การบูรณาการเศรษฐกิจพอเพียงกับการสอนวิชาคณิตศาสตร์ เราได้ถกเถียงกันในกลุ่มว่าเวลาสอนเศรษฐกิจพอเพียงลงสู่ผู้เรียน เราจะสอนอย่างไร บ้างก็บอกสอนเรื่องเศรษฐกิจก่อน สัปดาห์ต่อไปจึงสอนมิติเรื่องสังคม ตัวเองเลยบอกว่าการสอนผู้เรียนในแต่ละคาบ หรือในแต่ละกิจกรรม ควรจะให้ผู้เรียนได้รับความรู้ในการพัฒนาอย่างสมดุลทั้ง 4 ด้านดังที่ ดร.ปรียานุช พิบูลสราวุธ ได้กล่าวไว้ว่าในการเรียนการสอนนักเรียนทั้งหลายทั้งปวง ถ้าจะก่อให้เกิดการเรียนรู้ ควรทำให้เขาเรียนรู้ทั้ง 4 ด้าน ทั้งด้านศาสนา เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม เราก็มาคิดตรงนี้ว่าวิธีการอย่างไรจะสอนเด็กให้เขาได้ตรงนี้ ในกลุ่มจึงบอกว่าการที่เราจะฝังให้ผู้เรียนได้คิดลุ่มลึก ก็คือการฝังสมอง ซึ่งสมองคือความคิด ทำอย่างไรให้เด็กนักเรียนเขาคิดได้อย่างเรา ทำอย่างให้เด็กเขาคิดได้อย่างผู้บริหาร คิดได้อย่างในหลวง คิดได้อย่างทุกคน เมื่อเราเกิดความคิดแล้วสมองก็จะสั่งไปถึงการกระทำ ดังนั้นใน what ของเราคือจะสอนอย่างไรให้นักเรียนได้เกิดกระบวนการคิดตามหลักของเศรษฐกิจพอ เพียง
จุด นี้อยากจะขออนุญาตบอกนิดหนึ่ง อาจจะเกินประเด็นไปบ้าง แต่อยากบอกให้รู้ว่าว่ากระบวนการ KM มีประโยชน์จริงๆ เพราะว่าตัวเองเข้าไปถึงห้องเรียนก็บอกนักเรียนว่าตัวเองมีความภาคภูมิใจ อะไรหรือช่วงปิดเทอมเราไปทำความดีอะไรมาบ้าง พอดีสุ่มไปเจอเบอร์ 5 เขาก็ออกมาบอกว่าเขาไม่มีโอกาสที่จะไปเที่ยวตรงนั้น ไม่มีโอกาสไปสร้างความภาคภูมิใจที่นั่นที่นี่ เพราะเขาไม่มีพ่อแม่ แต่ถามว่าความดีที่เขาทำวันนั้นคืออะไร เขาบอกว่าความดีของเขาคือการปฏิบัติธรรม เขาปฏิบัติธรรมทุกวัน ถามว่าแล้วครูจะรู้ได้อย่างไรว่าเธอปฏิบัติธรรม เขาบอกว่าเขาปฏิธรรมตั้งแต่ปี 2549 ปลายปีจนบัดนี้ยังปฏิบัติธรรม ครูก็ถามว่าแล้วครูจะรู้ได้อย่างไรว่าเธอปฏิบัติธรรมจริง เขาก็บอกว่าพรุ่งนี้เขาจะเอาหลักฐานมาให้ดู แล้วเขาก็นำสมุดเล่มนั้นมาให้ดูจริงๆ เขาปฏิบัติธรรมทุกวันที่เขามีโอกาส แล้วเขาก็บันทึกทุกวัน เล่มหนึ่งหมดไปแล้วเล่มสองก็มา สิ่งเหล่านี้จึงเกิดความคิดขึ้นว่าทำไมผู้บริหารจึงไม่เห็นสิ่งที่เด็กทำดีแบบนี้มาเป็นแบบอย่าง ทุกวันหน้า เสาธงจะมีแต่ประกาศชื่อนักเรียนที่ไปชิงอันนั้นไปแข่งขันอันโน้นอันนี้ ทำไมเราไม่เปิดโอกาสให้เด็กที่ทำความดีได้มาเผยแพร่ตรงนี้บ้าง เลยนำเอาบันทึกของนักเรียนไปเสนอท่านผู้บริหาร ท่านผู้อำนวยการก็ดีใจหาย ท่านฟังอย่างสงบ ดูแบบอย่าง และจำชื่อเด็กไว้ พอวันรุ่งขึ้นเป็นวันจันทร์ ท่านก็เรียกชื่อกิตติพงษ์ให้ขึ้นมาหน้าเสาธง แล้วกิตติพงษ์ก็ทำหน้าที่เป็นพิธีกรหน้าเสาธงในเรื่องการทำสมาธิ แล้วเขาก็ทำได้เป็นอย่างดี และเมื่อเด็กคนนี้ได้รับโอกาส พฤติกรรมของเขาที่เปลี่ยนแปลงไป อยากจะชี้ประเด็นตรงนี้ว่ากิตติพงษ์เป็นเด็กที่เรียนอ่อน เวลาเรียนเขาก็จะอยู่หลังห้อง จะทรุดตัว ไม่ค่อยจะมองอาจารย์ที่สอน เทอมที่แล้วเขาก็ได้เกรด 1 ในวิชาคณิตศาสตร์ พอตอนนี้เขาได้ค้นพบ เราได้ค้นพบเขา ให้เขาได้มีโอกาสแสดงออก ทุกวันนี้กิตติพงษ์เขาเปลี่ยนพฤติกรรมการเรียน จากที่เขาอยู่หลังห้องในช่วงแรกๆ เขาก็จะชะเง้อมองอาจารย์ที่สอน เพราะเวลาที่เราเรียน เราจะเรียนในห้องคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์บัง มองไม่ค่อยเห็น แล้วนานๆ อาทิตย์หนึ่งหรือบางทีเดือนหนึ่ง เราก็อาจจะให้เขามาพูดอะไรหรือให้นักเรียนทำสมาธิ เขาก็จะพูดสอดแทรกเหมือนมหาเลย แล้วเมื่อวันก่อนมูลนิธิสดศรีฯ เข้าไปสัมภาษณ์เราก็ได้เห็นการเปลี่ยนพฤติกรรมของกิตติพงษ์คือเขาเปลี่ยนมา นั่งข้างหน้าและมีการซักถามกัน |