เครือข่ายโรงเรียนวิจัยเพื่อท้องถิ่น จังหวัดสตูลและจังหวัดตรัง
วันที่ 11-12 กรกฎาคม 2555 ณ นกน้ำรีสอร์ท อ.เมือง จ.สตูล
โรงเรียนบ้านห้วยน้ำดำ เริ่มนำ “กระบวนการวิจัย” มาใช้เมื่อปี 2553 เพราะต้องการ “พฤติกรรมการสอน” ของครู” จากครูที่สอนแบบเดิม ยืนอยู่หน้าห้อง ใช้ตำราเรียนเป็นหลัก มาเป็นใช้ “กระบวนการวิจัย” โดยใช้พาทำ ไม่มีการโหวต เพราะรู้ว่าโหวตก็ต้องแพ้ เมื่อทำได้ระยะหนึ่งพบว่า ครูเปลี่ยนแปลงไปมาก มีรูปแบบการเรียนการสอนเปลี่ยนไป แทนที่ครูจะไปยืนอยู่หน้าห้องใช้ชอล์กใช้กระดานดำ ก็จะเปลี่ยนไปขึ้นอยู่กับศักยภาพของแต่ละคน มีการบูรณาการตามสถานการณ์ในแต่ละชั่วโมงว่าจะบูรณาการไปในรายวิชาใด ขณะที่สอนนักเรียนทุกคนมีส่วนร่วมในการเรียน จากเดิมที่นักเรียนไม่รู้เรื่องๆ หรือเด็กหลังห้องจะนั่งนิ่ง เด็กอ่านไม่ออกก็เริ่มมีส่วนร่วม เพราะเด็กพูดได้ เพราะกระบวนการนี้เน้นการพูดการเล่า บางทีเขียนไม่เป็น แต่พูดเป็น เด็กก็มีความสุขไปด้วย เด็กทุกคนทั้งเด็กเก่งเด็กอ่อนมีความสุข และมีส่วนร่วมในการเรียนกล้าแสดงออก ผู้ปกครองและคนในชุมชนให้ความร่วมมือกับโรงเรียนดีขึ้น
โรงเรียนบ้านห้วยน้ำดำเป็นโรงเรียนประถมศึกษา มีครู 11 คน นักเรียน 202 คน บริเวณใกล้เคียงมีโรงเรียนปอเนาะ 2 – 3 แห่ง และมีโรงเรียนประถมศึกษาเปิดใหม่อีก 2 -3 แห่ง แต่ยังไม่ส่งผลกระทบชัดเจน นักเรียน 40 เปอร์เซ็นต์นับถือศาสนาพุทธ อิสลาม 60 เปอร์เซ็นต์ เป็นโรงเรียนวิธีพุทธ สอนแบบกึ่งพุทธกึ่งมุสลิม ที่ตั้งโรงเรียนอยู่ใกล้อำเภอกึ่งเมืองกึ่งชนบท
การนำ “กระบวนการวิจัย” มาใช้ในการเรียนการสอน : เรามารับตำแหน่งผู้บริหารที่เมื่อปี พ.ศ.2553 มาทีแรกยังไม่ได้ทำอะไร เพราะโรงเรียนมีแผนไว้หมดแล้ว เราก็สานต่อแผนของ ผอ.คนเดิม คือมาดูลาดเลาก่อน มาดูครู ดูชุมชน มาเรียนรู้ก่อนในปีแรกๆ พอปลายปี พ.ศ.2553 ผอ.อะหมารชวนให้ไปประชุมที่โรงเรียนอนุบาลสตูล เราก็ไปกันประมาณ 15 โรง มีทีมงานของ สกว.พร้อมกับ ผอ.สุทธิ มาพูดคุยให้พวกเราทั้ง 15 โรงฟังว่าจะต้องทำอะไรกันบ้าง เราก็แสดงความคิดเห็นกัน แล้วก็ตอบรับเข้าร่วมโครงการ 11 โรงเรียน โดยมีธงคือ “ผู้บริหารต้องเบอร์หนึ่ง” เอาแน่ ทำแน่ ซึ่งผู้อำนวยการทั้ง 11 โรงล้วนเป็นผู้บริหารรุ่นใหม่
ประเด็นที่เข้าร่วมโครงการนี้คือจากที่เคยเป็นครูและผู้บริหารมาถึงวันนี้ ปัญหาที่พบทุกแห่งคือ “พฤติกรรมการสอนของครู” ไม่เปลี่ยนแปลง เหมือนกันหมดทุกโรงเรียนคือใช้หนังสือเล่มเดียว แล้วหนีบรักแร้สอนหน้าห้อง และเป็นเช่นนี้ทุกห้อง ครูไปนั่งหน้าห้องบ้าง หลังห้องบ้าง พอหมดชั่วโมงก็เปลี่ยน หากเป็นครูประจำชั้นก็นั่งอยู่ทั้งวัน เป็นปัญหาที่หนักใจมาก ไม่รู้จะทำอย่างไรดี ถามว่าจะแก้ปัญหาอย่างไร ก็ยังไม่ทราบ แต่เมื่อได้มาฟังหลักการของ สกว.ฝ่ายท้องถิ่น จึงคิดว่าน่าจะช่วยได้บ้าง ก็เลยเข้าร่วมโครงการโดยตั้งชื่อว่า “การจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการวิจัยเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการสอนของครูโรงเรียนบ้านห้วยน้ำดำ” คือเน้นที่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการสอนของครู
ที่โรงเรียนหลังจากไปประชุมแล้ว เราในฐานผู้บริหารต้องเต็มร้อย มาถึงไม่ได้ถามครูว่าเห็นด้วยหรือไม่ เพราะถ้าให้โหวตเราแพ้แน่ เพราะครูกลัวคำว่า “วิจัย” ยังไม่ทันทำครูกลัวเสียแล้ว เพราะครูไม่มีพื้นฐานตรงนี้ รู้ปัญหานี้ดี จึงใช้วิธีบอกเล่ากันในที่ประชุมว่า เราไปประชุมที่อนุบาลสตูลมาเป็นอย่างนี้ๆ และใช้กุศโลบายเรื่องปฏิรูปการศึกษามาเป็นนโยบายบอกว่า ต่อไปนี้เราต้องสอนในห้องเรียน 70 เปอร์เซ็นต์ และใช้แหล่งเรียนรู้ข้างนอก 30 เปอร์เซ็นต์ ตาม พ.ร.บ.ปฏิรูปการศึกษารอบ 2 ชักแม่น้ำทั้งห้ามาอธิบายให้ครูฟังและทำตามเรา แต่ครูก็เงียบไม่มีเสียงอะไรเลย ไม่รู้คิดอะไรอยู่ แต่ก็ไม่ปฏิเสธ ก็ผ่านไป เราก็ไม่ได้บอกว่าทำอย่างไร แต่กำหนดไว้ในตารางสอนเลยว่าต้องสอนนอกห้องเรียนสัปดาห์ละ 4 ชั่วโมง และต้องมีแผนการสอน ซึ่งเราก็ทำมาให้เป็นแนวทางก่อน หลังจากนั้นก็นัดหมายกันว่าทุกวันพฤหัสบดีจะมีการประชุมติดตามงาน และบอกว่าต่อไปนี้ทางสกว.จะเข้ามาอบรมครูเป็นระยะๆ ไม่ต้องกลัว ต้องโน้มน้าวก่อนในเบื้องต้น ถามว่ามีครูแอนตี้ไหม เบื้อหน้าไม่มี แต่เบื้องหลังก็มีบ้าง บ่นบ้างเป็นธรรมดา
ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น : เมื่อทำโครงการนี้เราก็ต้องเปลี่ยนวิธีการทำงานกับครูด้วย การนิเทศติดตามต้องมีอยู่แล้ว เมื่อก่อน ผอ.ไม่ค่อยมีเวลานิเทศ ซึ่งเป็นปัญหาหลักของ ผอ.เหมือนกัน แต่เมื่อเข้าร่วมโครงการนี้เรานิเทศทุกสัปดาห์ เดิน สังเกตการณ์สอนวันละ 2 ชั่วโมงว่าเขาสอนจริงไหม วิธีการบริหารของเราเปลี่ยนไป ให้เวลากับการนิเทศติดตามงานมากขึ้นและมีเวลาปฏิสัมพันธ์กับครู ให้เขานำเสนอว่าแต่ละสัปดาห์เขาทำได้ถึงไหนอย่างไร มีปัญหาอะไร อยากให้เราช่วยอะไร เป็นอย่างนี้ทุกสัปดาห์ และครูจากเดิมที่เคยกลับตอนสี่โมงครึ่งก็กลับช้าลง ซึ่งเขาก็ต้องทำใจ
ตอนอบรมเขาก็เล่าให้ที่ประชุมฟังว่า เขาทำถึงไหนแล้ว บางคนก็โอเค บางคนก็บอกว่าเพิ่งเริ่มต้นแต่บางคนก็ไปไกลแล้ว โชคดีที่ตอนที่เราไปอยู่ถึงเวลาต้องเปลี่ยนวิสัยทัศน์โรงเรียนพอดี เลยเข้าทางหมดเลย คุยกับครูทุกสัปดาห์ ซึ่งเป็นรูปแบบของ สกว.แต่เราเอามาประยุกต์ให้เข้ากับเรา คือผู้บริหารทั้ง 11 โรงจะนัดพูดคุยกันเดือนละครั้งถึงปัญหาอุปสรรคในการทำงาน และแต่ละโรงเรียนก็นำไปประยุกต์ใช้ตามบริบทของโรงเรียน
ครูเปลี่ยนแปลงแน่นอน แต่ก่อนครูไม่มีแผนการสอน ซึ่งเขาอาจจะมีแต่แอบไว้ไม่ใช้เลย แต่เมื่อใช้กระบวนการวิจัย ครูต้องเตรียมการสอน แต่ว่าเตรียมแบบย่อๆ เรามีแบบฟอร์มให้ครูเขียนว่าในสองชั่วโมงหรือสี่ชั่วโมงในสัปดาห์นี้คุณจะสอนอะไร ได้ผลเป็นอย่างไร บันทึกพฤติกรรมนักเรียนรายคน ทั้งเชิงลบและบวกอย่างละเอียดแล้วมานำเสนอที่ประชุมสัปดาห์ละ 1 ครั้ง ขณะที่สอนนักเรียนทุกคนมีส่วนร่วมในการเรียน จากเดิมที่นักเรียนไม่รู้เรื่องๆ หรือเด็กหลังห้องจะนั่งนิ่ง เด็กอ่านไม่ออกก็มีส่วนร่วม เพราะเด็กพูดได้ เพราะกระบวนการนี้เน้นการพูดการเล่า บางทีเขียนไม่เป็น แต่พูดเป็น เด็กก็มีความสุขไปด้วย เด็กทุกคนทั้งเด็กเก่งเด็กอ่อนมีความสุข และมีส่วนร่วมในการเรียนกล้าแสดงออก รูปแบบการเรียนการสอนเปลี่ยนไป แทนที่ครูจะไปยืนอยู่หน้าห้องใช้ชอล์กใช้กระดานดำ ก็จะเปลี่ยนไม่นั่งอยู่กับที่แล้วแต่ศักยภาพของแต่ละคน และจะมีการบูรณาการตามสถานการณ์ในแต่ละชั่วโมงว่าจะบูรณาการไปในรายวิชาใด ขึ้นอยู่กับสถานการณ์พาไปเอง
ครูบ่นอยู่แล้ว แต่บ่นไปทำไป ไม่บ่นต่อหน้า ผอ.แต่บ่นก็ทำ ทำทุกคน หลังจากประชุมกับเพื่อนๆ ทั้ง 11 โรงก็นำไปเล่าให้ครูฟังว่ามีอะไรคืบหน้าบ้าง ใครไม่เข้าใจอะไรก็มาพูดคุยกัน ปรึกษาเป็นการส่วนตัว เราบอกได้ก็บอก บอกไม่ได้ก็มาปรึกษา สกว.ต่อ ทางพี่เลี้ยงต่อ บางทีก็ใช้พี่เลี้ยง สกว.ลงไปในโรงเรียนด้วย ใช้หลากหลายวิธีเพื่อให้ความรู้กับครู ครูก็ได้รับการอบรมตามขั้นตอนของ สกว. ด้วย ก็ทำไปเรื่อยๆ บางทีก็เข้าใจบ้างไม่เข้าใจบ้าง หรือบางครั้งทำไปได้สักพักก็ต้องถอยหลังกลับมาตั้งหลักใหม่
หลังจากมีเวทีนำเสนอเด็ก ชุมชนก็เข้ามามีส่วนร่วม เราก็จัดให้มีเวทีเรื่อยๆ ทั้งเวทีระดับห้องเรียน เวทีระดับโรงเรียน ภาคเรียนละครั้ง ซึ่งชุมชนก็เข้ามามีส่วนร่วมด้วย เช่น เด็กอนุบาลพ่อแม่มาซ้อมให้เลยว่าลูกต้องพูดอย่างนั้นอย่างนี้นะ บางทีมีการแสดงผู้ปกครองก็บอกว่าฉันซื้อชุดให้เอง ฉันแต่งตัวให้เอง ประเด็นที่ให้เด็กไปเรียนรู้นอกห้องเรียนมี 8 เรื่อง 8 ชั้นตั้งแต่อนุบาลจนถึง ป.6 แต่ละโจทย์ไม่เหมือนกัน เช่น อนุบาล1 เรื่องดอกกุหลาบ อนุบาล 2 เรื่องใบตอง ป.1 เรื่องการออมทรัพย์ ป.2การทำความสะอาด ป.3ขนมพื้นบ้าน ป.4 ขนมข้าวต้มมัด ป.5 ไม้กวาด ป.6 สูตรขนมต้ม เรื่องที่เรียนมาจากเรื่องที่เด็กนำเสนอและคัดเลือกเองทั้งหมด ด้วยเหตุผลไม่ได้ยกมือ ต้องมีเหตุผลมาว่าทำไมเลือกเรื่องนี้ และเด็กเป็นผู้กำหนดแหล่งเรียนรู้ที่เขาจะไปด้วย ทุกอย่างมาจากเด็ก การเดินของสตูลเป็นแบบนี้หมด