรำ ถ้ามีงานประจำปีถ้าเป็นลาวโซ่งเขาจะมีแต่การรำไม่มีคอนเสิร์ตจะมีฟ้อนแคนเพราะหนูเคยรำตอนไปสอน ป.2 หนูลืมหมดแล้วว่ารำอย่างไรหนูเลยอยากรู้
ตอบ หนูเรียนรู้การใช้ชีวิต เราได้ไปเจอคนอื่นๆ เราเห็นวิถีชีวิตชีวิตของคนอื่นว่าเขาใช้ชีวิตอย่างไร คนอื่นเขาสนใจเรื่องราวของเราแบบที่เราสนใจเรื่องของเขาไหม หนูได้เพื่อนใหม่เยอะมาก หนูได้เห็นรอยยิ้มจากการทำกิจกรรม กิจกรรมนี้เปิดโอกาสกับหนูมากๆ เหมือนเป็นโอกาสที่เข้ามาหาหนูซึ่งอาจจะมีบางทีมที่ไม่ได้แต่ทีมเราได้รับโอกาส เราต้องรักษาไว้ให้ดีที่สุด
ตอบ หนูจะพูดไม่ค่อยเก่ง เวลาพูดหนูจะพูดแต่เรื่องไร้สาระ พอมาเข้าร่วมโครงการหนูได้พูด ทำให้รู้ว่าหนูยังกล้าพูดบ้างไม่ใช่ไม่พูดเลย พอได้เจอคนอื่นหนูยังกล้าพูดกล้าแสดงออก หนูสามารถแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้
ถาม ทำไมเยาวชนจำเป็นต้องเรียนรู้เรื่องชุมชนและเรื่องวัฒนธรรม?
ตอบ อย่างไรตัวเราก็ยังต้องอยู่กับชุมชนเพราะชุมชนอยู่มานานมาก ส่วนวัฒนธรรมอยู่มานานเท่าไรแล้วขนาดตอน ป.2 หนูยังรำไทยทรงดำในงานวันเด็ก อย่างเรื่องทรงผมของคนในแต่ละระดับชั้นของคนแต่ละคนก็แตกต่างกัน อย่างงานศพต้องรวบไว้แต่ไม่สูง วัฒนธรรมต้องอยู่กับลูกหลานถ้าไม่มีคนแก่วัฒนธรรมยังคงต้องอยู่เพราะว่าลูกหลานจะต้องสืบต่อมา
ถาม ในอนาคตอยากทำโครงการอะไร?
ตอบ อยากทำโครงการเกี่ยวกับกีฬา เป็นกีฬาที่มีองค์การบริหารส่วนตำบลจัดให้เพื่อคนในชุมชนมาเล่นด้วยกันสร้างความสามัคคีและมิตรภาพที่ดีต่อกัน งานนี้จัดขึ้นทุกปีตอนสิ้นเดือนมีนาคมจนถึงเมษายนเป็นกีฬาต่อต้านยาเสพติดให้เยาวชนห่างไกลยาเสพติด คนทุกเพศทุกวัยสามารถเข้าร่วมได้
ถาม เป้าหมายในชีวิตของเราคืออะไร?
ตอบ ถ้าหนูเรียนจบหนูอยากเป็นปลัดอำเภอ หนูเรียน รปส. หนูอยากเป็นผู้ใหญ่บ้านตามรอยพ่อรับราชการ คือในบ้านหนูไม่มีใครรับราชการเลยนอกจากพ่อ อย่างของหนูเป็นพนักงานบัญชีในบริษัท
ตอบ หนูอยากเป็นทหาร หนูเรียน รด. อยู่แล้วส่วนแม่อยากให้หนูรับราชการ หนูอยากเป็นทหารมันเท่ห์ดี
ถาม การที่เรามาทำโครงการนี้คนที่บ้านมีความคิดเห็นอย่างไรบ้าง?
ตอบ ที่บ้านไม่ได้ว่าอะไร พ่อสนับสนุน รู้ว่ามากับพี่นุ้ยก็หมดห่วง อะไรที่เกี่ยวกับเรื่องการเรียนรู้เขาจะปล่อยหนูให้หนูหาความรู้ด้วยตัวเอง ตั้งแต่เด็กเขาจะไม่เคยสอนหนูเลยให้หนูหาเองทำเองทุกอย่าง
ถาม พี่นุ้ย (พี่เลี้ยงโครงการ) ช่วยสนับสนุมทีมของเราอย่างไรบ้าง?
ตอบ พี่นุ้ยมีความสำคัญมาก ถ้าไม่มีพี่นุ้ยก็จะไม่มีพวกหนู พี่นุ้ยคอยอยู่ข้างๆ พวกหนู ถ้ามีปัญหาอะไรที่นุ้ยจะคอยช่วยเหลือ พี่นุ้ยจะเก่งเรื่องลาวโซ่งเพราะว่าเขาเป็นคนลาวโซ่ง เขาพูดได้สื่อสารได้
ตอบ หนูเคยถอดใจที่จะไม่ทำต่อ แต่หนูคิดถึงเขาเพราะว่าเขาคอยอยู่ข้างๆ หนู เขาจะไม่ลงมือทำให้ แต่เขาจะพูดให้เราคิดเอง เขาจะคอยถามให้เราบอกเขา หลังจากนั้นเขาจะบอกว่าใช่แต่ถ้าอะไรที่ไม่ใช่เขาจะบอกไม่ใช่
ถาม เคยเล่าปัญหาของทีมให้พี่นุ้ยฟังไหม?
ตอบ พี่นุ้ยเขารู้อยู่แล้วเพราะว่าเขาอยู่กับพวกหนูตลอด เขารู้ว่าใครเป็นอย่างไร เขาบอกว่าให้พวกหนูช่วยดูน้องหน่อยพยายามดึงน้องกลับมา มีอยู่ช่วงหนึ่งน้องหายไปพวกหนูไปดึงน้องกลับมา หนูถามว่ายังอยากทำอยู่ไหมแล้วน้องกลับมา จากนั้นมีไปประชุมที่สมุทรสงครามน้องก็ไปด้วย
ถาม การไปประชุมที่สมุทรสงครามมีส่วนช่วยเหลือโครงการเราอย่างไร?
ตอบ เราได้ความรู้จากเขาเพิ่มมากขึ้น เขาจะสอนเราในหลายๆ ด้าน พอเราได้เห็นผลงานของเพื่อนกลุ่มอื่นเราก็มีแรงที่จะทำต่อ บางทีกลับมาดูว่าทำไมงานของเรามีน้อย หรือบางครั้งมีเราไปคนเดียวกับพี่นุ้ย
ตอบ หนูไปประชุมแล้วหนูประทับใจทีมอาวุโสโอเคหนูรู้สึกว่าพวกเขาเก่งมากและสามัคคีกันมาก
ถาม ช่วยวิเคราะห์เรื่องอุปสรรคปัญหาที่เกิดขึ้นในทีมของเรา?
ตอบ หนูอายุมากที่สุดในทีม หนูมีเวลาว่างบ้างไม่มีเวลาว่างบ้าง แต่หนูพยายามหาเวลาที่จะมาทำบางวันหนูอยู่ถึงเที่ยงคืนเพื่อมานั่งทำโครงการ มีอยู่วันหนึ่งต้องทำงานเพื่อนำเสนอหนูนั่งทำลูกช่วงหนูต้องใช้มือเย็บมันเย็บยากมาก หนูต้องไปเรียนรู้เพิ่ม ลูกช่วงต่อให้เย็บจักรมาแล้ว หนูต้องมาเย็บมือเพิ่มอีกเพราะต้องห้อยให้ยาวทั้งหมด 5 อัน ถ้ามีบางคนที่เขาโตกว่าหนู เขาอาจจะมีภาระหน้าที่คงไม่ได้มาสนใจทำอะไรแบบนี้ เขาต้องห่วงภาระหน้าที่การงานของเขา