สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการเข้าร่วมโครงการ UNC#5


ประเด็น :ปัญหาการใช้สื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์

ชื่อผลงาน :BEHIND THE SCREEN

หัวข้อ : ออกแบบรณรงค์สื่อปฏิสัมพันธ์เพื่อตระหนักถึงการใช้สื่อออนไลน์ให้ปลอดภัย

แนวคิดการสื่อสาร : ออกแบบรณรงค์สื่อปฏิสัมพันธ์เพื่อตระหนักถึงการใช้สื่อออนไลน์ให้ปลอดภัย

รูปแบบการผลิตสื่อ :Clip VDO / Website


(บทสัมภาษณ์)

นายรชานนท์ สาริโกเศษ

สาขาการออกแบบนิเทศศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ


แนวคิดการสร้างสรรค์ผลงาน

ผลงานที่พวกเราทำชื่อBEHIND THE SCREEN มาจากเบื้องหลังของสิ่งที่อยู่ด้านหลังของหน้าจอ จะออกแบบสื่อปฏิสัมพันธ์เป็นเว็บไซต์ ที่เลือกหัวข้อสื่อปลอดภัย เราเลือกเพราะเราเรียนนิเทศศิลป์และทำเกี่ยวกับสื่อ เลยเลือกสิ่งนี้มาและหาปัญหามาได้ว่าปัญหาของสื่อปลอดภัยมันมีหลายอย่าง แต่ที่โดดเด่นเลยก็คือคนที่มักจะโพสต์หรือคอมเม้นท์ว่าคนอื่นๆ โดยไม่ไตร่ตรองว่าที่เขาทำนั้นจริงหรือเปล่า เป็นข้อมูลจริงหรือเท็จ เราก็เลยทำสิ่งนี้มาเพื่อจะให้อะไรกับคนที่ได้รับผลกระทบเหล่านั้น ได้มาเปิดเผยตัวเองว่าจริงๆแล้วที่คนอื่นมองกันนั้นมันไม่ใช่สิ่งที่เขาเป็นจริงๆ

ตัวอย่างข่าวของช่างแอร์ ที่ขึ้นรถไฟฟ้าบีทีเอส แต่รองเท้าของเขามีรู คนอื่นก็ถ่ายรูปเขาแล้วคิดว่าเขาติดกล้องไว้ใต้รองเท้า เพื่อที่จะดูกระโปรงผู้หญิง จนชีวิตเขาถูกสังคมประณาม ทั้งๆที่เขาไม่ได้เป็นแบบนั้น เพราะรองเท้าเป็นรูจากการโดนไฟจากการเจียรในการทำงาน ก็เลยทำให้คนอื่นเข้าใจผิด แล้วทำให้ตัวเขาอยู่ในสังคมไม่ได้ จากการให้สัมภาษณ์ของเขาคือเขาออกไปไหนไม่ได้ ต้องอยู่กับที่บ้าน เราเลยจึงทำสื่อสิ่งนี้มาเพื่อให้เขาได้เปิดเผยเรื่องราวของเขา จริงๆคนอื่นจะได้เข้าใจเขาถูก แล้วเขาจะได้สบายใจขึ้น เพราะเขาอาจจะเป็นโรคซึมเศร้าได้หรือเกิดการฆ่าตัวตายได้ เราก็เลยอยากจะช่วยตรงนี้ และต้องการให้คนที่ไม่ได้ตระหนักถึงเรื่องนี้ได้ตระหนักมากขึ้นว่าสิ่งที่เราทำมันไม่ใช่สิ่งสนุก และยังมีเรื่องของ พรบ.กฎหมายคอมพิวเตอร์เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย ก็เลยสร้างเป็นเว็บไซต์ที่บอกเรื่องราวของเขา เป็นวิดีโอบอกเรื่องราวของเขาและมีตัวเลือกให้เขาเลือก จะให้ตัวละครทำพฤติกรรม เพื่อไปสู่เหตุและผลของจุดจบที่เขาเคยพบเจอมาในชีวิตเขา แล้วตอนจบก็จะมีให้คนดู มีให้เขาเขียนแชร์ เพื่อให้เราได้ทำต่อ ให้เขาได้มาเปิดเผยความจริง โดยมีนักกฎหมายหรือนักจิตแพทย์ของทางมหาวิทยาลัยมาช่วยด้วย ในงานตอนนี้อยู่ในขั้นตอน Offline แต่ทุกอย่างเสร็จหมดแล้ว ตอนนี้เป็นการทดลองใช้ ผลก็คือว่ามันสามารถใช้ได้จริง เพราะมีเรื่องของกฎหมายเข้ามาด้วย มี CaseStudy มาปรึกษาเราว่าถูกละเมิดลิขสิทธิ์หรือไม่ เป็นเรื่องของ พรบ.คอมพิวเตอร์ ถ้าในเรื่องของสภาพจิตใจก็จะมีจิตแพทย์คอยให้คำปรึกษา

และมี Project ต่อว่าจะทำได้จริงจาก Case Study ที่เอามา ก็เห็นว่าควรที่จะให้เขาได้เผยแพร่ความเป็นจริงในตัวตนของเขาว่าเขาไม่ควรที่จะโดนสังคมว่า ขณะนี้เสียงสะท้อนของคนภายนอกบอกว่าอยากให้ออนไลน์ไปได้จริง แล้วอยากให้เพิ่มสื่ออื่นไปได้ด้วย พอได้ข้อเสนอแนะแบบนั้นมา รู้สึกว่าแอบคิดว่าทำไมเรามองไม่กว้างเท่าคนอื่น ก็เลยถอยออกมากับตัวเองและยอมรับ และว่าจะทำหลายๆ สื่อ เพื่อตอบรับหลายๆ กลุ่มเป้าหมาย ให้เข้ามาบริโภคสื่อของเรา จากผลตอบรับ

มีคนหนึ่งที่เขาเล่าให้ฟังว่าเขาก็โดนสังคมว่า เขาไปเที่ยวเยอะ แต่ว่าจริงๆแล้วตัวเขาเป็นมะเร็งระยะสุดท้าย แล้วเขาก็เลยอยากใช้ชีวิตให้คุ้ม แต่เขาก็โดนสังคมว่าเขาไม่ทำงาน ไม่ห่วงตัวเอง เขาก็เลยตอบกลับมาว่าอยากเอาเรื่องของเขาลงให้ด้วย เราก็รู้สึกดีใจที่พื้นที่ของเรามีประโยชน์ต่อผู้อื่น ได้เปิดช่องทางให้กับคนได้ออกมาเปิดเผยตัวเองความรู้สึก

สิ่งที่ได้เรียนรู้จากโครงการ

ที่ได้เข้าโครงการนี้มันมีอะไรหลายอย่าง ได้เจอหลายคน ได้เห็นหลายมุมมองที่เราไม่เคยคิดว่าเราจะได้มองในมุมของเขา เราได้เห็นศักยภาพของตัวเองว่าเราสามารถปรับตัวได้มากน้อยแค่ไหน และทำให้เราโตขึ้น ว่าเราสามารถทำงานร่วมกับคนอื่นได้แค่ไหน


ประโยชน์ที่ได้รับจากโครงการ

ประโยชน์จากโครงการนี้ในด้านการเรียนจากแต่ก่อนที่ผมไม่เคยเรียนเว็บไซต์เลย ก็เลยศึกษาจากการดู YouTube ว่าทำเว็บไซต์อย่างไรและปรึกษาจากอาจารย์ที่ปรึกษาและได้ความรู้เพิ่มจากการออกแบบเว็บไซต์และเพื่อนก็จะได้ความรู้เกี่ยวกับมุมมองของคนอื่นๆ ที่เราไปเชิญนักกฎหมายและนักจิตวิทยามาของมหาวิทยาลัยมา เราคิดว่าคนที่เขาถูกกระทำทารุณมาทางโลกออนไลน์ เขาจะเป็นโรคซึมเศร้า เราก็เลยอยากให้นักจิตแพทย์ช่วยในจุดนี้ด้วย มาให้คำปรึกษาในเรื่องของกฎหมายก็คือเราไม่อยากให้คนที่โดนผลกระทบจากตรงนี้แค่ได้สภาพจิตใจเฉยๆ แต่อยากให้เขาได้เป็นอิสระจากการที่เขาโดนว่าด้วยเรื่องกฎหมายด้วย

สุดท้ายอยากให้ผลงานของเราทำให้คนคิดได้ว่าคำพูดต่างๆ นั้นควรคิดก่อนพูด คิดก่อนทำ ตระหนักมากขึ้นว่าจะทำอะไรควรระมัดระวังให้มากขึ้น อยากให้สังคมระมัดระวังในเรื่องของการแสดงความคิดเห็น

ผลงานสร้างสรรค์สื่อสะท้อนปัญหาสังคม ภายใต้โครงการเสริมสร้างพลังเยาวชนสร้างสรรค์สื่อเพื่อสังคมไทยที่น่าอยู่ ปี 5 ดำเนินงานโดยเครือข่ายมหาวิทยาลัยสร้างสรรค์สังคม (University Network For Change : UNC) ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สำนักงานกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ สภาคณบดีทางศิลปะแห่งประเทศไทย องค์กรภาคีภาคประชาสังคม มูลนิธิสยามกัมมาจล ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)

ดาวน์โหลดเอกสารได้ที่นี่.pdf

ชมบรรยากาศงานมหกรรมได้ที่นี่