ถอดบทเรียนจากการเข้าร่วมโครงการ UNC ปี 5


ประเด็น : ปัญหาเรื่องส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม / ศิลปะรับใช้ชุมชน / การท่องเที่ยว

ชื่อผลงาน : Trip & Treat

หัวข้อ : clip and keep เที่ยวบ้านเขาเราใส่ใจ

แนวคิดการสื่อสาร : การร่วมมือของนักท่องเที่ยวและคนในชุมชนที่ร่วมแก้ไขปัญหาชุมชน

รูปแบบการผลิตสื่อ : VDO / แอนิเมชั่น/ อินโฟกราฟฟิค / ภาพการ์ตูน / โปสเตอร์


นางสาวชนินาถ เชื้อหอม

นักศึกษาสาขาออกแบบนิเทศศิลป์ คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

มหาวิทยาลัยของเราได้เลือกทำหัวข้อเกี่ยวกับการท่องเที่ยวชุมชน ชื่อหัวข้อของเราคือclip and keep เที่ยวบ้านเขาเราใส่ใจ โดยโครงการของเราเกิดขึ้นโดยใช้อัตลักษณ์ขององค์กรที่เป็นรูปเครื่องหมายเช็คอิน โดยมีรูปบ้านอยู่ตรงกลาง บ้านของเราหมายถึงคนในชุมชน ในเครื่องหมายเช็คอินจะเป็นรูปคนจับมือกัน ซึ่งหมายถึงการร่วมมือของคน นักท่องเที่ยวและคนในชุมชนที่ร่วมแก้ไขปัญหาชุมชน clip and keep

รูปแบบการผลิตสื่อสร้างสรรค์

ได้มีการทำ Media ขึ้นมาหลายแบบ มีทั้งแบบ online และ offline เพื่อไปติดในพื้นที่จริง ใน online ประกอบด้วย 1. วิดีโอ มี 3 คลิป คลิปแรกคือวิดีโอที่ไปสอบถามคนในชุมชนว่าเขารู้จักการท่องเที่ยวชุมชนมากแค่ไหน เป็นการเปิดประเด็นให้คนเริ่มสนใจว่าการท่องเที่ยวชุมชนคืออะไรวิดีโอที่สองพูดถึงความหมายที่แท้จริงของการท่องเที่ยวชุมชน เพื่อเป็นการปรับความเข้าใจให้คนในชุมชนเข้าใจตรงกัน วิดีโอที่สามเป็นการยกแนวคิดคนในชุมชนมาเป็นตัวอย่างให้ชุมชนต่างๆที่อยู่ทั่วไปได้รับรู้ถึงแนวคิดการปรับใช้ 2. เอนิเมชั่นเป็นการ์ตูนสั้น 1 นาที เกี่ยวกับความหมายที่แท้จริงของการท่องเที่ยวชุมชน โดยมุ่งไปที่กลุ่มเป้าหมายช่วงวัยเด็ก เพื่อให้เข้าถึงเด็กได้อย่างง่ายขึ้น 3. อินโฟกราฟิก เป็นภาพบอกข้อมูลทำเป็น 5 ภาพ ที่บอกถึงเนื้อหาทั้งหมด เช่น การท่องเที่ยวชุมชนคืออะไร แก้ไขอย่างไร เกิดปัญหาอะไร ส่งผลอย่างไร 4. ภาพรูปแบบการ์ตูน จำนวน 3 ตอน ตอนแรกพูดถึงการท่องเที่ยวชุมชนคืออะไร ตอนที่สองบอกว่าปัญหามีอะไรบ้าง ตอนที่สามพูดถึงวิธีการแก้ว่าไม่ได้ยากและสามารถนำไปปรับแก้ไขได้ทุกชุมชน 5. โปสเตอร์โดยวาง concept ว่าทำเป็นโมเดลเพื่อตั้งจำลองชุมชนเล็กๆและมีคนมาทิ้งขยะและช่วยกันจัดให้เป็นระเบียบที่จำลองชุมชนลงไป เป็นการให้เห็นว่าเราสามารถแก้ไขปัญหากันได้ด้วยมือเรา

สะท้อนการเรียนรู้ในการเข้าร่วมโครงการ

จากที่ได้เข้าร่วมโครงการ UNC รู้สึกว่าได้ประสบการณ์ใหม่ๆ ได้ลงพื้นที่ในชุมชนจริงๆ ได้เรียนรู้ว่าชาวบ้านใช้ชีวิตอย่างไร และเห็นสิ่งที่แปลกใหม่มากขึ้นในชีวิตประจำวัน UNC ทำให้เราได้ประสานงานกับเพื่อนๆ ได้ทำงานกันอย่างเป็นกลุ่มเป็นทีม ทำให้ได้ฝึกฝนการทำงานเป็นทีม ที่ไม่ใช่เรื่องง่ายต้องเอาความคิดของคนส่วนใหญ่มาปรับให้เข้ากันได้กว่าจะเป็นงานชิ้นหนึ่งจากที่ได้เรียนมาในสายออกแบบนิเทศศิลป์ได้ทำมีเดียออกมาเพื่อให้คนในชุมชน และนักท่องเที่ยวมีความเข้าใจที่ตรงกัน เรารู้สึกว่าดีใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เขาสามารถมีความเข้าใจตรงกันได้ว่าการท่องเที่ยวชุมชนคือการท่องเที่ยวแบบเรียนรู้ชุมชน ไม่ได้เข้าไปในชุมชนแบบผิวเผิน

ผลงานสร้างสรรค์สื่อสะท้อนปัญหาสังคม ภายใต้โครงการเสริมสร้างพลังเยาวชนสร้างสรรค์สื่อเพื่อสังคมไทยที่น่าอยู่ ปี 5 ดำเนินงานโดยเครือข่ายมหาวิทยาลัยสร้างสรรค์สังคม (University Network For Change : UNC) ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สำนักงานกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ สภาคณบดีทางศิลปะแห่งประเทศไทย องค์กรภาคีภาคประชาสังคม มูลนิธิสยามกัมมาจล ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)