โครงการนักถักทอนี้เกิดขึ้นโดยอาจารย์ทรงพล เจตนาวณิชย์ และ สสส.ที่เข้ามาใช้พื้นที่ของตำบลเมืองแกเป็นกระบวนการมีส่วนร่วมการมาสัมมนาในส่วนของเยาวชนตำบลเมืองแก แต่วันนั้นเป็นการพัฒนาเฉพาะเยาวชน โดยอาจารย์ได้มาชี้วัดเรื่องศูนย์การเรียนรู้ให้เรา ท่ายอกว่าถ้าจะเป็นเด็กดีในชุมชนน่าจะมีการชี้วัด ปรากฏว่าในการทำงานกับชุมชนในครั้งนั้นได้เกิดการขยายงานกับชุมชนในประเด็นว่า ท้องถิ่นยังมีจุดอ่อนอยู่ที่ตัวพนักงาน ซึ่งน่าจะเป็น “กลไก” หรือเป็น “ตัวกลาง” ในการไปเชื่อมโยงการทำงานในพื้นที่ โดยต้องปรับแนวคิดของพนักงานส่วนท้องถิ่นในกระบวนการทำงานร่วมกันอย่างเต็มรูปแบบมากขึ้น คิดกันตั้งแต่ประมาณปลายๆ ปีที่แล้วว่า เป็นไปได้ไหมในพื้นที่จังหวัดสุรินทร์จะเชิญพี่น้องมาร่วมกันทำงาน เดิมเราตั้งเป้าไว้ 8 แห่ง แต่ตอนนี้เหลืออยู่ 5 แห่ง ที่มาด้วยความสมัครใจ โดยใช้พื้นที่ของเมืองแกชี้แจงหลักสูตร แต่สรุปแล้วมีคนมาลงทะเบียนประมาณ 5 คนเท่านั้น ซึ่งก็เป็นไปด้วยความสมัครใจ
“ผมเชื่อว่าความรู้การทำงานในหน้าที่ประจำทุกคนมีอยู่แล้ว แต่ทักษะที่จะพาชาวบ้านคิด ชาวบ้านทำ ซึ่งกระบวนการนี้ก็เป็นโครงการที่คล้ายๆ on the job training คือ เรียนไปด้วยและนำบทเรียนนั้นไปทดลองทำจริง ซึ่งน่าจะเกิดประสิทธิภาพ ประสิทธิผลกับพนักงาน โดยเฉพาะเรื่องการลงไปหาข้อมูลใหม่ และลงปฏิบัติงานในพื้นที่จริงของเรา น่าจะเกิดผลในด้านการปฏิบัติ แล้วก็น่าจะใช้ชุดวิชานี้ ไปปรับใช้กับงานด้านอื่นๆ ได้ด้วย เพราะสอนตั้งแต่กระบวนการหาข้อมูล กระบวนการแปลงนโยบายของผู้บริหาร ซึ่งในส่วนของท้องถิ่นมีความสำคัญยิ่ง ทำอย่างไรเราจึงจะแปลงข้อมูลไปเป็นการปฏิบัติ หรือจะเชื่อมในส่วนของคนที่เราไปปฏิบัติ ให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีขึ้น”
ตั้งแต่เริ่มหลักสูตรมาจนถึงวันนี้อาจารย์ทรงพลให้โจทย์มาแล้วใน 2 ครั้งที่ผ่านมา คือเป็นเรื่องการเก็บข้อมูลของกระบวนการส่วนท้องถิ่นกับอนามัย เรื่องสถานการณ์เด็ก ที่ยังไม่ค่อยได้คุณภาพ เพราะยังไม่ครอบคลุมทุกกลุ่ม วันนี้ถ้าน้องๆ ไปตรวจสอบข้อมูลที่อนามัยเรื่องท้องก่อนวัยอันควรเป็นอย่างไร หรือไปถามอาจารย์ฝ่ายปกครอง แต่อาจจะยังไม่ลึกและครอบคลุมไปถึงกลุ่มผู้ปกครอง ครั้งนี้น่าจะเป็นการเทรนในส่วนของการหาข้อมูลให้ครอบคลุมขึ้น ซึ่งเราจะเห็นได้ว่าตำบลที่สามารถหาข้อมูลได้ครอบคลุม จะสามารถแก้ปัญหาได้มากกว่าตำบลที่หาข้อมูลได้ไม่ครอบคลุม แต่ด้วยความที่น้องรุ่นนี้เข้ามาเป็นรุ่นกลางๆ ในส่วนของท้องถิ่นผมจึงยังไม่ค่อยจะได้เข้าชุมชนไปรับรู้ปัญหาตรงนี้สักเท่าไร แต่ใช้ชุดพื้นฐานแบบนี้ไปฝึก ไปเทรน ซึ่งผมคิดว่าน่าจะเกิดการเปรียบเทียบข้อมูลซึ่งกันและกันได้ เพราะถ้าเวลาที่ให้ไปคือ 1 เดือนเท่ากัน แต่อีกฝ่ายหนึ่งได้ข้อมูลมาเต็มที่ แสดงว่าเขาไปสำรวจข้อมูลมาจริงๆ และนอกเหนือจากนี้จะเป็นเรื่องของการแปลงข้อมูลไปสู่การปฏิบัติ ซึ่งอาจารย์ก็ให้เวลาได้คุยกันทุกชั่วโมง วันนี้น่าจะเป็นส่วนของเด็กประถมวัย แต่ต่อไปก็น่าจะเป็นเด็กทุกช่วงวัย ทำให้เด็กที่ได้รับการฝึกอบรมในวันนี้ได้เห็นวิธีการเก็บข้อมูลปัญหาของของเยาวชน เพื่อจะได้นำมาปรับแปลงเป็นวิธีการต่างๆ ซึ่งในเดือนหน้าน่าจะเป็นเครือข่ายที่จะมาร่วมในการทำงานให้กับเด็กว่าจะต้องทำอย่างไร ผมว่าท้องถิ่นก็อาจจะได้เก็บเกี่ยวประโยชน์จากตรงนี้ไปใช้ในกระบวนการเขียนแผน แล้วก็จะรู้ตัวว่า ถ้าจะทำผลลัพธ์นี้ให้ดี จะต้องไปเชื่อมกับใครบ้าง
สำหรับความคาดหวังของโครงการนี้ก็คือ ทักษะของเด็กที่จะไปร่วมงานกับชุมชนที่ต้องไม่เก้อ ไม่เขิน สามารถเข้าไปทำงานกับชุมชนได้อย่างเป็นเนื้อเดียวกับชุมชน พอรู้ข้อมูลแล้ว รู้ภาคีเครือข่ายที่จะไปร่วมแล้ว ก็ไปลงมือปฏิบัติร่วมกับชุมชน ซึ่งในปีแรกก็อาจจะยังผิดบ้างถูกบ้าง ก็น่าจะได้กลับมาทบทวนบทเรียน และฝึกเรื่องการประมวลผล รู้ว่าที่ไม่สำเร็จเพราะอะไร และที่สำเร็จๆ เพราะอะไร ผ่านการสะท้อนและคุยกันกับทีมในตำบล เพื่อที่จะได้หาทางแก้กันต่อไป ผมเชื่อว่าเรื่องเยาวชนเป็นเรื่องพฤติกรรมที่ต่อเนื่อง และจะไม่สำเร็จในคราวเดียว และก็ห้วงวัยไหน มีส่วนไหนที่จะต้องรับผิดชอบ หากสำเร็จแล้วก็ต้องเคลื่อนไปอีกห้วงวัยหนึ่ง ซึ่งในปีหน้าน่าจะเป็นปัญหาเด็กนอกระบบ น่าจะได้เริ่มแบบนี้ เพราะว่าเมื่อก่อนท้องถิ่นจะมี 1 โครงการ 1 กิจกรรม ก็เลยไม่ร้อยต่อ ไม่เชื่อมประสานกัน
โครงการนี้น่าจะเป็นไกด์ไลน์ในการทำแผนตั้งแต่ต้นปีว่าปีหน้า ในกลุ่มเด็ก ตั้งแต่แม่ของเด็กเราจะทำอย่างไร ประถมวัยจะทำอย่างไร ประถมจะทำอย่างไร ซึ่งพอเห็นโจทย์ของอาจารย์ ทรงพลแล้วก็คิดว่าน่าจะเป็น “ธง” ให้ท้องถิ่นนำไปพูดคุยได้ด้วยว่า ที่ผ่านมาการขับเคลื่อนงานเยาวชนมันไปทิศทางไหน เช่น โครงการค่ายพุทธบุตร โครงการค่ายที่เสนอท้องถิ่นมา มันเกิดจากปัญหาของโรงเรียนจริงหรือไม่ ซึ่งวันนี้เมื่อถึงในส่วนของเด็กประถมก็พอจะมองเห็นว่าอาจจะนำโจทย์ของอาจารย์ไปพูดคุยกับโรงเรียนว่า เคยคิดสำรวจแบบนี้ไหม หลักสูตรนี้ตรงกันไหม เพราะเมื่อก่อนหลักสูตรของโรงเรียนจะตรงกับความต้องการของอาจารย์มากกว่า จึงเป็นการบ้านของทางโรงเรียนว่าถ้าจะร่วมกับท้องถิ่นน่าจะเริ่มกับจุดไหนกันก่อน ควรต้องไล่ให้ฟังก่อนว่า เด็กในท้องถิ่นทำอย่างนี้ เด็กประถมวัยทำอย่างนี้ เด็กมัธยมก็น่าจะทำเรื่องนี้ ซึ่งจากใบงานวันนี้ก็นำจะนำไปแปลง ทบทวนกับทางโรงเรียนได้หมด
ที่ผ่านมาเราใช้กลไกของสภาเยาวชน แล้วก็หาเครือข่ายออกไป เครือข่ายหมู่ละ 15 คน พอออกเป็นเครือข่ายก็มีศูนย์เรียนรู้ของเยาวชน แต่เยาวชนที่ได้มา เป็นเยาวชนที่ใฝ่ดีเพื่อจะได้กระตุ้นเด็กที่กำลังจะขึ้นมาเป็นเยาวชนไม่ให้ออกนอกลู่นอกทาง หาเวลาว่างทำอย่างอื่น แต่ในส่วนของเด็กนอกระบบเราก็ร่วมกับกำนันผู้ใหญ่บ้านว่าทำอย่างไร เราจึงจะได้หัวโจกมา ซึ่งปลายทางที่เรากำลังแก้อยู่ เราแก้ค่อนข้างยากพอสมควร ทีนี้เรากำลังหาวิธีทั้งในส่วนของลูกเสือชาวบ้าน เราจะทำทุกอย่างที่เขาใช้เวลาว่างมารวมกลุ่มกัน แล้วก็เรื่องอาชีพ ซึ่งก็จะสอนให้ เพราะเรามีโครงการจะทำอยู่แล้ว เป็นโครงการสหกรณ์สำหรับเด็กและผู้ใหญ่ที่มีจิตอาสาใฝ่ดี แต่ก็ยังเหลือกลุ่มหนึ่งเหมือนกัน ที่เรายังแก้ไม่สำเร็จ ถ้าเทียบดูในส่วนของเมืองแก จะแก้ในส่วนของเด็กที่ใฝ่ดี และเด็กรุ่นกลาง แล้วตอนนี้ที่อาจารย์ทรงพลมาแนะนำก็เป็นเด็กตั้งแต่แรกเกิดขึ้นมา ปีหน้าน่าจะเป็นแผนงานของเยาวชนใหญ่ว่าจะแก้ทั้งระบบยังไง แต่ปัญหาของเราที่จะต้องร่วมกับเยาวชนนอกระบบ ก็อยากให้มันเกิดขึ้นด้วยเช่นกัน
“นักถักทอลงไปส่วนแรก ในส่วนของการหาข้อมูล อยู่ระหว่างการหาข้อมูล ก็จะเกิดคำถามกับชาวบ้านหรือคุณหมอเหมือนกันว่า ต้องการเอาข้อมูลไปทำอะไร ซึ่งหมออาจจะมีข้อมูลที่เก็บไว้แต่ไม่ได้ใช้งานนานแล้ว อาจจะใช้กับมูลนิธิบ้าง แต่ว่าพอองค์กรส่วนท้องถิ่นคิดจะทำเรื่องนี้ คุณหมอก็เห็นดีด้วย ก็ให้ข้อมูลมา แต่ว่าวันนี้เรียนตรงๆ ว่า ด้วยความที่การเก็บข้อมูลเรายังน้อยอยู่ ยังไปไม่ถึงผู้ปกครอง ซึ่งน่าจะเป็นบทเรียนให้พวกเราด้วยว่า บางทีเครือข่ายข้อมูลที่ได้มายังไม่ครบ แต่เกิดผลสะท้อนภาพว่าท้องถิ่นคิดจะมาทำเรื่องนี้ ผมประชุมกับผู้ปกครองและศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก แต่วันนี้ลืมกลับไปคิดว่า สมมุติพ่อ แม่ เขาไม่อยู่ แต่เด็กอยู่กับตายาย ซึ่งตา ยาย ก็อยากให้เราเป็นศูนย์ ซึ่งตอนนี้เด็ก 200 กว่า คน ผมเชื่อว่าร้อยละ 50 พ่อ แม่ อยู่กรุงเทพฯ หมด แล้วตา ยายจะไปอุดช่องโหว่ ช่องว่าง ตรงนี้อย่างไร เพราะว่าวันนี้ท้องถิ่นของผมก็คือ พ่อ แม่ อยู่ตรงต่างถิ่นหมด แล้วตรงนี้จะทำอย่างไร”