ฐิติรัตน์ สุทธเขต : เทคนิคการโคชเยาวชนทำโครงการเพื่อชุมชน PBL

เทคนิคเด่น ที่มักใช้ในการโคชพลเมืองเยาวชน เช่น คำถามที่มักใช้ วิธีการทำงานกับเยาวชนที่ได้ผล :

  1. สร้างความไว้วางใจ,สร้างความสัมพันธ์ก่อนที่จะตั้งคำถาม หรือชวนพูดคุย
  2. การฟังเชิงรุก คือการฟังด้วยใจ,ฟังด้วยความเข้าใจอย่างละเอียด(ใช้ใจฟัง) และก็ห้ามแย้ง,ห้ามแนะนำห้ามแสดงความคิดเห็น ควรฟังให้จบก่อน
  3. การถามอย่างทรงพลัง เช่น 

คำถามให้กระตุ้น ตัวอย่าง

  • วัตถุประสงค์ของโครงการนี้เพื่ออะไร
  • เมื่อคิดถึงผลลัพธ์ของโครงการนี้น้องๆรู้สึก หรือ เห็นอะไรในอนาคต

คำถามแบบตระหนักถึงความจริงที่เกิดขึ้น เช่น สถานการณ์ปัจจุบันเป็นอย่างไร

คำถามแบบค้นหาทางเลือก เช่น น้องๆ เยาวชนมีเวลามากกว่านี้น้องๆจะทำอะไรบ้าง

คำถามแบบกระตุ้นให้ไปข้างหน้า เช่น สรุปว่าเราจะทำอะไรกันต่อไปบ้าง


ข้อค้นพบในการออกแบบนวัตกรรมการเรียนรู้ หรือวิธีการใหม่ๆ ในการสร้างสำนึกพลเมืองของเยาวชนในจังหวัด :

  1. ต้องให้ตัวเยาวชนตระหนักและคิดแบบเห็นภาพด้วยตัวเขาเอง โคชทำหน้าที่ชี้ให้เห็นภาพที่ชัดเจนและถูกต้องมากขึ้น
  2. เยาวชนต้องเรียนรู้และสัมผัสกับปัญหาเองหรือสิ่งที่อยู่รอบตัวเขาเองหรือได้จากการทำกิจกรรมหรือการทำโครงการ
  3. ทำไม่ถึงเป็นเช่นนั้น เพราะอะไร
  4. ปัจจัยเงื่อนไข ที่ทำให้ประสบความสำเร็จและไม่สำเร็จคืออะไร
  5. ถ้าจะทำให้ดีกว่านี้ จะมีการปรับปรุงแก้ไขอย่างไร
  6. ใครควรเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงานบ้าง มาเกี่ยวข้องเรื่องอะไรอย่างไร
  7. โครงการที่ทำมีส่วนช่วยสร้างความเป็นพลเมืองอย่างไรบ้าง