ประทิว รัศมี กับสิ่งที่เรียนรู้จากหลักสูตรนักถักทอชุมชน

เวทีนักถักทอชุมชน ครั้งที่ 6 ณ อบต.หนองขาม อ.หนองหญ้าไซ จ.สุพรรณบุรี

วันที่ 16-18 กันยายน 2556


ที่มาของการสนับสนุนบุคลากรให้เข้าร่วมหลักสูตรนักถักทอชุมชน

     จริงๆ แล้วหาหลักสูตรแบบนี้มานาน และตนเองเคยทำงานร่วมกับ อ.ทรงพล เจตนาวณิชย์ ผู้อำนวยการสถาบันเสริมสร้างการเรียนรู้เพื่อชุมชนเป็นสุข (สรส.) มาก่อนเมื่อ สรส.มาชวนให้เข้าร่วมโครงการ จึงตัดสินใจเข้าร่วม ส่วนตัวคิดว่าหลักสูตรนักถักทอชุมชน มีประโยชน์มากต่อการที่จะแปลงนโยบายไปสู่ความเป็นจริง ที่จะต้องอาศัยคนที่จะเป็นไม้ เป็น มือ มาช่วยปฏิบัติงานได้ นักถักทอจึงถือว่ามีความจำเป็นที่จะทำให้นโยบายประสบความสำเร็จได้

อุปสรรคที่พบคือ

           ปัญหาที่พบหลักๆ ต่อการเข้าร่วมหลักสูตร คือการที่พนักงานเจ้าหน้าที่มีงานประจำอยู่แล้ว บางทีจึงต้องมีการจัดสรรเวลา หรือหาบุคลากรตัวแทนขึ้นมา

วิธีการคัดเลือกนักถักทอ 

    ก่อนอื่นจะมีการคัดเลือกนักถักทอ เป็นคนในพื้นที่ก่อน เนื่องจากเจ้าหน้าที่ๆ อยู่ในพื้นที่นั้น จะได้รู้สึกว่าทำแล้วได้ประโยชน์กับตัวเอง องค์กร และมีความเชี่ยวชาญ หรือเป็นทรัพยากรบุคคลที่ดีกว่าคนจากนอกพื้นที

ความเปลี่ยนแปลงที่เห็นจากนักถักทอ

    สิ่งหนึ่งที่เห็นได้ชัดคือความกล้าคิด กล้าแสดงออกที่มีมากขึ้น เช่น การคิดกิจกรรม การนำสันทนาการ การออกไปชุมชน ตามโรงเรียน โรงพยาบาลชุมชน เป็นต้น ซึ่งตัวนักถักทอเอง อาจจะไม่เห็นความเปลี่ยนแปลงตรงนี้ 

การพูดคุยที่ผ่านมากับนักถักทอ

    ที่ผ่านมามีการพูดคุยกันอยู่เรื่อยๆ ปรึกษาปัญหาในการทำงานตามปกติ และก่อนทำงานก็จำมีการมาประชุมวางแผนการทำงานร่วมกันก่อน และเมื่อเสร็จงานก็จะมาประเมินผลการทำงานร่วมกัน เป็นการทำงานแบบใช้กระบวนการจัดการความรู้ ทำให้นักถักทอเห็นความสำคัญตรงนี้มากขึ้น

ผลที่เกิดขึ้นจากการที่ส่งนักถักทอเข้าร่วมหลักสูตร

    ได้เห็นกิจกรรมการลงพื้นที่ชุมชนมากขึ้น มีการเข้าไปเก็บรวบรวมข้อมูล นำมาจัดทำเป็นแผนการทำงานประจำปี ซึ่งหลายๆคน ก็เข้ามารับรู้นโยบายนี้ และเข้ามามีส่วนร่วมมากขึ้น ซึ่งหากสามารถขับเคลื่อนกลไกตรงนี้แล้ว ก็สามารถจัดการวางแผนทั้งปีได้ง่ายมากขึ้น

บทบาทที่เข้าไปช่วยเหลือ/สนับสนุนการทำงานของนักถักทอ

     เข้าไปทำหน้าที่เป็นคุณอำนวย (ตัวช่วย) ให้กับนักถักทอ หากการขับเคลื่อนงานของเจ้าหน้าที่ กับการสนับสนุนนั้นไปในทิศทางเดียวกัน ทำให้เกิดการพัฒนาอย่างแท้จริง นับเป็นประสบการณ์ที่ดีของผู้เข้าร่วมหลักสูตรที่จะได้เรียนรู้การทำงานอย่างมีระบบมากขึ้น

ความหมายของนักถักทอชุมชนในความเข้าใจของตนเอง

     นักถักทอชุมชนเป็นเจ้าภาพถักทอคนในองค์กรก่อน ด้วยการแบ่งหน้าที่ให้คนอื่น ๆ เข้ามาช่วยงานในแต่ละกิจกรรม หลังจากถักทอภายในองค์กรได้แล้ว ถึงจะออกไปสานความร่วมมือกับผู้นำชุมชนภายนอก ต้องไม่ลืมว่างานชุมชนทำคนเดียวไม่ได้ เพราะมันไม่ไหว ถ้าฝืนทำไปโดยไม่สร้างภาคีไม่มีทาง"

­