การขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนห้วยยอด
“โครงการประชุมเชิงปฏิบัติการเสริมพลังผู้บริหารศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษา”
วันที่  27  พฤษภาคม 255 ณ ศูนย์ฝึกอบรมธนาคารไทยพาณิชย์ หาดตะวันรอน ชลบุรี

 

การ ขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนห้วยยอดดำเนินการผ่าน “นโยบาย” การบริหารงาน 4 ฝ่าย  โดยทุกฝ่ายต้องนำหลักคิดของปรัชญาฯ มาบูรณาการในการบริหารงานทุกโครงการ และทุกกลุ่มสาระ จนเด็กมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น แต่คุณลักษณะพึงประสงค์ลดลง โรงเรียนจึงให้กลุ่มสาระใช้ “โครงงานจิตอาสา+หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” พร้อม กับดึงผู้ปกครอง และชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการดูแลชุมชน วัด โรงเรียน ทำให้ได้ผลสัมฤทธิ์ดีขึ้น วัดได้จากคุณลักษณะพึงประสงค์ของนักเรียนสูงขึ้น

การ ขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนห้วยยอด  ตอนแรกโรงเรียนคิดว่าเป็นเรื่องของเกษตรอย่างเดียว จึงทำแต่เรื่องเกษตร โดยแบ่งพื้นที่ในโรงเรียน 25  ไร่จัดทำเป็นเรื่องเกษตรทฤษฎีใหม่ แต่หลังจากได้พบคุณทรงพล เจตนาวานิชย์  กับมูลนิธิสยามกัมมาจลลงไปศึกษาพูดคุยพบว่า เศรษฐกิจ พอเพียงไม่ใช่แค่เรื่องเกษตรเท่านั้น แต่เป็นทุกเรื่องที่เป็นวิถีชีวิตประจำวัน ตั้งแต่บ้านมาถึงโรงเรียน ล้วนเป็นหลักคิดปรัชญาฯ ทั้งสิ้น  เป็น เรื่องที่โรงเรียนต้องเพิ่มเติมให้ครบกระบวนการ ท่านผู้อำนวยการจึงวางนโยบายไว้ในการบริหารงานทั้ง 4 ฝ่าย โดยทุกฝ่ายจะต้องนำหลักคิดของปรัชญาฯ มาบูรณาการในการบริหารงานทุกโครงการ เรามีหน้าที่ดูแลเรื่องนี้อยู่แล้ว เพราะดูแลงานวิชาการ เราก็ต้องนำมาบูรณาการให้เข้ากับกลุ่มสาระต่างๆ  จึงต้องวางนโยบายให้ทุกกลุ่มสาระจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการเข้าไป ไม่ว่าจะเป็นภาษาไทย อังกฤษ คณิตศาสตร์

ใน ช่วงแรกทุกกลุ่มสาระจะบอกว่าทำไม่ได้ เพราะไม่น่าจะเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกันได้ แต่คุณทรงพลและคณะได้ให้ความรู้จนกระทั่งครูเริ่มเข้าใจ และสามารถจัดการเรียนการสอนได้ ปรากฏว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้นกว่าเดิม เพราะมีหลายสิ่งที่ทำให้เด็กเกิดความกระตือรือร้น ใฝ่เรียนรู้  นอกจากการจัดการเรียนการสอนในห้องเรียนแล้ว เรายังต้องจัดฐานการเรียนรู้ด้วย ซึ่งเป็นมาตรฐานตัวชี้วัดที่โรงเรียนต้องมี เช่น ฐานภูมิปัญญาท้องถิ่น ธนาคารโรงเรียน สภานักเรียน ศิลปะ เพื่อให้นักเรียนเรียนรู้เพิ่มเติม  ทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้นทุกปี
 

แต่ แม้จะมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น แต่เรากลับค้นพบว่า “คุณลักษณะพึงประสงค์” กลับสวนกระแสคือแย่ลง โรงเรียนเริ่มสกปรก นักเรียนเข้าห้องเรียนช้า เป็นต้น เราเลยคิดโครงการการจัดการเรียนการสอนขึ้นมาใหม่ โดยกลุ่มสาระใดที่สามารถจัดการเรียนการสอนโดยใช้โครงงานจิตอาสาได้ก็ให้ใช้ เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ด้านคุณลักษณะพึงประสงค์ โดยนำหลักปรัชญาฯ มาดำเนินการในเรื่องนี้ พร้อมทั้งขอความร่วมมือจากนักเรียนผู้ปกครองและชุมชนเข้ามาด้วย  เป็น “กลวิธี” ดึงผู้ปกครองและชุมชนให้เข้ามามีส่วนร่วมกับโรงเรียนมากขึ้น เพราะปัจจุบันพบว่าเด็กสมัยนี้ไม่ค่อยมีความใกล้ชิดกับผู้ปกครอง ห่างเหิน ส่งผลให้นักเรียนหนีไปเล่นเกม บ้างก็ติดยาเสพติด เพราะมีเวลาว่างมาก
 

แต่เมื่อเราได้ทำ “โครงการจิตอาสา” ที่ โรงเรียนเชิญผู้ปกครองมาพูดคุยทำความเข้าใจในการจัดการเรียนการสอนแล้ว  เชิญชุมชนเข้ามาด้วย เพราะกิจกรรมบางกิจกรรมถ้านักเรียนทำแล้วชุมชนส่งเสริมจะทำให้กิจกรรมนั้น บรรลุผลยิ่งขึ้น  โดยโรงเรียนจะจัดอบรมกลุ่มนักเรียนที่ทำโครงงาน เช่น โครงงานเรื่องภูมิปัญญาพ่อพอเพียง ที่เด็กๆ นำเอาตะขาบดองกับเหล้าขาวมาเพื่อใช้รักษาบาดแผลให้หายได้เป็นภูมิปัญญาชาว บ้าน เด็กบางกลุ่มจับกลุ่มประมาณ 10 คนศึกษาเรียนรู้  โดยเราจะสอนนักเรียนก่อนว่าเราจะทำอย่างไรถ้านักเรียนสนใจ จะถามว่าที่บ้านใครมีอะไรที่จะสอนเพื่อนบ้าง เช่น เด็กบางคนบ้านทำขนมขายก็นำมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน ก่อนมานำเสนอ แล้วให้เด็กแต่ละกลุ่มคิดว่าจะทำอะไร จากนั้นนักเรียนจะไปศึกษาความรู้ ตรงนี้จะทำให้นักเรียนใฝ่เรียนใฝ่รู้มากขึ้น  แม้ว่าคนในชุมชนบางคนจะไม่ยอมถ่ายทอดให้ เพราะเขาถือว่าขนมบางอย่างถือเป็นสูตรลับ แต่นักเรียนก็มีความพยายามกระตือรือร้นใฝ่เรียนใฝ่รู้ต้องหาคนอื่นให้ความ รู้แทน หรือบางคนไม่อยากให้วิชาเขาสูญหาย เขาจะได้ถ่ายทอดให้กับนักเรียน หรือนักเรียนบางกลุ่มได้ไปเล่นกับน้องเอาความรู้ที่ตัวเองมีอยู่ไปถ่ายทอด ให้น้อง เช่น เรื่องกฎหมายเล็กๆ ถ้าเรียนในห้องเรียนก็ไม่อยากฟังคุณครูสอน แต่พอรุ่นพี่ไปนำเล่นร้องรำทำเพลง ให้ความรู้เล็กๆ น้อยๆ เด็กจะสนุกสนาน แล้วยังชื่นชมพี่อยากให้มาสอนอีก
 

ผลสะท้อนกลับคือ นักเรียนที่ไปสอนน้องก็จะได้รู้ถึงความยากลำบากของครูที่มาสอน ทำให้บางคนฉุกคิดแล้วนำมาปรับนิสัยของตัวเอง เช่น วิชาภาษาไทยให้ทำโครงงานการละเล่นพื้นบ้าน เขาจะมีความชื่นชมที่ได้ชวนน้องเล่น เช่น การสานตัวนก ปลาตะเพียนที่เขาไปเรียนรู้จากชุมชน แล้วนำมาสอนรุ่นน้อง จากการที่นักเรียนได้นำเสนองาน จะเห็นได้ว่าแววตาของนักเรียนที่นำเสนองานมีความภาคภูมิใจที่ได้ทำประโยชน์ และสิ่งที่ตามมาคือความใกล้ชิดกับผู้ใหญ่เกิดความรัก ความกตัญญู เด็กจะภาคภูมิใจในตัวเอง ทำให้ได้วัตถุประสงค์ที่ขาดไปกลับคืนมา โดยที่เราไม่ต้องสอนเอง เพราะว่าทักษะของวิชาการในโรงเรียนสอนให้อยู่แล้ว เราฝึกให้นักเรียนไปสอนทักษะในชุมชนบ้าง กระบวนการในการศึกษาของเด็กจะดูว่าแต่ละชุมชนของตัวเองนั้นมีอะไรดีที่จะไม่ อยากให้สูญหาย และจะได้ฝึกเรื่องวิชาชีพ เพราะเด็กต้องฝึกความอดทนในการเข้าหาผู้ใหญ่เพื่อจะนำอาชีพเหล่านั้นมาใช้ กับตัวเอง แล้วก็จะเกิดทักษะชีวิตในการแก้ปัญหาได้  ยิ่งโรงเรียนเป็นศูนย์การเรียนรู้เรายิ่งต้องนำนักเรียนสู่อาเซียนด้วย จึงต้องบูรณาการเข้ากันให้ได้ เพราะเป็นเรื่องของ 3 เสาหลักในเรื่องของการเมือง ความมั่นคงด้านเศรษฐกิจ และวัฒนธรรม ตรงนี้เราต้องบูรณาการสู่การเรียนการสอนได้ด้วย โครงงานนี้จะได้ทุกเรื่องแม้กระทั่งโรงเรียนมาตรฐานสากล เพราะว่าเรื่องภาษาต้องมีการนำหลักคิดไปบูรณาการด้วย เราจัดอาจารย์ฝรั่งที่เขาอยู่เมืองไทยมาหลายปี เขานับถือพระเจ้าแผ่นดินของเรา และชื่นชมอยู่แล้ว จึงสามารถเป็นแบบอย่างให้นักเรียนได้
 

 โรงเรียน จะมีอาคารสำหรับศูนย์การเรียนรู้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง  แต่ศูนย์นี้ไม่ได้พูดถึงเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงอย่างเดียว แต่ยังมีห้องอาเซียนที่เราให้นำหลักปรัชญาฯ มาใช้ด้วย  ซึ่งครูจะจัดการเรียนการสอนให้นักเรียนได้ศึกษาค้นคว้าเอง สืบค้นจากภาพ เราจะมีห้องไอซีทีอยู่ด้วย ความรู้ต่างๆ ให้นักเรียนสามารถเชื่อมโยงความรู้ได้ และมีห้องเรียนสำหรับภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารด้วย ครูอังกฤษกับครูจีนให้นำหลักคิดมาบูรณาการ แต่ถ้าเป็นครูไทยเราจะให้ทำจิตอาสาด้วย แต่ครูฝรั่งเรายังไม่ทำ เราทำเรื่องภาษาก่อน