ทำงานกับชุมชน
การทำงานที่เกี่ยวข้องกับการลงสู่ชุมชน ขั้นตอนต่างๆของงานมีการปรับงานเข้าสู่ชุมชนในด้านต่างๆที่หลายโครงการเเตกต่างกันไปตามบริบทของสังคม ปัญหา หรือสิ่งเเวดล้อมของชุมชนนั้นๆ เพราะชุมชนเเต่ละชุมชนไม่เหมือนกันหรืออาจคล้ายกันทำให้วิธีในการลงสู่ชุมชนไม่เหมือนกัน การพัฒนางานจึงเเตกต่างกันไปตามบริบทของเเต่ละพื้นที่เเละศักยภาพที่มีในกลุ่มพัฒนา การ สื่อสารกับชาวบ้านเป็นสิ่งสำคัญหากสื่อสารผิดอาจเกิดผลเสียทั้งระยะไกล้เเละระยะไกลขึ้นได้ทำให้งานสามารถขับเคลื่อนได้ช้าเพราะการสื่อสารนั้นไม่เพียงพอ การทำงานโครงการที่ต้องศึกษาชุมชน วิจัยชุมชน สำรวจส่วนต่างๆของชุมชน มักมีการจัดการข้อมูลให้ลงสู่ชุมชนที่พัฒนา อาทิ ศึกษาสังคมของชุมชนเเล้วให้ชุมชนได้มองเห็นสังคมที่กลุ่มพัฒนาได้ศึกษาโดยการคืนข้อมูลลงสู่ชาวบ้าน หรือ ทำการวิจัยในพื้นที่ของชาวบ้านเเละการทำอย่างหนึ่งอย่างใดที่เป็นผลต่อชาวบ้านทั้งผลในด้านดีเเละด้านเสียควรคืนข้อมูลลงสู่ชาวบ้านทั้งหมด...ทั้งนี้เพื่อเเสดงถึง ความจริงใจ ที่มีต่อชุมชนที่ตนพัฒนารวมทั้งเป็นการสร้างสัมพันธภาพที่ดีที่มีต่อชาวบ้านเเละผู้นำชุมชน "เเต่สิ่งหนึ่งที่ชาวบ้านจะรู้สึกระเเวง คือ การเปิดเผยมากเกินไปจนอาจทำให้ตน ครอบครัว ชุมชน ได้รับผลกระทบจากผลของการดำเนินงานของกลุ่มพัฒนางาน" การสื่อสารจึงเปรียบเสมือนน้ำมันที่คอยหล่อลื่นฟันเฟืองให้สามารถขับเคลื่อนต่อไปได้ในทิศทางของงานนั้นๆ ...
การทำงานกับชุมชนนั้น "ความเป็นลูกหลาน" เป็นทุนสำคัญในการเข้าถึงผู้ใหญ่ในชุมชนเเละชาวบ้านเพราะ "ความเป็นลูกหลาน" มักได้รับความวางใจเเละเอ็นดูจากผู้ใหญ่เเละชาวบ้านในชุมชนยิ่งเป็นลูกหลานของชาวบ้านยิ่งนับว่าเป็นทุนที่สำคัญในการเข้าถึงชาวบ้านในบริบทของ "เยาวชน" การทำงานจิตอาสาในบริบทของผู้ใหญ่อาจมีทุนสำคัญ คือ ความน่าเชื่อถือ เเต่ในบริบทของเยาวชนในการทำงานจิตอาสามีทุนสำคัญ คือ ความเป็นลูกหลาน ... ซึ่งในความเป็นผู้ใหญ่หรือเด็กอาจไม่เเน่นอนตายตัวในทุนที่มีอยู่...ในกลุ่มจิตอาสาหนึ่งควรมีทั้งเด็กเเละผู้ใหญ่เพื่อสร้างพลังของงานเเละสร้างพลังของกลุ่ม "ความน่าเชื่อถือเเละความเป็นลูกเป็นหลานจะทำให้งานง่ายต่อการพัฒนา"
ปัญหาส่วนใหญ่ของการทำงานกับชุมชนอยู่ที่การสื่อสารกับชุมชนในทิศทางของงานที่เป็นไปในบริบทของโครงการ การเเก้ไขปัญหานี้ คือ การลงปรับความเข้าใจต่อชาวบ้านยิ่งเป็นครัวเรือนได้ยิ่งดี ตลอดจนการทำความคุ้นเคยกับชาวบ้านเเละผู้ใหญ่ในหมู่บ้านหลายคนอาจมีวิธีต่างกันไป อาทิ การลงไปช่วยงานหมู่บ้านในงานบุญประเพณีต่างๆ การไปทานข้าวร่วมกันกับชาวบ้าน หรืออาจพักค้างคืนในบ้านของชาวบ้านกลุ่มเป้าหมาย เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อสร้างสำพันธภาพที่ดีระหว่างกลุ่มจิตอาสาเเละชุมชนเป้าหมาย .... ประเด็นปัญหาหลายอย่างที่เราตั้งเป้าหมายในการเเก้ปัญหาอาจสามารถเเก้ไขได้ยากต้องใช้ระยะเวลาเเละโอกาสตลอดทั้งทุนต่างๆที่เหมาะสมการทำงานจะดำเนินอย่างค่อยเป็นค่อยไป....เเบบค่อยเป็นค่อยไปโดยใช้ ความเย็น เข้าหล่อเลี้ยงการเเก้ไขปัญหา ปัญหาประเด็นนี้จะเป็น วิถีการดำเนินชีวิต ที่อยู่ในระดับ ทัศนคติ ซึ่งเป็นปัญหาที่เเก้ไขยากที่สุด... ต้องใช้ระยะเวลาเเละเครื่องมือที่เหมาะสม .... ความเย็นนี้เป็นวิถีทางในการเเก้ไขปัญหาในเชิงค่อยเป็นค่อยไปเพราะถ้าใช้ความร้อนเข้ามากจนเกินไปชาวบ้านในชุมชนอาจเข้าใจคลาดเคลื่อนก็เป็นได้ ... ความเย็นนี้อาจใช้ ศิลปะเข้ามาช่วย กีฬาเข้ามาช่วย ทัศนาจรเข้ามาช่วย สภาพเเวดล้อมเข้ามาช่วย วัฒนธรรมเข้ามาช่วย เป็นต้น ... ซึ่งถ้าเรานำความเย็นเข้ามาช่วยจะลดอุณหภูมิความร้อนของชุมชนได้ในอีกมุมหนึ่ง ... โดยมิได้ใช้ความร้อนเพียงอย่างเดียว เมื่อใช้ความร้อนเพียงอย่างเดียวอาจทำให้ชาวบ้านในชุมชน ปะทุ ขึ้นมาได้ .. ความร้อนนี้อาจเป็น การเเสดงออกต่อชุมชนในเชิงลบ อาทิ การตีเเผ่ข่าวสารอย่างเปิดเผยเกินไปทำให้ชาวบ้านเกิดภาวะของความระเเวงในผลของโครงการ หรือ การใช้คำพูดที่รุนเเรงหรือไม่เหมาะควรที่อาจทำให้ชาวบ้านอาจรับฟังได้ยากในความตรงประเด็น การใช้กิจกกรรมซึ่งเป็นผลต่อทัศนคติในเชิงลบของชาวบ้าน เป็นต้น ในการทำงานกับชุมชนควรเน้นที่ความเย็นเเละคอยย้ำเตือนความร้อนให้เกิดการสมดุลของอุณภูมิในเเต่ละโครงการ ...
การทำงานกับชุมชนมี ๓ ขั้นดังนี้
first = การลงสู่ชุมชนเเละการศึกษาองค์ความรู้ต่างๆในบริบทของโครงการต่อชุมชน อาทิ ศึกษาชุมชน วิจัยชุมชน สำรวจส่วนต่างๆของชุมชน ซึ่งในการลงชุมชนนั้นอาจมีกระบวนการ คือ
ขั้นที่ 1 = พบปะเพื่อสร้างความคุ้นเคยรายครัวเรือนเเละผู้นำชุมชนเพื่อเป็นการเข้าถึงเเละสื่อสารกับชาวบ้านอย่างชัดเจนว่าเราจะทำอะไร กับใคร เป็นอย่างไร มีผลดีอย่างไร มีผลเสียอย่างไร ต่อชุมชนเเละต่อครอบครัวของตนเอง เป็นต้น
ขั้นที่ 2 = การสัมภาษณ์เชิงลึกของคนในชุมชนเเละหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้องกับชุมชน ตลอดจนการหาเครือข่ายในการพัฒนางานที่เป็นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาเป็นพลังเสริมความหนักเเน่นของโครงการเเล้วสามารถทำให้งานง่ายขึ้นในการพัฒนา
ขั้นที่ 3 = การให้ผู้นำชุมชนช่วยประชาสัมพันธ์ในสิ่งที่เราได้ทำในทุกความเคลื่อนไหวที่สำคัญของโครงการ หรือการลงสู่ผู้นำชุมชน เป็นต้น ...
second = การติดตามงานในชุมชนโดยในการติดตามงานนี้ถ้ามีคนในชุมชนที่เป็นสมาชิกในกลุ่มนับว่าเป็นทุนที่ดีในการเข้าถึงเเละคอยติดตามอย่างต่อเนื่อง...เเล้วการติดตามงานให้ลงชุมชนเป็นระยะเพื่อสร้างความคุ้นเคยกับชาวบ้านในกลุ่มเป้าหมายของงานเเละสังคมรอบด้านของกลุ่มเป้าหมาย
final = การคืนข้อมูลลงสู่ชาวบ้านในองค์ความรู้ต่างๆที่ได้ศึกษามาตลอดการทำโครงการโดยในการคืนข้อมูลนั้นแต่ละโครงการจะแตกต่างกันไปตามความเหมาะสมกับชุมชนนั้นๆและศักยภาพของกลุ่มพัฒนางาน
การคืนข้อมูลอาจมีเทคนิค ดังนี้
การใช้ศิลปะเข้าช่วย - การคืนข้อมูลในรูปเเบบการใช้ศิลปะเข้าช่วยเพื่อให้ชาวบ้านเห็นบริบทปัญหา อาทิ ดนตรี / ภาพวาด / บทเพลง-บทกวี / ภาพถ่าย / หนังสั้น / ละคร / ตลก การคืนข้อมูลโดยวิธีนี้เป็นอีกมุมของการดึงชาวบ้านให้เข้ามามีส่วนร่วมมากที่สุด เป็นต้น
การใช้กีฬาเข้าช่วย - การคืนข้อมูลในรูปเเบบการใช้กีฬาเข้าช่วยเพื่อให้ชาวบ้านเห็นบริบทปัญหาโดยเป็นการใช้กีฬาให้ชุมชนเห็นค่าของปัญหา อาทิ เเข่งเรือพายเก็บขยะ มวยทะเล การดำน้ำ เป็นต้น
การใช้ทัศนาจรเข้าช่วย - การคืนข้อมูลในรูปเเบบการใช้ทัศนาจรเข้าช่วยเพื่อให้ชาวบ้านเห็นบริบทปัญหา อาทิ การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ การปั่นจักรยานเพื่อรณรงค์เรื่องการทิ้งขยะในเเม่น้ำลำคลอง การเดินทางไปยังจุดปัญหาในชุมชนที่ตนอาจมองไม่ถึงหรือเป็นสิ่งที่ลบเลือนออกจากการดำรงชีวิต ที่วิถีนี้มีความเปลี่ยนเเปลงไปในชีวิตของตน
การใช้วัฒนธรรมเข้าช่วย - การคืนข้อมูลในรูปเเบบการใช้วัฒนธรรมเข้าช่วยเพื่อให้ชาวบ้านเห็นบริบทปัญหา อาทิ การใช้วัฒนธรรมเป็นจุดสนใจของชาวบ้าน ตลอดจนค่านิยมเเละภูมิปัญญาที่มีมารุ่นต่อรุ่นที่ถูกลบเลือน ซึ่งการคืนข้อมูลนี้ใช้วัฒนธรรมเป็นทุนในการคืนข้อมูลหรืออาจใช้งานที่จัดขึ้นเพื่อคืนสิ่งที่ได้ศึกษา ...
การใช้อาหารเข้าช่วย - การคืนข้อมูลในรูปเเบบการใช้อาหารเข้าช่วยเพื่อให้ชาวบ้านเห็นบริบทปัญหา อาทิ การจัดค่ายอาหารภูมิปัญญาเพื่อย้ำเตือนความเปลี่ยนเเปลงทางด้านการกินการอยู่ของชาวบ้านที่มีความเปลี่ยนเเปลง ซึ่งสามารถทำให้เราย้อนมองดูได้ว่าเมื่อก่อนเรากินอยู่อย่างไรเเล้วปัจจุบันเรากินอยู่อย่างไร เเหล่งอาหารของเรา ได้เเก่ น้ำ ดิน เเละผืนป่า กำลังเกิดอะไรขึ้น เเล้วจะส่งผลกระทบต่อปากท้องของเราอย่างไร โดยใช้อาหารเป็นทุน ...
การใช้ปัญหาสิ่งเเวดล้อมเข้าช่วย - การคืนข้อมูลในรูปเเบบการใช้ปัญหาสิ่งเเวดล้อมเข้าช่วยเพื่อให้ชาวบ้านเห็นบริบทปัญหา อาทิ กิจกรรมเนื่องมาจากสภาพปัญหาที่ชี้ชัดให้ชาวบ้านในชุมชนเห็นประเด็นปัญหาอย่างชัดเจน อาทิ การปลูกป่าทดเเทน การพัฒนาป่า การเพาะพันธ์กล้าไม้ เป็นต้น
การใช้การมีส่วนร่วมเข้าช่วย - การคืนข้อมูลในรูปเเบบการใช้การมีส่วนร่วมเข้าช่วยเข้าช่วยเพื่อให้ชาวบ้านเห็นบริบทปัญหา อาทิ การให้ทุกภาคส่วนเข้ามาพูดคุยการในประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้นเเล้วร่วมกันหาทางออกที่เหมาะสม อาจเป็นในรูปเเบบของการจัดเวทีเสวนา เป็นต้น
* การทำงานกับชุมชนนั้นเป็นสิ่งที่ค่อนข้างละเอียดอ่อน...การสื่อสารเป็นสิ่งที่สำคัญของการทำงานที่ต้องสื่อสารให้เข้าใจเเละชัดเจนซึ่งในการสื่อสารนี้เองจึงเป็นอีกหนึ่งเหตุผลในการสร้างกิจกรรมขึ้นมาเพื่อลงชุมชน ฟันเฟืองเเรกที่ชื่อว่า first (ซึ่งเป็นการศึกษาบริบทต่างๆของชุมชนเเละของโครงการ) จะขับเคลื่อน second (ซึ่งเป็นการติดตามงาน) โดยที่ second จะขับเคลื่อน final (เป็นการคืนข้อมูลลงสู่ชาวบ้าน) เเล้ว final นี้เองจะขับเคลื่อน first อีกครั้ง ทำให้หมุนต่อไปอย่างไม่สิ้นสุด โดยมี การสื่อสาร เป็นน้ำมันหล่อลื่นที่คอยช่วยให้โครงการสำเร็จลุล่วง ...