บทสัมภาษณ์การเรียนรู้ผ่าน PBL โครงการดอกไม้เพื่อความมั่นคงทางอาหารในบ้านห้วยน้ำนัก จ.ตาก
สัมภาษณ์วันที่ 19 มกราคม 2563

ถาม กลุ่มพวกเราตั้งขึ้นก่อนโครงการ?

ตอบ มีพี่เข้าไปทำเรื่องสมุนไพรก่อนหน้า แล้วก็ไปทำเรือนเพาะชำให้กับหมู่บ้าน เป็นพื้นที่ให้เยาวชนเข้ามา


ถามให้พวกเราแนะนำชื่อกลุ่มและแนะนำตัวแต่ละคน ชื่อกลุ่มพวกเราชื่อกลุ่มอะไร?

ตอบ ฉิโพเกว แปลว่า ใบสาบเสือ


ถามทำไมถึงตั้งเป็นชื่อใบสาบเสือมีที่มาอย่างไร?

ตอบ เมื่อก่อนที่จะมาทำ อาจารย์ชิเข้ามาทำชิ้นงานหนึ่ง ไม่ทราบว่าชิ้นงานอะไร เขาไปให้ความรู้เกี่ยวกับสมุนไพรไปเก็บสมุนไพรในป่าชุมชน ให้เราไปเก็บมาในหมู่บ้านพอเพียง แล้วให้แต่ละคนไปนำเสนอสมุนไพร จากนั้นให้แต่ละกลุ่มเลือกว่าชอบสมุนไพรไหน สุดท้ายก็ได้ ฉิโพเกว คือ เป็นสมุนไพรถ้าเป็นแผลสามารถเอามาทา ทำให้เลือดหยุดไหลได้ ถ้าแปลเป็นไทยก็คือใบสาบเสือ หรือความกล้าของเสือที่เราจะกล้าเข้าร่วมกับเครือข่าย กล้าแสดงออกหมายถึงเสือ


ถามแนะนำชื่อเล่น เราเรียนที่ไหน สาขาอะไร เรียนชั้นอะไรโรงเรียนอะไร ในกลุ่มเราทำหนาที่อะไร

ตอบ พี่เซ่ ผมเรียนที่วิทยาลัยโพธิวิชชาลัย เอกการจัดการภูมิวัฒนธรรม ชั้นปีที่ 3 ส่วนที่ทำโครงการนี้ทำประสานงานกับครูและผู้ใหญ่ทางบ้าน

ตอบหนู สาลี่ เรียนที่เรียนห้วยน้ำนักวิทยา หนูทำงานฝ่ายสวัสดิการ

ตอบเด็กหญิงแอ้พอ อยู่โรงเรียนห้วยน้ำนักวิทยา ทำงานฝ่ายสวัสดิการค่ะ

ตอบหนูชื่อฝ้ายมาจากโรงเรียนห้วยน้ำนักวิทยา อยู่ชั้น ม.3 เป็นฝ่ายสวัสดิการ

ตอบชื่อณิชามาจากโรงเรียนห้วยน้ำนัก ทำงานฝ่ายสวัสดิการค่ะ

ตอบชื่อพี่ตื้ออยู่ฝ่ายวิทยาลัยโพธิวิชชาลัย เอกการจัดการภูมิวัฒนธรรม อยู่ฝ่ายประสานงานค่ะ


ถามตอนนี้มีประสานงานกับสวัสดิการ?

ตอบ ในส่วนการเงินเป็นพี่ถั่วงอกเป็นคนดูแล หัวหน้าโครงการเป็นพี่ถั่วงอก


ถามเรามารวมตัวกันได้อย่างไร?

ตอบ ตอนแรกอยู่องครักษ์ยังไม่ได้เรียนที่นี่ กลับมาที่นี่พี่ถั่วงอกบอกว่าจะทำโครงการเกี่ยวกับดอกไม้กินได้ เพราะว่าชุมชนของเรามีปัญหา กรมป่าไม้จะเข้ามาดูแลป่าชุมชน คนในชุมชนจะไม่สามารถเก็บอาหารได้ กลัวว่าจะมีอะไรเกิดขึ้นในชุมชน ถ้าเราทำโครงการนี้เป็นรูปธรรม เป็นตัวอักษรให้เขาเห็นว่าชุมชนมีวิถีชีวิตแบบนี้มาตั้งนานแล้ว น่าจะช่วยชุมชนได้ พี่ถั่วงอกชวน ผมก็คิดว่าช่วยพี่ถั่วงอกในด้านนี้ได้ ช่วยประสานงานวิจัยกับผู้ใหญ่บ้าน ปราชญ์ชุมชน เรื่องข้อมูลพื้นที่ประวัติชุมชน กลุ่มฉิโพเกวที่ผมเคยทำงานด้วยก็เข้ามาร่วม เพื่อให้น้องๆ มีประสบการณ์ ให้เป็นแกนนำเยาวชน


ถาม พวกเรามัธยม ม.3 มาได้อย่างไร?

ตอบ คนที่ชวนหนูมาเป็นพี่เพียรใจ

ตอบพี่เพียรใจเป็นรุ่นพี่ เมื่อก่อนจะมีพี่เพียรใจและพี่ฐิติพรเป็นตัวหลักของฉิโพเกว และมีน้องๆ เข้ามาร่วม น้องจะสลับกันมา


ถามพี่เพียรใจมาชวนทำไมพวกเราถึงสนใจทำ?

ตอบ เกี่ยวกับดอกไม้กินได้ใกล้บ้าน ดอกไม้บางชนิดก็มีพิษ

ตอบ  อยากรู้เรื่องเกี่ยวกับดอกไม้ให้มากขึ้น ว่าหมู่บ้านเรามีดอกไม้อะไรบ้าง

ตอบ อยากรู้ว่าดอกไม้กินได้หรือกินไม่ได้

­


ถามสมาชิกของเราทั้งหมดมีกี่คนคะ?

ตอบ สมาชิกอยู่ในโครงการมีประมาณ 10-12 คน มีอาจารย์ชิ อาจารย์ปุญญาเป็นที่ปรึกษาโครงการ มีพี่ถั่วงอก พี่แพร พี่อ้อม และผมเซ่ครับ หลักๆ ที่อยู่ในทีม ส่วนน้องๆ ที่หมู่บ้านยังไม่มีชื่อในนี้เป็นแกนนำอยู่ในชุมชน


ถามฉิโพเกว มีสิบสองคน?

ตอบ  ถ้าเป็น ฉิโพเกว จริงๆ เยอะกว่านี้ มีหลายรุ่น ตั้งแต่เด็กเล็ก

ตอบ  ส่วนมากฉิโพเกวไม่มีเด็กโต จะเป็นน้องลูกหลานคนในชุมชน เด็กโตส่วนมากเขาไปเรียนหรือทำงานบ้าง

ตอบ   หนูกับเซ่ก็เป็นรุ่นหนึ่ง

ตอบ  รุ่นแรกที่ยังทำอยู่ สร้างรุ่นน้องอยู่ ที่เราเข้าไปทำกิจกรรมมีประมาณ 50 คน ที่ลงทะเบียนมาร่วมกิจกรรม ส่วนมากก็เป็นสมาชิกกลุ่ม ฉิโพเกว ที่มีตั้งแต่อนุบาลถึง ม.3


ถามอายุน้อยที่สุดกี่ปีคะ?

ตอบ ตั้งแต่อนุบาลเลยค่ะ

ตอบ บางทีเราก็ไม่ทราบจำนวนว่าน้องจะมาเพิ่มหรือลดลงไป จำนวนคนอาจจะยังไม่ชัดเจน


ถามหัวข้อที่เราทำเกี่ยวกับอะไร?

ตอบ ดอกไม้เพื่อความมั่นคงทางอาหารในบ้านห้วยน้ำนัก


ถามใครเป็นคนริเริ่มอยากทำ ?

ตอบ พี่ถั่วงอกทำวิจัย อาจารย์ชวนให้เข้ามาทำในกลุ่ม ก็ชวนพวกหนู

ตอบ ตอนแรกที่ว่ากรมป่าไม้จะมาคนในชุมชนก็ต้องไปเซ็นต์ไม่ให้ขยายเขต ภาครัฐไม่ดูแลอาจารย์ชิก็ไปวัดพิกัดหมู่บ้านรอบหมู่บ้าน เป็นโครงการที่อาจารย์ชิเข้าไปดูแล จากนั้นก็มีพี่ถั่ว ชวนพี่ถั่วเข้ามาช่วยคนในชุมชน


ถามพื้นที่ชุมชนอยู่ในป่าชุมชน?

ตอบ หมู่บ้านของเราจะอยู่กลางหุบเขา เป็นที่ราบมีภูเขาล้อมรอบ ทิศตะวันออกจะเป็นหมู่บ้านพบพระ

­


ถามตอนนี้เขามาประกาศเป็นเขตอุทยานหรืออย่างไร?

ตอบ ตอนแรกเขาต้องการแค่พื้นที่ป่าชุมชนมาเป็นอุทยานแต่ชาวบ้านไม่ยินยอมเลยไปยื่นเรื่อง

ตอบ แต่ที่เขาไปทำเป็นพื้นที่ป่าต้นน้ำ ผมจำชื่อไม่ได้ ป่าไม้เข้าไปทำบ้านเพื่อไปดูแล


ถามป่าชุมชนที่เป็นพื้นที่ของเราไปอยู่ในเขตอุทยาน ตรงนั้นเป็นอะไร?

ตอบ เป็นน้ำพุร้อน อุทยานแห่งชาติน้ำตกพาเจริญ


ถามพวกเราเติบโตในหมู่บ้านนี้ ตอนเด็กเห็นหมู่บ้านเราเป็นอย่างไร?

ตอบ ต้นไม้เยอะกว่านี้ ดอกไม้กินได้เยอะกว่านี้ค่ะ

ตอบ ไม่ค่อยมีรถ

ตอบ ตอนนี้มีความเจริญเข้ามา มีโรงงานน้ำแร่มองค์เฟอร์ ใกล้กับบ่อน้ำพุร้อน มีคนในหมู่บ้านไปทำงาน คนที่ยกน้ำได้วันละ สามร้อย คนเข้าไปทำงาน ได้วันละ สามถึงสี่ร้อยบาท

ตอบ ในส่วนตัวผม การเปลี่ยนแปลงค่อนข้างเยอะ ผู้คนเมื่อคนก่อนน้อย ป่าชุมชนใช้ในหมู่บ้าน ผ่านมามีต่างหมู่บ้านเข้ามาใช้บ้าง คนที่มาหาเห็ดถอบ จากเมื่อก่อนทำมาหากิน เป็นทำมาหาเงินมากกว่าทำมาหากิน ทุกวันนี้เหมือนแข่งกัน เข้าไปแต่เช้า มีคนพื้นที่อื่นเข้ามา ผมยังไม่เห็นทะเลาะกัน น่าจะมีโกรธกันนิดหน่อย บางทีมีไฟป่าบ้าง

ตอบ พอความเจริญเข้ามาแบบนี้ มีการพัฒนาไปด้วย อย่างโรงเรียนเมื่อก่อน เราก็เล่นกีฬาแข่งกันในโรงเรียน พอพัฒนาขึ้นได้ไปแข่งระดับจังหวัด ภาค ประเทศ

ตอบ โรงเรียนได้เป็นโรงเรียนดีศรีตำบล ได้โลโก้ใหม่จาก สพฐ. จากโรงเรียนขนาดเล็กเป็นโรงเรียนขนาดกลาง


ถามพอเรามาร่วมโครงการพวกเราช่วยเล่ากระบวนการทำงานเป็นอย่างไร?

ตอบ พี่ถั่วงอกเริ่ม ผมมาครั้งแรกมานำเสนอโครงการ ผมไม่รู้ว่าดอกไม้กินได้คืออะไร ดอกกล้วยไม้หรือเปล่า แต่เป็นดอกไม้ที่อยู่ในป่า พี่ถั่วงอกให้ผมได้กลับไปเข้าชุมชนหมู่บ้านตัวเอง ไปหา ฉิโพเกว ชวนน้องๆ ว่าเรามีโครงการแบบนี้ จะมาทำให้กับชุมชนเราจากนั้นเราก็วางแผน

ตอบ ครั้งแรกพี่เขาเข้าไปให้ความรู้เรื่องเครื่องมือที่จะเข้าไปเก็บข้อมูล

ตอบ เขียนลำดับความสำคัญว่าทำอันไหนก่อน จากนั้นลำดับเครื่องมือปฏิทินฤดูกาลว่าดอกไม้นี้ขึ้นฤดูไหน เก็บเดือนไหน ในดอกไม้มีสรรพคุณอะไรใช้ส่วนไหนมาทำ แผนที่ชุมชน เขียนเส้นทางหลัก สถานที่สำคัญ

ตอบ ก่อนเข้าไปเก็บถามปราชญ์ชาวบ้านว่า โซนไหนที่จะเข้าไปเก็บ จะมาร์กไว้ในแผนที่ว่าขึ้นตรงนี้นะ บางชนิดช่วงที่เราไปไม่ใช่ฤดูกาลของมัน เราก็ไม่เห็นดอกไม้ ถ้าเราไปตามฤดูกาล เราก็จะเห็นภาพที่ชัดเจนเยอะกว่านี้ เราทำช้าไปหน่อย


ถามพอได้ข้อมูลมาว่าอะไรกินได้กินไม่ได้ในฤดูไหนบ้างแล้วอย่างไรต่อ?

ตอบ ถ้าเป็นดอกไม้จะมีสามส่วนหลัก แบ่งเป็นประเภทว่าส่วนนี้เป็นต้นนะ มีชื่อ ฤดูกาลที่ขึ้น ลักษณะการขึ้นแบบไหน ใส่สรรพคุณลงไป


ถามกระบวนการทำงานกลุ่มของเรา จัดการกลุ่มอย่างไร?

ตอบ ในกลุ่ม ผมสองคนไม่ได้อยู่ในหมู่บ้าน เราจะปรึกษาครูเอ็ม สมมติเสาร์อาทิตย์เราจะเข้าไปเก็บข้อมูล เราก็จะโทรแจ้งครูเอ็มก่อน เพื่อที่ว่าเขาจะได้หาเยาวชน ถ้าเราไม่ทำแบบนี้เยาวชนก็ไปเที่ยวบ้าง ถ้าไม่แจ้งเขาก็ไม่ได้ประสาน ครูเอ็มจะช่วยตลอด


ถามใครเป็นผู้นำกลุ่ม?

ตอบ พี่ถั่วงอก ที่จะประสานงานกับพวกหนูให้คุยกับน้องต่อ


ถามพี่ถั่วงอกทำงานอย่างไรในความคิดเรา?

ตอบ พี่ทำงานดี จะนัดก่อนตอนเย็นประชุมแล้วแบ่งหน้าที่กัน

ตอบ หนูทำฝ่ายสวัสดิการ

ตอบ ส่วนมากในเรื่องการเดินทางเป็นพวกผมมากกว่า เพราะว่าน้องยังเด็กที่จะไปซื้อ น้องก็จะช่วยเรื่องน้ำพอทำได้ อันไหนที่ใหญ่เกินไปก็จะเป็นพวกพี่มากกว่า


ถามเราได้ลงเข้าป่าไป ไหม?

ตอบ ไปค่ะเป็นพี่เลี้ยง จะมีน้องเข้ามาเราก็ต้องเป็นพี่เลี้ยงให้น้อง


ถามอยากให้เล่าบทบาทของการพี่เลี้ยงตอนที่พาน้องเข้าป่า?

ตอบ โครงการที่เข้าไปทำตอนเป็นพี่เลี้ยงกลุ่ม ไปกับแม่พี่เซ่ที่เป็นปราชญ์ชาวบ้าน

ตอบ เข้าไปในป่าชุมชนเป็นป่าเต็งรัง ที่คนในชุมชนเข้าไปเลี้ยงวัวในป่าได้


ถามฤดูไหนที่เราเข้าไปทำกัน?

ตอบ ส่วนมาเน้นช่วงฤดูฝน หลังฤดูฝนจะมีเห็ดขึ้นเยอะมาก เป็นเห็ดที่มีสีเหลือง ผมจำชื่อไม่ได้เห็ดชนิดนี้ เก็บทั้งเห็ดและดอกไม้ที่กินได้ ส่วนมากในโครงการเราเน้นที่ดอกไม้บันทึกเฉพาะดอกไม้ เห็ดมีเยอะ


ถามเราไปกับแม่ของพี่เขา ไปถึงตรงนั้นแล้วเราทำอะไรต่อ?

ตอบ เขาจะเก็บสมุนไพร ดอกไม้ที่กินได้ บอกรายละเอียดว่าส่วนไหนกินได้ แม่พี่เซ่บอกเราก็จะเก็บมาไว้ก่อน อาจารย์ชิและวิทยากรจะมาบอก

ตอบ จะมีคนให้ความรู้อีกครั้งหนึ่งว่าส่วนนี้นะ เป็นอย่างไรอีกทีหนึ่ง ตอนแรกเราไปเก็บสถานที่จริงก่อน แต่ละกลุ่มกลับมารวบรวม จะมีวิทยากรมาบรรยายให้ความรู้เพิ่มเกี่ยวกับสมุนไพร เป็นผู้เชี่ยวชาญเฉพาะคนนอก


ถามใครเป็นคนคิดว่าจะเชิญวิทยากรคนไหน?

ตอบ ตอนแรกพี่ถั่วงอกจะเชิญพี่ปุ๊ ตาไม่พร้อม ครูเอสก็ปรึกษาหาให้สนับสนุนเรา


ถามขอให้เล่าหน้าที่ของเราชัดๆ อีกรอบ?

ตอบ ผมประสานงานครับ หนึ่งสมมติจะเก็บข้อมูลอาทิตย์นี้ พี่ถั่วงอกก็จะแจ้งผม ผมประสานงานไปที่ครูเอ็ม ครูเอ็มจะหาปราชญ์ชาวบ้านว่าคนไหนว่าง ก็ประสาน แม่ผมว่างก็เป็นปราชญ์ชาวบ้านได้ ปราชญ์ชาวบ้านบางคนให้ความรู้เรื่องประวัติหมู่บ้าน พื้นที่ ดอกไม้


ถามเราเรียนรู้อะไรบ้างจากการประสานงาน?

ตอบ คุยกับครูเอสและปราชญ์ชาวบ้าน เรื่องการสื่อสาร บางทีผมเป็นคนที่พูดไม่รู้เรื่องเท่าไร จะพัฒนาเรื่องนี้พูดอย่างไร การพูดกับผู้ใหญ่ น้ำเสียง

­


ถามรู้วิธีการเข้าหาคน การสื่อสารกับคนที่หลากหลาย?

ตอบ ใช่ครับ ในส่วนนี้ผมได้เยอะขึ้น เป็นคนที่พูดรู้เรื่องขึ้นบ้าง จะพูดอย่างไรเราต้องมีสติก่อนจะพูด เราจะถามเขา ถ้าเราถามแบบนี้ คำถามที่เราจะถามเขาบางทีเราต้องคิดก่อนพูด ถ้าเราถามแบบบรรยายกลัวเขาจะรู้สึกไม่ดี

ตอบ หนูไปคุยกับผู้ใหญ่ บางทีเขาไม่ว่าง ไปหาผู้ช่วยบางทีก็ติดต่อไม่ได้ ก็ได้ประสบการณ์กล้าพูด หนูเป็นคนไม่ค่อยพูดไม่ กล้าพูดได้เรื่องนี้ กล้าพูดมากขึ้น เจอปัญหาช่วงแรกติดต่อไม่ได้ เราก็ไปถามน้าที่เคยทำงานกับผู้ใหญ่ ปัญหาก็คือ ผู้ใหญ่ไม่ค่อยว่างติดธุระ แก้ปัญหาเราไปหาที่บ้าน ตอนนั้นได้ผู้ใหญ่มาพูดเปิดงาน

ตอบ เวลาที่จะจัดกิจกรรมจะให้ผู้ใหญ่บ้านมาเปิดงาน พูดให้เยาวชนตั้งใจในสิ่งที่เราเข้าไปทำให้กับน้องๆ แม้กระทั่งผมก็จำชื่อดอกไม้ภาษาท้องถิ่นไม่ได้


­

ถามตอนที่เราไปประสานไม่ใช่ว่าไปคุยอย่างเดียวต้องไล่ไปว่าคุยอะไรบ้าง 1 2 3 4?

ตอบ ใช่ครับ เขาก็อยากรู้วัตถุประสงค์ เราต้องเรียงลำดับการพูด


ถามทีมสวัสดิการ รู้สึกประทับใจ ชอบอะไรบ้าง เรียนรู้อะไรบ้าง?

ตอบ ประทับใจเกี่ยวกับดอกไม้ ไม่รู้ว่าบางชนิดเขาเรียกชื่อว่าอะไร ชอบดอกดิน ไม่เคยเห็น อยู่ในดินงอกขึ้นมามีสีขาว สีม่วง กินได้ เอาไปต้ม ทอดก็ได้ รสชาติธรรมดาไม่มีอะไร ต้องกินกับน้ำพริก ดอกมีรสจืดไม่มีรสชาติ

ตอบ ดอกกระเจี้ยว อยู่ในป่าไปเก็บมา

ตอบ ดอกไมยราพย์ เป็นสมุนไพรเอาไปต้มแช่เท้า

ตอบ ดอกมะละกอ แกงกิน ต้นกินได้ กินกับน้ำพริก ลวก เอาไปปิ้งไฟ ย่างไฟอ่อนๆ


ถามเป็นสวัสดิการเหนื่อยไหม?

ตอบ สนุกค่ะ ได้เข้าร่วมโครงการกับพี่ๆ น้องๆ ทุกคน

ตอบ สวัสดิการเราจะช่วยกัน ถ้าช่วงกิจกรรมน้องจะเข้าร่วม เราก็สังเกตอะไรขาดเราก็เอามาเติม


ถามพี่เห็นพัฒนาการอะไรขอน้องบ้าง เห็นเขาทำงานเป็นอย่างไร?

ตอบ อันไหนที่น้องทำไม่ไหวก็ช่วย เช่นยกโต๊ะ เรามีน้องผู้ชายด้วย ส่วนมากเราก็ต้องดูงานด้วยว่าเหมาะกับน้องไหม ดูว่าอันไหนเหมาะสม


ถามเราคิดว่ากลุ่มเรามีจุดเด่นอะไร ทำโครงการได้สำเร็จ?

ตอบ กลุ่ม “ฉิโพเกว” การร่วมมือ เราใช้คนนี้ทำไม่มีการปฏิเสธ ใช้คนนี้ขอคนนี้ช่วยนะ เขาก็ร่วมมือ

ตอบ มาประชุมมาพร้อมกัน มางานบางคนไม่มา เขาต้องว่าง เวลาวันงานไม่ค่อยว่าง


ถามคิดว่าทำไมเพื่อนๆ ให้ความร่วมมือ?

ตอบ เพราะว่าสนิทกันพอเพื่อนชวนอยากมาด้วย

ตอบ เป็นหมู่บ้านตัวเองจะง่ายต่อการมาทำกิจกรรม ส่วนมาก แตกต่างจากต่างหมู่บ้านตรงที่หมู่บ้านตัวเองเข้าง่ายเราคุยง่าย ผิดพลาดอะไรก็คุยกันแบบพี่น้องดีกว่า เคยทำหมู่บ้านอื่นไม่เหมือนสังคมบ้านเรา ทำในหมู่บ้านให้คุ้นเคยก่อนหาประสบการณ์ข้างนอก

ตอบ เด็กรุ่นใหม่ชวนกันมาในหมู่บ้านตัวเอง เขาอยากจะพัฒนาหมู่บ้านก็มา

ตอบ มีเยาวชนเยอะ ไม่มีพื้นที่ให้พวกเขาได้แสดงศักยภาพ เราทำแบบนี้ก็ทำให้น้องๆ มีประสบการณ์ในการพัฒนาชุมชนเรา ที่ผมสังเกตเรื่องความรู้ด้านการพัฒนายังไม่ค่อยมี เช่น เขาจะมีการไปดูงาน ถ้าน้องๆ เรา มีประสบการณ์แบบนี้เขาจะได้เอาประสบการณ์ไปใช้ในหมู่บ้าน


­

ถามเรามีความสนิทกัน เป็นพี่เป็นน้อง ทำเรื่องบ้านตัวเอง เป็นประโยชน์ สิ่งที่เราทำต่อเนื่อง เยาวชนที่ว่างเยอะมีเวลาเยอะได้มีพื้นที่ ได้แสดงออก พัฒนา พี่ที่มาก่อนก็จะเห็นพัฒนาการของน้อง เห็นความเปลี่ยนแปลงอย่างนี้?

ตอบ ใช่ครับตอนแรกก็ไม่กล้าแสดงออก


ถามเวลาที่เห็นน้องเปลี่ยนแปลง พี่รู้สึกอย่างไร?

ตอบ รู้สึกว่าดี ที่น้องได้มีโอกาส จากตอนที่เราเด็กๆ พวกผมไม่ค่อยมีโอกาสแบบนี้ ได้เห็นพัฒนาการแต่ละวัน ดีนะที่น้องมีประสบการณ์เพราะรุ่นพี่ๆ ไม่มีเลย น้องมีโอกาสให้น้องเอาโอกาสมาพัฒนาตัวเอง ถ้าเรามีอะไรให้เราเข้าร่วม ก็ประสานเพื่อให้น้องมีประสบการณ์

ตอบ ภูมิใจแทนพ่อแม่น้อง บางคนพ่อแม่ไม่อยากให้มา บางคนพ่อแม่ดีใจที่มา ได้มีประสบการณ์ใหม่

ตอบ บางคนถามว่าลูกเขามาแล้วจะได้อะไร บางคนก็จะคิดแบบนี้ ถ้าเราพามาต้องรับผิดชอบดูแลเขา เราก็ต้องคุยกับพ่อแม่น้องเขาก่อนว่า น้องจะมาทำกิจกรรมที่นี่นะ มาทำอะไรบ้างให้พ่อแม่ของน้องรู้ บางคนไม่ได้เจอผู้ปกครอง ลูกเขาหายไปเป็นเรื่องอีก เรื่องนี้ต้องประสานขอความร่วมมือกับผู้ปกครอง เพื่อให้เขาได้ทราบ


­

ถามผู้ปกครองให้มาร่วมกิจกรรมในชุมชนไหม?

ตอบ ส่วนมากนี่ ก็ให้ถ้าในชุมชนแต่ถ้านอกพื้นที่บางคนเขาไม่เข้าใจ มาเพื่ออะไร

ตอบ เขาเป็นห่วง


ถามคิดว่ากลุ่มเยาวชนต้องมีในชุมชนไหม ทำไมต้องมี?

ตอบ ต้องมีเพราะ เด็กสมัยนี้ไม่ค่อยรู้เรื่องเกี่ยวกับป่าเท่าไรเห็ดบางชนิดเก็บมามั่ว กินอาจเสียชีวิต มีที่ไปเก็บเห็ดเมามีพิษกินแล้วตายได้ มีคนเคยเข้าโรงพยาบาล

ตอบ วัยรุ่นต้องเรียนรู้บางคนไม่มีงานทำ


­

ถามเรามองว่าคนรุ่นใหม่ต้องเรียนรู้เรื่องนี้ด้วย ถ้าไม่มีกลุ่มเยาวชนจะไม่มีพื้นที่ที่จะให้เรียนรู้?

ตอบ ใช่ค่ะ

ตอบ ต้องมีเพราะเยาวชนส่วนใหญ่เขาไม่รู้จักวัฒนธรรมของตัวเอง ไม่รู้จักดอกไม้ในหมู่บ้านในชุมชน

ตอบ ต้องมีเพราะ ถ้าอนาคตไม่มี ตอนนี้เขามีให้เราอยู่แล้ว ถ้ารุ่นต่อๆ ไปไม่มีก็จะดูอย่างไรอยู่ เหมือนไม่รักษาสิ่งที่ตัวเองมีไว้ ต้องสืบสานวัฒนธรรมของชุมชน สมุนไพร เป็นสิ่งสำคัญ


ถามถ้าเราไม่รู้ ไม่มีความรู้เหล่านี้เป็นอย่างไร?

ตอบ มันจะสูญหายเพราะไม่มีคนไปหาไปดู เห็ดถอบไม่ค่อยจะมีคนไปเก็บแล้วนำไปขาย

ตอบ บางอย่างใกล้สูญพันธุ์ ถ้าเรามีความรู้จะสามารถทำให้กลับมาได้ กลุ่มฉิโพเกวก็จะนำกลับมาเพาะใหม่ อนุรักษ์ไว้ สมุนไพรเราก็สามารถนำมาทำเป็นผลิตภัณฑ์ได้ เรายังไม่ค่อยมีองค์ความรู้ ในการทำดอกไม้กินได้ บางชนิดจะให้สี มีสรรพคุณ เราเอาสีจากดอกไม้มาทำมาใส่ในอาหารพื้นบ้าน สร้างความน่ากิน เราเอาสีไปทำกิจกรรมให้น้องๆ ได้ออกแบบกิจกรรม โดยใช้สีของดอกไม้ ทำขนม เพื่อที่ว่าจะขายที่สหกรณ์ของโรงเรียนได้ มีโลโก้ของเราด้วยถ้าเราทำได้จริงเราก็สามารถขายตามตลาดได้ เรามองถึงอนาคตไปถึงการขาย ต้องทำวิจัยเพื่อให้รู้ว่าดอกไม้นี้กินได้จริง บางคนเขาจะไปซื้อเขาไม่รู้ว่าดอกไม้ไหนกินได้เขาก็ไม่ซื้อของเรา เราต้องทำ Story ให้ดูว่าน่าสนใจแค่ไหน ต้องมีเรื่องให้มันน่าสนใจ ให้เป็นเศรษฐกิจฐานรากของชุมชนได้ด้วย เป็นรายได้ของชุมชน


­

ถามโลโก้ที่ใช้เป็นของชุมชน?

ตอบ โลโก้ของกลุ่ม ฉิโพเกว และมีโลโก้ บ้านพื้นที่ตรงนั้น เราเป็นหมู่บ้านพอเพียงและตั้งกลุ่มเยาวชนชื่อ “ฉิโพเกว” ทำเป็นโลโก้สินค้า ในสมัชชาเราก็จะเอากิจกรรมนี้เข้าไปด้วย เราตั้งชื่อให้โกอินเตอร์ จากเมื่อการการพัฒนาเอาแบบผสมผสาน ทันสมัยเอาความรู้เก่าเข้ามาใช้ร่วมกันได้ครับ


­

ถามที่ฟังดูเวลาที่ทำงานมีปัญหาเรื่องเวลาที่เราประสาน ใช่ไหม?

ตอบ ใช่ครับ


ถามเราแก้ปัญหาอย่างไร?

ตอบ ถ้าผู้ใหญ่ไม่ว่าง เราก็เอาผู้เฒ่าผู้แก่ในชุมชนที่สามารถให้ความรู้ได้มา แม่ผมบ้าง ลุงป้า น้า อา ในชุมชนบ้าง ที่เราสามารถเข้ากับเขาได้ ครูเอ็มก็จะสามารถประสานให้เพราะครูเอ็มก็รู้จัก ครูเป็นคนที่นี่เรียนจบแล้วกลับมาที่บ้าน ก็เป็นตัวอย่างให้กับพวกเราด้วย


ถามเราใช้วิธีการปรึกษาหารือผู้ใหญ่ที่ให้คำปรึกษาเราได้ ถ้าคนนี้ไม่ได้เราก็อาจจะต้องตามหาคนอื่น?

ตอบ ใช่ครับครูเอ็มก็จะบอกเราว่าถ้าคนนี้ไม่อยู่นะ ต้องไปหาคนนี้หรือบางทีไม่บอกก็จะปล่อยให้เราเรียนรู้สถานการณ์เอง

ตอบ เขาก็จะบอกเราว่าเป็นพี่แล้วนะต้องแก้ปัญหาเอง

ตอบ เขาก็จะสอนให้เราแก้ปัญหาเอง สอนให้เราคิด พอเราอยู่กับเขานาน ก็จะรู้ว่าจะทดสอบเรา

ตอบ เราบอกให้ช่วยเรื่องนี้ เขาก็จะบอกว่าไปคุยเอง

ตอบ ผมก็โดนครับ ครูไม่อยู่ ครูไม่ว่างนะ เราโตแล้วจัดการเองนะ จะสอนเราเรื่องนี้ด้วย หลังๆ ก็จะมาเฉลยให้เรา หลังจากได้คิดได้ทำ ดีกว่าครูทำให้ทุกอย่าง มีกับข้าวแล้วจะให้ครูป้อนอีกเหรอมันก็ไม่ใช่ เราก็ต้องศึกษาเอง


ถาม  ทักษะที่เราได้จากการทำโครงการนี้คืออะไร?

ตอบ การแก้ไขสถานการณ์เฉพาะหน้า บางทีเราวางแผนไว้แต่ไม่ได้ตามนั้น การแก้ไขปัญหานี่สำคัญ

ตอบ การสื่อสาร การฟัง การแก้ปัญหาเฉพาะหน้า การฟังเพื่อนในทีม คือถ้าน้องไม่ว่างเราจะพูดให้น้องมาอย่างเดียวไม่ได้ ต้องฟังว่าน้องมีเหตุผลอะไรที่มาไม่ได้


ถาม พี่สรุปว่าพวกเราใช้การแก้ปัญหาโดยคุยปรึกษา ถามความเห็นกันไม่ว่ารุ่นพี่รุ่นน้องก็ต้องฟังกัน สรุปร่วมกัน ลงมือทำร่วมกัน เกิดอะไรขึ้นก็มาสรุปร่วมกัน แล้วเราก็จะรู้ว่าเราทำอะไรเป็นมากขึ้น?

ตอบ เราก็เรียนรู้ร่วมกัน บางทีเราโตเราก็ไม่รู้ น้องอาจจะรู้ ความคิดเราก็เท่ากันหมด ไม่ใช่ว่าเราโตแล้วความคิดของเราจะดีกว่าน้อง บางทีความคิดของน้องก็ดีกว่ารุ่นพี่ เสริมเข้ามาให้เข้ากันได้


­

ถาม อะไรที่สอนให้เราเป็นอย่างนี้ได้?

ตอบ ผมอยู่กับครูเอ็มมานาน ติดตามครูเอ็ม ครูก็สอนเรามาตลอดว่าเราไม่จำเป็นต้องอยู่สูงกว่า เราต้องอยู่ต่ำกว่าเสมอเพื่อเรียนรู้เขา ครูสอนให้อยู่ต่ำเสมอครูสอนแบบนี้ อย่าอยู่เหนือคน ครูเอ็มอายุประมาณ สามสิบปี ครูเอ็มก็ทำเป็นศูนย์การเรียนรู้มาคนมาเรียนรู้ มาทัศนศึกษา เขาก็มองอนาคตให้พวกผมว่าถ้าเรียนจบให้นำความรู้ไปเสริมในจุดนั้น


­

ถาม ครูเอ็มเป็นพี่เลี้ยงของเรา หรือเป็นที่ปรึกษา?

ตอบ ที่ปรึกษาโครงการ


­

ถาม ครูเอ็มทำอะไรโดดเด่นในศูนย์?

ตอบ ออกแบบพื้นที่การเรียนรู้แต่ยังไม่ค่อยมีคนมาเท่าไร ก็ทำเท่าที่พอทำได้ เมื่อก่อนมีพายเรือ มีฐานการเรียนรู้ ทำเตน่า ทำการเรียรู้เกี่ยวกับกาแฟ เลยบอกผมว่าถ้าอยู่ปีสี่ กลับไปทำผลไม้ป่า กาแฟป่า ในชุมชนไหม ผมก็สนใจอยู่ อีกอย่างผลไม้ป่าของชุมชนเริ่มจะสูญพันธุ์ จากเมื่อก่อนไม่ต้องซื้อผลไม้กิน

ตอบ จากได้แบบนี้ เดี๋ยวนี้ไม่ค่อยมีแล้ว ไม่เห็นแล้ว


ถามการจัดการทีมที่ดีเป็นอย่างไรในความคิดเรา การบริหารทีมให้อยู่ตลอดทั้งโครงการ?

ตอบ อันดับแรกเรื่องการวางแผน แบ่งหน้าที่ มีการพูดคุยประชุมกัน

ตอบ ที่เราทำเราก็ต้องคิดว่าเราทำเพื่อตัวเองด้วย มากกว่าเพื่อชุมชน อยากให้น้องได้คิด บางคนคิดว่าทำไมต้องไป เราไม่ต้องไปก็ได้ เราคุยกับน้องเพื่อให้เกิดแรงบันดาลใจว่า หลายอย่างเปลี่ยนไป ถ้าเราไม่ยอมรับตัวเองใครจะมาทำให้เรา ใครจะช่วยเรา พยายามที่จะสอนน้อง จากที่ได้จากครูเอ็ม ปลูกฝังน้องๆ ด้วย โดยมาพูดคุยอะไรบ้าง ถ้าเราไม่พูดคุยกัน ไม่มีอะไรเกิดขึ้นการพูดคุยเป็นจุดเริ่มต้นให้เรา ไม่ใช่คุยแต่งาน อันไหนที่เล่นเราก็เล่น ไม่ใช่ทำแต่วิชาการดอกไม้กินได้ๆ ในส่วนที่ควรมีการพูดคุยกันเราก็มีพื้นที่ตรงนั้นด้วย


ถามการบริหารจัดการคน บริหารความสัมพันธ์ก็สำคัญ?

ตอบ ใช่ครับ ความสัมพันธ์ก็เหมือนกัน ทำอย่างไรให้น้องไม่เบื่อ เราไม่เบื่อ ถ้าเราไม่ทำแบบนั้น พี่คนนั้นเป็นแบบนี้นะ พูดไม่เพราะเลย เขาก็มีความคิดของเขา เราก็ไม่รู้เขาคิดอะไรเราก็ต้องเปิดใจซึ่งกันและกัน พูดคุยกัน

ตอบ บรรยากาศในทีมเป็นแบบนั้น

ตอบ บางทีน้องติดงานไม่มาก็มี เราก็ต้องใจเขา ไม่ได้บังคับกัน


­

ถามเห็นโพธิ แล้วอยากมาเรียนที่นี่ไหม?

ตอบ อยากเรียนที่นี่ค่ะ

ตอบ ถ้ามาก็ต้องเรียนให้จบนะ ครูเอ็มจะแนะนำผมว่าถ้าเรามา อย่างแรกต้องคิดว่าเรามาเพื่อชุมชน คิดแบบนี้และมาเพื่อตัวเอง ตั้งใจให้จบ เอาที่เราชอบจริงไม่ใช่ตามเขา ใจเราชอบจริง คนไปแล้วไม่ชอบก็เสียเวลาชีวิต เรามาในนามหมู่บ้าน เด็กคนนี้มาแล้วไม่จบ เรามาก็เป็นหน้าเป็นตาให้กับหมู่บ้านด้วย ผมไม่รู้ว่าอาจารย์ชิอยู่ ถ้าน้องมาผมก็ต้องให้คำปรึกษาน้องว่ามาแล้วต้องอยู่อย่างไร ปีแรกเราต้องอยู่ที่องครักษ์ แล้วถึงมาอยู่ที่สามปี ที่นั่นเป็นสังคมเมืองไม่เหมือนสังคมชนบท หลายๆ อย่างไม่เหมือนเราต้องไปปะทะต้องเจอ ต้องปรับตัว แค่คณะเราก็ไม่เหมือน ความคิดไม่เหมือนบ้านเรา ต้องบอกว่าอย่าไปอยู่เหนือเขาให้อ่อนน้อม


ถามใกล้เสร็จโครงการแล้ว พวกเรารู้สึกอย่างไรที่ได้ร่วมทีมกับพี่ๆ?

ตอบ พี่ก็ดีค่ะ ดูแลดี ได้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการได้ช่วยเหลือชุมชน ภูมิใจ

ตอบ สึกดีได้ร่วมทีมกับพี่ๆ และช่วยเหลือชุมชน