เครือข่ายโรงเรียนวิจัยเพื่อท้องถิ่น จังหวัดสตูลและจังหวัดตรัง

เครือข่ายโรงเรียนวิจัยเพื่อท้องถิ่น จังหวัดสตูลและจังหวัดตรัง

วันที่ 11-12 กรกฎาคม 2555 ณ นกน้ำรีสอร์ท อ.เมือง จ.สตูล


ครูฒุลิกา ยอมรับว่ากระบวนการเรียนการสอนแบบ PBL ทำให้เด็กรู้จักคิดวิเคราะห์เพิ่มมากขึ้น เด็กมีประสบการณ์ เพราะได้คิดเองจากการลงพื้นที่ กล้าพูด กล้าแสดงออก กล้าซักถาม กล้ามาเล่าให้ครูฟัง จากที่แต่ก่อนไม่กล้ามาปรึกษาครู  แต่โดยส่วนตัวยังคิดว่า ควรนำการเรียนสอนแบบ PBL มาผสมผสานกับการเรียนการสอนแบบเดิม เพื่อให้เด็กได้ทั้งวิชาการและทักษะต่างๆ 


โรงเรียนบ้านนาแก้วเป็นโรงเรียนขยายโอกาสขนาดเล็ก  มีนักเรียน 113 คน ครู 11 คน อยู่ในพื้นที่ห่างไกล คนในชุมชนประกอบอาชีพสวนยาง เป็นชุมชนที่มีความสามัคคี  รูปแบบการเรียนการสอนของโรงเรียนบ้านนาแก้วก็เหมือนกับทุกโรงเรียน คือเน้นเนื้อหาในตำรา  ในคาบเรียนจะเรียนตามหนังสือเรียน โอกาสปฏิบัติน้อย


การนำ “กระบวนการวิจัย” มาใช้ในการเรียนการสอน : หลังจากที่เริ่มมีการนำ PBL มาใช้ในกระบวนการเรียนการสอนเมื่อปีที่ผ่านมา เนื่องจาก ผอ.เป็นคนที่เก่งเรื่องวิจัย ช่วงแรกครูกับเด็กยังไม่พร้อม  เริ่มต้นจึงยังไม่ชัดเจน ยังล้มลุกคลุกคลาน แต่เรายังดำเนินการอยู่ การจัดการเรียนการสอนก็สามารถบูรณาการไปได้ เด็กมีความสามารถเพิ่มขึ้น  เช่น น้องริน ซึ่งเป็นเด็กพิเศษ เรียนรู้ช้า ก่อนหน้าเข้ากระบวนการ น้องรินไม่กล้าออกมาเล่าหน้าห้องเลย เขาไม่กล้าพูด ไม่กล้าแสดงออก พอจัดกระบวนการเรื่องพันธุ์ปลาหางนกยูง ซึ่งจะต้องมีการเรียนนักเรียนไปพูดคุยซักถาม เพราะในกระบวนการเราก็จะให้เด็กเล่าว่าเขาเป็นใคร ทำอะไรที่ไหน และจัดกระบวนการวิจัย พบว่าน้องรินสามารถพูดหน้าชั้นได้ และทำงานร่วมกับเพื่อนได้ ให้เพื่อนช่วยแนะนำ ช่วยสอนได้ ปรากฏว่าเด็กก็ชอบที่ได้ออกไปเรียนรู้นอกสถานที่


สำหรับกระบวนการวิจัยเกี่ยวกับปลาหางนกยูงในชุมชน เราก็ไปศึกษาเกี่ยวกับปลาหางนกยูงว่ามีประโยชน์อย่างไรบ้าง ไปศึกษาจากแหล่งชุมชนเขาจะมีเลี้ยงไว้ ให้สำรวจลักษณะของปลาว่ามีพันธุ์อะไรบ้าง ถามไปอีกว่าปลามีประโยชน์อะไรบ้าง เพราะว่าในชุมชนมีสวนยางอยู่เขาก็บอกว่าพอเลี้ยงปลาหางนกยูง ยุงก็ลดน้อยลง เรื่องนี้เป็นการเรียนรู้ของเด็ก ป.4 โดยเด็กนักเรียนจะเป็นคนเลือกเอง เพราะว่าปลาหางนกยูงสีสวยงาม การเรียนวิจัยเราจะจัดให้เรียน  4 คาบต่อวัน เรียนในวันอังคารและวันพุธ ทั้งหมดจะเรียนร่วมกัน โดยให้แต่ละชั้นจะจัดกระบวนการเอง


โครงงานวิจัยนักเรียนแต่ละชั้น ระดับอนุบาลให้วิจัยเรื่องนก เพราะว่าเพราะบริเวณใกล้โรงเรียนเขาเลี้ยงนก ให้ศึกษาลักษณะของนะว่ามีอะไรบ้าง ให้เด็กวาดรูปนกแล้วก็มาเล่า ระดับ ป.1 - 2 เรื่องขยะในโรงเรียน ระดับ ป.3 - 4 เรื่องพันธุ์ปลาหางนกยูง ระดับ ป.5 เรียนลึกลงไปถึงประโยชน์ของปลาหางนกยูง ระดับ ป.6 ศึกษาเกี่ยวกับภาษาถิ่นกับภาษาพื้นฐาน เป็นการเปรียบเทียบภาษาถิ่น ม.1 - 2 เรื่องเสื่อใบเตย ม.3 เรื่องปุ๋ยหมัก เพราะในหมู่บ้านมีการทำปุ๋ยหมัก เริ่มต้นทำอย่างไรมีส่วนประกอบอะไรบ้าง และสามารถใช้ประโยชนอย่างไร


สรุปได้ว่าจากกระบวนการเรียนการสอนลักษณะนี้ ทำให้เด็กรู้จักคิดวิเคราะห์เพิ่มมากขึ้น เด็กมีประสบการณ์ เพราะได้คิดเองจากการลงพื้นที่ ข้อมูลต่างๆ เด็กก็สามารถหาได้จากแหล่งเรียนรู้ของชุมชน การบูรณาการตอนนี้ไม่ได้เจาะลึกมาก เพราะเพิ่งเริ่มทำได้ 1 ปี ยังไม่เข้ารูปเข้ารอย จึงใช้การผสมการเรียนแบบเก่ากับการเรียนแบบบูรณาการ


ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น :  เด็กมีการทำกระบวนการมากขึ้น มีกิจกรรมมากขึ้น มีพัฒนาการที่ดีขึ้น กล้าพูด กล้าแสดงออก กล้าซักถาม กล้ามาเล่าให้ครูฟัง จากที่แต่ก่อนไม่กล้ามาปรึกษาครู


ปัญหาอุปสรรค : คิดว่าการเรียนสอนแบบ PBL เป็นสิ่งที่ยาก ทำไม่สำเร็จแน่หากมุ่งเรื่องนี้เรื่องเดียว แล้วการสอบจะเป็นเช่นไร จึงอาจผสมผสานการเรียนการสอนแบบเดิมกับการวิจัยเข้าด้วยกัน เพื่อให้ได้ทั้งวิชาการและทักษะต่างๆ   ปัญหาที่เด็กไม่กล้า ก็กล้าขึ้น ครูก็ได้ใช้กระบวนการใหม่ในการสอนเพิ่มขึ้นอีก เช่น การลงพื้นที่ไปพูดคุยกับชุมชน และปกติบ้านนาแก้วชุมชนก็มีส่วนร่วมอยู่แล้ว เช่น เรื่องอาหารผู้ปกครองก็ทำมาช่วยที่โรงเรียนโดยไม่ต้องจ้าง