เครือข่ายโรงเรียนวิจัยเพื่อท้องถิ่น จังหวัดสตูลและจังหวัดตรัง

เครือข่ายโรงเรียนวิจัยเพื่อท้องถิ่น จังหวัดสตูลและจังหวัดตรัง

วันที่ 11-12 กรกฎาคม 2555 ณ นกน้ำรีสอร์ท อ.เมือง จ.สตูล


จริงๆ แล้วเรื่อง PBL  (Project  based learning)  เป็นเรื่องที่มีมานานแล้ว   แต่บังเอิญสิ่งที่พวกเราทำเป็นการสะท้อนกรอบของระบบคือผลสัมฤทธิ์และการประเมินที่ทุกโรงเรียนต้องทำ  ซึ่งถ้าเราทำตรงนี้จะตอบโจทย์ พ.ร.บ.การศึกษาได้หมดเลย   และถ้าทำอย่างนี้โรงเรียนจะผ่านมาตรฐานแน่นอน  ในฐานะพี่เลี้ยง เวลาเราเข้าไปทำในโรงเรียน ครูมักบอกว่ามีภาระงานเยอะอยู่แล้ว   แต่เมื่อทำไปได้ระยะหนึ่งเราจะบอกครูว่า ทำไปเถอะ กระสุนนัดเดียวได้นกหลายตัว  หากครูทำสิ่งนี้จะช่วยตอบโจทย์การเรียนการสอนของครูได้หลายข้อ ตามเป้าหมายการศึกษา สมรรถนะ คุณลักษณะที่พึงประสงค์  ตอบโจทย์กระทรวง  ลดภาระงาน    โดยเช็คจากชิ้นงานเด็กที่แสดงออกมา  จากเด็กที่พูดไม่เก่ง เขียนไม่สวย  แต่เด็กเหล่านี้จะมีโอกาสได้ไปรายงานหน้าชั้น  สิ่งเหล่านี้ทำให้เกิดวิธีการพัฒนาของเด็ก เอา KPI มาจับเป็นระยะๆ   แล้วทำร่วมกันทั้งพี่เลี้ยง ผู้บริหาร ที่คอยเป็นกำลังใจในการขับเคลื่อนงาน   นอกจากนี้ยังเห็นการเชื่อมโยงให้ทุกภาคส่วนเข้ามาร่วมผ่านกระบวนการวิจัย  เป็นการสร้างสังคมการเรียนรู้โดยใช้เด็กเป็นเครื่องมือ


การให้ครูได้ไปเรียนรู้ดูงานโรงเรียนที่ทำสำเร็จ จะทำให้ครูรู้สึกประทับใจมาก เพราะเขาเห็นความสุขของครู  ของเด็ก เห็นทักษะ ชิ้นงาน และคุณลักษณะที่ดีในเรื่องต่างๆ ของเด็ก เป็นผลเชิงประจักษ์ที่เห็นได้ชัดเจน ได้เห็นเด็กที่เคยเกเรได้มาแสดงศักยภาพ เด็กที่ไม่เก่งก็ทำได้  ทำให้ผู้ปกครองและครู อยากลองทำดู เพราะอยากให้เด็กกล้า


จริงๆ  เรื่อง PBL  (Project  based learning)  เป็นเรื่องที่มีมานานแล้ว   แต่บังเอิญสิ่งที่ อ.สุทธิ ทำ เป็นการสะท้อนกรอบของระบบคือผลสัมฤทธิ์และการประเมินที่ทุกโรงเรียนต้องทำ  ถ้าเราทำตรงนี้จะตอบโจทย์ได้หมดเลย   และถ้าทำอย่างนี้ก็จะผ่านมาตรฐานแน่นอน  คณะที่มาดูงานส่วนใหญ่เข้าใจว่าสิ่งที่เราทำคือโครงงาน  แต่เราอยากบอกว่าเราทำมากกว่านั้น คือเราใช้ พ.ร.บ.การศึกษาเป็นตัวตั้ง และมีเส้นทางวิจัย 10 ขั้นที่เราทำไป ค้นคว้าไป จนได้กระบวนการแบบนี้  ขั้นแรกเราให้เด็กเสนอโจทย์วิจัยด้วยตนเองคือ เรียนรู้เรื่องใกล้ตัว เพราะการเรียนรู้จากตำรา เป็นความรู้มือ 2 แต่การเรียนรู้เกิดทุกสถานที่ เป็นการเรียนรู้ที่ท้าทายเด็ก
 

            ขั้นที่ 2 การวิเคราะห์ย้อนทวนเรื่องใกล้ตัว เราให้เด็กจัดหมวดหมู่เรื่องที่เสนอมา  จนเด็กเกิดแนวคิด มีครูคอยกระตุ้น  เมื่อได้หมวดหมู่ ก็ใช้กระบวนการสร้างเกณฑ์การให้เหตุผลว่า เรียนแล้วได้ประโยชน์กับใครอย่างไร ทั้งเวลา ระยะทาง การเดินทาง  และใครที่เกี่ยวข้องบ้าง เหลือโจทย์ 5 โจทย์จากนั้นก็นำมาอภิปรายเลือกเรื่อง  แล้วมาพัฒนาโจทย์   


            ขั้นที่ 3 การตั้งคำถาม การหาวิธีการไปหาความรู้ เช่น สารานุกรม  หนังสือพิมพ์ คนใกล้บ้าน โดยต้องคิดวิธีสร้างเครื่องมือหาความรู้ก่อน เช่น ถ้าไปบ้านครูภูมิปัญญา เด็กต้องตั้งคำถามเอง  มีครูเป็นผู้กระตุ้น  ซึ่งพี่เลี้ยงต้องเติมเต็มครูในเรื่องนี้   พี่เลี้ยงจะอบรมครู 10 กระบวนการว่าทำอะไร เพื่ออะไร เป็นระยะๆ เสริมเป็นขั้นๆ   จนครบ 10 ขั้น  เพื่อให้ครูใช้เป็นเครื่องมือในการทำงาน  โดยมีพี่เลี้ยงคอยเสริม คอยดู ระหว่างทาง


วิถีเส้นทางเดินที่จะขายสินค้าได้ ต้องมีการประเมินผลรายทางและต้องทำเป็นระยะๆ  เพราะเวลาเราเข้าไปทำในโรงเรียน ครูมักบอกว่าภาระงานเยอะอยู่แล้ว   แต่เมื่อทำไปได้ระยะหนึ่งเราจะบอกครูว่า ทำไปเถอะ กระสุนนัดเดียวได้นกหลายตัว  หากครูทำสิ่งนี้จะช่วยตอบโจทย์การเรียนการสอนของครูได้หลายข้อ ตามเป้าหมายการศึกษา สมรรถนะ คุณลักษณะที่พึงประสงค์  ตอบโจทย์กระทรวง  ลดภาระงาน    โดยเช็คจากชิ้นงานเด็กที่แสดงออกมา  จากเด็กที่พูดไม่เก่ง เด็กที่เขียนไม่สวย  แต่เด็กเหล่านี้จะมีโอกาส  ได้ไปรายงานหน้าชั้น  สิ่งเหล่านี้ทำให้เกิดวิธีการพัฒนาของเด็ก เอา KPI มาจับเป็นระยะๆ   แล้วทำร่วมกันทั้งพี่เลี้ยง ผู้บริหาร ที่คอยเป็นกำลังใจในการขับเคลื่อนงาน   


นอกจากนี้ยังเห็นการเชื่อมโยงให้ทุกภาคส่วนเข้ามาร่วมผ่านกระบวนการวิจัย  สร้างสังคมการเรียนรู้โดยใช้เด็กเป็นเครื่องมือ