ถอดบทเรียน: การขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนห้วยยอด (จาก ประชุมเชิงปฏิบัติการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ บริหารจัดการศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษา เพื่อความยั่งยืน

“โครงการประชุมเชิงปฏิบัติการเสริมพลังผู้บริหารศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษา”
วันที่ 27 พฤษภาคม 255 ณ ศูนย์ฝึกอบรมธนาคารไทยพาณิชย์ หาดตะวันรอน ชลบุรี


โรงเรียน ห้วยยอดขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่ชุมชนด้วยการทำ “สหกรณ์” โดยรวมกลุ่มชาวบ้านที่มีอาชีพสวนยาง ให้รู้จักการพึ่งตนเองและช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ซึ่งเป็นข้อกำหนดหนึ่งของหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง จนปัจจุบันการรวมกลุ่มขยายมากขึ้นทั้งจังหวัด และโรงเรียนได้ใช้สถานที่แห่งนี้เป็นที่เรียนรู้ดูงาน ให้นักเรียนเรียนรู้เรื่องการทำสวนยางและการทำสหกรณ์ไปพร้อมกัน ถือเป็นแนวทางให้นักเรียนได้เรียนรู้ กล้าคิดกล้าทำ


ได้ รับมอบหมายให้ทำหน้าที่ดูแลโครงการที่สัมพันธ์กับชุมชน เริ่มขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงมาตั้งแต่แรก รู้ว่าการขับเคลื่อนฯ ในโรงเรียนมีที่ไม่เยอะ และเป็นครูเก่า มีครู 2 – 3 คนเป็นแกนนำ และยังมีครูเก่าที่ลากไม่เดินก็จะทำงานยาก แต่ถ้าเปลี่ยนถ่ายรับครูบรรจุใหม่เข้ามาจะขับเคลื่อนได้ง่ายกว่า เพราะการใช้หลักปรัชญาฯ นั้นอยู่ในเกณฑ์การประเมินด้วย ผู้อำนวยการจึงสามารถผลักดันได้เต็มที่ สามารถไปนิเทศ พูดคุยและปั้นได้ตามใจ หากฝ่ายบริหารตั้งใจ โรงเรียนห้วยยอดโชคดีที่มีการเปลี่ยนถ่ายและมีครูใหม่เข้ามาอยู่ตลอดเวลา ฝ่ายบริหารและฝ่ายวิชาการก็จะเป็นตัวนำ มีครู 150 คน ครูเกินครึ่งอยากนำหลักปรัชญาฯ ไปใช้ในการเรียนการสอน ฝ่ายบริหารและวิชาการจึงต้องทำงานหนักเพราะต้องทำให้ทันกับเวลา ทั้งคณะมาเรียนรู้ดูงานอีก ก็ต้องคอยต้อนรับ ข้อขัดข้องคือครูไม่อยากหลุดออกจากห้อง และมักมีคำถามให้ยินเสมอว่า เป็นครูแกนนำแล้วได้อะไรบ้าง ทั้งที่ภาระงานที่ตัวเองที่รับผิดชอบก็ยังอยู่ อันนี้เป็นปัญหา เพราะมีคณะมาดูงานบ่อยสัปดาห์ละครั้งสองครั้ง


ได้ รับมอบหมายให้ทำหน้าที่การขับเคลื่อนสู่ชุมชน เพราะอยู่กับกระบวนการสหกรณ์มา และกระบวนการสหกรณ์ก็ใช้หลักปรัชญาฯ มาก เพราะเป็นการรวมคนเข้ามา ใช้เศรษฐกิจพอเพียงในการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ตัดคำว่า “ทุนนิยม” ออกไป เป็นการรวมกลุ่มของภาคประชาชน เพื่อทำกิจกรรมร่วมกัน ได้กำไรก็ได้กำไรด้วยกัน ขาดทุนก็ขาดทุนด้วยกัน ผมในฐานะที่ได้รับมอบหมายหน้าที่นี่จึงนำหลักนี้ไปสู่หมู่บ้าน โดยรวมกลุ่มยางภาคเกษตรขึ้นมา ตอนนี้มีกำไร 3 ล้านบาท คืนให้กับสมาชิก แล้ว เราสร้างผลิตภัณฑ์เพิ่มขึ้นมาเป็นยางแผ่นรมควัน จนปัจจุบันได้รับมอบหมายให้เป็นประธานในระดับจังหวัด มีสมาชิกอยู่ราวแสนกว่าคน ตอนนี้เราขายยางให้เกาหลี อันนี้การเริ่มต้นนำหลักปรัชญาฯ ไปสู่ชุมชน เป็นขั้นปฏิบัติจริง คนที่มาใช้ได้ประโยชน์จริง เป็นการรวมกลุ่มกันจริง แทนที่จะเอาไปขายพ่อค้า ถ้าไม่เอามารวมกลุ่มกันเอง เงินนี้ก็จะไปตกอยู่กับกลุ่มทุน แต่เมื่อมีการรวมกลุ่มเงิน 3 ล้าน ก็ตกอยู่ที่ชาวบ้าน ราคาที่ขายก็ดีกว่า นอกจากนี้ยังมีเงินบางส่วนเก็บไว้เป็นสวัสดิการไว้สำหรับยามเจ็บป่วย สมาชิกจึงเพิ่มขึ้นเพราะเขาเห็นว่ามีคุณค่า ตอนนี้กระจายไปทั้งจังหวัดแล้ว นี่คือตัวอย่างของการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงขับเคลื่อนสู่ชุมชน ที่ชาวบ้านได้รับผลแท้จริง มีการนำเด็กไปเรียนรู้บ้างบางครั้ง จะเห็นว่าสหกรณ์ก็เป็นหลักหนึ่งคือพึ่งพาตนเอง และช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เรื่องอย่างนี้ ถ้าให้เด็กเห็นจริง มีความกล้าที่จะทำ มีหลักวิธีการที่จะทำ จะเป็นสถานที่ที่นักเรียนเข้าไปเรียนรู้ได้ตลอด