ถอดบทเรียนจากการเข้าร่วมโครงการ UNC ปี 5


ประเด็น : ปัญหาเรื่องสิ่งแวดล้อม/การกำจัดขยะ

ชื่อผลงาน : Break the Box

หัวข้อ : ผลิตภัณฑ์บรรจุภัณฑ์

แนวคิดการสื่อสาร : ผลิตภัณฑ์บรรจุภัณท์ เพื่อลดการสร้างขยะประเภทกระดาษที่เกิดจากกล่องและกระดาษของขวัญ ในช่วงเทศกาล

รูปแบบการผลิตสื่อ : บรรจุภัณฑ์กล่องของขวัญ


นายไตรภพ จิระวุฒิกุล (กอล์ฟ)

ปี 2 สาขานฤมิตศิลป์ – เรขศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

(บทสัมภาษณ์)

แนวคิดการผลิตสื่อ

กลุ่มของผมทำในหัวข้อสิ่งแวดล้อม โดยที่เราได้มุ่งเน้นไปที่ปัญหาของขยะ ซึ่งจากผลสำรวจสถานการณ์ขยะที่เกิดขึ้นในทุกๆวัน จากการที่คนเราผลิตขยะในทุกๆ วันอยู่แล้ว และเมื่อมีเทศกาลหรือ วันสำคัญต่างๆ มันจะทำให้ขยะเพิ่มมากขึ้น อย่างเช่น การให้ของขวัญ กล่องของขวัญ หรือกระดาษห่อของขวัญ เมื่อเราให้กับผู้รับไปแล้ว ทางผู้รับไม่ได้เอาไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อ ทางกลุ่มของเราเลยคิดว่าจะทำอย่างไรให้กล่องของขวัญชิ้นนี้นำไปใช้ประโยชน์ได้ต่อ จึงทำผลิตภัณฑ์ที่เป็นบรรจุภัณฑ์กล่องของขวัญสามารถนำไปเป็นผลิตภัณฑ์ต่อไปได้อีก ภายใต้ชื่อ bake a box โดยที่เราจะมี 3 ขนาด คือ S M L ซึ่งจะเป็นกล่องที่นำไปทำ Product ได้แตกต่างชนิดมากขึ้นไป สุดท้ายนี้หวังว่าผลิตภัณฑ์ของกลุ่มเราจะสามารถแก้ปัญหาเรื่องของขยะได้อย่างมาก ในตอนนี้ผลิตภัณฑ์ของเราได้เอาไปใช้ในเฉพาะของกลุ่มพวกเราเอง ลองเอาไปใส่ของเฉยๆ แต่ยังไม่ได้เปิดเผยสู่สาธารณะ

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายของเราหลักๆ เป็นคนทุกเพศ ทุกวัย เพราะการให้ของขวัญสามารถให้ได้กับทุกคน ตอนนี้ผลงานอยู่ในขั้นตอนที่เรียกได้ว่าเสร็จสมบูรณ์แล้ว หลังจากได้ฟังข้อเสนอแนะจากทางคณะกรรมการแล้ว และต้องเอาไปปรับปรุงกันต่อ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพที่แท้จริง อย่างเช่น ทางเราจะมีความคิดที่เป็น branding สูง ทางคณะกรรมการก็เห็นว่าเป็น branding สูง แล้วเกิดความคำถามว่าจะสามารถรักษาสิ่งแวดล้อมได้ไหม ในเมื่อทรัพยากรที่เราใช้มันมากกว่าการที่เราใช้แบบเดิม ถ้าเราเปลี่ยนเป็นแบบตัว product อย่างเดียว ไม่มี branding เข้ามาเพิ่มเติม จะสามารถรักษ์โลกได้มากกว่าไหม ก็จะนำข้อเสนอแนะจากคณะกรรมการไปปรับเปลี่ยน

บทบาทหน้าที่การทำงานในกลุ่ม

ซึ่งบทบาทหน้าที่ของกลุ่มเราในตอนนี้ก็เป็นคนทำแบรนด์ ส่วนบทบาทในกลุ่มก็จะจัดแบ่งงานกันเป็น แบรนด์ มีคนคิด concept มีคนทำผลิตภัณฑ์ จะแบ่งกันไปว่าแต่ละคนทำผลิตภัณฑ์อันไหนบ้าง แล้วนำมานำเสนอกันว่าจะซื้ออันไหน แล้วจะเอาไปปรับปรุงอย่างไรต่อ

สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการเข้าร่วมโครงการ

สิ่งที่เราทำคิดว่าไม่ได้สอดคล้องร้อยเปอร์เซ็นต์กับการที่เราเรียนมา มีอะไรหลายๆอย่างที่เป็นความรู้ใหม่และนำไปต่อยอดความรู้เดิมได้ ความรู้ใหม่ก็คือเดิมผมไม่ได้เริ่มสนใจสิ่งแวดล้อมมาก แต่พอได้เริ่มมาทำโครงการก็เริ่มเรียนรู้ว่าที่เราทำกันมาเป็นประจำ เราสร้างขยะ เราทำให้สิ่งแวดล้อมไม่ดี สิ่งที่ได้จากการเข้าโครงการคือเราคิดว่าเรารักโลกอย่างเดียวไม่ได้ มันมีอะไรหลายๆอย่างที่ต้องคิดต่อว่าถ้าเราลดทรัพยากรอย่างหนึ่งแล้วเราไปเพิ่มทรัพยากรอีกตรงหนึ่งให้เพิ่มมากขึ้น มันจะเป็นการรักโลกจริงๆหรือเปล่า ซึ่งเป็นการได้ข้อคิดจากตัวเอง

ประโยชน์ที่ตนเองได้รับจากการเข้าร่วมโครงการ

ส่วนประโยชน์ของตัวเองก็คือได้ฝึกการทำ branding และได้มองโลกกว้างขึ้นว่าไม่ได้มีเพียงการออกแบบในโลกนี้ ยังต้องคิดถึงสิ่งอื่นๆที่ต้องตามมาด้วย อย่างการขนส่ง การรักษาสิ่งแวดล้อม ในโครงการนี้ผมได้เรียนรู้การมองโลกให้กว้างขึ้น ซึ่งก่อนหน้านี้ผมมองแค่ว่ามันสวยงามก็พอแล้ว ไม่จำเป็นต้องมีฟังก์ชั่นอะไรมากมาย แต่ตอนนี้ต้องมีฟังก์ชั่นและทำอะไรที่มันเกิดประโยชน์มากที่สุด การที่ผมเรียนด้านการออกแบบมา เรียนกราฟฟิกมา ในทางสังคมที่มีปัญหามากมายเรื่องการขนส่ง เรื่องรถเมล์ ป้ายรถเมล์ ที่ไม่เป็นประโยชน์ เราก็สามารถทำ information ตรงนั้นให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมได้ สามารถช่วยเหลือสังคมได้จากงานนี้ ความรู้สึกต่องานชิ้นนี้คิดว่าเป็นอีกอย่างหนึ่งที่มีประโยชน์ต่อตัวเรา ที่ได้ทำอะไรหลายๆอย่างมากขึ้น จากการออกแบบ ได้ลองไปค้นหาข้อมูลในสิ่งที่เราไม่รู้ ได้ทำสิ่งใหม่ๆ รู้สึกภูมิใจกับงานนี้

การสร้างสรรค์ผลงานสื่อสะท้อนปัญหาสังคมภายใต้ โครงการเครือข่ายมหาวิทยาลัยสร้างสรรค์สังคมเพื่อประเทศไทยที่น่าอยู่ ปี 2561 (ปี 5) ดำเนินงานโดยเครือข่ายมหาวิทยาลัยสร้างสรรค์สังคม (University Network for Change : UNC)สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สำนักงานกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์สภาคณบดีศิลปศาสตร์แห่ง ประเทศไทย องค์กรภาคีภาคประชาสังคม มูลนิธิสยามกัมมาจล ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)

ดาวน์โหลดได้ที่นี่.pdf

ติดตามชมกิจกรรมในเวทีได้ที่นี่