การเรียนรู้ผ่านโครงการเพื่อชุมชน (PBL) เพื่อการจัดการขยะในโรงเรียนทางธรรมวิทยามูลนิธิ จังหวัดสงขลา

ขยะสร้างพลเมือง

โครงการขยะมีชีวิต

ที่ขยะลดลงเรื่อย ๆ คิดว่า เป็นเพราะเราสร้างจิตสำนึกให้เพื่อน ถ้ายังทิ้งขยะกันทุกวัน มันก็ยิ่งเพิ่มขึ้น ๆ แต่ถ้าเราช่วยกันเก็บหรือทิ้งให้ถูกที่ มันก็จะลดลง เช่น มี 1 คนทิ้งแต่ 9 คนเก็บ ขยะก็จะหมดไป โรงเรียนก็จะสะอาด แต่ถ้ามีคนเก็บคนเดียว แล้วมีคนทิ้ง 9 คน ให้เก็บเท่าไรมันก็ไม่สะอาด ที่คิดแบบนั้นได้เพราะเราได้ลงมือทำมา เพราะเพื่อนยังไม่รู้ถึงคุณค่า เพื่อนจึงติดทิ้งไปวัน ๆ ทุกวันนี้ถ้าเดินไปเจอขยะเราก็ต้องเก็บ หลักการคือ เราทำไม่ให้เขาทิ้งมากกว่าเรามานั่งเก็บ  

ภาพขยะที่ถูกทิ้งเกลื่อนกลาดไปทั่วโรงเรียน เป็นภาพชินตาที่ชวนขัดใจยามพบเห็น ขยะสะท้อนความไร้วินัยของผู้คนที่ใช้ชีวิตในบริเวณนั้น ๆ เมื่อสงขลาฟอรั่มเปิดโอกาสให้เยาวชนได้มีโอกาสเรียนรู้ผ่านการลงมือปฏิบัติ ครูฮารัช สุหลง จึงชักชวนให้นักเรียนในโรงเรียนคว้าโอกาสดังกล่าวไว้เพื่อใช้เป็นลู่ทางในการพัฒนาศักยภาพตนเองและแก้ปัญหาของสังคม ชุมชนที่ตนอาศัย เยาวชนกลุ่ม Garbage Manager แห่งโรงเรียนทางธรรมวิทยามูลนิธิ ตำบลปากบาง อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา ซึ่งประกอบด้วยมาน-อุสมาน บายเอ๊ะ มิง-ซูไฮมิง สามะ นูซี-อับดุลเล๊าะ แซโซะ มะ-มะลาวี เจ๊ะสะมะ ยูโซ๊ะ-แวยูโซ๊ะ กามา ตระหนักถึงผลกระทบจากขยะที่ถูกทิ้งเกลื่อนกลาดในโรงเรียน จึงรวมตัวกันทำโครงการขยะมีชีวิต โดยมีเป้าหมายเพื่อจัดการขยะและสร้างความตระหนักเรื่องการรักษาความสะอาดให้แก่นักเรียนในโรงเรียน

­

ค้นให้เจอ “เหตุแห่งปัญหา”

“ด้วยเห็นว่าขยะในโรงเรียนมีมากเหลือเกิน ในขณะที่หลักศาสนาอิสลามสอนว่า ความสะอาดเป็นส่วนหนึ่งของการศรัทธา การช่วยกันทำโครงการนี้เพื่อให้โรงเรียนสะอาดขึ้น จึงอยู่ในวิถีปฏิบัติที่ควรกระทำ”

มานบอกว่า ทีมงานทั้งหมดเป็นรุ่นน้องที่เคยเห็นและร่วมกิจกรรมกับรุ่นพี่ที่คิดโครงการในตอนแรก แต่ต่อมารุ่นพี่ได้ย้ายไปเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายที่ต่างโรงเรียนยกชุด พวกเขาจึงอาสาเข้ามารับผิดชอบงานต่อโดยไม่คิดว่าเป็นภาระ ด้วยเห็นว่าขยะในโรงเรียนมีมากเหลือเกิน ในขณะที่หลักศาสนาอิสลามสอนว่า ความสะอาดเป็นส่วนหนึ่งของการศรัทธา การช่วยกันทำโครงการนี้เพื่อให้โรงเรียนสะอาดขึ้น จึงอยู่ในวิถีปฏิบัติที่ควรกระทำ

ด้วยเหตุนี้ทีมงานจึงร่วมกันค้นหาสาเหตุว่า “ขยะ” มากมายเหล่านี้มาจากไหน และพบว่า การกินแล้วทิ้งขว้างไม่เป็นที่ คือสาเหตุสำคัญที่ทำให้มีขยะเกลื่อนไปทั่ว ขยะที่พบเห็นได้ทั่วไปคือถุงขนม เมื่อสำรวจต่อไปก็พบว่า ขยะส่วนใหญ่ถูกทิ้งไว้นอกถังขยะ เมื่อเปิดถังขยะดูทีมงานก็เห็นว่า ภายในมีขยะหลายประเภทถูกทิ้งไว้รวมกัน ทำให้ยากต่อการจัดการ ซึ่งสภาพปัญหาและสาเหตุที่พบทำให้ทีมงานรู้ว่าคนที่กินแล้วทิ้งขว้างก็คือนักเรียนทั้งหลายในโรงเรียนนั่นเอง ดังนั้น จึงกำหนดกลุ่มเป้าหมายสำคัญที่ทีมงานตั้งใจว่าจะต้องสร้างความตระหนักเรื่องการทิ้งขยะให้เป็นที่เป็นทางให้จงได้

แม้ไม่คิดว่าเป็นภาระ แต่ทีมงานก็แอบกังวลใจลึก ๆ ว่าจะสามารถทำได้ไหม และจะทำได้ถูกต้องอย่างที่รุ่นพี่วางแผนไว้หรือไม่ เพราะไม่เคยเห็นแผนทั้งหมดที่รุ่นพี่ออกแบบไว้ ทีมงานจึงเลือกที่จะเริ่มใหม่ตั้งแต่ต้นด้วยการนำเสนอโครงการหน้าเสาธง เพื่อหาแนวร่วม มานเล่าต่อว่า กิจกรรมการประชาสัมพันธ์หน้าเสาธง เป็นกิจกรรมหลักในการให้ความรู้เรื่องการคัดแยกขยะ พร้อมทั้งรับสมัครอาสาสมัครเข้าร่วมโครงการ เพื่อช่วยกันเก็บขยะในโรงเรียน

“ทำกิจกรรมทุกวันจันทร์ ใช้เวลาประมาณ 20 นาทีหลังเข้าแถวและก่อนเข้าเรียน โดยทีมงานจะแบ่งกลุ่มเป็น 5 กลุ่ม มีน้อง ๆ เข้ามาเป็นอาสาสมัครในทีมประมาณกลุ่มละ 5 คน โรงเรียนนี้มีนักเรียนทั้งหมด 70 คน เข้ามาร่วมโครงการกับเราประมาณ 20 คน เราแบ่งแกนนำกับน้องไปช่วยกันเก็บขยะ แล้วนำมาแยก โดยแบ่งเขตกันเก็บ เช่น บริเวณอาคารเรียน มัสยิด โรงอาหาร” ยูโซ๊ะเล่า มานเสริมว่า จำนวนคนร่วมกิจกรรมในโครงการเพียง 20 คน แม้จะไม่มาก แต่ทีมงานก็ไม่เสียกำลังใจ เพราะคิดว่า การทำงานให้สำเร็จอยู่ที่การร่วมแรงร่วมใจกันมากกว่าจำนวนคน

“การเก็บขยะเป็นงานสกปรก แต่ทีมงานสร้างสรรค์ยุทธวิธีการทำงานให้เป็นเรื่องสนุก โดยทีมงานและอาสาสมัครทั้ง 20 คน จะตั้งแถวเรียงหน้ากระดาน แล้วเดินหน้าพร้อมกัน ใครเดินไปแล้วพบขยะตรงหน้าตนเองก็เก็บ ภาพการร่วมไม้ร่วมมือจึงเป็นภาพงามที่ทำให้สมาชิกคนอื่น ๆ ในโรงเรียนเห็นแล้วชื่นใจ และไม่กล้าทิ้งขยะเรี่ยราดอย่างเคย”


ยุทธวิธีที่สร้างสรรค์

การเก็บขยะดูเหมือนเป็นงานสกปรก ทีมงานจึงสร้างสรรค์ยุทธวิธีการทำงานให้เป็นเรื่องสนุก โดยทีมงานและอาสาสมัครทั้ง 20 คน จะตั้งแถวเรียงหน้ากระดาน แล้วเดินหน้าพร้อมกัน ใครเดินไปแล้วพบขยะตรงหน้าตนเองก็เก็บ ภาพการร่วมไม้ร่วมมือจึงเป็นภาพงามที่ทำให้สมาชิกคนอื่น ๆ ในโรงเรียนเห็นแล้วชื่นใจ และไม่กล้าทิ้งขยะเรี่ยราดอย่างเคย 

“ครูแนะนำว่า เพราะเราเป็นแกนนำเราก็ต้องทำตัวเป็นตัวอย่างแก่คนอื่น เราก็เลยเก็บขยะเป็นตัวอย่าง” มะเล่า ขยะที่เก็บมาได้จะถูกรวบรวม คัดแยก เก็บไว้เป็นสัดส่วน ขยะเปียก ขยะแห้ง เศษอาหาร ขวดน้ำพลาสติก มะเล่าว่าความรู้เรื่องการคัดแยกขยะนั้น ได้มาจากการไปศึกษาดูงานที่โรงเรียนอุดมศาสตร์วิทยา เมื่อกลับมาถึงโรงเรียนคุณครูและรุ่นพี่สอนเพิ่มและพาทำ เมื่อไม่มีรุ่นพี่อยู่แล้ว จึงสามารถทำต่อเองได้ ขยะพลาสติกที่รวบรวมไว้เมื่อมากพอคุณครูจะช่วยนำไปขาย แล้วนำเงินที่ได้ไปซื้อถุงขยะ เพื่อหมุนเวียนใช้ในโครงการต่อไป

“ไปดูโรงคัดแยกขยะ ในโรงเรียนอุดมศาสตร์วิทยา เขามีถังขยะที่แบ่งเป็นขยะเปียก ขยะแห้ง เศษอาหาร เขาก็จะอธิบายให้ฟัง เอาใบไม้มาทำเป็นปุ๋ยหมัก ข้าว อาหารที่เหลือเอาไปเลี้ยงไก่” ยูโซ๊ะหนึ่งในทีมงานที่ได้ไปดูงานต่างถิ่นเล่าถึงตัวอย่างการจัดการขยะ


สร้างระบบ ทิ้งสะดวก

เมื่อมีความรู้มากพอ ทีมงานจึงกลับมาจัดระบบการทิ้งขยะภายในโรงเรียนใหม่ โดยทำถังขยะสำหรับทิ้งขยะแต่ละประเภท แล้วนำไปวางไปตามจุดต่าง ๆ ที่เหมาะสม เช่น ถังขยะเปียกใส่เศษอาหารวางไว้ที่โรงอาหาร ถังขยะแห้งสำหรับเศษกระดาษวางไว้ที่บริเวณอาคารเรียน ถังขยะสำหรับเศษใบไม้วางไว้ในสนาม รวมทั้งจัดทำที่ทิ้งขวดพลาสติก ฯลฯ โดยหวังว่า การมีถังขยะที่สะดวกต่อการทิ้งขยะ น่าจะทำให้เพื่อนๆ นักเรียนทิ้งขยะถูกที่ถูกทางมากขึ้น

“เพราะเรียนรู้และทำความเข้าใจเรื่องขยะจนแตกฉาน ทีมงานมองเห็นว่า ขยะสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้หลากหลายช่องทาง จึงใช้ทุกวิถีทางในการแปรรูปขยะให้เกิดประโยชน์ เช่น ขยะที่เป็นใบไม้ ทีมงานจะนำไปทำเป็นปุ๋ยหมักเพื่อใช้บำรุงต้นไม้ภายในโรงเรียน เศษกระดาษที่เขียนแล้วด้านเดียว ทีมงานรวบรวมเอามาทำเป็นสมุดทำมือแจกให้น้อง ๆ อาสาสมัครในโครงการนำไปใช้บันทึกการสำรวจขยะ ส่วนเศษอาหารต่างๆ นำไปเลี้ยงไก่ เลี้ยงปลา”

นอกจากจัดระบบการทิ้งขยะให้สะดวกต่อคนทิ้งแล้ว ทีมงานยังเสริมความรู้ให้แก่กลุ่มเป้าหมาย ด้วยการจัดนิทรรศการ ความรู้เรื่องวิธีแยกขยะ การทิ้งขยะให้ถูกวิธี พร้อมทั้งจัดทำป้ายรณรงค์การทิ้งขยะ คัดแยกขยะ ติดไว้ตามสถานที่ต่างๆ ในโรงเรียนเป็นเครื่องเตือนใจให้คนทิ้งขยะเป็นที่เป็นทาง รวมทั้งยังทำตัวเป็นผู้ตรวจสอบเมื่อพบเพื่อนนักเรียนทิ้งขยะไม่ถูกที่ก็จะแนะนำเพื่อนๆ อย่างสม่ำเสมอ เพราะเรียนรู้และทำความเข้าใจเรื่องขยะจนแตกฉาน ทีมงานมองเห็นว่า ขยะสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้หลากหลายช่องทาง จึงใช้ทุกวิถีทางในการแปรรูปขยะให้เกิดประโยชน์ เช่น ขยะที่เป็นใบไม้ ทีมงานจะนำไปทำเป็นปุ๋ยหมักเพื่อใช้บำรุงต้นไม้ภายในโรงเรียน เศษกระดาษที่เขียนแล้วด้านเดียว ทีมงานรวบรวมเอามาทำเป็นสมุดทำมือแจกให้น้อง ๆ อาสาสมัครในโครงการนำไปใช้บันทึกการสำรวจขยะ ส่วนเศษอาหารต่างๆ นำไปเลี้ยงไก่ เลี้ยงปลา

“บางคนมองขยะเหมือนของไร้ค่า เป็นของที่คนทิ้งไปแล้ว แต่เรามองว่ามีค่า เพราะขยะบางส่วนนำไปรีไซเคิลได้ มันมีค่าหลายอย่าง เช่น เศษอาหาร บางคนกินข้าวเหลือในจาน เททิ้ง แต่ผมไม่ ผมเอามาให้เป็นอาหารสัตว์ เพราะผมคิดว่า ข้าวกว่าจะได้มาแต่ละเม็ดลำบาก เราจะมากินทิ้งกินขว้างง่าย ๆ มันไม่ได้” มานอธิบายวิธีคิด สมาชิกที่ร่วมโครงการ 20 คน จะได้รับสมุดทำมือคนละ 1 เล่ม เพื่อใช้จดบันทึกว่า พบขยะประเภทใด จำนวนเท่าไร และพบที่จุดใดบ้าง ทุกสัปดาห์ทีมงานจะรวบรวมสมุดจากสมาชิกเพื่อเก็บข้อมูลว่า มีขยะรวมกันเท่าไร ขยะมีปริมาณลดลงหรือไม่ และจุดใดที่ยังคงมีปัญหาการทิ้งขยะเพื่อที่จะได้หาวิธีแก้ไขต่อไป

“หากทำงานคนเดียวเราจะทำไม่ได้ เราจะเหนื่อย แต่ถ้าอยู่ด้วยกัน ช่วยกันทำมันก็จะสำเร็จ พอทำแล้วขยะก็ลดลงกว่าเดิม ทำแบบนี้ทุกสัปดาห์ ตลอดโครงการ จนตอนนี้ก็ยังคงมีการเก็บขยะทุกวันจันทร์ ขยะลดลง เราก็ดีใจ ภูมิใจ” มานเล่าด้วยสีหน้าภูมิใจ

อย่างไรก็ตาม ทีมงานสารภาพว่า การทำงานโครงการไม่ง่ายอย่างที่คิด เพราะมีระยะเวลายาวนานมากกว่าที่คิดไว้ แต่เมื่อทำไปแล้วก็เห็นประโยชน์ที่เกิดขึ้น ความสะอาดของโรงเรียนเป็นรางวัลอันชื่นใจที่ทำให้ทีมงานยังคงกิจกรรม เก็บ คัด แยก ขายขยะอย่างต่อเนื่อง

“ที่ขยะลดลงเรื่อย ๆ คิดว่า เป็นเพราะเราสร้างจิตสำนึกให้เพื่อน ถ้ายังทิ้งขยะกันทุกวัน มันก็ยิ่งเพิ่มขึ้น ๆ แต่ถ้าเราช่วยกันเก็บหรือทิ้งให้ถูกที่ มันก็จะลดลง เช่น มี 1 คนทิ้งแต่ 9 คนเก็บ ขยะก็จะหมดไป โรงเรียนก็จะสะอาด แต่ถ้ามีคนเก็บคนเดียว แล้วมีคนทิ้ง 9 คน ให้เก็บเท่าไรมันก็ไม่สะอาด ที่คิดแบบนั้นได้เพราะเราได้ลงมือทำมา เพราะเพื่อนยังไม่รู้ถึงคุณค่า เพื่อนจึงยังทิ้งเรี่ยราด ทุกวันนี้ถ้าเดินไปเจอขยะเราก็ต้องเก็บ หลักการคือ เราทำไม่ให้เขาทิ้งมากกว่าเรามานั่งเก็บ”  มานบอกพร้อมอธิบายต่อว่า ปริมาณขยะที่ลดน้อยลง สังเกตได้จากข้อมูลที่รวบรวมจากบันทึกของสมาชิก เป็นตัวสะท้อนผลของงานที่เพื่อนๆ นักเรียนเริ่มมีจิตสำนึก


“ตื่นรู้” เพราะลงมือทำ

“การทำงานในโครงการทำให้เขารู้ถึงคุณค่าของขยะ แต่การรู้ของตนเองไม่เพียงพอ เขาเริ่มคิดถึงคนอื่น ๆ ด้วย อยากให้เพื่อนที่ยังไม่รู้เรื่องขยะ ได้เรียนรู้ด้วยว่าขยะมีค่า เพราะถ้าเพื่อนยังมีทัศนคติว่าขยะไม่มีค่า ก็จะยังทิ้งขยะต่อไป” เมื่อทำโครงการมาถึงช่วงท้าย ๆ ทีมงานเริ่มสอดส่องสายตาหาผู้สืบทอด เพราะคิดว่ากิจกรรมเช่นนี้ควรมีการสานต่อ รุ่นน้องในโรงเรียนที่มีแววถูกทาบทามให้รับช่วงต่อบนพื้นฐานความสมัครใจ โดยทีมหวังว่าจะใช้เวลาช่วงที่เหลืออยู่ฝึกฝนการทำงานของน้องรุ่นใหม่ให้สามารถสานงานต่อไปได้ มิงกล่าวเพิ่มเติมว่า 

การทำงานในโครงการทำให้เขารู้ถึงคุณค่าของขยะ แต่การรู้ของตนเองไม่เพียงพอ เขาเริ่มคิดถึงคนอื่น ๆ ด้วย อยากให้เพื่อนที่ยังไม่รู้เรื่องขยะ ได้เรียนรู้ด้วยว่าขยะมีค่า เพราะถ้าเพื่อนยังมีทัศนคติว่าขยะไม่มีค่า ก็จะยังทิ้งขยะต่อไป  “เรารู้แล้วคนอื่นน่าจะรู้อย่างที่เรารู้ด้วย” มิงบอกสั้น ๆ แบบนี้ นอกจากรูปธรรมความสำเร็จคือความสะอาดภายในโรงเรียนที่ไม่มีขยะเกลื่อนกลาดแล้ว ทีมงานยังสะท้อนผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นกับตนเองว่า การทำงานโครงการนี้ทำให้รู้คุณค่าของขยะ จนกลายเป็นนิสัยติดตัวที่ไม่ว่าพบเห็นขยะที่ไหนก็จะเก็บ คัด แยก อยู่ตลอดเวลา การทำงานยังสร้างความรู้สึกสนุกสนาน ความรับผิดชอบ และสร้างภาวะผู้นำ ที่มานบอกว่า ช่วงแรก ๆ ที่ต้องพูดหน้าแถว รู้สึกขัดเขิน แต่เมื่อทำบ่อย ๆ ทำเป็นประจำก็เพิ่มพูนความมั่นใจขึ้นเรื่อยๆ จนพัฒนาเป็นความกล้าแสดงออก

นอกจากรูปธรรมความสำเร็จคือความสะอาดภายในโรงเรียนที่ไม่มีขยะเกลื่อนกลาดแล้ว ทีมงานยังสะท้อนผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นกับตนเองว่า การทำงานโครงการนี้ทำให้รู้คุณค่าของขยะ จนกลายเป็นนิสัยติดตัวที่ไม่ว่าพบเห็นขยะที่ไหนก็จะเก็บ คัด แยก อยู่ตลอดเวลา การทำงานยังสร้างความรู้สึกสนุกสนาน ความรับผิดชอบ และสร้างภาวะผู้นำ ที่มานบอกว่า ช่วงแรก ๆ ที่ต้องพูดหน้าแถว รู้สึกขัดเขิน แต่เมื่อทำบ่อย ๆ ทำเป็นประจำก็เพิ่มพูนความมั่นใจขึ้นเรื่อยๆ จนพัฒนาเป็นความกล้าแสดงออก “เราเป็นผู้นำ เราให้น้อง ๆ รับผิดชอบแต่ละหน้าที่ น้องๆ ทำตามเราก็ภูมิใจด้วย เช่น ให้ทิ้งขยะในถังนะ เขาทำตามเรา”

สำหรับความเป็นผู้นำที่ฉายแววขึ้นนั้น มานบอกว่า พัฒนาเพิ่มระหว่างการทำงาน ที่ต้องมีการวางแผน ภายใต้หลักการคุยกันก่อน ทำความเข้าใจกันก่อน เพื่อสร้างความร่วมมือภายในทีม ทำให้การทำงานของกลุ่มเป็นไปอย่างราบรื่น แม้จะมีปัญหาบ้างที่เพื่อนนักเรียนบางคนยังทิ้งขยะไม่เป็นที่ ก็ต้องใจเย็นที่จะบอกเพื่อนด้วยความสุภาพ 

“ปัญหาภายในกลุ่มไม่ค่อยมี มีปัญหาเพียงเรื่องคนที่ไม่ได้อยู่ในโครงการยังทิ้งขยะ แต่เราก็แก้ไขด้วยการบอกเขา ให้ความรู้เขาได้ เราจะไปโกรธเขาได้อย่างไร เขายังไม่รู้เรื่องอะไรเลย” มานเล่า ไม่ใช่แค่ความรู้เรื่องขยะ หรือความเป็นผู้นำเท่านั้นที่เปลี่ยนไป ภาวะภายในที่เกิดอาการยั้งคิดได้เวลาโมโหเมื่อเห็นเพื่อนทิ้งขยะไม่เป็นที่ เพราะเข้าใจว่าสาเหตุมาจากความไม่เข้าใจของเพื่อน เป็นคุณลักษณะที่เกิดขึ้นโดยไม่รู้ตัว นั่นเป็นเพราะระหว่างทางของการเรียนรู้ และการเติมเต็มทั้งจากคุณครู และโคชจากสงขลาฟอรั่มที่ช่วยสร้างระบบคิดที่เป็นเหตุเป็นผล จนกลายเป็นลักษณะนิสัยที่ทีมบอกว่า

“จะทำอะไรก็ต้องคิดก่อน ถ้าหากเราทำไปบางทีอาจจะผิด เราต้องใจเย็น คิดก่อน เวลาเราจะลงมือทำอะไรสักอย่างเราต้องคิด เช่น เราจะต่อยเพื่อน มันผิด เราก็ต้องคิดก่อนว่าผลเสียจะเป็นอย่างไร” สมทบความเห็นทิ้งท้ายโดยมาน ที่บอกว่า การสอนน้องจะย้ำเสมอว่า “เราเรียนมาแล้ว เราต้องปฏิบัติ ถ้าเราเรียนมาแล้วเราไม่ปฏิบัติไม่รู้จะเรียนมาทำไม ก็จะบอกน้องเขา ไม่ว่าทำอะไร ถ้าเรียนแล้ว ถ้าพูดแล้ว ต้องปฏิบัติด้วย”

การเห็นสถานการณ์ปัญหาแล้วลงมือปฏิบัติเพื่อแก้ปัญหาอย่างจริงจัง ความรู้สึกที่ไม่อาจเพิกเฉยต่อขยะที่พบเห็นตรงหน้า การสร้างการเรียนรู้กับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับปัญหา การลงมือทำครั้งนี้ทำให้ลักษณะนิสัยความรับผิดชอบ การรักษาความสะอาดจนเป็นนิสัย การใส่ใจต่อสถานการณ์ปัญหาใกล้ตัว สำนึกรับผิดชอบ และความไม่นิ่งดูดาย ได้ถูกติดตั้งอยู่ในเยาวชนทุกคนที่ได้ลงมือทำงานในครั้งนี้ และอาจเป็นไปได้ว่าเขาจะนำสิ่งที่ติดตัวไปเหล่านี้ออกมาใช้เพื่อดูแลชุมชน สังคมต่อไป


โครงการขยะมีชีวิต

ที่ปรึกษาโครงการ : ครูฮารัช สุหลง

ทีมทำงาน : ( อุสมาน บายเอ๊ะ )  ( อับดุลเล๊าะ แซโซะ )  ( แวยูโซ๊ะ กามา )  ( ซูไฮมิง สามะ )  ( มะลาวี เจ๊ะสะมะ )