มีหลายท่านที่สนใจกระบวนการถอดบทเรียน บางครั้งศัพท์แสงทางวิชาการทำให้เรามึนงงกันไปบ้าง เพราะอันที่จริงคุยกันแบบลูกทุ่งก็ได้ แต่ใช้ศัพท์วิชาการมากก็เกิดอาการ "งง" และ "มึน" ทำให้เสียบรรยากาศของการเรียนรู้ไปครับ
แต่ผมจะบอกว่าอย่าเพิ่งเบื่อเลยครับ เพราะเราจะต้องอ่านงานวิชาการ
หรือข่าวสารต่างๆซึ่งล้วนแต่มีศัพท์ยากๆให้เราขบคิดอยู่เรื่อยไป
การเรียนรู้นั้นอยู่ที่ใจ
หากใจรักที่จะเรียนเรื่องยากนั้นก็กลายเป็นเรื่องที่ง่ายได้
"การถอดบทเรียน"
เป็นส่วนหนึ่งในการจัดการความรู้ ผมเข้าใจว่ามีหลายท่านใน gotoknow
เขียนมาบ้างแล้ว แต่ผมจะเขียนในมุมของผมอีกทีครับ
เพื่อให้ง่ายต่อการทำความเข้าใจ
ทั้งนี้ทั้งนั้นไม่ยึดติดในเครื่องมือนะครับ พอล ฟายเออราเบนด์(Paul Feyerabend) นักปรัชญาวิทยาศาสตร์ผู้เขียนหนังสือ"Against Method" กล่าวว่า "การยึดติดในวิธีวิทยาอย่างใดอย่างหนึ่งจะเป็นตัวขัดขวางความก้าวหน้าในการพัฒนาองค์ความรู้ "
ดัง
นั้นการไม่ยึดติดก็หมายถึง ไร้กระบวนท่าแต่ลีลายุทธงดงาม
กระบวนการต่างๆที่ผมใช้ในเวทีเรียนรู้ผมใช้วิธีการถอดบทเรียนนี้ในชีวิต
ประจำวันตลอดเวลา แต่ถอดบทเรียนเล็กใหญ่ก็แล้วแต่กิจกรรมครับ
ถอดบทเรียน ประกอบด้วย ๒ คำ คือ "ถอด" + "บทเรียน"
คำว่า "ถอด" ก็แปลความหมายได้โดยตรงครับ ส่วน "บทเรียน" (Lesson Learned) คือ "ถ้า...จะเกิดอะไรขึ้น"
(เช่น ถ้าเราไม่อ่านหนังสือสอบ เราก็สอบตก ,ถ้าเราไม่เอาใจแฟน
แฟนก็น้อยใจ) บทเรียนจะอธิบายเหตุการณ์และเงื่อนไขที่เกิดขึ้น
และคำอธิบายนั้นต้องมีคุณค่าในการนำไปปฏิบัติ
ซึ่งคำอธิบายที่ชัดเจนจะต้องมีตัวชี้วัดที่ดี ที่สะท้อนว่าเกิดอะไรขึ้น
และเกิดการเรียนรู้ในกระบวนการนั้น (http://www.mande.co.uk/dose/lesson.htm)
บทเรียนจะต้องระบุว่า "อะไรใหม่" (What) หรือ "อะไรคือข้อมูลใหม่" บทเรียนต้องมิใช่การเล่าเรื่องในอดีตเท่านั้น
ลักษณะบทเรียนอาจจำแนกได้ ๒ แบบ ครับ
• บทเรียนที่เกิดขึ้นทันทีเมื่อจบเหตุการณ์(Active process)
• บทเรียนที่เก็บสะสมข้อมูลในอดีต (Passive process)
สำหรับแนวทางการถอดบทเรียน นั้น มีมากกว่าการตั้งคำถามว่า "ได้บทเรียนอะไรจากการทำงานในปีที่ผ่านมา" เราควรพิจารณาสิ่งต่อไปนี้
¤ การเปลี่ยนแปลงอะไรเกิดขึ้น หากไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงไม่ควรไปแสวงหาคำตอบว่าได้บทเรียนอะไร
¤ หากมีผลสืบเนื่องที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงคล้ายๆกันต้องพยายามตอบให้ได้ว่า "อะไรสำคัญที่สุด" และ "ทำไมจึงสำคัญ"
¤
บทเรียน
มิใช่ความแตกต่างที่เกิดขึ้นระหว่างสิ่งที่คาดหมายกับสิ่งที่เกิดขึ้นจริง
เพราะสิ่งนั้นคือสมมุติฐาน
แต่หากมีสิ่งที่ไม่ได้คาดหมายเกิดขึ้นแสดงว่ามีอะไรทำให้เกิดความแตกต่าง
และ "อะไร" ที่ทำให้เกิดความแตกต่างนั้นก่อให้เกิดผลต่อพฤติกรรมอย่างไร
สิ่งนั้นคือบทเรียน
ผมขอยกเอาบทหนึ่งของหนังสือที่ผมเขียนมาอธิบายวงจรการถอดบทเรียน
"...การ
จัดเวทีย่อยๆ ที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งในชุมชน
เป็นโอกาสให้นักวิจัยชาวบ้านเข้ามาร่วมพูดคุย และนำข้อมูลมานั่งคุยกัน
ตลอดจนทราบถึงปัญหาและวิธีการแก้ไขแบบทันท่วงที"
สิ่งที่นักวิจัยแต่ละหมู่บ้านในชุดโครงการทำทุกครั้งหลังการทำงานคือ กระบวนการวิเคราะห์หลังปฏิบัติการ (After Action Review: AAR)
เครื่องมือที่ใช้ในการถอดบทเรียน (Lesson Learned)
เป็นเครื่องมือที่พวกเราใช้พัฒนาการเรียนรู้ในทุกขั้นตอนของวงจรโครงการ
ทั้งเพื่อการจัดการในขั้นตอนที่เรียกว่า ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ
(up-stream, mid-stream, down-stream management)
โดยการตั้งชุดคำถามเหล่านี้
• เราวางแผนกันอย่างไร อะไรคือจุดหมายของการปฏิบัติการ
• เมื่อเราดำเนินการกิจกรรมไปได้ระยะหนึ่งแล้ว สิ่งใดเกิดขึ้น สิ่งใดไม่เป็นไปตามแผนที่วางแผนไว้ /ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น
• สิ่งใดเป็นไปตามที่วางแผนไว้/ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น
• เรามีปัญหาอะไรบ้าง
• เราน่าจะทำสิ่งใดให้ดีขึ้นกว่าเดิมได้บ้าง
• ในการดำเนินงานครั้งต่อไป สิ่งใดที่เราจะปฏิบัติแตกต่างจากครั้งที่ผ่านๆ มา
• เรื่องทั่วๆ ไป ที่เราพบเจอในระหว่างกิจกรรมครั้งนั้นๆ
พ.ท.ปิยวุฒิ โลสุยะ เสนาธิการทหารบก หัวหน้าโครงการวิจัยที่บ้านรุ่งอรุณ ผู้เชี่ยวชาญยุทธการทางการทหารให้ความเห็นต่อการถอดบทเรียนแบบนี้ว่า เปรียบเสมือน "การตีเหล็กที่กำลังร้อน เป็นการสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ระหว่างกัน ระหว่างทหารชั้นยศต่ำ สามารถตั้งคำถามเพื่อการเรียนรู้จากนายทหารชั้นยศสูง ที่ในระบบทหารของประเทศไทยไม่ค่อยมีภาพแบบนี้สักเท่าไหร่"
"..กระบวนการศึกษาวิจัยสามารถใช้วัฒนธรรมการเรียนรู้แบบนี้ได้อย่างเต็ม รูปแบบด้วย สุนทรียะสนทนา (Dialogue) ในสังคมบนพื้นฐานของความเท่าเทียมกัน (Equal basis) โดยมีพี่เลี้ยงที่เป็นคนนอกเป็นผู้ให้การสนับสนุน (facilitator) เพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆ ให้ดีขึ้น..."
-------------------------------------------------------------------------------------------------------
บางส่วนจากหนังสือ "กระบวนการเรียนรู้สู่เส้นทางสีขาว" โดย จตุพร วิศิษฏ์โชติอังกูร ,กันยายน ๒๕๕๐
สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนงานวิจัย(สกว.)สำนักงานภาค
ส่วนวิธีการ -กระบวนการที่เราใช้มีหลากหลาย เช่น
•
การเรียนรู้จากเพื่อน (Peer Assist - PA) พื้นฐานการเรียนรู้จากเพื่อน
ได้รับการพัฒนามาจากบริษัท BP Amaco ซึ่งเป็นบริษัทน้ำมันของประเทศอังกฤษ
เป็นการเชิญทีมภายนอก (ทีมเยือน) มาแบ่งปันความรู้
ประสบการณ์ให้กับทีมเจ้าของบ้าน (ทีมเหย้า)
•
และมีศัพท์ที่เราคุ้นๆกันบ่อยๆ AAR มาจาก (After Action review)
ตามที่ผมยกเอาส่วนหนึ่งของหนังสือมาเขียนข้างบน แต่อยากฝากไว้ว่าหัวใจของ
AAR คือ การ"เปิดใจ" และ "ความมุ่งมั่นร่วม"
ที่จะเรียนรู้มากกว่าวิพากษ์วิจารณ์
•
การถอดบทเรียนที่มีรายละเอียดลึกซึ้งมากกว่า AAR คือ
การเรียนรู้หลังการดำเนินงาน (Retrospect) นัย คือ
ได้บทเรียนที่นำไปใช้ในโครงการต่อไป
มิใช่เพื่อให้ทีมบรรลุเป้าหมายของงานเดิม
•
ที่เราใช้กันบ่อยๆในแวดวงการจัดการความรู้ ก็คือการเรียนรู้จากบทเรียนที่ดี
หรือการปฏิบัติที่ดี(Good/Better/Best Practice) บทเรียนที่ดี =
การปฏิบัติที่ดี (Best Practice) หลายๆครั้งที่เราจัดเวทีให้องค์กร หรือ
ชาวบ้านมาแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับผู้ฟังบทเรียน เป็นการแบ่งปันการเรียนรู้
เพื่อขยายสิ่งดีๆให้เกิดการต่อยอดยิ่งๆขึ้นไป
•
การถอดบทเรียนแบบเล่าเรื่อง(Story telling)
เป็นกระบวนการถอดบทเรียนที่นำมาใช้ในการถอดบทเรียนมากในช่วงหลัง
เพราะการเล่าเรื่องมีความเป็นธรรมชาติ ปลดปล่อย
และสอดคล้องกับวิถีปกติของผู้คน
• อีกวิธีการหนึ่ง
ที่เราเรียกว่าแผนที่ผลลัพธ์(Outcome mapping) ใช้ในการติดตามและประเมินผล
โดยที่ "แผนที่ผลลัพธ์"
ให้ความสนใจในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้เกี่ยวข้องในแผนงานพัฒนานั่นคือ
การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ความสัมพันธ์ กิจกรรม หรือการกระทำของคน กลุ่มคน
หรือองค์กรซึ่งร่วมกันทำงาน
บางเครื่องมือที่ใช้ในการถอดบทเรียนอาจฟัง
ดูยาก ไม่เข้าใจ ผมได้นำLink ที่เกี่ยวข้องมาให้อ่านเพิ่มเติมครับ
อาจจะสามารถหาอ่านได้จากเอกสารวิชาการอื่นๆ
แต่ผมก็ขอนำมาบันทึกเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันอีกครั้งครับ
เอกสารอ้างอิง
ศุภวัลย์ พลายน้อย.(๒๕๔๙).บทเรียนของการถอดบทเรียนในการจัดการความรู้ภาคประชาสังคม.กรุงเทพฯ :
บริษัท พี.เอ.ลีฟวิ่ง.จำกัด.