นูรอามีนี สาและ : หัวใจสำคัญของ (KM)


กระบวนการเรียนรู้การจัดการความรู้

­


เป็นความโชคดีของเราทีมงานโครงการพลังพลเมือง เยาวชนสงขลา ที่พี่โจ้กับพี่แจง จากมูลนิธิสยามกัมมาจลที่เห็นความสำคัญของทีมงาน จึงได้มีการมาเยี่ยมเยียนถึงสถานที่ทำงานตลอดจนยังแนะนำการทำงานเป็นพี่ เลี้ยงของเยาวชนจะทำอย่างไรที่จะทำให้งานประสบความสำเร็จ ไม่ว่าจะเป็นการออกแบบกระบวนการที่แฝงไปด้วยคุณค่าและการจัดการความรู้จากประสบการณ์ทำงานว่าจะทำอย่างไรที่จะทให้การสื่อสารของเรามีพลังมากขึ้น ซึ่งพี่ๆทั้งสองใช้กระบวนการในการพูดคุยดังนี้

­


๑.จิตตปัญญาศึกษา โดยทุกคนจะนั่งล้อมวง เป็นวงกลม ซึ่งพี่โจ้จะให้ผู้เข้าร่วม นั่งนิ่งๆ และหลับตา ในช่วงที่หลับตา พี่โจ้จะพูดให้เราฟัง แล้วทำตาม เช่น ให้เราปล่อยวางทุกอย่าง ให้ทุกคนตั้งจิตอยู่ในที่เราอยู่ แล้วพูดให้เราตามและทำการผ่อนคลายตามจุดต่างๆ ไม่ว่าผ่อนคลายตามกล้ามเนื้อ ไหล่ มือ ฯลฯ ซึ่งจะใช้เวลา ประมาณ ๕ นาที หลังจากนั้น พี่โจ้จะให้ผู้เข้าร่วมลืมตา แล้วพูดถึงกระบวนการที่ทำว่า ในขณะที่เราเป็นผู้เข้าร่วมที่ต้องฟังเรารู้สึกอย่างไร ( ทิ้งโจทย์ว่าตอนที่เราฟังเราคิดอะไรบ้าง ) ซึ่งคำตอบของผู้เข้าร่วมคือ ตั้งใจฟังว่าพี่โจ้จะให้ทำอะไรต่อ ( ฟังคำสั่ง ) หลังจากนั้นพี่โจ้ก็สรุปให้เห็นว่าหัวใจหลักของการทำ KM ( การจัดการความรู้ ) คือการฟัง ฟังให้ได้ยินว่าคนพูดต้องการจะสื่อสารอะไร

­


­


๒.การสนทนาอย่างลึกซึ้ง

­


  • พี่โจ้ให้ผู้เข้าร่วมจับคู่ แล้วเล่าความรูสึกดีดีในอาทิตย์ที่ผ่านมา โดย รอบที่๑ ให้คนที่๑ เล่า ให้คนที่ ๒ ฟัง

­


แล้วให้คนที่ ๒ เล่าความรู้สึกของคนที่ ๑ เล่ามา รอบที่ ๒ ให้สลับเป็นคนที่๒ เล่าความรู้สึกดีดีที่เกิดขึ้นในอาทิตย์ที่ผ่านมาต่อ ซึ่งคู่ของตัวเอง ( มีนี กับ พี่เก๋ ) พี่เก๋เล่าว่า ในช่วงอาทิตย์ที่ผ่านมาสิ่งที่ตัวเองรู้สึกดี คือการได้คุยกับเพื่อนต่างชาติ

­


( ภูฏาน) ทางเฟสบุ๊ค ซึ่งต่างคนได้คุยแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมซึ่งกันและกัน และรูปแบบการปกครองที่แตกต่างกัน ซึ่งพี่เก๋พูดว่าการได้คุยกับชาวต่างชาติ และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ วัฒนธรรมเป็นสิ่งที่ตัวเองชอบมาก หลังจากที่พี่เก๋พูดจบ มีนีก็ได้สะท้อนความรู้สึกของพี่เก๋ว่า เพราะพี่เก๋ได้ทำในสิ่งที่ตัวเองชอบ ทำให้รู้สึกดี

­


สำหรับมีนีก็เล่าว่า สิ่งที่รู้สึกดีในอาทิตย์ที่ผ่านมาคือการที่เพื่อนเก่าสมัยมัธยมมาสอบที่สงขลาแล้วมาพักที่บ้านของมีนี ซึ่งแต่ละคนก็ต่างเล่าประสบการณ์ หลังจากที่เรียนจบ ว่าทำอะไรยังไง มีความคิดอย่างไร แล้วเรื่องความรักที่ต่างคนไปพบเจอ แล้วมีมุมมองอย่างไร ซึ่งมีนีรู้สึกเหมือนได้ระบายเรื่องราวต่างๆ และอีกเรื่องหนึ่งสิ่งที่ทำให้มีนีรู้สึกดี คือ การที่พ่อของเขาได้ไปเที่ยว จากที่ไม่ได้เที่ยวไหนตั้งแต่ตัวเองเรียนมัธยมจนจบมหาวิทยาลัย เพราะไม่อยากใช้จ่ายสุรุ่ยสุร่ายกลัวลูกจะไม่มีตังค์ไว้ใช้จ่าย แต่อาทิตย์ที่ผ่านมาพอไปเที่ยว ทำให้ตัวเองรู้สึกมีความสุขที่พ่อหันมาทำอะไรเพื่อพ่อ และรู้สึกว่าตัวเองไม่เป็นภาระให้ครอบครัว หลังจากที่มีนีพูดจบ พี่เก๋ก็สะท้อนว่า การที่มีนีได้พบกับเพื่อนเก่าได้เล่าสิ่งที่เกิดขึ้น ทำให้เกิดการระบาย ได้เล่าสิ่งที่ตัวเองทำ ได้แลกเปลี่ยนมุมมองทำให้รู้สึกดี และเรื่องพ่อมีนีรู้สึกว่าตัวเองไม่เป็นภาระของครอบครัวและมีความสุขที่เห็นพ่อมีความสุข

­


  • พี่โจ้ก็ให้เราเล่าอะไรที่แย่ๆของเราให้เพื่อนฟัง ซึ่งพี่เก๋ได้เล่าว่าตัวเองจะเป็นคนที่ควบคุมอารมณ์ไม่ค่อยได้

­


และ เป็นคนที่ดื้อเงียบ จะไม่ค่อยฟังผู้ใหญ่เช่นเรื่องงานคนที่บ้านไม่ให้ทำ แต่ตัวเองก็ยังอยากทำเพราะต้องการจะเรียนรู้ แต่ทุกอย่างตั้งอยู่บนฐานของเหตุผล หลังจากที่กระบวนการสนทนาจบ พี่โจ้ก็นำคุยว่าเราได้เรียนรู้อะไรจากการฟัง จากการเล่าความรู้สึกของเพื่อน ทุกคนก็พูดว่า เราได้เรียนรู้ความรู้สึกของผู้พูด ในขณะนั้นว่ารู้สึกอย่างไร โดยการฟัง การดูสีหน้า ท่าทาง ซึ่งพี่โจ้ก็ได้ถามต่อว่า ในขณะที่เราฟังเราจะฟังแบบไหน ฟังแล้วคิดแล้วตัดสินยังไง ซึ่งการเป็น KM ที่ดีต้องฟังแบบห้อยแขวน ( การตัดสิน ) คือฟังเนื้อหาสาระ / ความรู้สึก/ สีหน้า /ท่าทีของผู้เล่า และฟังความคิด/ ความรู้สึกตัวเอง

­


­


  • ผู้เข้าร่วมเล่าถึงกิจกรรมที่ตัวเองประทับใจและภูมิใจ ซึ่งทุกคนก็จะเล่าถึงกิจกรรมที่ตัวเองทำแล้วภูมิใจ

­


เช่น อะไรที่ประทับใจ ทำไมถึงประทับใจ มีปัญหาอุปสรรคอย่างไร แล้วแก้ปัญหาอย่างไร อะไรที่ทำให้ภูมิใจเช่น น้องกุ๊กได้เล่าว่า กิจรรมที่ตัวเองประทับใจที่สุดคือโครงการศึกษาดูงาน โดยน้องกุ๊กจะทำหน้าที่ประสานงานทุกอย่าง ซึ่งเป็นการประสานงานกับหน่วยงานภายนอกและยุ่งยากมาก พอถึงวันจัดกิจกรรมก็เกิดปัญหาที่คาดไม่ถึง คือรถเสียตลอดทาง ทำให้ผู้เข้าร่วม รวมถึงอาจารย์ไม่พอใจ แต่กุ๊กก็พยามประสานและแก้ไข ทำให้ทุกอย่างผ่านไปด้วยดี และสิ่งที่กุ๊กภูมใจที่สุดคือทุกหลังจากจบกิจกรรมแล้วทุกคนชื่นชม และพอใจกับกิจกรรมที่กุ๊กเตรียมมา














หลังจากนั้นพี่โจ้ก็ถามความแตกต่างของการพูดในช่วงแรก คือการฟังความรู้สึก กับการเล่าสิ่งที่ภูมิใจแตกต่างกันอย่างไร ซึ่งผู้เข้าร่วมก็ได้สะท้อนว่าการเล่าในช่วงแรกเราจะเห็นแค่ความรู้สึกเพียงด้านเดียว แต่เล่าเรื่องกิจกรรมที่ประทับใจเราจะเห็นถึงความเป็นเหตุเป็นผลว่าทำไมถึงประทับใจ อะไร ยังไง คือจะรู้รายละเอียดทั้งหมด หลังจากนั้นพี่โจ้ก็ได้สรุปว่า การฟังของKM ที่ดี ต้องแยกให้ออกระหว่าง ความรู้สึกดีๆ ความรู้สึกแย่ๆ และควรมีการวิเคราะห์เป็นเหตุเป็นผล ซึ่งพี่โจ้แนะนำว่ากระบวนการคุยที่ให้เห็นภาพ โดยแบ่งให้เห็นเป็นสัดส่วนว่า KM ที่ดี ต้องแบ่งน้ำหนักในการพูดคุย ในส่วนเรื่องความรู้สึกต้องมีน้ำหนัก น้อยกว่า การวิเคราะห์งาน เช่น ความรู้สึกแย่ ๒๐ % ความรู้สึกดี ๒๐ % และพูดให้เห็นการวิเคราะห์งาน ๖๐ %

­


­


๓. พี่โจ้แนะนำกระบวนการทำงานของ KM ที่ดี ต้องมีขั้นตอนการทำงานดังนี้

­


  • เป้าหมายงาน KM ต้องมีการวางเป้าหมายที่ชัดว่าต้องการจะทำอะไร เรียนรู้ได้ที่ไหน จากใคร แล้วลงมือ

­


ปฏิบัติ

­


  • การวางแผน ( วางแผนก่อนทำ / วางบทบาทหน้าที่ ) โดยการวางบทบาทหน้าที่ทุกคนต้องเท่าเทียมกัน

­


หน้าที่แตกต่างกันแต่ความเหนื่อยเท่าๆกัน

­


  • การลงมือทำ โดยทุกคนต้องช่วยกันดู ช่วยกันทำเพื่อให้งานบรรลุผลไปตามเป้าหมายที่วางไว้

  • สะท้อนผล / ประสบการณ์ทำงาน หลังจากที่จัดกิจกรรมแล้วต้องมีการ สะท้อนผลเพื่อไปสู่การพัฒนาใน

­


ครั้งต่อไป

­


  • การจัดเก็บความรู้ ( ให้เห็นภาพ ) ต้องการจัดเก็บข้อมูลโดยละเอียดที่สามารถทำให้คนอ่านแล้วรู้สึก

­


เหมือนตัวเองเข้าร่วมกิจกรรมกระกระบวนการด้วย

­


  • ถ่ายทอดสื่อสาร สุดท้ายแล้วข้อมูลที่ทำมาต้องมีการถ่ายทอดสื่อสารให้คนอื่นรับรู้ ถ่ายทอดยังไงให้มีพลัง

­


ให้คนรับเข้าใจ และเห็นคุณค่าได้

­


­


ช่วงที่ ๒

­


กระบวนการที่ ๑ การจัดวงสนทนาที่ดี

­


บทบาทการทำงานของ KM ในการจัดวงสนทนา ดังนี้

­


๑. วงสนทนา ต้องประกอบด้วย ตัวละครดังนี้

­


  • FA คนชวนคุย ทำหน้าที่ ฟัง ถามให้ Pant ฉุกคิด ดึงให้ Pant ถาม เล่า และFAต้องจับประเด็น จับใจความ คุมเวลา สร้างการเรียนรู้ และจัดการความรู้สึกคนเล่าอีกด้วย

­


  • คนจด ทำหน้าที่จด ประมวล สรุปโดยละเอียดเช่น จดบันทึก ว่ากิจกรรมทำอย่างไร มีเหตุการณ์อย่างไร มี ความรู้สึก ความคิด ข้อค้นพบ และข้อเรียนรู้ / บทเรียน สุดท้าย คนจดต้องวิเคราะห์บทเรียนสำคัญเช่น ประเด็นร่วม ประเด็นต่าง และเหตุผลปละเหตุผลของประเด็นดังกล่าว

­


  • Pant เป็นผู้เล่าประสบการณ์ เรื่องราว ต่างๆที่ตัวเองทำ/ และประสบเจอ

­


­


๑. การจัดการวงแลกเปลี่ยนเรียนรู้ วิทยากรจะพูดให้เห็นภาพ โดยการยกตัวอย่างการจัดค่าย ว่าเรามีการจัดการและการจัดวงแลกเปลี่ยนอย่างไร เช่นการจัดการต้องมีการแยกว่า ใครเข้าค่าย / สถานที่ไหน / ใครวิทยากร/ อาหารอะไรบ้าง/ งบใช้จ่ายเท่าไหร่/ เอกสาร/ ลงทะเบียน และการจัดวงแลกเปลี่ยน ต้องมีการออกแบบดังนี้ มีเป้าหมายของการจัดกิจกรรม / ออกแบบเวที / วิทยากร / พี่เลี้ยงกลุ่ม / วิชาการ

­


๒. พี่โจ้ได้มีการแนะนำการลงเว็บ ก่อนจัดงานว่าควรทำอย่างไรเพื่อให้ทุกคนได้รู้ความเคลื่อนไหวของเรา เช่น มีกิจกรรมอะไร ใครทำ อะไร ที่ไหนอย่างไร และควรใส่คุณค่าของงานไปด้วย ให้มีความสนใจและน่าติดตามมากขึ้น

­


๓. พี่โจ้ให้โจทย์ผู้เข้าร่วม ถ้าเราจะจัดกิจกรรมเราต้องมีประเด็นคำถามในวงสนทนาของพี่เลี้ยงและเยาวชนอย่างไร ซึ่งผู้เข้าร่วมก็ได้ยกตัวอย่างการจัดค่ายการพัฒนาโครงการเยาวชนที่ผ่านการคัดเลือก ซึ่งก่อนที่เราจะยกประเด็นคำถาม เราก็มีการคิดถึงวัตถุประสงค์ของการจัดค่ายว่าเราต้องการจัดเพื่ออะไร ซึ่งวัตถุประสงค์หลักก็คือ พัฒนาโครงการของเยาวชนที่ผ่านการคัดเลือกให้มีความสมบูรณ์มากขึ้นและมีประเด็นคำถามในวงเสวนาของเยาวชนดังนี้

­


  • โครงการที่ทำเกี่ยวข้องกับปัญหาอะไรบ้างในโรงเรียน ชุมชน และปัญหานั้นสำคัญมากหรือไม่ อย่างไร ( มีข้อมูลยืนยันความสำคัญของปัญหา )

  • ต้องการทำสิ่งใดเพื่อแก้ปัญหานั้น

  • ทำแล้วจะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร

  • สิ่งที่ทำนั้นทำเพื่ออะไร

  • กลุ่มเป้าหมายคือ

  • มีวีการหรือขั้นตอนการดำเนินงานอย่างไร

  • หลังจากการทำกิจกรรมแล้วอยากเห็นอะไรเกิดขึ้นบ้าง

  • ถ้าได้งบประมาณจะมีแผนการใช้จ่ายให้เกิดประโยชน์สูงสุดอย่างไร

­


ประเด็นคำถามในวงเสวนาของผู้ทำโครงการ มีดังนี้

­


  • มีความรู้สึกอย่างไรหลังจากการทำกิจกรรม/ AAR บทบาทหน้าที่ของตัวเอง

  • เห็นกระบวนการคิดของเยาวชนระหว่างทำกิจกรรมหรือไม่อย่างไร

  • โครงการมีการพัฒนาจากเดิมหรือไม่อย่างไร

  • กระบวนการมีส่วนร่วมของเยาวชนภายในกลุ่มเกิดขึ้นหรือไม่ อย่างไร

  • ปัญหา อุปสรรคที่เกิดขึ้นระหว่างการทำกิจกรรม

  • AAR กระบวนการทั้งหมด ( ภาพรวม )

­


หลังจากที่เรานำเสนอพี่โจ้ก็แนะนำว่า ก่อนที่เราจะออกแบบเวที หรือวงเสวนา ให้เราคิด Value ของงานก่อนว่างานที่เราทำมีคุณค่าอย่างไร เพื่อให้ง่ายต่อการออกแบบกระบวนการและง่ายต่อการจัดการความรู้ และพี่โจ้ได้แนะนำคำถามที่ควรจะมีในวงเสวนาของเยาวชนในการสรุปบทเรียนหลังจากจัดกิจกรรมเช่นคำถามที่จะให้ได้คำตอบว่า ใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไร ทำไมต้องทำ ทำกับใคร ทำอย่างไร บทบาท/ใครทำอะไรบ้าง ทำอะไรได้ดี / สำเร็จ อะไรที่ยังไม่สำเร็จ/จะแก้ยังไงถ้าได้รับโอกาสอีกครั้งและได้เรียนรู้อะไร สำหรับในวงสนทนาของผู้ทำโครงการ จะต้องมีความคาดหวัง / เป้า อะไรที่เป็นไปตามความคาดหวัง เพราะอะไรที่เป็นไปตามนั้น อะไรที่ไม่เป็นไปตามความคาดหวัง และถ้าจะทำให้ดีขึ้นจะทำอย่างไร

­


­


สิ่งที่เรียนรู้/ ค้นพบ

­


จากกระบวนการจิตตวิทยาศึกษา ทำให้ตัวเองได้เรียนรู้และตระหนักถึงความสำคัญของการเตรียมใจ เตรียมกายก่อนจะรับ สิ่งใหม่ๆที่จะเกิดขึ้นว่าถ้าเรามีความพร้อมความเครียดก็จะไม่มี และสามารถทำเนินงานได้อย่างราบรื่นและเป็นไปตามธรรมชาติ ตลอดจนได้ทบทวนตัวเองว่าละเลยเรื่องสุขภาพกาย ใจ และเรียนรู้การฟังอย่างมีสติ คิดแยกแยะ มากขึ้น รู้วิธีการจัดการความรู้ที่ดี ควรฟังและจดอย่างไรเพื่อให้ข้อมูลมีประโยชน์และสามารถใช้ได้จริง และนอกจากนี้แล้วได้เรียนรู้รูปแบบการออกแบบเวทีรู้สึกว่ามันง่ายขึ้นกว่า เดิมมาก