หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับชีวิต
31 ม.ค. 2557
โรงเรียนห้วยยอดโดยท่านผู้อำนวยการสมจริง อินทรักเดช น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมายังโรงเรียนห้วยยอดเมื่อปี 2548 ผมเรียนประมาณ ม. 3 ที่โรงเรียนห้วยยอดเมื่อ 9 ปี ที่แล้ว ผมได้รับการคัดเลือกเป็นนักเรียนแกนนำโรงเรียนเริ่มต้นจากการทำแปลงเกษตรทฤษฎีใหม่และผมเองก็ได้เรียนรู้ว่าหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงคือการทำเกษตร
ต่อมาโรงเรียนห้วยยอดได้เข้าร่วมโครงการของมูลนิธิสยามกัมมาจล และได้ส่งผมเข้ารับการอบรม ณ โรงแรมทักษิณ จังหวัดนครศรีธรรมราช กับอาจารย์ทรงพล เจตนาวณิชย์ ผู้อำนวยการสถาบันเสริมสร้างการเรียนรู้เพื่อชุมชนเป็นสุข (สรส.) ในการอบรมครั้งนั้นผมมีโอกาสได้เล่นเกมประติมากรรมกระดาษ และอาจารย์ทรงพล ชวนคิดถอดบทเรียนจากการทำประติมากรรมกระดาษกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และท่านอาจารย์ก็ได้ชวนคิดให้เห็นภาพว่าหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงอยู่ในชีวิตประจำวันของเราอย่างไร
หลังจากกลับมาที่โรงเรียนก็ได้นำวิธีการถอดบทเรียนมาทำกับแปลงเกษตรที่ตัวเองทำอยู่ ก็ค้นพบด้วยตนเองว่าความหมายที่แท้จริงของหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงนั้นไม่ได้อยู่ที่การปลูกผัก ทำแปลงเกษตร
หลังจากกลับมาที่โรงเรียนก็ได้นำวิธีการถอดบทเรียนมาทำกับแปลงเกษตรที่ตัวเองทำอยู่ ก็ค้นพบด้วยตนเองว่าความหมายที่แท้จริงของหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงนั้นไม่ได้อยู่ที่การปลูกผัก ทำแปลงเกษตร
การปลูกผัก ทำแปลงเกษตรเป็นเพียงสิ่งเกิดขึ้นจากการกระทำของเรา แต่หลักสำคัญมันอยู่ที่วิธีคิด วิธีการลงมือทำของเราว่าเราใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้อย่างไร
ผมยังมีโอกาสได้เข้าร่วมในโครงการตลาดนัดความรู้ของมูลนิธิสยามกัมมาจล ครั้งที่ 1 ณ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา (ในฐานะนักเรียนช่วยทำงานนำเสนอ) ก็ได้มีโอกาสเดินชมงานหาความรู้เพิ่มเติมก็ค้นพบว่าปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเป็นการพัฒนานิสัยของคนทำให้เราเป็นคนใจเย็นลง คิดอะไรรอบคอบขึ้น ไม่ใจร้อน ตัดสินใจทำอะไรด้วยความเป็นเหตุเป็นผล ทำให้ชีวิตมีความสุขขึ้นมาก เพราะช่วยให้ผมรู้สึกว่าตัวเองยอมรับสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับชีวิต และมีเวลาในการค้นหาว่าสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นนั้น มันเกิดขึ้นเพราะอะไร ต้นสายปลายเหตุมาอย่างไร เราจะมีวิธีการจัดการกับมันอย่างไร ที่จะทำให้เราสามารถผ่านพ้นมันไปได้ แล้วไม่ทำให้ใครเดือดร้อน
ผมต้องขอขอบคุณมูลนิธิสยามกัมมาจลที่ทำโครงการนี้ ที่ทำให้ผมได้พบกับอาจารย์ทรงพล เจตนาวณิชย์ ไม่อย่างนั้น ผมคงคิดว่าหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง คือการปลูกผัก ทำเกษตรอยู่อีกครับ
พอเรียนจบมีโอกาสกลับมารับใช้อยู่บ้านเกิด ได้สอนนักเรียนที่โรงเรียนรัษฎา จัดกิจกรรมกับเด็ก ก็พบว่าการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ทำให้ “คนเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์” การเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์จะต้องทำให้เด็กมีกระบวนการคิด การลงมือทำที่ถูกต้อง เกิดขึ้นจากเอาความเป็นเหตุเป็นผลมาช่วยในการคิด ไม่ใช้อารมณ์ในการคิดตัดสินใจ นำความรู้ที่ถูกต้องมาช่วยในการทำงานต่าง ๆ มีคุณธรรม ไม่เบียดเบียนกัน ช่วยเหลือกัน ซึ่งเห็นได้จากเมื่อนักเรียนจะลงมือทำอะไรก็ตาม อย่างน้อยเขาก็ได้ฉุกคิดว่าเขาทำเพราะอะไร ทำแล้วส่งผลกระทบใครบ้าง เมื่อเขาทำจริงๆ แล้ว เขาจะมีความทุกข์ไหม เขาจะเดือดร้อนไหม
ผมมักใช้ชุดคำถามในการถอดบทเรียนนักเรียน ผ่านกิจกรรมในห้องเรียน ผ่านเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับนักเรียน ผมสอนเด็ก ม.1 มีเด็กต่อยกัน เขาก็ทะเลาะกันบ้างตามประสา ผมก็ตั้งคำถามชวนเขาคิด ไม่ใช้คำว่าหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 3 ห่วง 2 เงื่อนไข แต่ตั้งคำถามว่า ต่อยกันทำไม ต่อยกันไปเพื่ออะไร ตนเองเจ็บไหม เพื่อนเจ็บไหม สุดท้ายเด็กก็ไปนั่งคิดว่า ครูถามไปทำไม จะตีก็ไม่ตี เราก็ถามไปเรื่อยๆ แบบนี้ เด็กก็ค้นพบว่า การต่อยกัน ตนเองก็เดือดร้อน เพื่อนก็เดือดร้อน แล้วถ้าอาจารย์ทำอะไรสักอย่าง เช่น เชิญผู้ปกครองมาพบ คราวนี้ไม่ใช่ตัวเองเดือดร้อนอย่างเดียว พ่อแม่ผู้ปกครองก็เดือดร้อน แสดงว่าเขาเป็นปัญหาของสังคม เป็นต้นเหตุของปัญหา ถ้าเขาไม่ทำอย่างนี้ ครูก็ไม่ต้องเสียเวลานั่งสอบสวนเขา เขาก็ได้เรียนหนังสือ
ผมจะบอกเด็กเสมอว่า ถ้าห้องเรียนไม่เรียบร้อย ไม่สะอาด โต๊ะไม่เป็นระเบียบ วางรองเท้าไม่เป็นระเบียบ ครูไม่สอนหนังสือเธอ ครูจะรอจนกว่าเธอจะทำทุกอย่างเรียบร้อย เด็กก็จะพบว่า ที่ครูทำแบบนี้ ครูฝึกให้เราเป็นคนรับผิดชอบ ครูฝึกให้เรามีวินัย ใครส่งงานหลังกำหนด ผมบอกเลยว่าผมตรวจให้ แต่ไม่มีคะแนน เพราะเธอไม่รับผิดชอบ ทำไมเพื่อนทำได้ เธอทำไม่ได้
ผมเรียนจบนิติศาสตร์บัณฑิต ไม่ได้จบศึกษาศาสตร์ ผมคิดว่าถ้าผมจบนิติศาสตร์แล้วผมจะไปต่อเนติบัณฑิตไปเป็นอัยการ แต่ผมประทับใจ อ.ทรงพล เจตนาวณิชย์ หลังจากเรียนจบมีโอกาสได้ตามท่านไปดูที่อื่น ไปเรียนรู้กับท่าน แล้วพบว่า ปัจจุบันที่ท้องถิ่นเราไม่พัฒนา เพราะคนที่จะกลับมาพัฒนาท้องถิ่นเรามันไม่มี แต่ในท้องถิ่นมีความรู้เยอะ แต่คนในท้องถิ่นเราไม่สามารถจัดการความรู้ที่มีอยู่ได้ด้วยตนเอง ต้องเอาคนที่ไปเรียนมาแล้วมีกระบวนการ มีวิสัยทัศน์ มีรูปแบบวิธีการ มาช่วยเอาความรู้เหล่านั้นจัดระเบียบจัดระบบ ให้เกิดการเรียนรู้ในท้องถิ่นของตนเอง
ที่สำคัญผลจากการเรียนนิติศาสตร์ นิติศาสตร์สอนให้ผมคิดเป็นขั้นเป็นตอน คิดจนรอบคอบจึงจะตัดสินสิ่งต่าง ๆ ที่สำคัญจากการไปเรียนรู้ในที่ต่างๆ กับอาจารย์ทรงพล พบว่า “ถ้าเราไม่เริ่มจากตัวเราก็ไม่รู้จะเริ่มจากใคร” และที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือ หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปอยู่ในทุกขั้นตอนที่อาจารย์ทรงพลทำงาน ก็เกิดแรงบันดาลใจว่าทำไม เราเองไม่กลับมาทำให้ชุมชน บ้านเกิดของเราเป็นชุมชนพอเพียง เป็นชุมชนที่พึ่งตนเอง
ผมก็เลยกลับมารวมตัวกันกับน้อง ๆ เปิดศูนย์ประสานงานเพื่อการพัฒนาเด็กและเยาวชนจังหวัดตรัง รวมศิษย์เก่าตามโรงเรียนต่างๆ มารวมตัวกันจัดการเรียนรู้ให้น้องๆ โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน และพวกเรานำกระบวนการโดยใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเข้าสอดแทรก โรงเรียนไหนอยากให้ไปช่วยเราก็ไปช่วย ท้องถิ่นไหนอยากให้ไปช่วยก็ไปช่วย ถือคติที่ว่าถ้าไม่เริ่มจากเราให้คนอื่นช่วยทำบางทีก็รู้ว่าจะได้เริ่มเมื่อไร แต่ถ้าเราอยู่ในท้องถิ่น มาดูแลบ้าน ดูแลท้องถิ่นของตนเอง ดูแลชุมชน ผมว่าเราจะช่วยให้สังคมดีขึ้น นี่คือแรงบันดาลใจ
ผมยังมีโอกาสได้เข้าร่วมในโครงการตลาดนัดความรู้ของมูลนิธิสยามกัมมาจล ครั้งที่ 1 ณ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา (ในฐานะนักเรียนช่วยทำงานนำเสนอ) ก็ได้มีโอกาสเดินชมงานหาความรู้เพิ่มเติมก็ค้นพบว่าปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเป็นการพัฒนานิสัยของคนทำให้เราเป็นคนใจเย็นลง คิดอะไรรอบคอบขึ้น ไม่ใจร้อน ตัดสินใจทำอะไรด้วยความเป็นเหตุเป็นผล ทำให้ชีวิตมีความสุขขึ้นมาก เพราะช่วยให้ผมรู้สึกว่าตัวเองยอมรับสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับชีวิต และมีเวลาในการค้นหาว่าสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นนั้น มันเกิดขึ้นเพราะอะไร ต้นสายปลายเหตุมาอย่างไร เราจะมีวิธีการจัดการกับมันอย่างไร ที่จะทำให้เราสามารถผ่านพ้นมันไปได้ แล้วไม่ทำให้ใครเดือดร้อน
ผมต้องขอขอบคุณมูลนิธิสยามกัมมาจลที่ทำโครงการนี้ ที่ทำให้ผมได้พบกับอาจารย์ทรงพล เจตนาวณิชย์ ไม่อย่างนั้น ผมคงคิดว่าหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง คือการปลูกผัก ทำเกษตรอยู่อีกครับ
พอเรียนจบมีโอกาสกลับมารับใช้อยู่บ้านเกิด ได้สอนนักเรียนที่โรงเรียนรัษฎา จัดกิจกรรมกับเด็ก ก็พบว่าการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ทำให้ “คนเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์” การเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์จะต้องทำให้เด็กมีกระบวนการคิด การลงมือทำที่ถูกต้อง เกิดขึ้นจากเอาความเป็นเหตุเป็นผลมาช่วยในการคิด ไม่ใช้อารมณ์ในการคิดตัดสินใจ นำความรู้ที่ถูกต้องมาช่วยในการทำงานต่าง ๆ มีคุณธรรม ไม่เบียดเบียนกัน ช่วยเหลือกัน ซึ่งเห็นได้จากเมื่อนักเรียนจะลงมือทำอะไรก็ตาม อย่างน้อยเขาก็ได้ฉุกคิดว่าเขาทำเพราะอะไร ทำแล้วส่งผลกระทบใครบ้าง เมื่อเขาทำจริงๆ แล้ว เขาจะมีความทุกข์ไหม เขาจะเดือดร้อนไหม
ผมมักใช้ชุดคำถามในการถอดบทเรียนนักเรียน ผ่านกิจกรรมในห้องเรียน ผ่านเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับนักเรียน ผมสอนเด็ก ม.1 มีเด็กต่อยกัน เขาก็ทะเลาะกันบ้างตามประสา ผมก็ตั้งคำถามชวนเขาคิด ไม่ใช้คำว่าหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 3 ห่วง 2 เงื่อนไข แต่ตั้งคำถามว่า ต่อยกันทำไม ต่อยกันไปเพื่ออะไร ตนเองเจ็บไหม เพื่อนเจ็บไหม สุดท้ายเด็กก็ไปนั่งคิดว่า ครูถามไปทำไม จะตีก็ไม่ตี เราก็ถามไปเรื่อยๆ แบบนี้ เด็กก็ค้นพบว่า การต่อยกัน ตนเองก็เดือดร้อน เพื่อนก็เดือดร้อน แล้วถ้าอาจารย์ทำอะไรสักอย่าง เช่น เชิญผู้ปกครองมาพบ คราวนี้ไม่ใช่ตัวเองเดือดร้อนอย่างเดียว พ่อแม่ผู้ปกครองก็เดือดร้อน แสดงว่าเขาเป็นปัญหาของสังคม เป็นต้นเหตุของปัญหา ถ้าเขาไม่ทำอย่างนี้ ครูก็ไม่ต้องเสียเวลานั่งสอบสวนเขา เขาก็ได้เรียนหนังสือ
ผมจะบอกเด็กเสมอว่า ถ้าห้องเรียนไม่เรียบร้อย ไม่สะอาด โต๊ะไม่เป็นระเบียบ วางรองเท้าไม่เป็นระเบียบ ครูไม่สอนหนังสือเธอ ครูจะรอจนกว่าเธอจะทำทุกอย่างเรียบร้อย เด็กก็จะพบว่า ที่ครูทำแบบนี้ ครูฝึกให้เราเป็นคนรับผิดชอบ ครูฝึกให้เรามีวินัย ใครส่งงานหลังกำหนด ผมบอกเลยว่าผมตรวจให้ แต่ไม่มีคะแนน เพราะเธอไม่รับผิดชอบ ทำไมเพื่อนทำได้ เธอทำไม่ได้
ผมเรียนจบนิติศาสตร์บัณฑิต ไม่ได้จบศึกษาศาสตร์ ผมคิดว่าถ้าผมจบนิติศาสตร์แล้วผมจะไปต่อเนติบัณฑิตไปเป็นอัยการ แต่ผมประทับใจ อ.ทรงพล เจตนาวณิชย์ หลังจากเรียนจบมีโอกาสได้ตามท่านไปดูที่อื่น ไปเรียนรู้กับท่าน แล้วพบว่า ปัจจุบันที่ท้องถิ่นเราไม่พัฒนา เพราะคนที่จะกลับมาพัฒนาท้องถิ่นเรามันไม่มี แต่ในท้องถิ่นมีความรู้เยอะ แต่คนในท้องถิ่นเราไม่สามารถจัดการความรู้ที่มีอยู่ได้ด้วยตนเอง ต้องเอาคนที่ไปเรียนมาแล้วมีกระบวนการ มีวิสัยทัศน์ มีรูปแบบวิธีการ มาช่วยเอาความรู้เหล่านั้นจัดระเบียบจัดระบบ ให้เกิดการเรียนรู้ในท้องถิ่นของตนเอง
ที่สำคัญผลจากการเรียนนิติศาสตร์ นิติศาสตร์สอนให้ผมคิดเป็นขั้นเป็นตอน คิดจนรอบคอบจึงจะตัดสินสิ่งต่าง ๆ ที่สำคัญจากการไปเรียนรู้ในที่ต่างๆ กับอาจารย์ทรงพล พบว่า “ถ้าเราไม่เริ่มจากตัวเราก็ไม่รู้จะเริ่มจากใคร” และที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือ หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปอยู่ในทุกขั้นตอนที่อาจารย์ทรงพลทำงาน ก็เกิดแรงบันดาลใจว่าทำไม เราเองไม่กลับมาทำให้ชุมชน บ้านเกิดของเราเป็นชุมชนพอเพียง เป็นชุมชนที่พึ่งตนเอง
ผมก็เลยกลับมารวมตัวกันกับน้อง ๆ เปิดศูนย์ประสานงานเพื่อการพัฒนาเด็กและเยาวชนจังหวัดตรัง รวมศิษย์เก่าตามโรงเรียนต่างๆ มารวมตัวกันจัดการเรียนรู้ให้น้องๆ โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน และพวกเรานำกระบวนการโดยใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเข้าสอดแทรก โรงเรียนไหนอยากให้ไปช่วยเราก็ไปช่วย ท้องถิ่นไหนอยากให้ไปช่วยก็ไปช่วย ถือคติที่ว่าถ้าไม่เริ่มจากเราให้คนอื่นช่วยทำบางทีก็รู้ว่าจะได้เริ่มเมื่อไร แต่ถ้าเราอยู่ในท้องถิ่น มาดูแลบ้าน ดูแลท้องถิ่นของตนเอง ดูแลชุมชน ผมว่าเราจะช่วยให้สังคมดีขึ้น นี่คือแรงบันดาลใจ