ปราณี ระงับภัย : ผลการพัฒนาเยาวชนผ่านการทำโครงการเพื่อชุมชน PBL

โดย ปราณี ระงับภัย โคชพัฒนาเยาวชน active citizen จังหวัดศรีสะเกษ

ผู้ช่วยผู้ประสานงาน ศูนย์ประสานงานการวิจัยเพื่อท้องถิ่นจังหวัดศรีสะเกษและเจ้าหน้าที่โครงการพัฒนาเยาวชนพลเมืองดีศรีสะเกษ

บทบาทหน้าที่

1. เป็นโคช ในการติดตามสนับสนุนออกแบบสร้างการเรียนรู้การทำโครงการของเยาวชนร่วมกับพี่เลี้ยงในพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ สรุปบทเรียน เขียนบันทึกการเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงจากการทำโครงการของน้องเยาวชนรับผิดชอบติดตามโครงการเยาวชนในพื้นที่โซนขุนหาญ 4 โครงการ

2. ติดต่อประสานงานระบบบัญชีการเงินของโครงการพัฒนาเยาวชนพลเมืองดีศรีสะเกษ

โครงการพัฒนาเยาวชนพลเมืองดีศรีสะเกษ ปี 3 

ได้ดำเนินโครงการในพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ ทั้งหมด 6 อำเภอ 18 โครงการ 1. อำเภอขุนหาญ มีพื้นที่ดำเนินโครงการ 4 โครงการ 2. อำเภอขุขันธ์ มีพื้นที่ดำเนินโครงการ 1 โครงการ 3. อำเภอปรางค์กู่ มีพื้นที่ดำเนินโครงการ 8 โครงการ 4.อำเภอห้วยทับทัน มีพื้นที่ดำเนินโครงการ 2 โครงการ 5.อำเภออุทุมพรพิสัย มีพื้นที่ดำเนินโครงการ 2 โครงการ 6. อำเภอเมือง มีพื้นที่ดำเนินโครงการ 1 โครงการ โดยมีวัตถุประสงค์ 1.เพื่อพัฒนาศักยภาพเยาวชน (Active Citizen) ผ่านการทำโครงการให้เป็นพลเมืองดีสำนึกในการทำประโยชน์เพื่อชุมชนและสังคม 2. เพื่อสร้างเครือข่ายเยาวชนและเครือข่ายพี่เลี้ยงในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การพัฒนาพลเมืองเยาวชน (Active Citizen) จังหวัดศรีสะเกษ 3.เพื่อพัฒนากลไกในการพัฒนาพลเมืองเยาวชนจังหวัดศรีสะเกษ 4.เพื่อจัดทำระบบฐานข้อมูลและการจัดการความรู้การพัฒนาพลเมืองเยาวชนเผยแพร่สู่สังคม โดยใช้กระบวนการสร้างการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างชุมชนกับเด็กเยาวชนในชุมชนผ่านการลงมือทำโครงการ ให้เยาวชน คิดเอง ทำเอง เพื่อพัฒนาชุมชนบนฐานความรู้โดยมีกระบวนการเรียนรู้ ต้นน้ำกลาง น้ำปลายน้ำ

ได้ดำเนินกิจกรรมโครงการมาถึงช่วงสุดท้ายของการดำเนินโครงการจึงได้มีการเวทีสรุปผลและกำหนดแนวทางการขับเคลื่อนพลังเยาวชนจังหวัดศรีสะเกษ ขึ้น วัตถุประสงค์เพื่อสรุปบทเรียนการการดำเนินงานที่ผ่านมาตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ จนถึงปลายน้ำ ร่วมกับเยาวชนทั้ง 18 โครงการ และเพื่อกำหนดแนวทางในการขับเคลื่อนงานสานต่อพลังเครือข่ายเยาวชนจังหวัดศรีสะเกษ กลุ่มเป้าหมายในการเข้าร่วมกิจกรรมกรรม กลุ่มเยาวชนและพี่เลี้ยง 18 โครงการ และในส่วนของเนื้อหาในการจัดกระบวนการพูดคุยจะมีการสรุปบทเรียนการดำเนินงานกับกำหนดแนวทางในการขับเคลื่อนจากการดำเนินโครงการพัฒนาเยาวชนพลเมืองดี ศรีสะเกษ ปี 3 จึงออกแบบเวทีเพื่อสรุปการเรียนรู้ของเด็กเยาวชน จากการดำเนินโครงการทั้ง 18 โครงการ จำนวนจำนวนเยาวชนทั้งหมด 147 คน โดยออกแบบ กระบวนการสรุปบทเรียนการการดำเนินงานที่ผ่านมาโดยการให้โจทย์ให้แต่ละกลุ่มโครงการได้พูดคุย 1.กระบวนการกิจกรรม 2. การเรียนรู้และการนำไปใช้ในแต่ละกิจกรรม 3. ผลการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในแต่ละกิจกรรม และนำเสนอแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน ตั้งแต่ต้นทาง เริ่ม 1. พัฒนาโจทย์ เริ่มตั้งแต่กำหนดโจทย์ การวิเคราะห์ชุมชน การศึกษาข้อมูล การประชาสัมพันธ์ พัฒนาโครงการ เริ่มการเขียนข้อเสนอโครงการ การเติมเต็มข้อเสนอโครงการ การนำเสนอโครงการต่อผู้ทรง 2.พัฒนาโครงการ เริ่มการเขียนข้อเสนอโครงการ การเติมเต็มข้อเสนอโครงการ การนำเสนอโครงการต่อผู้ทรง 3.อบรมสื่อ Thai PBS การวางโครงเรื่อง การเขียนบท การถ่ายทำ การตัดต่อ 4.บริหารโครงการ เช่น การแบ่งบทบาทหน้าที่ การเงินการบัญชี การวางแผนงานโครงการ 5. ปฏิบัติการ โครงการ การผลิตสื่อ เวทีสัญจรเรียนรู้ข้ามกลุ่มข้ามโซน กิจกรรมปฏิบัติการจิตอาสา 6. ปฏิบัติการหนังกลางแปลง โซน การออกแบบงาน การวางแผนการ การจัดงาน 7. งานมหกรรม การวางแผนงาน การออกแบบงาน การจัดงาน

จากทบทวนกระบวนการดำเนินโครงการแล้ว จึงนำคุณลักษณะเยาวชนพลเมืองดี 9 หัวข้อให้เยาวชนแต่ละโครงการได้สรุปประเมินให้คะแนนการดำเนินโครงการเพื่อชุมชนของแต่ละคนโดยให้เหตุผลการให้คะแนนของแตะละคนในทีมแล้วนำคะแนนของแต่ละคนมารวมทั้งทีมคิดเป็นเปอร์เซ็น 1. การเป็นแกนนำพัฒนาชุมชน 2. การคิดวิเคราะห์เป็น 3. สำนึกรักท้องถิ่น 4. สำนึกการเป็นพลเมือง 5. กล้าแสดงออกในการสร้างสรรค์ 6. รู้เท่าทันสื่อ 7. มีทักษะการบริหารโครงการ 8. ทำงานเป็นทีม 9. รู้จักตนเอง

ผลการพัฒนาเยาวชนผ่านการทำโครงการเพื่อชุมชน

จากกระบวนการดำเนินงาน พบว่า เยาวชนศรีสะเกษเป็นพลังพลเมืองในการพัฒนาชุมชนและสังคมท้องถิ่น บนฐานความรู้ภูมิปัญญาที่สร้างสรรค์ได้ ผ่านกระบวนการเรียนรู้ คิดเอง ทำเอง โดยมีพี่เลี้ยงหรือทีมโคชคอยช่วยหนุน โดยมีการกำหนดคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของกลุ่มแกนนำเยาวชน 9 คุณลักษณะ ดังนี้

C:\Users\HP\Desktop\งานนำเสนอ1.jpg

จากที่กลุ่มแกนนำเยาวชนเข้าร่วมโครงการฯการการคิดเองลงมือทำเองเรียนรู้จากการปฏิบัติการจริงในพื้นที่ชุมชน ทำให้กลุ่มแกนนำเยาวชนเห็นตนเองเป็นส่วนหนึ่งของชุมชน รู้จักชุมชนท้องถิ่นตนเอง รักและภูมิใจในชุมชนท้องถิ่นตนเอง กล้าแสดงออก ไม่ทำตัวให้คนอื่น/ชุมชน/สังคม/สิ่งแวดล้อมเดือดร้อน รู้ว่าอะไรดี อะไรไม่ดี รู้หน้าที่ของตัวเอง มีความรับผิดชอบ เรียนรู้ความรู้ภูมิปัญญาเก่า-ใหม่ มีความรู้ที่เกิดจากการลงมือทำโครงการ (การเก็บข้อมูล การปฏิบัติการ) เชี่ยวชาญรู้ลึกชุมชนตนเอง รู้จักปรับตัวเข้ากับผู้อื่น/สังคม ยอมรับความแตกต่าง รับฟังความคิดเห็น รู้จักตนเอง รู้จักเพื่อน (เขมร ลาว กูย/กวย) ทำงานร่วมกันเป็นทีม ช่วยพัฒนาหมู่บ้าน ทำโครงการเพื่อชุมชน เกิดกลุ่มเป็นพลังสำคัญของชุมชนมีจิตสาธารณะ เป็นแกนนำสร้างการเปลี่ยนแปลง ชวนคนอื่น เครือข่าย คนในชุมชนให้ร่วมคิดร่วมทำเพื่อส่วนรวม

จากการประเมินคะแนนโดยให้เยาวชนแต่ละคนประเมินตนเองและสมาชิกในกลุ่ม สรุปคะแนนผลลัพธ์คุณลักษณะกลุ่มแกนนำเยาวชนพลเมืองดีศรีสะเกษปี3 มีคุณลักษณะเยาวชนพลเมืองดีศรีสะเกษอยู่ในระดับที่เหมาะสม ใน 9 คุณลักษณะ พบว่า มีคะแนนผลลัพธ์เฉลี่ยในแต่ละคุณลักษณะจากคะแนนเต็ม 10 พบว่า อันดับ 1 คือรู้จักตนเอง มีคะแนนที่ 9.23 อันดับ 2 คือ สำนึกรักท้องถิ่น มีคะแนน ที่ 9.11 อันดับ 3 คือ ทำงานเป็นทีม มีคะแนนที่ 7.74 และอันดับท้ายสุด คือการคิดวิเคราะห์ มีคะแนนที่ 6.17 ดังแผนภาพที่แสดงดังนี้

ภาพแสดงผลคะแนนคุณลักษณะเยาวชนพลเมืองดีศรีสะเกษ ปี 3

กระบวนการกำหนดแนวทางในการขับเคลื่อนงานสานต่อพลังเครือข่ายเยาวชนจังหวัดศรีสะเกษโดยการให้โจทย์ที่ท้าท้ายให้ร่วมกันคิดและออกแบบ ลงกลุ่มโซนในการพูดคุย 

1.เราจะร่วมกันต่อยอดยกระดับงานเดิมในแต่ละพื้นที่ได้อย่างไร 

2. เราจะรักษาพลังกลุ่มแกนนำเยาวชนที่มีมาร่วมกันให้ต่อเนื่องได้อย่างไร 

3. เราจะร่วมสร้างพลเมืองรุ่นน้อง ชวนรุ่นน้องมาเชื่อมต่องานได้อย่างไร 

4.เราจะเชื่อมงานที่เราทำกับงานพัฒนาของผู้ใหญ่ในชุมชนได้อย่างไร 

5. เราจะมีระบบและกลไกในการหนุนเสริมงานในระดับพื้นที่ ระดับโซน ระดับจังหวัดได้อย่างไร 

และนำเสนอแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันผลจากการดำเนินกิจกรรมกลุ่มเยาวชนได้สรุปและถอดบทเรียนการดำเนินกิจกรรมที่ผ่านมาในแต่ละกิจกรรมร่วมถึงผลการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับตนเองในการเข้าร่วมโครงการพร้อมนำเสนอแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับกลุ่มอื่นๆ กลุ่มเยาวชนและพี่เลี้ยงได้พูดคุยหารือในการหาแนวทางในการขับเคลื่อนงานสานต่อพลังเครือข่ายเยาวชนจังหวัดศรีสะเกษในการขับเคลื่อนทั้ง 3 ระดับ พื้นที่ โซน และในระดับจังหวัด เกิดแผนงานขับเคลื่อนเครือข่ายพลังเยาวชนจังหวัดศรีสะเกษร่วมกัน ทั้งการสร้างรูปงานเดิมเป็นแหล่งเรียนรู้และใช้ประโยชน์ได้จริง มีกิจกรรมหนุนเสริมสร้างการเรียนรู้ร่วมกันในเครือข่าย สร้างการเรียนรู้กับรุ่นน้องในการขยายพลังพลเมือง ผ่านกิจกรรมในชุมชน มีเวทีเรียนรู้เชื่อมงานระหว่างเยาวชนกับผู้นำชุมชนและมีแกนนำหลัก แกนนำรอง แกนนำในพื้นที่ ในการประสานงานเครือข่าย

จากการประเมินการเรียนรู้การดำเนินโครงการพัฒนาเยาวชนพลเมืองดีศรีสะเกษ ปี 3 จึงขอยกตัวอย่างการพัฒนาการเรียนรู้ของกลุ่มเยาวชน 2 โครงการจากทั้งหมด 18 โครงการ มีโครงการที่ดำเนินโครงการต่อเนื่อง 2 ปี และโครงการที่เข้าร่วมโครงการ 1 ปี ที่มีพัฒนาการการเรียนรู้ของกลุ่มเยาวชนเป็นกระบวนการโดยโค้ชคอยประเมินตามกิจกรรมตามเวทีและจากการลงพื้นที่ติดตามโครงการเยาวชนในพื้นที่ ดังนี้

1. โครงการเด็กแสนร่วมใจสร้างรายได้ บ้านแสนแก้ว ตำบลสวาย อำเภอปรางค์กู่ จังหวีดศรีสะเกษ เป็นโครงการ ต่อเนื่อง 2 ปี

ในส่วนนี้เราก็ได้ชวนน้องทบทวนกระบวนการว่าสิ่งที่น้องๆได้ทำมาในปีที่ 2 ว่าน้องได้เรียนรู้อะไร น้องทำอะไรได้ดีแล้วหรือว่าทำอะไรยังไม่ได้ดี ก็ชวนสรุปบทเรียนจากการทำงานในปีที่ 2 ที่ผ่านมา ผลที่น้องสะท้อนออกมาก็น้องทำงานเป็นทีม ได้ความสามัคคีกันระหว่างเพื่อน เห็นผู้ใหญ่เข้ามาให้การสนับสนุนในตัวชุมชนเองก็เห็นคนที่เข้ามาให้การสนับสนุนในการทำกิจกรรมมากขึ้น จะเห็นการเปลี่ยนแปลงจากการทำกิจกรรมในปีที่ผ่านมา สิ่งที่เขาทำได้ยังไม่ดีหรือว่ายังเป็นปัญหาอุปสรรคของกลุ่มก็คือ น้องๆจะเห็นว่าการทำงานแต่ละครั้งยากในการที่จะรวมตัวกัน มากันไม่พร้อมมาไม่ตรงเวลา ถึงแม้จะมีการประชาสัมพันธ์มีการประกาศตามหอกระจายข่าวในชุมชนก็ยังมาช้า นัดหมายแล้วก็ยังมาช้า น้องก็พยายามที่จะแก้ไขในระหว่างทางแต่ก็แก้ไม่ได้สำเร็จไปสักทีเดียว น้องมองว่าก็ยังเป็นปัญหาของทีมน้องอยู่ และที่สำคัญปัญหาอุปสรรคที่เกิดขึ้นในช่วงปีแรก คือ การที่ปลาดุกที่เยาวชนช่วยกันเลี้ยงถูกขโมยไป ความรู้สึกในตอนนั้น เอ็มได้กล่าวว่า “ตอนแรกที่รู้ข่าวว่าโดนขโมยเสียใจมากครับ คือน้ำตาจะไหลเลยครับ เราอุตส่าห์ตั้งใจเลี้ยงมา เจอปัญหาเยอะแยะมากมายเลยครับ กว่าปลาจะโตมาขนาดนี้ได้ ไม่ใช่เรื่องง่ายเลยครับ ทีนี้เราก็คิดว่าจะไม่ทำต่อแล้วเพราะว่าท้อมากครับ เห็นจำนวนปลาที่น้อยลง และเห็นสีหน้าแต่ละคนดูเหมือนว่า มันหมดหวังหมดกำลังใจครับ แต่พอวันไปย้ายปลาจากบ่อซีเมนต์ไปไว้ในสระที่บริเวณใกล้กับชุมชน ทำให้คิดได้ว่า จริงๆปลาที่หายไป ส่วนหนึ่งก็มาจากความผิดพลาด ความไม่รอบคอบของทีมเราเองครับ ก็เลยอยากจะแก้ไขปัญหาข้อผิดพลาดของทีมที่มีอยู่ ด้วยการทำทุกๆอย่างให้มันดีขึ้นมากกว่าเดิมครับ ก็พยายามจะไม่คิดเรื่องปลาที่หายไป พยายามจะหาวิธีการไหนที่จะดูแลรักษาปลาที่เราเหลืออยู่ให้ไม่หายไปอีก ก็เลยตกลงกันว่าจะเลี้ยงต่อครับ ปลาที่หายไปไม่เป็นไรหรอกครับ เพราะว่าที่เราคาดหวังก็คือ อยากให้เยาวชนใช้เวลาที่ว่าง ไปทำกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ และทำกิจกรรมร่วมกับคนในชุมชน เราก็ได้เห็นแล้วครับ ว่ามันน่าจะสำเร็จตามเป้าหมายที่เราตั้งเอาไว้แล้วครับ” แล้วเราก็ให้น้องแตกกรอบการศึกษาชุมชนในส่วนนี้ก็จะเห็นอยู่ว่าเขามีพื้นฐานการเก็บข้อมูลจากการทำโครงการในปีที่ผ่านมาแล้ว เขาก็จะมีพื้นฐานในเรื่องของการเก็บข้อมูลประวัติชุมชนมาบ้างทีนี้เราก็มาเพิ่มให้ว่าเราจะศึกษาอะไรในปีนี้ก็ให้น้องลองไปดูว่าถ้าอยากศึกษาชุมชนเราจะศึกษายังไงให้เราเข้าใจชุมชนให้ลึกกว่าเดิม เพราะว่าเราก็ลองเปรียบเทียบจากปีแรกที่น้องทำก็เห็นน้องมีประวัติชุมชนมีทุนในชุมชน มีทรัพยากรอะไรบ้าง ตอนนี้ก็จะได้แค่ข้อมูลเบื้องต้นแต่พอปีนี้มาเราก็อยากจะให้น้องได้ข้อมูลแบบลึกเกี่ยวกับชุมชนของตนเองไปว่าในรอบหนึ่งปีนี้เขาประกอบอาชีพอะไรบ้างในชุมชน ในด้านวัฒนธรรมในหนึ่งปีนี้เขามีวัฒนธรรมอะไรบ้างที่เป็นวัฒนธรรมในชุมชนของเขา ปัญหาในชุมชนยังเป็นปัญหาเดิมอยู่ไหมก็ให้น้องไปศึกษาก็ได้ให้เครื่องมือการเก็บข้อมูล ก็จะเป็นตารางการเก็บข้อมูล ประเด็นที่จะเก็บ จะไปเก็บกับใคร ใช้เครื่องมืออะไร มีวิธีการยังไง วัสดุอุปกรณ์ วันเดือนปีที่จะเก็บ ผู้รับผิดชอบ ก็ให้น้องแบ่งบทบาทหน้าที่กันในทีม ในปีนี้ก็จะพี่เลี้ยงเพิ่มมาอีกหนึ่งคนซึ่งเป็นผู้นำชุมชนเป็นผู้นำ อสม. พอมีหน่วยงานภาครัฐเข้ามาส่งเสริมอาชีพ ก็จะเป็นแกนนำแล้วก็เข้าไปเป็นผู้ร่วมเรียนรู้ในหน่วยงานของรัฐก็จะมีองค์ความรู้อยู่บ้าง ทั้งเรื่องการเลี้ยงปลาดุก การเลี้ยงจิ้งหรีด และเป็นผู้รู้เลยได้เข้ามาเป็นพี่เลี้ยงร่วมด้วย เขาก็เลยเสนอน้องเพราะว่าน้องยังคิดหาประเด็นยังไม่ได้ “ปีที่แล้วเลี้ยงปลาดุกปีนี้เลี้ยงจิ้งหรีดไหม?” ก็ให้น้องลงไปเก็บข้อมูลขึ้นมาให้เรา ทาง NODE เองก็ได้ดูข้อมูลที่น้องส่งมาให้เราก็ดูแล้วก็เพิ่มเติมว่าทำไมเก็บข้อมูลแบบนี้มาแล้วเราจะให้น้องไปวิเคราะห์ยังไงเพื่อที่จะนำไปสู่เวทีวิเคราะห์ข้อมูล ก็คุณรุ่งวิชิต คำงาม ก็ได้ดูว่าดูจากทุนในชุมชนที่น้องไปเก็บมาแล้วมันเห็นคนชุมชนหรือผู้ใหญ่ทำมาแล้วว่ามีอะไรบ้าง เช่นการเลี้ยงปลาดุกเลี้ยงจิ้งหรีดแต่ว่าก็ไปไม่รอดแล้วโครงการเด็กจะมาทำแค่บอกว่านี่คือวิธีการเลี้ยงปลาดุกแค่นี้แล้วก็จบเราก็เลยคิดว่าเราจะให้น้องต่อยอดโครงการในปีที่สองนี้ยังไงเพื่อให้เกิดความชำนาญในเรื่องนั้นๆ แล้วก็ความยั่งยืนในเรื่องนั้นๆ ก็เลยเก็บประเด็นนี้ไว้เพื่อที่จะนำมาชวนน้องวิเคราะห์ในเวทีวิเคราะห์ข้อมูล

เวทีวิเคราะห์ข้อมูลกระบวนการหลักๆก็จะเป็นการให้น้องนำข้อมูลมาวิเคราะห์ร่วมกัน ในส่วนนี้น้องๆก็จะได้ข้อมูลที่น้องๆไปเก็บมาตามที่แตกกรอบการศึกษาให้ตารางการเก็บข้อมูลไปแล้วทีนี้เราก็จะไปเห็นได้ข้อมูลที่ชัดมาในเรื่องของวิธีการการเลี้ยงปลาดุกการเพาะพันธุ์ปลาดุกคือข้อมูลตัวนี้น้องได้เก็บเพิ่มเติมขึ้นมา ก็ชวนให้น้องมาวิเคราะห์ว่าเราอยากจะทำเรื่องอะไรในทีนี้ซึ่งตอนที่วิเคราะห์ข้อมูลนั้นน้องยังคงกุมกับการเลี้ยงจิ้งหรีดอยู่ซึ่งยังไม่ได้เปลี่ยนเรื่องทีจะทำก็ยังคงเป็นเรื่องของการเลี้ยงจิ้งหรีดอยู่พอมาวิเคราะห์ถึงปัญหาและสาเหตุก็ยังคงเป็นปัญหาเดิมในเรื่องว่าเยาวชนว่างงานสาเหตุก็เพราะว่าเรียนไม่จบตามภาคบังคับผลกระทบก็ทำให้เยาวชนจับกลุ่มมั่วสุมในชุมชนไม่ได้ทำประโยชน์ให้กับชุมชนยังเป็นภาระให้กับครอบครัวไม่มีรายได้เป็นของตัวเองเขาก็ยังมองว่าเป็นปัญหาที่ยังคงอยู่ในชุมชนโดยการทำโครงการก็ยังไม่สามารถที่จะแก้ได้ ก็ให้มาวิเคราะห์ตัวที่จะช่วยให้สนับสนุนโครงการสำเร็จก็เลยเห็นว่าในชุมชนก็ยังมีข้อมูลว่ามีความรู้อะไรก็เลยมาวิเคราะห์เห็นว่าในชุมชนก็ยังมีความรู้การเลี้ยงปลาดุกการเพาะพันธุ์ปลาดุก พี่เลี้ยงโครงการ เพ็ญศรี ชิตบุตร เองก็ก็เข้าไปชวนคุยว่าในเมื่อวิเคราะห์ข้อมูลออกมาแล้วมีองค์ความรู้แบบนี้แล้ว แล้วก็ปีที่แล้วเราก็ทำโครงการเลี้ยงปลาดุกแล้วทำไมเราไม่ทำการเลี้ยงปลาดุกต่อ ปีนี้อาจจะยกระดับขึ้นมาเป็นเรียนรู้การเพาะพันธุ์ปลาดุกก็เลยตั้งคำถามกับน้องก็ยังมีน้องที่ยังสงสัย บางคนก็เข้าใจ จากที่จับอาการรวมๆ เวทีนี้ก็ให้น้องกลับไปออกแบบพอน้องกลับไปน้องก็สื่อสารกลับมาว่าพี่เราจะเปลี่ยนเรื่องนะจะเปลี่ยนมาเป็นเพาะพันธุ์ปลาดุกนี่เป็นจุดเปลี่ยนจุดหนึ่งที่น้องเปลี่ยนซึ่งเวที โดยน้องได้ให้เหตุผลว่า “ตอนแรกที่ไปนำเสนอ พวกเราคิดว่าอยากจะทำเรื่องเลี้ยงจิ้งหรีด เพราะว่าอยากจะเปลี่ยนไปทำอย่างอื่นบ้าง เพราะคิดว่าจิ้งหรีดรายได้ดี พร้อมกับในชุมชนมีมีผู้ที่ให้ความรู้ได้หลายคน เพราะเคยจัดตั้งกลุ่มเลี้ยงจิ้งหรีดมาก่อน แต่ปัญหาก็คือการเลี้ยงจริงหรีดนั้น เราต้องดูแลรักษาอย่างดี ถ้าโรงเรือนไม่ได้มาตรฐาน ก็จะทำให้สัตว์อย่างอื่น เช่น นกไก่ มาจิกกินลูกจิ้งหรีดได้ พวกเราก็เลยคิดว่ามันน่าจะยากไปสำหรับพวกเรา แต่พอมาชวนคิดกันอีกที เอาจริงๆพวกเราก็ยังอยากเลี้ยงปลา เพราะเรามีความรู้ในเรื่องการเลี้ยงอยู่แล้ว อยากจะต่อยอดความรู้พื้นฐานที่เรามีในเรื่องการเลี้ยงปลา เพิ่มมาเป็นการเพาะพันธุ์ปลาด้วย ทั้งยังเป็นการลดค่าใช้จ่ายจากการซื้อพันธุ์ปลา และได้ความรู้เพิ่มขึ้น” 

ในเวทีนี้ก็เห็นได้ว่าน้องมีการเปลี่ยนแปลงยังไงจากกระบวนการที่ได้เจอน้องมาซึ่งก็จะแยกเป็นรายบุคลว่า เช่น เอ็ม จากตอนรกที่เห็นคือ เป็นคนอายไม่กล้าพูดถึงพูดก็พูดน้อยพูดค่อยก็เห็นความเปลี่ยนแปลงได้ว่าปีนี้เวทีนี่เขาลุกขึ้นมาเป็นผู้นำแสดงความเป็นผู้นำสูงเป็นผู้นำทีมอาจจะด้วยที่เขามีภาวะเป็นผู้ใหญ่ขึ้นด้วยเรียนสูงกว่าเพื่อนในกลุ่มก็ลุกขึ้นมาจับไมค์นำเสนอหน้าเวทีได้ไม่เขินอาย ส่วนน้องบีมน้องแป้งก็ขยับขึ้นมาเป็นผู้นำแทนเอ็มในชุมชนซึ่งเอ็มจะขยับออกไปเรียนนอกพื้นที่แล้วส่วนบีมและแป้งจะยังคงอยู่ในพื้นที่ก็จะขยับตัวเองขึ้นมาทำกระบวนกิจกรรมในชุมชนแต่ละครั้งที่เอ็มไม่ได้มาร่วมบีมและแป้งก็จะมาช่วยตรงนี้แทนได้สามารถที่จะพูดกับผู้นำในชุมชนเพื่อที่จะทำความเข้าใจโครงการตนเองให้ผู้นำและชุมชนเข้าใจได้เพื่อนคนอื่นๆก็เริ่มเข้ามามีบทบาทมีความรู้สึกว่าตนเองเป็นเจ้าของโครงการมากขึ้นก็เข้ามาช่วย ในเวทีนี้ก็จะเห็นว่าน้องมีความมั่นใจในที่จะเล่าโครงการของตัวเองให้กับเพื่อนๆกลุ่มอื่นฟัง เพราะว่าได้ไปเก็บข้อมูลในชุมชนตัวเองมาแล้วก็เลยมีความมั่นใจในสิ่งตัวเองจะเล่า

พอจบเวทีวิเคราะห์ข้อมูลแล้วก็น้องก็ปรับมาเรียบร้อยแล้วพอมาถึงเวทีทักษะการเขียนโครงการแล้วก็เติมเต็มข้อมูลโครงการก็จะให้น้องทบทวนโครงการตัวเองเหมือนเดิมเพื่อให้น้องเข้าใจชัดเจนขึ้นว่าตัวเองจะทำเรื่องนี้จริงๆไหมแล้วก็จะชวนน้องออกแบบกิจกรรมของตัวเองด้วย น้องก็จะได้เข้าใจโครงการของตัวเองร่วมกันทั้งทีมได้ชัดขึ้น ว่าโครงการน้องมีเป้าหมายจะนำไปสู่อะไรแล้วจะทำโครงการนี้เพื่ออะไรน้องก็ได้เข้าใจร่วมกันในเวทีนี้ได้เรียนรู้วิธีการเพาะพันธุ์ปลาดุกเป้าของกลุ่มเยาวชนก็คือว่าเขาจะเป็นผู้รู้ในเรื่องของการเลี้ยงปลาดุกตั้งแต่กระบวนการเพาะพันธุ์การดูแลการรักษาจนถึงเรื่องของการขายการตลาดและการจัดการของกลุ่มของเขาถ้าเขาขายปลาได้เงินมาเขาจะนำเงินไปทำอะไรบ้างกับเด็กเยาวชนในชุมชนของเขา แล้วก็ได้ความชัดเจนของโครงการในเวทีนี้ได้เป้าหมายของโครงการร่วมกันแล้วก็ได้เตรียมปรับและเพิ่มเติมข้อมูลที่ทางทีมเราได้เสนอแนะไป เวทีนี้ยังไม่เห็นความเปลี่ยนแปลงของน้องเท่าไหร่ คนที่ออกมานำเสนอก็ยังเป็นคนเดิมอยู่ ก็จะมีเอ็มและบีมที่เป็นคนออกมานำเสนอหลักในทีม แล้วก็มาเวทีพิจารณาโครงการก็จะเห็นแล้วว่าก็ยังคงเป็นเอ็มและบีมที่ยังเป็นตัวหลักที่ออกมานำเสนอโครงการหลักๆผลที่ได้จากเวทีน้องได้เข้าใจได้เติมเต็มจากคณะกรรมการ โดยมีคณะกรรมการเสนอมาว่าตอนนี้เราเลี้ยงปลาดุกอุย แล้วราคาปลาดุกอุยกับปลาดุกนา อันไหนมีราคาแพงกว่ากัน เราลองมาเอาพันธุ์ปลาดุกนามาผสมเลี้ยงและขายดู เพื่อเป็นการทดลอง แล้วถ้าเราเลี้ยงปลาดุกได้แล้วแต่ในตลาดมีเยอะหรือชุมชนเรากลับมาเลี้ยงเยอะเราลองมาศึกษาวิธีการแปลรูปไหม ก็เป็นการเติมเต็มโครงการให้น้อง พอมาถึงเวทีนี้ความชัดเจนของโครงการน้องได้แล้ว มาถึงเวทีนี้ทำให้น้องมีความมั่นใจมากขึ้นหรือเล่าได้ด้วยความมั่นใจมีการเล่าเชื่อมโยงจากการดำเนินโครงการปีที่ผ่านมาจนมาต่อยอดโครงการในปีนี้เห็นการยกระดับโครงการ เห็นการทำงาเป็นทีมเห็นการแบ่งบทบาทหน้าที่แล้วก็ทั้งทีมเห็นร่วมกันพอผ่านเวทีนี้ไปแล้วสิ่งที่จำต้องกลับไปทำในพื้นที่นี้คืออะไรเขาก็จะได้ไปออกแบบกันในพื้นที่ด้วย ภาพรวมก็คือตัวเด็กและเยาวชนเองของทีมแสนแก้วก็มีการคิดวิเคราะห์เชื่อมโยงงานเก่ากับงานใหม่เชื่อมข้อมูลในชุมชนกับข้อมูลโครงการได้ มีทักษะการเขียนการออกแบบโครงการได้ ก็เห็นว่าน้องมีความรับผิดชอบมากขึ้นมีความตั้งใจในการดำเนินโครงการในปีนี้มาก จากที่ได้ลงพื้นที่ติดตามน้องก็ทำให้เห็นว่าปีนี้น้องมาแบบเข้มข้นเป็นการเป็นงานทำงานมีหลักเป็นระบบมากขึ้นแล้วอีกส่วนหนึ่งก็เป็นเพราะปีนี้จะมีระบบโซนของกลุ่มเยาวชนที่เข้ามามีส่วนในการทำให้กลุ่มเยาวชนเข้ามาช่วยหนุนเสริมกันเพราะการสื่อสารของเพื่อนในกลุ่มโซนทำให้เขาเห็นความเคลื่อนไหวของกลุ่มเพื่อนอื่นๆทำให้ทีมน้องเกิดการกระตุ้นการทำกิจกรรมมากขึ้นซึ่งสามารถเป็นแรงเสริมได้ แล้วก็มีความอดทนทำงานเป็นทีมมีทักษะในการคิดแล้วก็ทักษะในการตั้งคำถามสิ่งที่ได้เป็นภาพรวมของน้อง

ส่วนตัวโค้ชเองก็จะได้ทักษะการชวนคิดชวนคุย การติดต่อประสานงานกับน้องเรื่อยๆเพื่อสื่อสารกับน้องว่าโครงการดำเนินการมาถึงตรงไหนแล้วมีเวทีน้องต้องเตรียมอะไรไปบ้างทั้งน้องและโค้ชก็ต้องสื่อสารกันเรื่อยๆเบื้องหลังก็คือเวลาเราจะลงไปคุยกับน้องตัวเราเองก็กลับมาทบทวนว่าน้องเขียนอะไรมาบ้างแล้วก็นำมาคุยกันที่สำนักงานว่าเราได้ข้อมูลน้องมาแบบนี้น่าจะมีการเติมตรงไหนอีกไหมเป็นการวิเคราะห์โครงการน้องภายในของทีมโค้ช แล้วก็ติดตามสนับสนุนเรื่อยๆ

2. โครงการไก่ไข่เพื่อการเรียนรู้ เป็นโครงการที่เข้าร่วมปีที่ 3

เป็นการเข้าร่วมโครงการปีที่ 1 ซึ่งครั้งแรกก็เป็นการทำความรู้จักกับน้องๆ เป็นการชวนคิดต่อว่าน้องๆ อยากทำโครงการอะไรและเป็นการวิเคราะห์ศักยภาพกลุ่ม โดยให้น้องๆ เขียนลงกระดาษชาร์ต เนื่องจากน้องๆยังเขินๆเกร็งๆไม่กล้าคุย จึงใช้วิธีการเขียนลงกระดาษแล้วค่อยเล่า ได้เรื่องที่อยากทำเห็นทีมทำงานร่วมกันแล้ว ชวนน้องคุยต่อว่าการเขียนโครงการเราควรจะมีข้อมูลชุมชนอะไรบ้าง เช่น บริบทของชุมชนประวัติความเป็นมา ของดีในชุมชนและสถานการณ์ปัญหาของชุมชน เป็นการศึกษาเรียนรู้ชุมชนก่อนการเขียนโครงการ ซึ่งเป็นกระบวนการที่ทางโครงการฯได้วางไว้ น้องๆเยาวชนทุกกลุ่มต้องศึกษาเรียนรู้ชุมชนก่อนเพื่อนำข้อมูลชุมชนมาวิเคราะห์เขียนโครงการและมีงบสนับสนุนในการศึกษาชุมชน ในกระบวนการช่วงนี้จะชวนน้องคุยว่าเราจะศึกษาชุมชนเราจะต้องศึกษาอะไรบ้างโดยใช้เครื่องมือการแตกองค์ประกอบหัวข้อในการศึกษาเรียนรู้ชุมชน

ในช่วงที่ให้น้องๆ ได้แตกองค์ประกอบศึกษาชุมชนจะสังเกตเห็นว่าน้องไม่ค่อยพูด บทบาทโค้ชต้องกระตุ้นให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการคิดการพูดคุยและแสดงความคิดเห็นเพื่อให้ทุกคนได้เข้าใจร่วมกันว่านี้คือหัวข้อที่น้องๆ จะได้ลงไปเก็บข้อมูลเองในชุมชน โดยให้น้องๆเยาวชนลงพื้นที่เอง ช่วงนี้โค้ชเองก็หวั่นๆ ว่าน้องจะทำได้ไหม พยายามติดตามกิจกรรมน้องๆผ่านเฟสบุ๊คและพูดคุยทางโทรศัพท์กับพี่เลี้ยง จากการติดตามก็จะเห็นว่าน้องๆเองก็ทำได้ มีความรับผิดชอบร่วมกัน น้องๆเองมีศักยภาพที่ไปลงชุมชนเก็บข้อมูลกับผู้รู้ในชุมชนได้ ชุมชนให้ความร่วมมือ พี่พรเล่าว่า “เด็กๆ ทำได้แต่ต้องคอยกำชับนิดหนึ่งในเรื่องการบันทึกและจัดพิมพ์เป็นเอกสาร หลังจากน้องๆได้ข้อมูลชุมชนแล้ว”

หลังจากนั้น ทางโครงการฯ ก็มีเวทีอีก 2 ครั้งจัดรวมในระดับโซนพื้นที่เพื่อพัฒนาข้อเสนอโครงการ เวทีแรกเป็นการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อเขียนโครงการเพื่อชุมชนให้น้องเยาวชนในแต่ละกลุ่มชวนกันคุยวิเคราะห์ข้อมูลที่ไปเก็บมาสถานการณ์ปัญหาชุมชน ของดีในชุมชน เรื่องที่อยากทำโครงการ เวทีนี้เยาวชนแต่ละกลุ่มจะมีความชัดเจนในเรื่องที่ตัวเองอยากทำและให้ยกร่างข้อเสนอโครงการตามกรอบที่มีให้ เพื่อเตรียมเข้าเวทีครั้งต่อไป เวทีที่สองเป็นเวทีพัฒนาทักษะการเขียนข้อเสนอโครงการ เวทีนี้จะเป็นเวทีที่ให้น้องๆเยาวชนได้เติมเต็มข้อเสนอโครงการให้มีความสมบูรณ์และเตรียมนำเสนอในเวทีพิจารณาโครงการ จากสองเวทีที่น้องๆเยาวชนกลุ่มไก่ไข่บ้านทุ่งเข้าร่วมแต่ละครั้งน้องๆเองก็สามารถทำได้ แต่โค้ชเองต้องคอยกระตุ้นบ่อยๆเพื่อให้ทุกคนในทีมได้มีส่วนร่วมในแต่ละกิจกรรมเพราะว่าเขาจะตอบสนองสิ่งเร้าภายนอกทำให้หลุดจากกิจกรรม ซึ่งถ้าเทียบกลุ่มเยาวชนกลุ่มอื่นๆ กลุ่มนี้โค้ชจะต้องใช้พลังงานมากหน่อย ให้เวลาในการทำความเข้าใจในแต่ละเรื่องมากกว่าทีมอื่นๆ จะไม่เข้าใจในการอธิบายในครั้งเดียวต้องค่อยๆอธิบายย้ำขยายความและลงกลุ่มย่อยในการชวนคิดชวนคุยตั้งคำถามสร้างการเรียนรู้ร่วมของทีมและการเขียนลงกระดาษชาร์ต

ในเวทีฯ จะเห็นพัฒนาการของน้องๆ เยาวชนกลุ่มนี้คือ “กล้าคุยมากขึ้นกว่าเดิม” นำเสนอเล่าสิ่งที่ตัวอยากทำได้ “สามารถเขียนเล่าเรื่องที่ตัวเองอยากทำได้” พอได้ข้อเสนอโครงการที่สมบูรณ์แล้วก็จะเป็นเวทีพิจารณาโครงการในระดับจังหวัดซึ่งเป็นการนำเสนอโครงการกับผู้ทรงคุณวุฒิ เพื่อให้ผู้ทรงคุณวุฒิ เสนอแนะและให้ความเห็นเติมเต็มข้อเสนอโครงการ เวทีนี้ก็จะเห็นว่าน้องๆ เยาวชนกลุ่มไก่ไข่บ้านทุ่ง “มีความตั้งใจ” “มีการวางแผนมาอย่างดี” มีการเตรียมสื่อมานำเสนอในเวที “มีการวางบทบาทหน้าที่” มีคนนำเสนอต่อผู้ทรงคุณวุฒิ มีคนบันทึกความเห็นข้อเสนอแนะจากผู้ทรงคุณวุฒิ หลังจากเวทีพิจารณาโครงการเป็นที่เวทีอบรมเยาวชนนักสื่อสารสาธารณะเป็นเวทีที่ให้น้องเยาวชนเยาวชนส่งตัวแทนเข้าร่วมเรียนรู้การทำ Banner ภาพนิ่งเล่าเรื่องและการตัดต่อวิดีโอ ซึ่งเวทีเห็นการเปลี่ยนแปลงของน้องเยาวชนกลุ่มนี้มาก “เห็นความตั้งใจในการเรียนรู้และสามารถทำได้” ซึ่งการเรียนรู้ในการตัดต่อวิดีโอเพื่อสื่อสารค่อนข้างจะมีรายละเอียดมาก โค้ชเองก็ไม่ได้หวังว่าน้องๆ เยาวชนกลุ่มนี้มาเรียนรู้และสามารถทำได้เลยในระยะเวลาสั้นๆ แต่ผลที่ออกมาถึงกับทึ่งในความตั้งใจในการทำผลงานของๆน้องกลุ่มนี้มากเห็น “ความรับผิดชอบ” ทำงานที่ได้รับมอบหมายลุล่วงและทำออกมาได้ดีด้วย

การสร้างการเรียนรู้ในช่วงต้นน้ำกับกลุ่มเยาวชนไก่ไข่บ้านทุ่ง ถือว่าเป็นกลุ่มที่ท้าทายการทำงานของโค้ช จากที่พี่พรเล่าให้ฟังว่าพื้นฐานกลุ่มเยาวชนกลุ่มนี้จะเป็นกลุ่มที่ค่อนข้างจะเกเร (ขี้ดื้อ) โค้ชเองก็หวั่นๆ อยู่หลายเรื่อง “น้องจะฟังเราไหม” “เราจะเอาน้องอยู่ไหม” “น้องจะเชื่อเราไหม” “น้องจะทำงานโครงการที่ต้องใช้ความรับผิดชอบสูงแบบนี้ได้ไหม” แต่เมื่อน้องเปิดใจว่าอยากทำโครงการ บทบาทวิธีการทำงานของโค้ช คือ 1) วางเป้าหมายของกิจกรรมในแต่ละครั้งว่าจะทำไปเพื่ออะไร น้องๆเยาวชนจะได้เรียนรู้อะไรและออกแบบกระบวนเรียนรู้ในแต่ละช่วงเพื่อให้สอดคล้องกับเป้าหมายที่วางไว้ 2) การสร้างความสัมพันธ์ในกลุ่มและระหว่างกลุ่มในการจัดกิจกรรมในแต่ละครั้งจะมีกลุ่มเยาวชนเข้าร่วมหลายกลุ่มจะใช้กิจกรรมสันทนาการและ Check in ให้น้องเยาวชนได้ผ่อนคลาย รู้จักกัน เตรียมพร้อมเข้าสู่กระบวนการเนื้อหา 3) เทคนิคการใช้เครื่องในการสร้างการเรียนรู้จะช่วยให้น้องๆเยาวชนมีกระบวนการคิดที่เป็นระบบมากขึ้น 4) กระตุ้นให้ทุกคนเกิดการเรียนรู้และมีส่วนร่วมในการกิจกรรม 5) เปิดพื้นที่และให้โอกาสในการคิดได้แสดงความเห็น ได้เขียนและได้พูดได้เล่าสิ่งที่ตังเองทำแลกเปลี่ยนกับเพื่อนๆทีมอื่นๆ 6) การใช้คำถามในการสร้างการเรียนรู้ 7) การสร้างบรรยากาศให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกัน 8)ชวนน้องๆสรุปบทเรียนให้น้องๆได้คิดทบทวนในกิจกรรมแต่ละครั้งได้เรียนรู้อะไร 9) ให้คำปรึกษาเยาวชน 10) ประสานงานกลุ่มเยาวชนและพี่เลี้ยง

จากกระบวนการในช่วงต้นน้ำ โคชก็มีความประทับที่ได้เห็นว่าเยาวชนกลุ่มนี้มีศักยภาพ มีความรับผิดชอบ มีความตั้งใจ โดยสังเกตจากการร่วมเรียนรู้ของน้องในแต่ละกระบวนการ เช่น การศึกษาเรียนรู้ชุมชนจะเห็นว่ากลุ่มเยาวชนกลุ่มนี้มีการทำงานเป็นทีม มีการแบ่งบทบาทหน้าที่ สามารถลงชุมชนไปสอบถามข้อมูลได้ มีการวางแผนการเก็บข้อมูลชุมชน เห็นทักษะการคิดวิเคราะห์หาเรื่องที่กลุ่มอยากทำร่วมกันโดยใช้ข้อมูลที่ตนเองมี มีทักษะการเขียนโครงการสามารถเขียนเล่าเรื่องที่ตนเองอยากทำได้ ออกแบบกิจกรรมโครงการได้ มีความกล้าแสดงออก นำเสนอเล่าเรื่องที่ตนเองอยากทำได้ และมีการทักษะการสื่อสาร เล่าเรื่องสิ่งที่ตัวเองทำผ่านช่องทางเฟสบุ๊คได้ และที่สำคัญได้เห็นว่าน้องกลุ่มไก่ไข่เพื่อการเรียนรู้ได้เห็นพลัง เห็นคุณค่าของตนในการทำโครงการเพื่อชุมชนตนเองและพัฒนาตนเอง แต่ก็ยังมีโจทย์ภายในตัวโค้ชคือ ช่วงต้นน้ำเห็นการเปลี่ยนแปลงพัฒนาในตัวของน้องแล้วระดับหนึ่ง แต่ในช่วงกลางน้ำ และปลายน้ำ โค้ชจะนำพาน้องไปสู่การเป็นเยาวชนพลเมืองได้อย่างไร ?

­