สัมภาษณ์พี่เลี้ยง Best Practice : โครงการ Physical Creative Activities for Thoo Mweh Khee Migrant School (PCA)

Project : Physical Creative Activities for Thoo Mweh Khee Migrant School.


ผู้ให้สัมภาษณ์

1. Mr. Dermot Carberry 31 Years

Dean of Social Science Lecturer at Thoo Mweh Khee College

2. Mr. Pla Taw 24 Years

Teacher of Social Science Lecturer at Thoo Mweh Khee College

­

สัมภาษณ์เมื่อ 18 มกราคม 2563 สนทนาภาษาอังกฤษแปลถอดความภาษาไทย

­

­

ถาม  ภูมิหลังบทบาทการทำงานเยาวชน ทำงานชุมชนที่ผ่านมาเป็นอย่างไร?

ตอบ  เมื่อปี 2003 ขณะที่ผมศึกษาระดับปริญญาโท สาขาการทำงานทางสังคม (Social working) ที่ประเทศออสเตรเลีย ผมมีโอกาสเข้าร่วมโปรแกรมฝึกงานระดับนานาชาติ เขาเสนอให้ผมมาเป็นครูอาสาสอนหนังสือที่ ศูนย์การศึกษาสำหรับผู้อพยบ ซูแมวคี (Thoo Mweh Khee Migrant School) เป็นเวลาสี่เดือน ผมสอนวิชาสังคมศึกษา หลังจากสี่เดือนนั้น ผมตัดสินใจว่าจะใช้เวลาของตัวเองเป็นอาสาสมัครอยู่ที่นี่ต่อ ผมจึงเรียนปริญญาโททางออนไลน์กับอาจารย์ที่ปรึกษาซึ่งอยู่ที่ออสเตรเลียต่อจนสำเร็จการศึกษา ผมอยู่ที่ซูแมวคีต่อมาอีกสี่ปี ที่ศูนย์การศึกษาสำหรับผู้อพยบซูแมวคี ผมสอนวิชาสังคมศึกษา (Social Studies) ความเป็นหญิงชายศึกษา (Gender Studies) ภาวะผู้นำในการพัฒนาชุมชน (Leadership Community Development) ประวัติศาสตร์ (History) ภูมิศาสตร์ (Geography) หลังจากสี่ปีผมกลับไปที่ออสเตรียเลียเพื่อทำงานปีครึ่งในองค์กรพัฒนาเอกชน เป็นองค์กรพัฒนาเอกชนนานาชาติที่ตั้งอยู่ออสเตรเลีย หลังจากนั้นผมกลับมาที่ซูแมวคี นับถึงตอนนี้เกือบปีครึ่ง รวมแล้วก็อยู่ที่นี่เกือบหกปีมาแล้ว

ถาม  ตอนนี้สอนวิชาอะไรบ้าง?

ตอบ  ตอนนี้ผมสอนวิชา การพัฒนาระดับรากหญ้า (Grassroots Development) การจัดการโครงการชุมชน(Community Project Management) ความเป็นหญิงชายศึกษา (Gender Studies) การเข้าเมืองศึกษา (Immigration Studies) ทักษะการสอน (Teaching Skills) ทักษะการเป็นผู้นำ (Leadership Skills) และ ภาษาอังกฤษ (English)

ตอบ  ผมเป็นคนกะเหรี่ยงมาจากประเทศพม่าตอนปี 2012 เมื่อก่อนผมเรียนหนังสืออยู่ที่หมู่บ้านเล็กๆ ของผม รัฐกะเหรี่ยงเล็กๆ ที่ประเทศพม่า เพราะความขัดแย้งระหว่างรัฐพม่ากับกลุ่มคนกะเหรี่ยง ผมจึงย้ายมาเรียนในค่ายอพยบในประเทศไทย มาเรียนที่โรงเรียนซูแมวคี ผมเรียนจบเกรด 10 เมื่อปี 2014 ปีที่แล้วผมจบการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาสังคมศาสตร์ ผมเป็นลูกศิษย์ของอาจารย์เดอมิท (Mr. Dermot)


ถาม  อาจารย์กับลูกศิษย์ทำงานด้วยกัน?

ตอบ  ครับ ปีนี้ผมเป็นอาจารย์สอนวิชาสังคมศึกษา (Social Studies) สิ่งแวดล้อม (Environment) ความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรม (Culture Relation) เศรษฐศาสตร์ (Economy)


ถาม ในโครงการนี้ ทำไมถึงสนใจเลือกหัวข้อนี้เพื่อขอรับการการสนับสนุน คุณสังเกตเห็นบางอย่าง ออกแบบโครงการนี้อย่างไร?

ตอบ  เมื่อปีที่แล้วตอนที่ผมสอนนักศึกษาปริญญาตรีปีที่ 4 ตอนที่ Pla Taw ยังเป็นนักศึกษาของผม ในชั้นเรียน ผมมอบหมายให้นักศึกษาหารือกันเพื่อสมัครเข้าร่วมโครงการนี้ โครงการได้อนุมัติสนับสนุน พวกเขาต้องช่วยกันค้นหาว่านักเรียนซูแมวคีว่าต้องการอะไร กลุ่มเลือกกิจกรรมเคลื่อนไหวทางกาย เพราะว่าพวกเขาสังเกตเห็นว่านักศึกษา เงียบ ค่อนข้างเครียด มีปัญหาการจัดการอารมณ์ และการเข้าสังคม ถ้าพวกเราทำให้กลุ่มมีกิจกรรมการขยับเคลื่อนไหวร่างกาย กระตือรืนร้นขึ้น ก็จะลดความเครียดลง เป็นโอกาสให้พวกเขาได้พัฒนามิตรภาพระหว่างกัน และสร้างสุขภาพโดยรวมของพวกเขาเอง เมื่อพวกเราทราบว่าโครงการผ่านได้รับการสนับสนุน Pla Taw เป็นอาจารย์แล้ว เป็นเหตุผลว่าทำไมเขาจึงเป็นที่ปรึกษาโครงการและทำงานกับนักศึกษาจัดระบบในการพัฒนาโปรแกรม


ถาม  มีนักศึกษากี่คนในโครงการที่เป็นทีมและกลุ่มเป้าหมาย?

ตอบ  ทีมมี 13 คน มีนักศึกษาหนึ่งคนที่ออกจากโรงเรียนไป กลุ่มเป้าหมายมีจำนวน 40 คน มีสถานการณ์บางอย่างทำให้จำนวนลดลงจากกรอบเวลา ตอนทำแบบทดสอบก่อนกิจกรรมเรามี 42 คน พอทำแบบทอดสอบหลังกิจกรรมเราเหลือ 20 คน มีหลายเหตุผลที่ทำให้จำนวนลดลง อยากให้ผมอธิบายไหม?

ตอบ  เหตุผลแรกแบบทั่วไป คือ ตอนที่ทำแบบทดสอบหลังกิจกรรมพวกเขาไม่ได้เข้าร่วมตลอดทั้งกิจกรรมเราก็คัดออก แม้ว่าจะเป็นสมาชิกกลุ่ม PCA ก็ตาม เรานับดูมีประมาณ 6-10 % พวกเขาบอกว่าไม่ได้ยินว่ามีประกาศการประชุมที่โรงเรียน

เหตุผลที่สองคือในช่วงวันหยุดคริสต์มาสนักศึกษาบางคนไม่กลับมาตามเวลา ธรรมเนียมปฏิบัติการลงทะเบียนในค่ายอพยบนักศึกษาจะต้องลงทะเบียนชื่ออีกครั้ง ตามข้อกำหนดของสหประชาชาติ เหตุผลข้อสุดท้ายที่จำนวนลดลงคือ นักศึกษาบางคนออกจากโรงเรียน ด้วยสถานการณ์ครอบครัวและนักศึกษาเอง


ถาม  ตอนที่นักศึกษาทำโครงการคุณได้ช่วยสนับสนุนพวกเขาอย่างไรในการทำโครงการลักษณะนี้เป็นครั้งแรก?

ตอบ  ตอนแรกเริ่มและเพื่อนอีกคนเราไปที่แม่สอดเพื่อนำเสนอโครงการของเรา หลังจากนั้นรวมตัวผู้นำนักศึกษาจากระดับชั้นต่างๆ ทั้งก่อนนักศึกษาชั้นเตรียมขึ้นมหาวิทยาลัย นักศึกษา และนักศึกษาใหม่ ประมาณ 10 – 12 คน ส่วนใหญ่ผมและอาจารย์เดอมิท ไม่ทำอะไรมากนัก พวกเราอยู่ด้วยที่นั่น ถ้านักศึกษาต้องการคำแนะนำ ก็จะแนะแนวทางตามที่เขาต้องการ ถ้าพวกเราต้องการเข้าร่วมการอบรมก็จัดการให้เข้าร่วม จากนั้นให้เขาลงมือทำทั้งหมดด้วยตัวเอง


ถาม  ตอนที่นักศึกษาทำโครงการ มีอะไรที่ยากในการทำงานกับนักศึกษาบ้าง เพราะบางคนอยู่ชั้นเตรียมมหาวิทยาลัย และทำโครงการครั้งแรก?

ตอบ  ตอนแรกนักศึกษาบางคนก็ไม่มั่นใจเลย ส่วนใหญ่อาจารย์ Pla Taw จะเป็นคนให้กำลังใจ แนะนำพวกเขา ให้ค้นหาจุดแข็งที่พวกเขาหลงใหล และใช้สิ่งนี้ภายในกลุ่ม ผมคิดว่าครั้งแรกที่เริ่มทำกิจกรรม คือแชร์บอล หรือว่าลาวกระทบไม้ ครั้งแรกสองสามครั้ง พวกเรานำนักศึกษาก่อน จากนั้นก็จะถามนักศึกษาว่า ตอนนี้เป็นโอกาสของพวกคุณแล้ว คุณอยากมาทำโครงการไหม? คุณอยากจัดการกลุ่มไหม? แบ่งทีม, เป็นผู้ตัดสิน, เช็คจำนวนนักศึกษา, ส่วนใหญ่พวกเราก็จะทำเป็นตัวอย่าง/สาธิต ให้นักศึกษาดู แล้วก็ถามพวกเขา ไม่ใช่ว่าจะทำตามที่อาจารย์บอกเท่านั้น ให้เรียนรู้ว่าทำอย่างไรเพื่อที่นักศึกษาจะได้ทำเองได้ ดังนั้นการเรียนรู้ในการทำโครงการ PCA นี้ พวกเราจะทำให้ดูแล้วถามความสมัครใจ เพื่อให้พวกเขาลุกขึ้นมาเป็นผู้นำของกลุ่ม


ถาม  วิธีการนี้ใช้ได้กับสมาชิกทีมทั้ง 12 คน ไหม?

ตอบ  ใน 12 คนนี้ มีระดับความเป็นผู้นำที่ต่างกัน บางคนเข้มแข็งกว่าคนอื่นในกิจกรรมที่แตกต่างกัน ยกตัวอย่างเช่น ครั้งแรกที่เราทำกิจกรรม ผมเป็นคนนำทุกอย่าง พอครั้งที่สองนักศึกษาผู้หญิงก็ลุกขึ้นมาทำ ผมก็นำให้น้อยลงเพื่อให้เธอมีบทบาทในการนำมากขึ้น ที่จริงแล้วในทีมบางคนก็จะมั่นใจในหน้าที่หรือบทบาทที่แตกต่างกัน บางคนก็ทำได้ดีในการควบคุมกลุ่ม และบางคนก็ทำฐานข้อมูลและเตรียมอุปกรณ์ได้ดี ผมพูดได้ว่านักศึกษาพัฒนาไปทางที่ดีในบทบาทที่ต่างกันไป


ถาม  อาจารย์คิดว่านักศึกษารู้ถึงพัฒนาการของเขาเองไหม?

ตอบ  ใช่ครับ


ถาม  อาจารย์ทำสะท้อนคิดกับนักศึกษา?

ตอบ  ครับ ในรายงานฉบับที่ 1 มีการทำสะท้อนคิดแต่ใน รายงานฉบับที่ 2 และ 3 เรารายงานเฉพาะข้อมูล นักศึกษาจะสะท้อนคิดกันเอง แล้วนำมาให้อาจารย์ดู ใน รายงานฉบับที่ 4,5 และ 6 นักศึกษาสามารถทำเอง ดังนั้น นักศึกษามีทักษะ การใช้คอมพิวเตอร์ วิจัย พวกเขาไม่รู้วิธีการเล่นที่ถูกต้อง พวกเขาจึงค้นคว้า

ตอบ  ผมคิดว่า เมื่อพวกเราประชุมทีมปกติ พวกเขาจะวางแผนโครงการ PCA ระบุวันกำหนดส่ง และวันที่เหลือเพื่อที่จะทำให้เสร็จ พวกผมก็จะพูดแค่ครั้งเดียว เรามีการประชุมสัปดาห์ละครั้ง หลังจากประชุมเสร็จพวกผมก็จะช่วยกันมองว่า มีอะไรดีเกิดขึ้น, สิ่งที่พวกเราจะทำให้ดีขึ้นในครั้งต่อไป อะไรที่ทำให้นักศึกษาให้ความร่วมมือตลอดเวลา เราหารือกันด้วยคำถาม 3 คำถามนี้ พวกเราจะเปิดให้นักศึกษาหารือกัน อาจารย์ Pla Taw จะทำกิจกรรมฝึกการแก้ปัญหา และเกมละลายพฤติกรรม กับนักศึกษา เพื่อให้ทำให้เป็นการทำงานเป็นทีมและการแก้ปัญหา

ตอบ  บางครั้งเวลาที่เห็นนักศึกษา มีปัญหาเช่น การเขียนรายงาน ผมก็จะให้นักศึกษาทำสมาธิเพื่อให้สมองโล่ง แก้ปัญหาได้ จดจ่ออยู่กับงาน


ถาม  เห็นด้วยค่ะ ดีที่ทำแบบนี้ สมาชิกของทีมทั้งหมดทำกิจกรรมด้วยไหม?

ตอบ  ครับ ทุกคนเข้าร่วมกิจกรรมทั้งหมด

ตอบ  ทุกครั้งที่เล่นแชร์บอล ผมกับอาจารย์ Pla Taw ลงเล่นด้วยแยกกันอยู่คนละทีม อาจารย์ Pla Taw ได้อะไรบ้าง?

ตอบ  ผมรู้สึกว่าเราต้องเป็นต้นแบบ

ตอบ  ในความคิดผมอย่างไรก็ตาม เราไม่อยากไปสร้างอำนาจที่ไม่เท่ากันในกลุ่ม เวลาที่เราเล่น เราเป็นลูกทีมเหมือนกับนักศึกษา เราไม่ใช่อาจารย์ที่มีอำนาจของพวกเขา เราอยู่ทีมเดียวกันเพื่อไปถึงเป้าหมายเดียวกัน เราต้องการโยนลูกบอลลงตะกร้าเท่านั้น นั่นหมายความว่านักศึกษาจะเชื่อมั่นในเรา เวลาที่พวกเขามีปัญหาก็จะตรงมาหาเรา โดยที่ไม่รู้สึกเขินอาย

ตอบ  เวลาลงเล่นเราอยู่กันคนละทีม


ถาม  คุณเล่นลงเล่นด้วย?

ตอบ  เราเล่นแข่งกันอยู่คนละฝั่ง เราเป็นมนุษย์เหมือนกัน และเราอยู่ร่วมกันเสมอ


ถาม  มีปัญหาอะไรบ้าง? หลังจากที่อาจารย์สร้างกลุ่มขึ้นมาในโครงการ หลังจากนั้นนักศึกษาเขามาขอคำแนะนำสำหรับแก้ปัญหามากขึ้นจากเมื่อก่อนไหม?

ตอบ  หลังจากที่เราได้ทุน และเราลงเล่นกิจกรรมกับนักศึกษา พวกเขาเข้ามาถามคำถามเกี่ยวกับปัญหาและรายงานมากกว่าก่อน เพราะนักศึกษารู้สึกมั่นใจที่จะพูด เรามี เฟสบุ๊คแฟนเพจ สำหรับ โครงการ PCA บางครั้งช่วงวันหยุด แม้ว่าเขาจะอยู่ที่พม่า หรือทีอื่น นักศึกษาจะแสดงความเห็น กดถูกใจในเฟสบุ๊ค ส่งข้อความในช่องทางสนทนา ถ้าพวกเขาต้องการความช่วยเหลือ เขาจะถามเข้ามา ผมรู้สึกว่าโครงการนี้อนุญาติให้เขาทำได้ หรือบางครั้งนักศึกษารู้สึกอยากทำอีกแบบ เขาก็จัดการด้วยตัวเองได้เลย เข้ามาทำ บางครั้งพวกอาจารย์ก็ไม่รู้ นักศึกษาลงมือทำ ด้วยความอดทนเพราะว่าเขาต้องการจะทำสิ่งนั้น

ตอบ  กิจกรรมช่วงเช้านี้ นักศึกษาชื่อโสเนก เธอบอกว่าอาจารย์ พวกเราจะมีประชุมที่โรงเรียน ผมไม่ได้นำอะไร เธอลุกขึ้นมานำพูดขึ้นว่า “วันนี้เราจะจัดการประชุม คุยว่าอะไรที่เราได้เรียนรู้จากการอบรมเมื่อสุดสัปดาห์ที่แล้ว” พวกเขาต้องการประชุมสมาชิกทั้งหมด เพื่อแบ่งปันว่าได้เรียนรู้อะไร สำหรับผมนี่คือภาวะผู้นำจริงๆ เมื่อก่อนเรานำให้ แต่ตอนนี้พวกเขาลุกขึ้นมามีบทบาทจัดการและทำโครงการจริงๆ


ถาม  ดีมากที่นักศึกษาตัดสินใจได้เอง พวกเขารู้ปรึกษาอาจารย์ได้เสมอ ในการเป็นโคช ที่ปรึกษาขอให้ช่วยบอกเทคนิคและเครื่องมือที่ใช้สนับสนุนนักศึกษาในโครงการนี้?

ตอบ  เทคนิคที่ใช้คือการมุ่งไปที่การเสริมพลังซึ่งจะทำให้นักศึกษาเชื่อในตัวเอง สำหรับเทคนิคนี้ ยกตัวอย่างคือ พวกเรามีการประชุม เราทำกำหนดการประชุมมาให้นักศึกษาดู แล้วก็ถามว่ามีใครอยากจัดการกิจกรรมในการประชุมพรุ่งนี้บ้าง และก็ให้นักศึกษาเลือกโดยอิสระ ดังนั้นเราทำเป็นตัวอย่างและให้อิสระแก่พวกเขาจริงๆ แทนที่จะเข้าครอบงำ ดังนั้นผมคิดว่ามันเป็นการเสริมแรงทางบวกที่บอกพวกเขาว่าพวกเขาทำอะไรได้ดี หลีกเลี่ยงจุดอ่อนด้วยนิสัยเชิงบวก ไม่พูดว่าทำไมคุณมาสาย หรือพูดสิ่งที่ทำให้เขาผิดที่มาสายวันนี้ โดยบอกว่าคุณจะทำอย่างไรให้พรุ่งนี้คุณมาตรงเวลา ฉะนั้นมันเกี่ยวกับคำพูดเชิงบวก สนับสนุนให้ระบุสิ่งที่เป็นปัญหาให้กับพวกเขา โครงการนี้เป็นของนักศึกษา พวกเขาลงใหลเกี่ยวกับการบรรลุเป้าหมายที่เปิดเผย ทุกคนคุณตอบตกลง มองดูอาทิตย์นี้ รายงานฉบับที่ 8 ตกลงหมายถึงว่าเราต้องการประชุมหลังเรียน วันจันทร์ วันอังคาร วันพุธ เพื่อทำให้เสร็จภายในวันศุกร์ เทคนิคที่ช่วยสนับสนุนพวกเขาได้มาก คือการเสริมพลังนักศึกษา ผมจะไม่ควบคุมโครงการมากนักโดยจะต้องรู้เนื้อรู้ตัวว่าพวกเราจำเป็นต้องถอยเพื่อให้นักศึกษาสามารถดูแลโครงการได้

ตอบ  ระมัดระวัง จัดการอารมณ์ของเราเองตลอดเวลาแม้ก็ทั้งตอนที่ผมมีปัญหาในชั้นเรียนก็ตาม เมื่อผมต้องเจอกับนักศึกษา ผมจะต้องมองเชิงบวกกับนักศึกษาแม้ว่าเขาจะอยู่ในช่วงที่มีปัญหาหนักก็ตาม ชวนให้เขาจัดการอารมณ์เวลาที่ โกรธ หรือรู้สึกแย่ ตอนแรกๆ นักศึกษาคนหนึ่งมีปัญหาอารมณ์ ก็ค่อยๆ พัฒนาขึ้นตามลำดับ เพราะผมเองก็พยายามช่วยให้นักศึกษาก้าวผ่านให้ได้

ตอบ  คือการให้คำปรึกษา

ตอบ  ผมคิดว่าดีมากที่มีอาจารย์ Pla Taw และทีม อาจารย์ Pla Taw พักที่นี่และรู้ว่าวิถีชีวิตของนักศึกษาซูแมวคีเป็นอย่างไร สิ่งที่พวกเขาจะต้องก้าวข้าม การให้คำปรึกษาของอาจารย์ Pla Taw กับนักศึกษาน่าขอบคุณมากกว่าผม เพราะผมไม่รู้ความจริงเท่ากับนักศึกษากะเหรี่ยงตามแนวชายแดน หลายปัญหาที่เกี่ยวเนื่องมาจากสงครามและครอบครัว ผมคิดว่าสำคัญจริงๆ ที่มีใครสักคนมีประสบการณ์ในทีม เป็นประโยชน์มากสำหรับนักศึกษา เวลาที่พวกเขามองไปที่อาจารย์ Pla Taw พวกเขามองเห็นต้นแบบที่ซื่อสัตย์ แม้ว่าพวกเขาจะเผชิญหน้ากับปัญหา พวกเขายังมีความหวัง


ถาม  อาจารย์เป็นทีมงานที่ดี

ตอบ ใช่ครับ พวกเราสนับสนุนกันแลกัน เราจะคุยกันทุกวันเรื่องโครงการ PCA ทั้งทาง Facebook และตอนดื่มกาแฟ


ถาม  มีประเด็นอะไรที่อาจารย์คุยกันทุกวัน?

ตอบ  ผมคิดว่ามีสิ่งหนึ่งที่เราจะมองมองมันบางครั้ง เราสะท้อนคิด เวลาที่พวกเขาเล่นและเรารู้สึกว่าการอำนวยความสะดวกในระดับนั้นอาจจะเป็นพลังงานที่ไม่สูงมาก พวกเราแค่คิดว่าทำไม และมองไปตลอดทั้งวันและปริมาณการบ้านที่โรงเรียน เมื่อคุณต้องเจอกับนักศึกษา คุณจะต้องแสดงถึงพลังงานที่เต็มเปี่ยม คุณต้องส่งต่อพลังงานที่เต็มเปี่ยมในการมีส่วนร่วม ในตอนที่ผมกลับมาที่สะท้อนคิดประจำวัน อะไรที่ดีเหมือนอาทิตย์ที่แล้ว ทำไม อย่างไรต่อ เป็นสิ่งที่เราสะท้อนคิดกัน เช่นเดียวกับการ ซักถาม เราจะทำในตอนท้ายที่เราพบกัน ตกลงว่ากำหนดส่งวันที่ 25 เดือนนี้ ไปเตือนนักศึกษาแต่ต้องไม่ทำ เราจะไปบอกว่าเกิดอะไรขึ้นอาทิตย์นี้ อะไรจะเกิดขึ้นต่อไปตามแผนปฏิบัติการของเรา พวกเขาจะต้องช่วยกันระบุออกมา

ตอบ  ใน Facebook page หลังจากที่นักศึกษาทำ เขาใช้สื่อส่งเสริมกำลังใจได้ดีมาก เมื่อพวกเขาได้อ่าน เขาก็รู้สึกเข้มแข็งขึ้น และมีความหวงใหลมากขึ้น เวลาทำกิจกรรมในโครงการ PCA จะมีคนโพสต์ภาพลง ทุกคนก็จะได้เห็นภาพกิจกรรมทุกครั้งหลังกิจกรรม เราทำให้อะไรที่เป็นประโยชน์ จุดแข็งเด่นขึ้น ซึ่งจะส่งต่อพลังดีให้กับทุกคนทั้งทีม ครั้งต่อไปเมื่อเรามีการประชุม เช่นกิจกรรมเล่นเชิงบวก กิจกรรมพลังงานในเชิงบวก อย่างที่บางครั้งเพื่อนบอกว่าเพื่อนของคุณอยากทำดีในกลุ่ม พวกเขาจะมีส่วนร่วมอย่างไร ประโยชน์ของพวกเขาคืออะไร? พวกเขาปรับปรุงนิสัยอารมณ์และการเข้าสังคม ทีมงานก็ให้กำลังใจซึ่งกันและกัน


ถาม  ดูเหมือนว่าทุกวันอาจารย์จับตามองโครงการ แวตาของอาจารย์ดูสดใหม่เมื่อพูดถึงโครงการนี้

ตอบ  เราได้เรียนรู้เยอะมากจากโครงการ PCA


ถาม  อะไรบ้างที่อาจารย์ได้เรียนรู้จากโครงการนี้?

ตอบ  ที่จริงแล้วทักษะการรายงาน อาจารย์ Dermot รู้วิธีเขียนรายงาน แต่ละองค์กรมีกระบวนการรายงานที่แตกต่างกัน รายงาน PDCA มีความแตกต่างเมื่อเราส่งรายงานที่ 1 - 2 มันไม่ได้อยู่ในขั้นตอนนั้นจริงๆ

ตอบ  ไม่ได้หมายถึงข้อกำหนดของรายงาน จากประสบการณ์ของผมที่เคยเขียนรายงานให้กับผู้บริจาคเพื่อรายงานการใช้งบดำเนินการสำหรับโรงเรียน ผมจะเขียนถึงผู้บริจาค รายงานตามข้อเสนอถึงความก้าวหน้า รายงานขั้นสุดท้าย ผมเห็นว่ารายงานที่เคยต่างกับรายงานการวิจัย ดังนั้นนี่เป็นครั้งแรกของ Thoo Mweh Khee ทุกคนรู้การทำรายงานโครงการวิจัย เมื่อก่อนรายงานส่วนใหญ่จะเป็นสิ่งก่อสร้างทางกายภาพ แต่การวิจัยใหม่มากสำหรับเรา แม้ว่าเราจะเขียนข้อเสนอ ผมว่าเราต้องเขียน 10 ครั้ง เกือบจะยอมแพ้ เราต้องคิดให้ดีว่าสิ่งนี้จะเป็นประโยชน์ต่อโรงเรียนของเราในการเรียนรู้และพัฒนา ตอนนี้เรามีความเข้าใจมากที่สุดเกี่ยวกับกระบวนการและสิ่งที่เป็นข้อกำหนด สำหรับผมจะเรียนรู้กระบวนการ เมื่อเผชิญกับความท้าทายต้องดูบทเรียนที่ได้เรียนรู้ จากบทเรียนที่ได้เรียนรู้ จะแข็งแกร่งขึ้น เพราะหลายครั้งที่เราเผชิญกับความท้าทายเช่น; บางครั้งนักเรียนบางคนที่พวกเขาไม่ได้มาเพียงเพราะมาไม่ได้ นักเรียนมีเรื่องให้คิดทำหลายเรื่องในชีวิต เช่น มีการบ้านเยอะ พวกเขาไม่ต้องการมาวันนี้ เหลือเพียง 25 คน ณ วันนี้ เราไม่ควรมองเชิงลบ เราควรดูแลคน 25 คน ที่มาตอนนี้ ทำงานกับพวกเขา เพราะพวกเขามา ผมคิดว่ามองด้านลบจริงๆ ค้นหาประโยชน์และข้อท้าทายและวิธีการเอาชนะให้ได้


ถาม  ได้อ่านรายงานของโครงการ มีความชัดเจนและเข้าใจง่ายทำให้เข้าใจสถานการณ์ค่ะ

ตอบ  โครงการ PCA ในตอนแรกมีนักศึกษาผู้หญิงจำนวนมาก เราจะเห็นว่าที่ซูแมวคีมีจำนวนนักศึกษาผู้หญิงมากผู้ชาย เมื่อ 4 เดือนก่อนมีเพียงนักศึกษาชายบางคนที่เข้าร่วม มาเดือนนี้ นักศึกษาหญิงเล่นกีฬาร่วมกับนักศึกษาชาย เป็นเรื่องที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนจริงๆ โดยทั่วไป เราเห็นว่า นักศึกษาชายเล่นฟุตบอล ส่วนวอลเล่ย์บอลจะเล่นทั้งชายและหญิง ที่ซึ่งมีนักศึกษาหลายแบบ นักศึกษาที่ไม่เคยทำงานร่วมกัน เล่นร่วมกัน คิดร่วมกัน แตกต่างกันไปตามชั้นเรียน เมื่อพวกเขามาพบปะกัน พวกเขาก็อยู่ตัวคนเดียว ที่โรงเรียนพวกเขาไม่ต้องการกันและกัน โครงการ PCD เปิดโอกาสให้นักศึกษามีเพื่อนมากขึ้น ผมสังเกตว่าพวกเขาได้เรียนรู้เรื่องในระดับที่ต่างกันไป เรามีนักศึกษา 3 ระดับ ตั้งแต่ มัธยมปลาย เกรด 11, 12 และระดับมหาวิทยาลัย พวกเขาอยู่รวมกันในทีม ในชั้นเรียนเขาไม่มีเวลาที่จะอยู่ร่วมกัน เพราะต่างชั้นเรียนกัน โครงการ PCA จึง สร้างเครือข่ายทางสังคมเพิ่มขึ้นได้ดีจริงๆ


ถาม  อาจารย์อยากจะพัฒนาให้ดีขึ้นถ้าทำโครงการในปีที่สอง?

ตอบ  ปรับปรุงพื้นที่โรงยิม เรามีอยู่แต่สถานที่ยังไม่ค่อยดี

ตอบสถานที่ตั้งของโรงยิมอยู่ข้างสนามฟุตบอล ผมพาไปดูรอบๆ ได้ครับ โรงยิมประสบความสำเร็จมาก เราต้องการพื้นที่มิดชิด เพราะนักศึกษาต้องการมาใช้แต่ โรงยิมเปิดโล่งและมีอุปกรณ์ไม่มาก มันยากที่จะควบคุม เราต้องล็อกเครื่องออกกำลังกาย แล้วผมก็เป็นคนเอามาเก็บ ถ้าเรามีโรงยิมที่เป็นอาคาร เครื่องออกลังกายก็จะวางไว้ได้ในอาคารนั้น เรากามารถจัดการปิดล็อกประตู เปิดให้บริการตอนเช้าก่อน-หลังเวลาเรียนได้ แต่ตอนนี้ยากที่จะจัดการเพราะเหตุผลเรื่องความปลอดภัยและสถานที่

เราได้ใส่ลงไปในแผนปฏิบัติการในปีหน้าโรงเรียนจำเป็นต้องทำ คือ การเปิดสอนโปรแกรมพละศึกษา เป็นหลักสูตรร่วม เช่น แชร์บอล แบตมินตัน ลาวกระทบไม้ ถ้าเราสามารถทำโปรแกรมต่อเนื่องได้ เราอยากจะเปิดให้กับโรงเรียน ใส่ลงไปในหลักสูตรการเรียนการสอน เพราะตอนนี้โรงเรียนเปิดจัดการเรียนการสอนตั้งแต่ 8:45 น. ถึงบ่าย 3:10 น. ไม่มีกิจกรรมขยับร่างกายกายเลย ถ้าเราทำ1 คาบ/สัปดาห์ ได้ เราจะสามารถทำกิจกรรมสร้างสรรค์ฐานกาย (PCA) จากนั้นนักศึกษาก็จะทำใจให้เบิกบาน ลดความเครียดได้ สร้างมิตรภาพนอกห้องเรียน เล่นกีฬากลางแจ้ง นอกชั้นเรียน ทุกวันนี้พวกเขาเพียงจดจ่ออยู่กับการเรียน มนุษย์ถ้าเรียนอย่างเดียว 5,6 ถึง 7 ชั่วโมง สมองคงอยากระเบิดออกมาและต้องการพัก ยากที่จะจดจ่อ ถ้ามีกิจกรรมก็จะช่วยเรื่องการจดจ่อ มีสุขภาพจิตขึ้นตามลำดับทั้ง ด้านสังคมและสุขภาพใจ ผมคิดว่าปีหน้าเราต้องพยายามนำสิ่งเหล่านี้เข้าเป็นส่วนหนึ่งของโรงเรียนและเป็นกิจกรรมระหว่างวันด้วย


ถาม  ขอให้อาจารย์ช่วยบอกการเป็นพี่เลี้ยง โคช ที่ปรึกษาที่ดีสำหรับโครงการแบบนี้?

ตอบ  อดทนครับ จะต้องอดทน มีความเข้าใจอย่างดีต่อสถานการณ์ชีวิตของนักศึกษาและโครงการ เวลาที่นักศึกษามาขอคำปรึกษา พี่เลี้ยงต้องมีความรู้และความเข้าใจ พร้อมที่จะให้ความคิดเห็นกับพวกเขา และมีความเมตตามากที่สุดเท่าที่ทำได้ ผมไม่รู้บริบทนักเรียนไทย แต่สำหรับนักเรียนกะเหรี่ยงแล้ว ถ้าคุณทำให้นักเรียนเห็นว่าคุณใส่ใจ พวกเขาเหล่านั้นก็จะใส่ใจคุณ เป็นความสัมพันธ์สองทาง สำหรับผมประสบการณ์เป็นครูที่นี่ เมื่อคุณเมตตาซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของความอดทน นักศึกษาจะมองมาที่คุณและเขาจะรู้สึกอบอุ่นมั่นใจเวลาที่อยู่ใกล้คุณ ที่จริงแล้วผมคิดว่าเป็นสิ่งที่สำคัญในการเป็นที่ปรึกษา

ตอบ  เราต้องพร้อมส่งเสริมนักศึกษาเสมอ เพราะนักศึกษานั้นเผชิญหลายปัญหาจากภูมิหลังของเขา ครอบครัวไม่สามารถสนับสนุนเขาได้ ผมจำเป็นต้องวางแผนเพื่อให้พวกเขารู้สึกปลอดภัยและเป็นพี่เลี้ยงให้เขาได้

ตอบ  ต้องไม่มีกำแพงกับนักศึกษา เปิดการสื่อสารสำหรับพวกเขาและเปิดความสัมพันธ์ สร้างอารมณ์ขันด้วยเรื่องตลก สร้างเสียงหัวเราะจะช่วยกระตุ้นความมั่นใจของเขาได้ อยู่ด้วยพลังแห่งความสุข ผมคิดว่าเป็นวิธีการสร้างทีมด้วยเรื่องตลกและเสียงหัวเราะ

ตอบ  บางครั้งเราก็นั่งลงทานข้าวด้วยกัน

ตอบ  ความสัมพันธ์ทางสังคมสำคัญจริงๆ สำหรับที่นี่ ทักษะทางสังคมของที่ปรึกษาคือสื่อสารเข้าใจง่าย เพราะนักศึกษาบางคนในช่วงแรก อาจารย์ Pla Taw ต้องแปลทุกอย่าง โครงการ PCA หรือเพราะโรงเรียนที่ทำให้พวกเขาพัฒนาขึ้นมากหลังจบคอร์ส ผมไม่แน่ใจว่าเป็นเพราะส่วนใหญ่เราใช้ภาษาอังกฤษเวลาที่พบปะกัน ตอนแรกอาจารย์ Pla Taw ต้องแปลทุกเรื่องที่ผมพูดตลอดการประชุม แต่ตอนนี้เวลาที่เราประชุมไม่ต้องมีการแปลแล้ว

ตอบ  สัมพันธ์กับเรื่องความมั่นอกมั่นใจ พวกเขาพัฒนาความเชื่อมั่น เวลาที่ผมพูดภาษาอังกฤษ อาจารย์ Dermot เป็นครูที่ดีเป็นที่ปรึกษาสำหรับผม พวกเรามีสัมพันธภาพที่ดีต่อกัน ผมพูดออกเสียงไม่ถูกก็ยังมั่นใจที่จะพูด อาจารย์ก็จะช่วยแก้การพูดให้ถูกหลักภาษา พวกเขาก็เหมือนผมคือรู้สึกปลอดภัย

ตอบ  การสื่อสารที่ดีเยี่ยม และไม่เป็นคนนอก แม้ว่าผมจะพูดภาษากะเหรี่ยงได้เล็กน้อยก็ตาม เวลาประชุมพวกเขาจะพูดปนภาษากะเหรี่ยง แต่ส่วนใหญ่ก็ใช้ภาษาอังกฤษ เพราะรายงานเขียนเป็นอังกฤษ ที่จริงแล้วทักษะการเขียนของนักศึกษาดีขึ้น มหัศจรรย์นะ โดยเฉพาะการเป็นผู้นำ เวลาที่คุณมองด้วยสายตาคนนอก

ตอบ  ช่วยเหลือนักศึกษา ถ้าทำให้พวกเขาเรียนจบปริญญาตรีจากที่นี่ ช่วง 4-5 ปี พวกเขาจะแตกต่างจากเพื่อนของเขา

ตอบ  พวกเขาได้ทักษะหลายเรื่องจากโครงการ PCA ได้แก่ ความมั่นใจในตัวเอง ทักษะการจัดการ ความเป็นผู้นำ ทักษะเขียนรายงาน นักศึกษาหญิงคนหนึ่งในทีม PCA เป็นเหรัญญิก ตอนที่ผมสอนในชั้นเรียน เรากำลังพูดถึงโครงการ เธอพูดขึ้นว่าเธอรู้เกี่ยวกับโครงการและช่วยอธิบายให้เพื่อนในชั้นเรียน เมื่อพวกเขาสามารถที่จะอธิบายให้เพื่อนในชั้นเดียวกันได้ ผมว่าดี ผมก็นั่งลงแล้วก็บอกว่าเธอสอน ผมว่าดีจริงๆ


ถาม  มีอะไรที่อาจารย์อยากจะบอกอีกไหม?

ตอบ ตอนที่ไปให้สัมภาษณ์ได้บอกกับอาจารย์ปัญญา โครงการนี้จะเป็นประโยชน์ถ้ามีการฝึกอบรมทักษะการเขียนตามข้อกำหนดการให้ทุนของโครงการ ตามที่ผมบอกผมต้องเขียน 10 รอบกว่าจะผ่าน ถ้าเขามีการเสริมศักยภาพให้ตัวอย่างหรือกระบวนการ ผมก็จะเป็นที่ปรึกษาได้ดีกว่านี้ ควรจะมีการฝึกอบรมเพราะทุกองค์กรมีข้อกำหนดการเขียนรายงานที่ต่างกัน ผมเคยเขียนให้แหล่งทุนแต่ไม่ใช่รายงานวิจัย การอบรมทักษะการเขียนรายงานมีประโยชน์สำหรับผมครับ


ถาม  ขอบคุณค่ะ

ตอบ  ขอบคุณครับ